ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ฟร็องซัว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{infobox royalty
{{infobox royalty
| name = เจ้าหญิงแอนน์
| name = เจ้าหญิงแอนน์
| title = [[ราชกุมารี]]
| title = [[ราชกุมารี]]<br>เจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักร
| image = ไฟล์:Anne, Princess Royal - Chatham House Prize 2015 crop.jpg
| image = ไฟล์:Anne, Princess Royal - Chatham House Prize 2015 crop.jpg
| caption =
| caption =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:02, 13 พฤศจิกายน 2561

เจ้าหญิงแอนน์
ราชกุมารี
เจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักร
ประสูติ15 สิงหาคม พ.ศ. 2493 (73 ปี)
พระตำหนักคลาเรนซ์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
พระสวามีมาร์ก ฟิลลิปส์ (2516–2535)
ทิโมที ลอเรนซ์ (2535–ปัจจุบัน)
พระนามเต็ม
แอนน์ อีลิซาเบท อลิซ หลุยส์
พระบุตรปีเตอร์ ฟิลลิปส์
ซารา ทินดัลล์
ราชวงศ์วินด์เซอร์
พระบิดาเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ
พระมารดาสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ศาสนาคริสตจักรอังกฤษ

เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี (อังกฤษ: Anne, Princess Royal; 15 สิงหาคม พ.ศ. 2493) หรือพระนามเต็ม แอนน์ อีลิซาเบท อลิซ หลุยส์ (Anne Elizabeth Alice Louise) เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่สองและเป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เมื่อแรกประสูติกาล พระองค์อยู่ในลำดับที่สามแห่งการสืบราชสันตติวงศ์สหราชอาณาจักรต่อจากเจ้าหญิงเอลิซาเบธ (พระชนนี – พระยศในขณะนั้น) และเจ้าชายชาลส์ พระเชษฐา และเคยอยู่ในลำดับที่สองหลังพระชนนีขึ้นเสวยราชสมบัติ แต่ปัจจุบันทรงอยู่ในลำดับที่สิบสามแห่งการสืบราชสันตติวงศ์

พระองค์เป็นที่รู้จักการประกอบพระกรณียกิจด้านการกุศลและทรงอุปภัมภ์องค์กรต่าง ๆ กว่า 200 แห่ง รวมทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพด้านการขี่ม้า พระองค์ได้รับเหรียญเงินสองเหรียญใน พ.ศ. 2518 และเหรียญทองหนึ่งเหรียญใน พ.ศ. 2514 จากการแข่งขันในรายการการแข่งม้าประเภทอีเวนติ้งชิงแชมป์ยุโรป (European Eventing Championships)[1] และเป็นสมาชิกของราชวงศ์แห่งสหราชอาณาจักรพระองค์แรกที่ทรงเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เจ้าหญิงแอนน์ได้รับพระราชทานอิสริยยศเป็น ราชกุมารี ใน พ.ศ. 2530 และเป็นพระราชกุมารีพระองค์ที่เจ็ด

เจ้าหญิงแอนน์เสกสมรสครั้งแรกกับร้อยเอก มาร์ก ฟิลลิปส์เมื่อ พ.ศ. 2516 และทรงหย่าเมื่อปี พ.ศ. 2535 มีพระบุตรสองคนและพระนัดดาสี่คน ต่อมาพระองค์เสกสมรสหนที่สองกับนาวาโท (ปัจจุบันเป็นพลเรือโท) เซอร์ทิโมที ลอเรนซ์ ราชองครักษ์ในสมเด็จพระราชินีนาถ ซึ่งเสกสมรสกันในปี พ.ศ. 2535 เดือนเดียวกับที่ทรงหย่ากับอดีตพระสวามี

พระชนม์ชีพในวัยเยาว์

เจ้าหญิงแอนน์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ที่บ้านคลาเรนซ์ ในลอนดอน เป็นพระธิดาพระองค์เดียวในเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระและเจ้าหญิงอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ (สมเด็จพระราชินีนาถพระองค์ปัจจุบัน)

