ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วีระกร คำประกอบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 1.47.40.167 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Lerdsuwa
บรรทัด 34: บรรทัด 34:


วีระกร เคยเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/E/044/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)]</ref> ซึ่งขณะนั้นเขาสังกัด[[พรรคความหวังใหม่]]
วีระกร เคยเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/E/044/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)]</ref> ซึ่งขณะนั้นเขาสังกัด[[พรรคความหวังใหม่]]

ในวันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นายวีระกรได้เข้ามาสังกัด [[พรรคพลังประชารัฐ]]


==เครื่องราชอิสริยาภรณ์==
==เครื่องราชอิสริยาภรณ์==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:46, 13 พฤศจิกายน 2561

วีระกร คำประกอบ
ไฟล์:วีระกร คำประกอบ.jpg
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย

นายวีระกร คำประกอบ เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 7 สมัย และเป็นบุตรชายของนายสวัสดิ์ คำประกอบอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 12 สมัย

ประวัติ

วีระกร คำประกอบ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ที่กรุงเทพมหานคร[1] เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายสวัสดิ์ คำประกอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กับนางมะลิ คำประกอบ มีพี่น้องอีก 2 คน คือ นายภานุวัฒน์ คำประกอบ และนายดิสทัต คำประกอบ[2]

วีระกร คำประกอบ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยยังส์ทาวน์ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทกซัส อาร์ลิงตัน[1]

การทำงาน

วีระกร คำประกอบ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 ในสังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีก 5 สมัย ในปี พ.ศ. 2531 จนถึงปี พ.ศ. 2539 ยกเว้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 เพียงครั้งเดียว ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่แพ้ให้กับนายสมควร โอบอ้อม จากพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งได้รับเลือกตั้งอีกในปี พ.ศ. 2548

ในปี พ.ศ. 2550 เขาเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

วีระกร เคยเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[3] ซึ่งขณะนั้นเขาสังกัดพรรคความหวังใหม่

ในวันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นายวีระกรได้เข้ามาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง