ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์"

พิกัด: 13°51′46″N 100°35′22″E / 13.862808°N 100.589465°E / 13.862808; 100.589465
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
Ponning001 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| role =
| role =
| size =
| size =
| command_structure2 = ทม.รอ.11 พัน.1 รอ.<br />ทม.รอ.11 พัน.2 รอ.<br />ทม.รอ.11 พัน.3 รอ.
| command_structure2 = ทม.รอ.11 พัน.1 <br />ทม.รอ.11 พัน.2 <br />ทม.รอ.11 พัน.3
| garrison = [[บางเขน]], [[กรุงเทพมหานคร]]
| garrison = [[บางเขน]], [[กรุงเทพมหานคร]]
| old_name = กรมทหารราบที่ 2 ล้อมวัง
| old_name = กรมทหารราบที่ 2 ล้อมวัง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:48, 7 กุมภาพันธ์ 2562

กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11
เครื่องหมายประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11
ประเทศ ไทย
รูปแบบกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
กองบัญชาการบางเขน, กรุงเทพมหานคร
สมญากรมทหารล้อมวัง
สีหน่วยน้ำเงิน-ขาว
เพลงหน่วยมาร์ชราชวัลลภ
วันสถาปนา20 มกราคม พ.ศ. 2445
ปฏิบัติการสำคัญการปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (อักษรย่อ กรม.ทม.รอ.11) หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า ราบ 11 เป็นหน่วยทหารสืบเนื่องมาแต่โบราณ เดิมคือผู้มีหน้าที่รักษาการณ์ในวัง รัชกาลที่ 4 ให้ฝึกวิชาทหารเพื่อที่จะทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น และตั้งเป็นกองทหารรักษาพระบรมมหาราชวัง หรือกองทหารล้อมวัง เครื่องแบบเต็มยศสีน้ำเงินก็น่าจะมาจากสีของเครื่องแบบกรมวัง, ฝ่ายรักษาวัง รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้ รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งสถาปนาเป็นสยามมกุฏราชกุมาร เป็นพันเอกพิเศษ ของกรมทหารล้อมวังนี้ ซึ่งทำให้หน่วย ร.11 รอ. มีความผูกพันกับรัชกาลที่ 6 ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ทรงรับเป็นผู้บังคับการพิเศษของกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งสีประจำพระองค์คือสีน้ำเงิน

ปัจจุบันได้โอนสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงกับกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายปลอดภัยรักษาพระองค์ จึงเปลี่ยนนามหน่วยใหม่

ประวัติหน่วย

โดยมีนามหน่วยว่า กองพันทหารราบที่ 7 นามย่อว่า "ร.พัน.7" ตั้งอยู่ที่ สะพานแดง เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งของ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในปัจจุบัน ขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงกับ มณฑลทหารบกที่ 1 พ.ศ. 2484 กองทัพบกได้จัดตั้งกรมทหารราบที่ 2 ขึ้นใหม่ ได้แบ่งมอบกองพันทหารราบที่ 7 เป็นหน่วยขึ้นตรงของกรมทหารราบที่ 2 แต่ยังคงใช้นามหน่วยเดิม พ.ศ. 2488 กองทัพบกได้แปรสภาพ กรมทหารราบที่ 2 เป็นกรมทหารราบที่ 11 และได้แบ่งมอบให้ กองพันทหารราบที่ 7 เป็นกองพันทหารราบที่ 2 ขึ้นตรงต่อกรมทหารราบที่ 11 พ.ศ. 2492 กรมทหารราบที่ 11 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พันเอก ถนอม กิตติขจร ได้รับการสถาปนาให้เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2492 ดังนั้น กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 จึงได้เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ และใช้นามหน่วยเต็มว่า "กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์" นามย่อว่า "ร.11 พัน.2 รอ." นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน 1 มิถุนายน 2495 ได้ย้ายที่ตั้งหน่วยจากสะพานแดงมาเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันเลขที่ 2 หมู่ที่ 3 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประดับธงชัยเฉลิมพลที่ได้รับ คือ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ 1 ซึ่งได้รับพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนามของทหารรักษาพระองค์

นอกจากนี้แล้ว กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ยังเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) รวมถึงเป็นที่พักและบัญชาการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี พ.ศ. 2553 อีกด้วย [1]

1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 หน่วยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

18 มกราคม พ.ศ. 2561 หน่วยได้เปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งเป็น กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ประจำหน่วย

การแต่งกายเต็มยศของนายทหารในสังกัดกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ที่ 11 และกองพันที่ขึ้นตรงกับกรมนี้ทุกกองพัน ใช้เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์แบบเดียวกันทั้งหมด ดังนี้

  • หมวก หมวกยอดสีขาว มีพู่สีน้ำเงิน หน้าหมวกมีตราพระราชลัญจกร ยอดหมวกและสายรัดคางโซ่ถักทำด้วยโลหะสีทอง
  • เสื้อ สักหลาดหรือเสิร์จสีน้ำเงิน ปลอกคอโดยรอบทำด้วยกำมะหยี่สีดำ ปลอกคอด้านบนมีแถบไหมสีเหลือง 1 แถบ แนวอกมีดุมโลหะสีทองขนาดใหญ่ 7 ดุม ที่ดุมมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ วปร. ที่บ่ามีอินทรธนูอ่อน ขัดดุมสีทองขนาดเล็ก
  • คันชีพ สายสะพาย ทำด้วยหนังสีน้ำตาลแก่ นายทหารทำด้วยไหมสีทอง
  • เข็มขัด ทำด้วยหนังสีน้ำตาล หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทอง มีตราเครื่องหมายกองทัพบกดุนนูน
  • กางเกง สักหลาดหรือเสิร์จสีดำ ที่แนวตะเข็บข้างมีแถบสักหลาดสีแดง 1 แถบ กว้าง 1 ซม.
  • รองเท้า หุ้มข้อหนังสีดำ
  • กระเป๋าคันชีพ ทำด้วยหนังสีขาว มีตราพระราชลัญจกรทำด้วยโลหะสีทอง ติดที่ฝากระเป๋า
  • ชายเสื้อด้านหลัง มีดุมโลหะสีทองขนาดกลางข้างละ 1 ดุม
  • แขนเสื้อด้านข้าง ปลอกข้อมือด้านนอกทั้ง 2 ข้าง ติดอักษรพระปรมาภิไธย วปร.

อ้างอิง

  1. ลับลวงเลือด โดย วาสนา นาน่วม สำนักพิมพ์มติชน: กันยายน พ.ศ. 2553 ISBN 9789740206521

แหล่งข้อมูลอื่น

13°51′46″N 100°35′22″E / 13.862808°N 100.589465°E / 13.862808; 100.589465