ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ"

พิกัด: 13°46′42″N 100°33′26″E / 13.778200°N 100.557130°E / 13.778200; 100.557130
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| สี = [[สีฟ้า|{{แถบสีสามกล่อง|#33FFFF}} ฟ้า]] <br>[[สีม่วง|{{แถบสีสามกล่อง|#660099}} ม่วง]]
| สี = [[สีฟ้า|{{แถบสีสามกล่อง|#33FFFF}} ฟ้า]] <br>[[สีม่วง|{{แถบสีสามกล่อง|#660099}} ม่วง]]
| ต้นไม้ = [[ต้นอินทนิล]]
| ต้นไม้ = [[ต้นอินทนิล]]
| ที่ตั้ง= เลขที่ 122 [[ถนนวิภาวดีรังสิต]] แขวงรัชดาภิเษก [[เขตดินแดง]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10400
| ที่ตั้ง= เลขที่ 122 [[ถนนวิภาวดีรังสิต]] แขวงดินแดง [[เขตดินแดง]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10400
| เว็บไซต์ = http://www.cpc.ac.th
| เว็บไซต์ = http://www.cpc.ac.th
}}
}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:58, 19 ธันวาคม 2561

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
ชื่อย่อมทร.ตะวันออก วข.จักรพงษภูวนารถ / RMUTTO CPC
คติพจน์ราชมงคลสร้างคนสู่งานเชี่ยวชาญเทคโนโลยี
ราชมงคลทั้งเก้าแห่ง
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนา13 มิถุนายนพ.ศ. 2517
ที่ตั้ง
เว็บไซต์http://www.cpc.ac.th
ดูบทความเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Tawan-Ok : Chakrabongse Bhuvanarth Campus)เป็นวิทยาเขตหนึ่งที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเน้นการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านบริหารธุรกิจ การบริหารจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อย่างมีคุณภาพสามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 122 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

ประวัติการก่อตั้ง

ไฟล์:Cpc campus.jpg
ภาพวิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ขณะก่อสร้างอาคารจักรพงษ์ 13/1/2553

วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ก่อตั้งขึ้น เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนบุตรข้าราชการกองทัพบกส่วนกลาง" โดยจอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นผู้ริเริ่ม

งบประมาณในการก่อสร้างได้มาจาก "เงินงบ ง.ส.ร.บ." ที่ จอมพลผิน ชุณหะวัณ ได้ชักชวนให้ข้าราชการในสังกัดกองทัพบกทุกท่านเสียสละเงินรายได้ปีละ 1 วัน เพื่อสมทบทุนก่อสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการจัดการด้านศึกษาของชาติ และเป็นการตอบแทน ข้าราชการสังกัดกองทัพบก ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติด้วยความเสียสละ ไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องการจัดหาโรงเรียนให้บุตรหลาน ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เป็นต้นมาแล้ว

โรงเรียนบุตรข้าราชการกองทัพบกส่วนกลาง แล้วเสร็จ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2511 บนเนื้อที่ประมาณ 28 ไร่ ริมถนนวิภาวดีรังสิต เปิดสอนเฉพาะสายสามัญอย่างเดียว โดยมี จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น และท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร เป็นผู้อุปถัมภ์

โรงเรียนพณิชยการบุตรข้าราชการกองทัพบก

จัดตั้งขึ้นโดยกองทัพบก เมื่อปี พ.ศ. 2515 เพื่อให้บุตรข้าราชการกองทัพบก และบุคคลอื่นได้ศึกษาสายอาชีพต่อจากสายสามัญ เป็นอาคารเรียน 2 หลัง บ้านพักอาจารย์ 1 หลังด้านหลังอาคารเรียน เนื้อที่ประมาณ 11 ไร่ เปิดสอนแผนกพณิชยการหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการรับสมัครเข้าเรียนปีแรกด้วยการสอบสัมภาษณ์ มีผู้สมัครและเข้าเรียนในปีแรกประมาณ 400 คน แบ่งเป็น 9 ห้องเรียนละประมาณ 40-50 คน โดยส่วนใหญ่เป็นบุตรของข้าราชการกองทัพบก โดยในปีการศึกษาแรก คือ ปีการศึกษา 2515 เป็นการเรียนรวม และแยกแผนกในปีการศึกษาที่สอง คือ ปีการศึกษา 2516 เป็น 3 แผนก คือ แผนกบัญชี แผนกเลขานุการ และแผนกการขาย

