ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ย่าเหล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 16: บรรทัด 16:


ในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงโทมนัสอย่างยิ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานศพแก่ย่าเหล มีหีบใส่ศพอย่างดี ปิดทองที่มุมโลง และโปรดฯให้แกะสลักรูปย่าเหลวางไว้บนโลงด้วย ทั้งยังให้มหาดเล็กแต่งตัวเป็นสัตว์นานาชนิดเข้าร่วมขบวนแห่ศพด้วย นอกจากนี้ยังมีของชำร่วยแจกในงานศพ เป็นผ้าเช็ดหน้าพิมพ์รูปย่าเหล และมีตราวชิระที่มุมด้านขวา พระราชทานเป็นของที่ระลึกแก่ทุกคนที่ไปร่วมงานด้วย
ในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงโทมนัสอย่างยิ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานศพแก่ย่าเหล มีหีบใส่ศพอย่างดี ปิดทองที่มุมโลง และโปรดฯให้แกะสลักรูปย่าเหลวางไว้บนโลงด้วย ทั้งยังให้มหาดเล็กแต่งตัวเป็นสัตว์นานาชนิดเข้าร่วมขบวนแห่ศพด้วย นอกจากนี้ยังมีของชำร่วยแจกในงานศพ เป็นผ้าเช็ดหน้าพิมพ์รูปย่าเหล และมีตราวชิระที่มุมด้านขวา พระราชทานเป็นของที่ระลึกแก่ทุกคนที่ไปร่วมงานด้วย

{{unreferenced}}
{{refbegin}}
* แหล่งอ้างอิง
* แหล่งอ้างอิง
* แหล่งอ้างอิง
{{refend}}

== อนุสรณ์ย่าเหล ==
== อนุสรณ์ย่าเหล ==
หลังงานศพของย่าเหล พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้น หล่อรูปย่าเหลด้วยโลหะทองแดง ประดิษฐานไว้หน้า[[พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์]]ใน[[พระราชวังสนามจันทร์]] [[จังหวัดนครปฐม]] และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนไว้อาลัยแก่ย่าเหล จารึกไว้ที่ด้านข้างของอนุสาวรีย์ ดังนี้
หลังงานศพของย่าเหล พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้น หล่อรูปย่าเหลด้วยโลหะทองแดง ประดิษฐานไว้หน้า[[พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์]]ใน[[พระราชวังสนามจันทร์]] [[จังหวัดนครปฐม]] และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนไว้อาลัยแก่ย่าเหล จารึกไว้ที่ด้านข้างของอนุสาวรีย์ ดังนี้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:55, 3 พฤศจิกายน 2550

ไฟล์:RAMA6a.JPG
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับย่าเหลสุนัขทรงโปรด

ย่าเหล (ประมาณ พ.ศ. 2465?) เป็นสุนัขพันทางที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลี้ยง และทรงโปรดปรานเป็นอย่างยิ่ง ภายหลังถูกลอบยิงจนตาย รัชกาลที่ 6 ทรงโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานศพ และสร้างอนุสาวรีย์ย่าเหลขึ้น ทั้งยังทรงพระราชนิพนธ์คำกลอนไว้อาลัยแก่ย่าเหลด้วย

ประวัติ

ย่าเหลเป็นสุนัขพันทาง ขนปุย หางเป็นพวง สีขาว มีแต้มดำ หูตก เกิดในเรือนจำจังหวัดนครปฐม เดิมเป็นสุนัขของหลวงไชยราษฎร์รักษา (โพ เคหะนันท์) ตำแหน่งพะทำมะรงหรือผู้ควบคุมนักโทษ (ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระพุทธเกษตรานุรักษ์) เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จฯ ไปตรวจเรือนจำจังหวัดนครปฐม และทอดพระเนตรเห็นสุนัขตัวนี้ และตรัสชมว่าน่าเอ็นดู หลวงชัยอาญาจึงน้อมเกล้าฯ ถวาย พระองค์จึงทรงรับมาเลี้ยง และพระราชทานนามว่า "ย่าเหล"

สำหรับชื่อย่าเหลนั้น พระองค์ทรงตั้งจากชื่อตัวละครเอก เอมิล ยาร์เลต์ (Emile Jarlet) จากบทละครอังกฤษเรื่อง "My friend Jarlet" ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นบทละครภาษาไทย ชื่อ "มิตรแท้" และยังทรงพระราชนิพนธ์ละครพูดเรื่อง "เพื่อนตาย" ตามเค้าโครงภาษาอังกฤษด้วย

สร้างศัตรู

ย่าเหลเป็นสุนัขที่ฉลาดแสนรู้ และช่างประจบ คอยถวายความจงรักภักดีพระเจ้าอยู่หัวเสมือนเป็นทหารรักษาพระองค์ ทำให้เป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่ง และด้วยเหตุนี้จึงสร้างความอิจฉาและเกลียดในหมู่ข้าราชบริพารบางคน หากข้าราชบริพารคนใดแต่งกายไม่เรียบร้อย ก็จะถูกย่าเหลกัดต่อหน้าพระที่นั่ง สร้างความละอายและเจ็บแค้นแก่ผู้ที่ถูกกัดนั้นเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยลำพัง โดยมิได้นำย่าเหลไปด้วย จึงมีมหาดเล็กบางคนคอยทำร้ายเอาก็มี

