ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อริยสัจ 4"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จตุพล เอมอุดม (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหัวข้อความสำคัญของอริยสัจ 4
ปรับความหมายให้ชัดเจน
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
==== ความหมาย ====
==== ความหมาย ====
'''อริยสัจ 4''' '''หรือ''' '''จตุราริยสัจ''' '''คือ''' ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่พระ[[สัมมาสัมพุทธเจ้า]]ทุกพระองค์รวมถึง[[พระโคตมพุทธเจ้า]]ได้ตรัสรู้และประกาศสอน เป็นสัจจะความจริงที่ผู้ใดก็ตามที่ได้เห็นแจ้งและแทงตลอดในสัจจะความจริงนี้แล้ว จะทำให้ผู้นั้นเป็นบุคคลผู้ประเสริฐหรือเป็น[[อริยบุคคล]]ได้ ซึ่งทางพระศาสดาได้ทรงตรัสไว้หลายนัยยะ ดังนี้
'''อริยสัจ 4''' '''หรือ''' '''จตุราริยสัจ''' '''คือ''' ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่พระ[[สัมมาสัมพุทธเจ้า]]ทุกพระองค์รวมถึง[[พระโคตมพุทธเจ้า]]ได้ตรัสรู้และประกาศสอน เป็นสัจจะความจริงที่ผู้ใดก็ตามที่ได้เห็นแจ้งและแทงตลอดในสัจจะความจริงนี้แล้ว จะทำให้ผู้นั้นเป็นบุคคลผู้ประเสริฐหรือเป็น[[อริยบุคคล]]และ กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ สิ้นชาติ ชรา และ มรณะ ได้ ซึ่งทางพระศาสดาได้ทรงตรัสอริยสัจ 4 ไว้หลายนัยยะ ดังนี้


==== '''นัยยะทั่วไป''' ====
==== '''นัยยะทั่วไป''' ====

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:43, 15 กุมภาพันธ์ 2562

ความหมาย

อริยสัจ 4 หรือ จตุราริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์รวมถึงพระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และประกาศสอน เป็นสัจจะความจริงที่ผู้ใดก็ตามที่ได้เห็นแจ้งและแทงตลอดในสัจจะความจริงนี้แล้ว จะทำให้ผู้นั้นเป็นบุคคลผู้ประเสริฐหรือเป็นอริยบุคคลและ กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ สิ้นชาติ ชรา และ มรณะ ได้ ซึ่งทางพระศาสดาได้ทรงตรัสอริยสัจ 4 ไว้หลายนัยยะ ดังนี้

นัยยะทั่วไป

  1. ทุกข์ (Sanskrit: Duhkha) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ 5 ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์
  2. สมุทัย (Sanskrit: Samudaya ) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือ ตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจของความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น
  3. นิโรธ (Sanskrit: Nirodha) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง คือ ความสลัดทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น
  4. มรรค (Sanskrit: Marga) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐอันประกอบด้วยองค์8 ประการนี้ ได้แก่ ความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริที่ถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ) การพูดจาที่ถูกต้อง (สัมมาวาจา) การทำงานที่ถูกต้อง (สัมมากัมมันตะ) การมีอาชีพที่ถูกต้อง (สัมมาอาชีวะ) ความพากเพียรที่ถูกต้อง (สัมมาวายามะ) ความระลึกที่ถูกต้อง (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง (สัมมาสมาธิ)

นัยยะของอายตนะ 6

  1. ทุกข์ (Sanskrit: Duhkha) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ควรจะกล่าวว่าได้แก่อายตนะภายใน6 อายตนะภายใน6 เหล่าไหนเล่า คือ จักขุอายตนะ (ตา) โสตะอายตนะ (หู) ฆานะอายตนะ (จมูก) ชิวหาอายตนะ (ลิ้น) กายะอายตนะ (กาย) มนะอายตนะ (ใจ) ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือทุกข์
  2. สมุทัย (Sanskrit: Samudaya ) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า คือ ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือทุกขสมุทัย
  3. นิโรธ (Sanskrit: Nirodha) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า คือ ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น ความสลัดทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึง ซึ่งตัณหานั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือทุกขนิโรธ
  4. มรรค (Sanskrit: Marga) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า คือ หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริที่ถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ) การพูดจาที่ถูกต้อง (สัมมาวาจา) การทำงานที่ถูกต้อง (สัมมากัมมันตะ) การมีอาชีพที่ถูกต้อง (สัมมาอาชีวะ) ความพากเพียรที่ถูกต้อง (สัมมาวายามะ) ความระลึกที่ถูกต้อง (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง (สัมมาสมาธิ)

นัยยะของขันธ์ 5

  1. ทุกข์ (Sanskrit: Duhkha) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คำตอบคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น 5 อย่าง (อุปาทานขันธ์ 5) ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ห้าอย่างคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์
  2. สมุทัย (Sanskrit: Samudaya ) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คือ ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์
  3. นิโรธ (Sanskrit: Nirodha) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คือ ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึง ซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์
  4. มรรค (Sanskrit: Marga) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คือ หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) การพูดจาชอบ (สัมมาวาจา) การทำงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) การเลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) ความพากเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ขยายความอริยมรรคมีองค์ 8

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

ความสำคัญของอริยสัจ 4

รอการเพิ่มเนื้อหา

กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่

  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย

ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา

กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ

กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

อ้างอิง

  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 65-66.
  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พุทธธรรม" มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546
  • พุทธทาสอินทปัญโญ. อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น, 2546