ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครื่องเทศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มอ้างอิง
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Spices_in_an_Indian_market.jpg|thumb|เครื่องเทศนานาชนิด]]
[[ไฟล์:Spices_in_an_Indian_market.jpg|thumb|เครื่องเทศนานาชนิด]]
'''เครื่องเทศ''' หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ของ[[พืช]]เช่น [[เมล็ด]] เปลือกเมล็ด [[ผล]] ผิวนอกของผล ใบ ราก ลำต้น ฯลฯ ที่ทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็น[[เครื่องปรุง]]ใน[[อาหาร]] เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีเครื่องเทศเป็นจำนวนมาก เช่น [[กระวาน]] [[กานพลู]] [[จันทน์เทศ]] [[ดีปลี]] [[ยี่หร่า]] [[หญ้าฝรั่น]] [[มะกรูด]] [[พริก]] [[พริกไทย]] [[อบเชย]]<ref>https://www.greenshopcafe.com/greennews931.html</ref> แม้กระทั่ง [[งา]]
'''เครื่องเทศ''' หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ของ[[พืช]]เช่น [[เมล็ด]] เปลือกเมล็ด [[ผล]] ผิวนอกของผล ใบ ราก ลำต้น ฯลฯ ที่ทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็น[[เครื่องปรุง]]ใน[[อาหาร]] เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีเครื่องเทศเป็นจำนวนมาก เช่น [[กระวาน]] [[กานพลู]] [[จันทน์เทศ]] [[ดีปลี]] [[ยี่หร่า]] [[หญ้าฝรั่น]] [[มะกรูด]] [[พริก]] [[พริกไทย]] [[อบเชย]]<ref>https://www.greenshopcafe.com/greennews931.html</ref><ref>http://taxclinic.mof.go.th/สินค้า-91-คลินิกภาษีเครื่องเทศ.html</ref>แม้กระทั่ง [[งา]]


เครื่องเทศมีปรากฏในหลาย[[วัฒนธรรม]]มาตั้งแต่ครั้งโบราณ เครื่องเทศของไทยแต่เดิมอาศัยพืชผักที่ปรากฏเฉพาะในท้องถิ่นของเรา แต่เมื่อได้ติดต่อกับต่างชาติ ทำให้เรารับเอาเครื่องเทศจากชาติอื่นมาใช้ด้วย
เครื่องเทศมีปรากฏในหลาย[[วัฒนธรรม]]มาตั้งแต่ครั้งโบราณ เครื่องเทศของไทยแต่เดิมอาศัยพืชผักที่ปรากฏเฉพาะในท้องถิ่นของเรา แต่เมื่อได้ติดต่อกับต่างชาติ ทำให้เรารับเอาเครื่องเทศจากชาติอื่นมาใช้ด้วย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:05, 8 ธันวาคม 2561

เครื่องเทศนานาชนิด

เครื่องเทศ หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ของพืชเช่น เมล็ด เปลือกเมล็ด ผล ผิวนอกของผล ใบ ราก ลำต้น ฯลฯ ที่ทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหาร เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีเครื่องเทศเป็นจำนวนมาก เช่น กระวาน กานพลู จันทน์เทศ ดีปลี ยี่หร่า หญ้าฝรั่น มะกรูด พริก พริกไทย อบเชย[1][2]แม้กระทั่ง งา

เครื่องเทศมีปรากฏในหลายวัฒนธรรมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เครื่องเทศของไทยแต่เดิมอาศัยพืชผักที่ปรากฏเฉพาะในท้องถิ่นของเรา แต่เมื่อได้ติดต่อกับต่างชาติ ทำให้เรารับเอาเครื่องเทศจากชาติอื่นมาใช้ด้วย

ขึ้นชื่อว่าเครื่องเทศมีอยู่ 1 ชนิดที่ถูกกล่าวขานกันว่าเป็นราชาของเครื่องเทศนั้นก็คือพริกไทยมีรสชาติเผ็ดร้อนนิยมใช้กันเป็นเครื่องปรุงและเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารชนิดต่าง ๆ[3]

อย่างไรก็ตามในชาติตะวันตก ถือว่าเครื่องเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหาร จึงมีการเดินทางเสาะหาเครื่องเทศจากทั่วโลก ทำให้เกิดการค้าเครื่องเทศขึ้นอย่างจริงจัง และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเดินทางสำรวจโลกของชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิด "เส้นทางสายเครื่องเทศ" ขึ้นอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]

นิยาม

นิยามตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเครื่องเทศ คือ ของหอมฉุน และเผ็ดร้อนที่ได้จากต้นไม้ สำหรับใช้ทำยาและปรุงอาหาร แต่ในทางสากลคำว่า "Spices" หมายถึง ส่วนของพืชไม่ว่าจะเป็นชิ้น หรือบดเป็นผงซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นรสเผ็ด ร้อนขึ้นในอาหารหรือเครื่องดื่มทำให้เกิดความรู้สึกน่ารับประทานและรสชาติดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีคำว่า Condiments ซึ่งหมายถึง เครื่องเทศที่ใช้ใส่หรือโรยอาหารที่ปรุงสุกแล้ว[4]

ประเภทของเครื่องเทศ

เครื่องเทศสามารถแบ่งได้หลายชนิด แล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง

  • จำแนกเครื่องเทศตามแหล่งปลูก

- เครื่องเทศในเขตอบอุ่น (Temperate spices) ตัวอย่างเช่น ออริกาโน เบย์ กระเทียม

- เครื่องเทศในเขตร้อน (Tropical spices) ตัวอย่างเช่น อบเชย ลูกจันทร์ พริกไทย กระวาน ขิง กะเพรา ตะไคร้

  • จำแนกเครื่องเทศตามลักษณะการเจริญเติบโต

- ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ (Small evergreen) ตัวอย่างเช่น กานพลู จันทร์เทศ อบเชย

- ไม้เถาอายุยืน (Perennial herbaceous) ตัวอย่างเช่น พริกไทย วานิลา

- ไม้หัวอายุยืน (Pernnial herbs rhizomatous) ตัวอย่างเช่น ข่า ขมิ้น กระวาน

- ไม้ฤดูเดียว (Annual herbs) ตัวอย่างเช่น พริก ผักชี ยี่หร่า

อ้างอิง

ดูเพิ่ม