เล่ากันว่าย่าเหลชอบหนีออกไปเที่ยว เป็นเหตุให้พระเจ้าอยู่หัวต้องทรงตามหาอยู่หลายครั้ง ในภายหลังทรงโปรดฯ ให้ทำป้ายแขวนคอ เขียนบอกว่า สุนัขตัวนี้เป็นสุนัขของพระเจ้าอยู่หัว ผู้ใดพบนำคืน จะได้รับพระราชทานรางวัล

สิ้นชีวิต

ในปีที่ 5 ที่ย่าเหลเข้ามาเป็นสุนัขหลวงในพระราชวัง วันหนึ่งผู้ไปพบย่าเหลนอนตายข้างกำแพงพระบรมมหาราชวัง ด้านวัดโพธิ์ ท่าเตียน มีรอยถูกปืนยิง ตามรูปการณ์เชื่อว่าคนที่ฆ่าย่าเหลต้องมิใช่มหาดเล็กธรรมดา เพราะผู้ที่มีปืนในสมัยนั้น จะต้องมียศฐาชั้นเจ้าคุณขึ้นไป หรืออาจเป็นชั้นเจ้านายก็เป็นได้

ในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงโทมนัสอย่างยิ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานศพแก่ย่าเหล มีหีบใส่ศพอย่างดี ปิดทองที่มุมโลง และโปรดฯให้แกะสลักรูปย่าเหลวางไว้บนโลงด้วย ทั้งยังให้มหาดเล็กแต่งตัวเป็นสัตว์นานาชนิดเข้าร่วมขบวนแห่ศพด้วย นอกจากนี้ยังมีของชำร่วยแจกในงานศพ เป็นผ้าเช็ดหน้าพิมพ์รูปย่าเหล และมีตราวชิระที่มุมด้านขวา พระราชทานเป็นของที่ระลึกแก่ทุกคนที่ไปร่วมงานด้วย

  • แหล่งอ้างอิง
  • แหล่งอ้างอิง
  • แหล่งอ้างอิง

อนุสรณ์ย่าเหล

หลังงานศพของย่าเหล พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้น หล่อรูปย่าเหลด้วยโลหะทองแดง ประดิษฐานไว้หน้าพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนไว้อาลัยแก่ย่าเหล จารึกไว้ที่ด้านข้างของอนุสาวรีย์ ดังนี้

๏ อนุสาวรีย์นี้เตือนจิตร์ ให้กูคิดรำพึงถึงสหาย
โอ้อาไลยใจจู่อยู่ไม่วาย กูเจ็บคล้ายศรศักดิ์ปักอุรา
ยากที่ใครเขาจะเห็นหัวอกกู เพราะเขาดูเพื่อนเห็นแต่เป็นหมา
เขาดูแต่เปลือกนอกแห่งกายา ไม่เห็นฦกตรึกตราถึงดวงใจ
เพื่อนเป็นมิตร์ชิดกูอยู่เนืองนิตย์ จะหามิตร์เหมือนเจ้าที่ไหนได้
ทุกทิวาราตรีไม่มีไกล กูไปไหนเจ้าเคยเป็นเพื่อนทาง
ช่างจงรักภักดีไม่มีหย่อน จะนั่งนอนยืนเดินไม่เหินห่าง
ถึงยามกินเคยกินกับกูพลาง ถึงยามนอน ๆ ข้างไม่ห่างไกล
อันตัวเพื่อนเหมือนมนุษสุจริต จะผิดอยู่แต่เพียงพูดไม่ได้
แต่เมื่อกูใคร่รู้ความในใจ กูมองดูรู้ได้ในดวงตา
โอ้อกกูดูเพื่อนอยู่หรัด ๆ เพื่อนมาพลัดพรากไปไม่เห็นหน้า
กูเผลอ ๆ ก็เชง้อเผื่อเพื่อนมา เสียงกุกกักก็ผวาตั้งตามอง
อันความตายเป็นธรรมดาโลก กูอยากตัดความโศรกกระมลหมอง
นี่เพื่อนตายเพราะผู้ร้ายมันมุ่งปอง เอาปืนจ้องสังหารผลาญชีวี
เพื่อนมอดม้วยด้วยมือทุรชน เอารูปคนสรวมใส่คลุมใจผี
เป็นคนจริงฤๅจะปราศซึ่งปรานี นี่รากษสอัปปรีปราศเมตตา
มันยิงเพื่อนเหมือนกูพลอยถูกด้วย แทบจะม้วยชีวังสิ้นสังขาร์
จะหาเพื่อนเหมือนเจ้าที่ไหนมา ช้ำอุราอาไลยไม่วายวัน
เมื่อยามมีชีวิตร์สนิทใจ ยามบรรไลยลับล่วงดวงใจสั่น
ด้วยอำนาจจงรักภักดีนั้น ขอให้เพื่อนขึ้นสวรรค์สำราญรมย์
ถึงจะมีหมาอื่นมาแทนที่ กูก็รักเพื่อนนี้เป็นปฐม
ที่ไหนเล่าจะสนิทและชิดชม ที่ไหนเล่าจะนิยมเท่าเพื่อนรัก
ถึงแม้จะไม่มีรูปนี้ไว้ รูปเพื่อนฝังดวงใจกูตระหนัก
แต่รูปนี้ไว้เป็นพยานรัก ให้ประจักษ์แก่คนผู้ไมตรี
เพื่อนเป็นเยี่ยงอย่างมิตร์สนิทยิ่ง ภักดีจริงต่อกูอยู่เต็มที่
แม้คนใดเป็นได้อย่างเพื่อนนี้ ก็ควรนับว่าดีที่สุดเอย