โรงเรียนอาชีวศึกษาบุตรข้าราชการกองทัพบก

ภายหลังจากปีการศึกษา 2515 ที่ดำเนินการสอนแผนกพณิชยการมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี ในปีการศึกษา 2516 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  1. มีการเปิดสอนแผนกช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า และช่างวิทยุ เพิ่มขึ้น จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนพณิชยการบุตรข้าราชการกองทัพบก เป็น "โรงเรียนอาชีวศึกษาบุตรข้าราชการกองทัพบก"
  2. มีการรับนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกมาจากโรงเรียนพณิชยการพระนคร (ในขณะนั้น)เข้าศึกษาในปีที่หนึ่งแทนการเปิดรับสมัครสอบเองโดยตรง
  3. นักเรียนพณิชยการที่สอบผ่านในปีแรก ได้คัดเลือกออกเป็น 3 แผนก คือ แผนกบัญชี แผนกการขาย และแผนกเลขานุการ แผนกละ 2 ห้องเรียน
  4. ได้มีการส่งนักเรียนพณิชยการส่วนหนึ่งเข้าสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ แผนกทั่วไป ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรุ่นแรก ได้รับประกาศนียบัตร ฯ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2517

ภายหลังกองทัพบกได้ มอบให้เป็นหน้าที่ของ กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการต่อ เพราะพิจารณาเห็นถึงปัญหาการขาดแคลนผู้ชำนาญในการจัดการ ตลอดจนอาคารเรียน อุปกรณ์ ที่ดิน และทรัพย์สิน

วิทยาลัยจักรพงษภูวนารถ

ไฟล์:ร.5กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ.jpg
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายร่วมกับจอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ


พลเอกกฤษณ์ สีวะรา ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น มอบอาคารเรียน อุปกรณ์ ที่ดินและทรัพย์สินให้กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2517และให้โรงเรียนบุตรข้าราชการกองทัพบกส่วนกลางเข้าสังกัดกรมสามัญศึกษา และโรงเรียนอาชีวศึกษาบุตรข้าราชการกองทัพบกสังกัด กรมอาชีวศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ขอพระราชทานนาม "จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ" ซึ่งเป็นเสนาธิการกองทัพบกและเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นชื่อแทน "โรงเรียนอาชีวศึกษาบุตรข้าราชการกองทัพบก" โดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยจักรพงษภูวนารถ" เพื่อเป็นเกียรติแก่กองทัพบก เช่นเดียวกันกับ โรงเรียนบุตรข้าราชการกองทัพบกส่วนกลางโดยได้นำชื่อจอมพลมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกคนแรก เป็นชื่อโรงเรียนเพื่อเป็นเกียรติแก่กองทัพบกเช่นเดียวกัน ก็คือโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีในปัจจุบัน

  • หมายเหตุ พระนาม กับ ชื่อวิทยาเขตนั้น จะเขียนต่างกัน เนื่องจากวิทยาเขตใช้การพ้องเสียงเหมือนพระนามเท่านั้น แต่ไม่ได้พ้องรูปเหมือนพระนามโดยตรง

หากเป็นพระนามจะเขียนดังนี้ จอมพลสมเด็จฯเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ ข้อสังเกตถ้าเป็นการเขียนพระนาม จะต้องใส่ทัณฑฆาต บน ษ.ฤๅษี ที่คำว่า พงษ์ และคำว่า นาถ จะไม่มี ร.เรือ ซึ่งต่างจากชื่อวิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ คือ ไม่ต้องใส่ทัณฑฆาต บน ษ.ฤๅษี และคำว่า นารถ จะต้องมี ร.เรือ


ปีการศึกษา 2517 นักเรียนแผนกพณิชยการ (บัญชี เลขานุการ และการขาย)ได้สำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรก รับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพ แผนกพณิชยการ (หลักสูตร 3 ปี) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2518 และในปีการศึกษา 2517 นี้เอง นักเรียนแผนกช่างกล ได้ย้ายไปเรียนรวมกับโรงเรียนช่างฝีมือทหารในปีการศึกษาที่ 2 และไม่มีการเปิดรับสมัครนักเรียนช่างกลอีกต่อไป จึงทำให้มีนักเรียนช่างกลรุ่นเดียวของวิทยาลัย ฯ ที่ได้สำเร็จการศึกษา ในปี 2519 ตามโครงการของกรมอาชีวศึกษา

วิทยาลัยจักรพงษภูวนารถ ย้ายไปสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ตามพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัดกรมอาชีวศึกษา 28 แห่ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2520

เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายวิชาบริหารธุรกิจ 3 สาขาวิชา คือ การบัญชี การตลาด และเลขานุการ ในปี พ.ศ. 2527

พ.ศ. 2528 เปิดสอนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในภาคเวลาราชการปกติ

พ.ศ. 2529 เปิดสอนภาคนอกเวลาราชการปกติ (รอบบ่าย) ระดับปวส. สายวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด และ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 วิทยาลัยจักรพงษภูวนารถ เปลี่ยนเป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ" ตามวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ให้ว่า "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล" และเปิดสอนภาคนอกเวลาราชการปกติ (รอบบ่าย) ระดับ ปวส. สายวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี

  • พ.ศ. 2537 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเอก ระบบสารสนเทศ ภาคปกติ
  • เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการท่องเที่ยว ภาคปกติ และระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกระบบสารสนเทศ ภาคสมทบ และวิชาเอกการจัดการทั่วไป ภาคปกติ ปีพ.ศ. 2540
  • พ.ศ. 2541 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) บริหารธุรกิจบัณฑิต ภาคสมทบ สาขาวิชาเอก การจัดการทั่วไป
  • พ.ศ. 2542 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี บริหารธุรกิจบัณฑิต ภาคปกติ สาขาวิชาเอก การจัดการทั่วไป
  • พ.ศ. 2543 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) ภาคปกติ สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์ วิชาเอก เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และงดรับนักศึกษาในระดับ ปวช. ตามนโยบายสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่มีจะผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 และงดรับนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขาวิชาการท่องเที่ยว
  • พ.ศ. 2544 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี บริหารธุรกิจบัณฑิต ภาคปกติ สาขาวิชาเอก การตลาด และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล หลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) บริหารธุรกิจบัณฑิต ภาคปกติ สาขาวิชาเอกการบัญชี และการตลาด
  • พ.ศ. 2547 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิทยาศาสตรบัณฑิต ภาคปกติ สาขาวิชาเอก วิทยาการคอมพิวเตอร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ปัจจุบัน วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี มีทั้งหลักสูตรปกติและสบทบ ต่อเนื่องทั้งหมด 2 คณะ ดังต่อไปนี้

  • คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาการตลาด
  • สาขาการตลาด (2ปี ต่อเนื่อง)
  • สาขาการจัดการ
  • สาขาการจัดการ (2ปี ต่อเนื่อง)
  • สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง
  • สาขาเศรษฐศาสตร์
  • สาขาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
  • สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์-คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์-คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (2ปี ต่อเนื่อง)

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

  • สาขาการบัญชี
  • สาขาการบัญชี (2ปี ต่อเนื่อง)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

  • สาขามัลติมีเดีย


  • คณะศิลปศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
  • สาขาการท่องเที่ยว

สาขาที่กำลังจะเปิดสอนในอนาคต

  • สาขาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • สาขาพลศึกษาและนันทนาการ

แหล่งข้อมูลอื่น

13°46′42″N 100°33′26″E / 13.778200°N 100.557130°E / 13.778200; 100.557130