ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประติมากรรม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ระเบียงภาพ: เพิ่มภาพ
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ระเบียงภาพ: เพิ่มภาพ
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
ไฟล์:Royal Crematorium Exhibition of King Rama 9 of Thailand Photographed by Trisorn Triboon (9).jpg|thumb|ประติมากรรมพระที่นั่งทรงธรรมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ[[ในหลวงรัชกาลที่ ๙]]
ไฟล์:Royal Crematorium Exhibition of King Rama 9 of Thailand Photographed by Trisorn Triboon (9).jpg|thumb|ประติมากรรมพระที่นั่งทรงธรรมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ[[ในหลวงรัชกาลที่ ๙]]
ไฟล์:Royal Crematorium Exhibition of King Rama 9 of Thailand Photographed by Trisorn Triboon (28).jpg|thumb|ประติมากรรมครุฑ
ไฟล์:Royal Crematorium Exhibition of King Rama 9 of Thailand Photographed by Trisorn Triboon (28).jpg|thumb|ประติมากรรมครุฑ
ไฟล์:ไอคอนสยาม Grand Openning day Iconsiam of Thailand 17 Copyrights of Trisorn Triboon.jpg|thumb|ประติมากรรม ที่[[ไอคอนสยาม]]
</gallery>
</gallery>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:26, 16 มกราคม 2562

ไฟล์:Angkorwat-relief1.jpg
ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด
ไฟล์:Rodin01.jpg
ผลงานประติมากรรมนูนสูง ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส
ไฟล์:Rodin02.jpg
ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส

ประติมากรรม (อังกฤษ: Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่าง ๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่าง ๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร

งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร

ประเภทของงานประติมากรรม

ประเภทของงานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของความลึก ได้แก่

  1. ประติมากรรมนูนต่ำ ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง แต่จะแบนหรือบางกว่าประติมากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซึ่งมักจะได้แก่ ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่ง เช่น แกะสลักด้วยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นต้น
  2. ประติมากรรมนูนสูง ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย เช่น ประติมากรรมปูนปั้นประดับกระจกหน้าบ้าน พระอุโบสถและวิหารต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน เช่น ประติมากรรมที่ปั้นเป็นเรื่องราวหรือเป็นลวดลายประดับตกแต่งอาคาร ตกแต่งฐานอนุสาวรีย์ ตกแต่งสะพาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น และ ลอยและบินได้
  3. ประติมากรรมลอยตัว ได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น รูปประติมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ประติมากรรมรูปเหมือน และพระพุทธรูปลอยตัวสมัยต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรับประดับตกแต่ง เป็นต้น

ประติมากรรมประเภทลอยตัวของไทยที่รู้จักกันดี คือ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย นับเป็นประติมากรรมลอยตัวที่สมบูรณ์แบบ

ระเบียงภาพ


ดูเพิ่ม