แอนน์ทรงรับบับติศมาที่ห้องดนตรี ในพระราชวังบักกิงแฮม เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1950 พระองค์มีพระบิดาและพระมารดาทูนหัวคือ เอิร์ลเมาต์แบตเตนแห่งพม่า แอนดรูว์ เอลฟินสโตน สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี เจ้าหญิงอลิซแห่งกรีซและเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงมาร์การีตาแห่งกรีซและเดนมาร์ก

ในปี ค.ศ. 1948 ก่อนที่เจ้าชายชาลส์ พระเชษฐาของแอนน์จะเสด็จพระราชสมภพไม่นาน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร มีพระราชโองการให้พระราชโอรสธิดาทุกพระองค์ที่ประสูติจากเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ จะทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าชาย หรือ เจ้าหญิง แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือตั้งแต่แรกประสูติทุกพระองค์

การศึกษา

เจ้าหญิงแอนน์ทรงเริ่มต้นการศึกษาจากชั้นเรียนขนาดเล็กซึ่งเข้ามาถวายพระอักษรที่พระราชวังบักกิงแฮม ในปี1962 สมเด็จพระราชินีนาถก่อนที่จะเสวยราชย์ย้ายไปประทับที่อื่น แอนน์ทรงรับการศึกษาจากชั้นเรียนส่วนตัวที่ประเทศฝรั่งเศส ในปีถัดมาทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเบนเดน ซึ่งอยู่ในเมืองเคนต์

ชีวิตของเจ้าหญิง

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1952 พระเจ้าจอร์จที่ 6 พระอัยกีของเจ้าหญิงแอนน์สวรรคต พระมารดาได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์ เจ้าหญิงแอนน์ทรงเลื่อนพระราชสถานะขึ้นเป็นเฮอร์รอยัลไฮเนส แต่เนื่องจากขณะนั้นพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก พระองค์จึงมิได้ตามเสด็จฯ พระมารดาไปในพระราชพิธีราชาภิเษก เจ้าหญิงแอนน์ทรงเริ่มบำเพ็ญพระกรณียกิจเป็นครั้งแรกในราวปีคศ. 1968-1970

เจ้าหญิงโปรดการทรงม้า และรับสั่งว่ามันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิตพระองค์ เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา แอนน์ทรงชนะการแข่งขัน และ 5 ปีต่อมาทรงชนะรางวัลเหรียญเงินที่ประเทศเยอรมนี และในการแข่งขันโอลิมปิกปีต่อมา พระองค์ก็ทรงเข้าเริ่มด้วย

เสกสมรสครั้งแรก

วันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1973 เจ้าหญิงแอนน์ทรงเสกสมรสกับมาร์ก ฟิลิปส์ พระราชพิธีถูกถ่ายทอดไปทั่วโลก โดยมีผู้ชมกว่าหนึ่งร้อยล้านคน จากภาพ เด็กผู้ชายที่ประทับยืนด้านซ้ายสุดคือเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เด็กหญิงด้านขวาสุดคือเลดีซาราห์ ชัตโต้ (พระธิดาในเจ้าหญิงมากาเร็ต) ในวันพระราชพิธีสมเด็จพระราชินีนาถรับสั่งกับมาร์กว่าพระราชทานตำแหน่งให้เป็นเอิร์ล แต่มาร์กปฏิเสธ เชื่อว่าเป็นพระราชประสงค์ของแอนน์ที่จะปกป้องพระโอรสพระธิดาที่จะเกิดในไม่ช้าจากสื่อ ซึ่งถ้าหากพระโอรสพระธิดามียศนำหน้า ย่อมตกเป็นที่สนใจ ดังนั้นพระโอรสและธิดาของแอนน์จึงเป็นพระราชนัดดาของกษัตริย์อังกฤษคนแรก (คู่แรก?) ที่ไม่มียศใดๆ นำหน้าชื่อเลยนอกจาก นาย และ นางสาว (นาง)

