ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โกอากาจะฮ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[File:Goa Gajah-Elephant Cave Entrance.jpeg|thumb|right|ทางเข้าวัดปูรากัวกะจาห์]]
[[ไฟล์:Goa Gajah-Elephant Cave Entrance.jpeg|thumb|right|ทางเข้าวัดปูรากัวกะจาห์]]
[[File:Ubud.GoaGajah.Fountain.Detail.jpg|thumb|right|ภายในบริเวณคล้ายโรงอาบน้ำ]]
[[ไฟล์:Ubud.GoaGajah.Fountain.Detail.jpg|thumb|right|ภายในบริเวณคล้ายโรงอาบน้ำ]]
[[File:Goa Gajah-Bathing Temple-Fountains Close-up.jpeg|thumb|right|รูปปั้นสตรีถือหม้อน้ำ]]
[[ไฟล์:Goa Gajah-Bathing Temple-Fountains Close-up.jpeg|thumb|right|รูปปั้นสตรีถือหม้อน้ำ]]


'''กัวกะจาห์''' (Goa Gajah), '''วัดปูรากัวกะจาห์''' (Pura Goa Gajah) หรือ '''ถ้ำช้าง''' (Elephant Cave) เป็นโบราณสถานบน[[เกาะบาหลี]] ใกล้[[อูบุด]] [[ประเทศอินโดนีเซีย]] สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรศที่ 9 เพื่อเป็นศาสนสถานและวิหาร<ref>Davison, J. et al. (2003)</ref>
'''กัวกะจาห์''' (Goa Gajah), '''วัดปูรากัวกะจาห์''' (Pura Goa Gajah) หรือ '''ถ้ำช้าง''' (Elephant Cave) เป็นโบราณสถานบน[[เกาะบาหลี]] ใกล้[[อูบุด]] [[ประเทศอินโดนีเซีย]] สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรศที่ 9 เพื่อเป็นศาสนสถานและวิหาร<ref>Davison, J. et al. (2003)</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:16, 27 มกราคม 2562

ทางเข้าวัดปูรากัวกะจาห์
ภายในบริเวณคล้ายโรงอาบน้ำ
รูปปั้นสตรีถือหม้อน้ำ

กัวกะจาห์ (Goa Gajah), วัดปูรากัวกะจาห์ (Pura Goa Gajah) หรือ ถ้ำช้าง (Elephant Cave) เป็นโบราณสถานบนเกาะบาหลี ใกล้อูบุด ประเทศอินโดนีเซีย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรศที่ 9 เพื่อเป็นศาสนสถานและวิหาร[1]

วัดแห่งนี้โดเด่นไปด้วยรูปสลักบนหินที่มีใบหน้าดุดัน ข่มขู่ (manacing) ซึ่งเชื่อว่าเพ่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย สำหรับชื่อเล่น วัดถ้ำช้าง เชื่อว่ามาจากรูปปั้นหินหลักของวัดน่าจะเคยเป็นช้าง บางกลุ่มเชื่อว่าน่าจะหมายถึงพระพิฆเนศวร ผู้ทรงมีพระเศรียรเป็นช้าง[2] วัดแห่งนี้เคยถูกกล่าวถึงในกลอนดั้งเดิมของชวา "Nagarakretagama" หรือ "Desawarnana" ซึ่งแต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1365 ภายในของวัดคือสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายโรงอาบน้ำ ที่เพิ่งขุดค้นขึ้นมาในราว คริสต์ทศวรรศ 1950[3] ทางเข้าวัดจำเป็นต้องเดินเป็นระยะทางไกล ไม่มีทางเดินรถที่เข้าสู่วัดโดยตรง[4] ภายในวัดมีรอยเขม่าขาวเป็นทางยาว สันนิษฐานว่าเป็นรอยควันธูป[5] สถานที่แห่งนี้ไม่อนุญาตให้สตรีสวมกางเกงขาสั้นเข้า ซึ่งทางสัดมีบริการผ้าโสร่งให้ยืม ภายในประกอบด้วยรูปปั้นสตรี 7 รูป หนึ่งในนั้นทลายลงไปแล้วด้วยเหตุแผ่นดินไหว สันนิษฐานว่าเป็นนางอัปสร กำลังถือหม้อน้ำเทน้ำลงตรงกลาบ่อ สื่อถึงแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 7 สายในชมพูทวีป ตามฤคเวท คือ แม่น้ำคงคา, แม่น้ำสรัสวดี, แม่น้ำยมุนา, แม่น้ำโคทาวรี, แม่น้ำสินธุ, แม่น้ำกาเวรี และ แม่น้ำนรรมทา

ปัจจุบันวัดแห่งนี้อยู่ในรายชื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลก (Tentative list)

อ้างอิง

  1. Davison, J. et al. (2003)
  2. "Elephant Cave in Bali - Goa Gajah - Bali Magazine". bali-indonesia.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-06-13.
  3. Pringle, R. (2004) p 61
  4. "Bali Vacation Guide [With Kids] - Adventures With Children". Adventures With Children (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-06-13.
  5. "Bali Vacation Guide [With Kids] - Adventures With Children". Adventures With Children (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-06-13.