ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จอภาพพลาสมา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Plasma display.jpg|thumb|right|ตัวอย่างจอภาพพลาสมา]]
[[ไฟล์:Plasma display.jpg|thumb|right|ตัวอย่างจอภาพพลาสมา]]


'''จอภาพพลาสมา''' ({{lang-en|plasma display (panel): PDP}}) คือ จอภาพที่ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอน มีชั้นผนัง (rib) กั้นไว้ โดยใช้[[ขั้วไฟฟ้า]]ในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่าง[[ก๊าซซีนอน]]และ[[ก๊าซเฉื่อย]]อื่นๆ กลไกการทำงานของจอภาพพลาสมา จะมีการเรืองแสงขึ้นเองเหมือนการทำงานของ[[หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์]] กล่าวคือ ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วย[[แรงดันไฟฟ้า]]จะเกิดการ[[ไอออนไนซ์]]ขึ้นทำให้ก๊าซแตก[[ประจุ]]และปล่อยแสง[[อุลตราไวโอเล็ต]]ออกมา สารเรื่องแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเล็ตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้
'''จอภาพพลาสมา''' ({{lang-en|plasma display (panel): PDP}}) คือ จอภาพที่ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอน มีชั้นผนัง (rib) กั้นไว้ โดยใช้[[ขั้วไฟฟ้า]]ในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่าง[[ก๊าซซีนอน]]และ[[ก๊าซเฉื่อย]]อื่นๆ กลไกการทำงานของจอภาพพลาสมา จะมีการเรืองแสงขึ้นเองเหมือนการทำงานของ[[หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์]] กล่าวคือ ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วย[[แรงดันไฟฟ้า]]จะเกิดการ[[ไอออนไนซ์]]ขึ้นทำให้ก๊าซแตก[[ประจุ|ปรกะจุ]]และปล่อยแสง[[อุลตราไวโอเล็ต]]ออกมา สารเรื่องแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเล็ตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้


หัวใจของเทคโนโลยีจอภาพพลาสมาจึงอยู่ที่พลาสมาทุกหน่วยที่มาประกอบ เซลล์แสงภายในแผ่นแก้วของจอภาพพลาสมา จะแยกอิสระแต่ทำงานร่วมกัน โดยมี Pure Vision Cell Size ที่อยู่ 0.286 X 0.808 มม.
หัวใจของเทคโนโลยีจอภาพพลาสมาจึงอยู่ที่พลาสมาทุกหน่วยที่มาประกอบ เซลล์แสงภายในแผ่นแก้วของจอภาพพลาสมา จะแยกอิสระแต่ทำงานร่วมกัน โดยมี Pure Vision Cell Size ที่อยู่ 0.286 X 0.808 มม.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:51, 3 มกราคม 2562

ตัวอย่างจอภาพพลาสมา

จอภาพพลาสมา (อังกฤษ: plasma display (panel): PDP) คือ จอภาพที่ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอน มีชั้นผนัง (rib) กั้นไว้ โดยใช้ขั้วไฟฟ้าในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่างก๊าซซีนอนและก๊าซเฉื่อยอื่นๆ กลไกการทำงานของจอภาพพลาสมา จะมีการเรืองแสงขึ้นเองเหมือนการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ กล่าวคือ ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าจะเกิดการไอออนไนซ์ขึ้นทำให้ก๊าซแตกปรกะจุและปล่อยแสงอุลตราไวโอเล็ตออกมา สารเรื่องแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเล็ตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้

หัวใจของเทคโนโลยีจอภาพพลาสมาจึงอยู่ที่พลาสมาทุกหน่วยที่มาประกอบ เซลล์แสงภายในแผ่นแก้วของจอภาพพลาสมา จะแยกอิสระแต่ทำงานร่วมกัน โดยมี Pure Vision Cell Size ที่อยู่ 0.286 X 0.808 มม.

ในจอภาพพลาสมาแบบสี ภาพจะถูกสร้างขึ้นจากจุดหลายๆ จุด แต่ละจุดเรียกว่า พิกเซล แต่ละพิกเซลจะประกอบขึ้นจากเซลล์สี 3 เซลล์คือ แดง เขียว น้ำเงิน ดังนั้นความแตกต่างพื้นฐานประการหนึ่งระหว่างจอภาพพลาสมากับ CRT เช่นโทรทัศน์ธรรมดาทั่วไป จึงอยู่ตรงที่ จอภาพพลาสมา (รวมทั้งจอภาพผลึกเหลว) จะดูค่าความละเอียดที่จำนวนพิกเซล ขณะที่ CRT จะดูที่ความเร็วในการสแกนภาพ

ยังมีความแตกต่างอีกหลายประการที่ทำให้จอภาพพลาสมาโดดเด่นกว่าจอภาพ CRT เช่น ขนาดที่สามารถผลิตได้ใหญ่กว่า ความละเอียดของคุณภาพสูงกว่า คุณภาพในแง่ต่างๆ ของภาพดีกว่า รวมไปถึงนำหนักที่เบากว่า และปลอดจากการรบกวนของสนามแม่เหล็ก เป็นต้น

ปัจจุบัน จอภาพพลาสมาสามารถผลิตได้ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 103 นิ้ว ส่งสัญญาณภาพด้วยระบบ Full High Definition แสดงภาพได้ 1080p ผลิตโดยบริษัท มัตสุซิตะ อิเล็คทริค อินดัสเตรียล จำกัด (Panasonic) ในประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นโรงงานที่ผลิตจอภาพพลาสมา ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

ผู้ผลิตจอแสดงผลพลาสมา

ผู้ผลิตที่ได้หยุดการผลิตจอแสดงผลพลาสม่าแล้ว

ดูเพิ่ม