พระโอรสและพระธิดา

เจ้าหญิงแอนน์มีพระโอรสธิดากับมาร์ก 2 คน ทั้งสองคนเกิดวันที่ 15 เช่นเดียวกับเจ้าหญิงแอนน์

พระราชกุมารี

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2530 สมเด็จพระราชินีนาถพระราชทานสถาปนาเจ้าหญิงแอนน์ ให้ขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น "ราชกุมารี" ซึ่งเป็นการสถาปนาตำแหน่งนี้ครั้งที่ 7 พระอิสริยยศนี้จะพระราชทานให้เฉพาะกับพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น สำหรับราชกุมารีพระองค์ก่อนคือเจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเคาน์เตสแห่งแฮร์วูด

ในปี พ.ศ. 2539 เจ้าหญิงแอนน์เสด็จไปทรงร่วมพระราชกรณียกิจที่ประเทศสกอตแลนด์ ในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์ทางทหาร ซึ่งมีลำดับพระยศสูงกว่าตำแหน่งของราชกุมารี

การหย่าและเสกสมรสครั้งที่สอง

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2532 แอนน์และมาร์กประกาศว่าทั้งสองได้แยกกันอยู่มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว และได้หย่าขาดจากกันในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535ในวันที่ 12 เดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นเอง แอนน์ทรงเสกสมรสอีกครั้ง กับทีโมที ลอเรนซ์ นายทหารเรือ ทั้งสองไม่มีพระโอรสธิดาร่วมกัน

พระกรณียกิจ

เจ้าหญิงแอนน์ทรงเริ่มบำเพ็ญพระราชกรณียกิจครั้งแรกเมื่อพระชนม์ได้ 18 พรรษา เมื่อพระองค์ทรงทรงเปิดศูนย์การศึกษาและฝึกฝนที่ชรอปไชร์ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกันนั้น ทรงตามเสด็จฯ พระมารดาและพระบิดาไปยังประเทศออสเตรเลีย

พระราชกรณียกิจของเจ้าหญิงแอนน์นั้นมีมากมาย พระองค์ทรงมีโครงการในพระอุปถัมป์มากกว่า 200 มูลนิธิ

พระอิสริยยศทางทหาร

เหมือนกับเจ้านายพระองค์อื่น แอนน์ทรงดำรงพระอิสริยยศทางการทหารด้วย และในปี พ.ศ. 2545 พระองค์ทรงสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นสตรีคนแรกที่ไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดินที่ฉลองพระองค์ด้วยชุดจอมพลไปในงานพระศพของสมเด็จยายของพระองค์ ทรงเป็นจอมพลหญิงทั้งในประเทศอังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

พระอิสริยยศ

  • 15 สิงหาคม 2493 - 6 กุมภาพันธ์ 2495 : เจ้าหญิงแอนน์แห่งเอดินบะระ
  • 6 กุมภาพันธ์ 2495 - 14 พฤศจิกายน 2516 : เจ้าหญิงแอนน์
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2530 : เจ้าหญิงแอนน์ คุณหญิงฟิลลิปส์
  • 13 มิถุนายน 2530 - ปัจจุบัน : เจ้าหญิงพระราชกุมารี
ก่อนหน้า เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี ถัดไป
เลดีลูอีส วินด์เซอร์
ลำดับการสืบสันตติวงศ์
ราชบัลลังก์ สหราชอาณาจักร

ปีเตอร์ ฟิลลิปส์
โซฟี เคาน์เตสแห่งเวสเซ็กส์ ลำดับโปเจียม (ฝ่ายใน)
แห่งสหราชอาณาจักร

เจ้าหญิงเบียทริซแห่งยอร์ก
เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารี
(พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2508)
พระวรราชกุมารี
(The Princess Royal)

( พ.ศ. 2530 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


  1. "Senior European Championship Results". British Eventing Governing Body. สืบค้นเมื่อ 15 September 2012.