ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2501"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่ม พ.ศ.
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่ม พ.ศ.
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
| [[รายชื่อบทประพันธ์ยอดเยี่ยม รางวัลตุ๊กตาทอง|บทประพันธ์ยอดเยี่ยม]]
| [[รายชื่อบทประพันธ์ยอดเยี่ยม รางวัลตุ๊กตาทอง|บทประพันธ์ยอดเยี่ยม]]
| '''[[แขไข เทวิณ]]'''
| '''[[แขไข เทวิณ]]'''
| ''[[เกล็ดแก้ว]] (2501)''
| ''[[เกล็ดแก้ว]] (พ.ศ. 2501)''
|- bgcolor=#edf3fe
|- bgcolor=#edf3fe
| [[รายชื่อบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลตุ๊กตาทอง|บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม]]
| [[รายชื่อบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลตุ๊กตาทอง|บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:45, 3 พฤศจิกายน 2561

การประกวดภาพยนตร์ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2501 จัดขึ้นโดยสมาคมนักเรียนเก่าอัสสัมชัญ ร่วมกับสงบ สวนสิริ สมาคมโรงภาพยนตร์แห่งประเทศไทย (ประหลาท อิศรางกูร ณ อยุธยา นายกสมาคม) และสมาคมผู้ส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์แห่งประเทศไทย (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล นายกสมาคม) [1]

พิธีประกาศผลอย่างเป็นทางการ จัด ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2501 โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร เป็นผู้ประกาศผล รางวัลที่มอบเป็นรางวัลที่ออกแบบขึ้นใหม่เป็นรูป พระสุรัสวดี เทพีแห่งความรู้ และภาษา ของอินเดีย ออกแบบโดยนายจิตร บัวบุศย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง และถ้วยเกียรติยศของพลเอกถนอม กิตติขจร (ยศขณะนั้น) สำหรับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม [2]

การประกวดครั้งนี้ มีภาพยนตร์เข้าประกวดจำนวน 21 เรื่อง คณะผู้จัดงานได้เริ่มฉายภาพยนตร์ที่ส่งเข้าประกวดให้คณะกรรมการตัดสินชม ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 และปิดรับภาพยนตร์เข้าประกวดในวันที่ 15 เดือนเดียวกัน คณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์ประกอบด้วย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร เป็นประธานกรรมการ, ธนิต อยู่โพธิ์ (อธิบดีกรมศิลปากร), สนั่น ปัทมะทิน, จิตร บัวบุศย์, บุญยง นิโครธานนท์, เขียน ยิ้มศิริ, เกสรี บูลสุข, ลัดดา ถนัดหัตถกรรม และ ระบิล บุนนาค เป็นคณะกรรมการ โดยมี สงบ สวนสิริ เป็นเลขานุการ

ผู้ได้รับรางวัล

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รักริษยา (กรรณสูตภาพยนตร์) รักริษยา (พ.ศ. 2501)
ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ กตัญญูประกาศิต (พ.ศ. 2501)
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม อมรา อัศวนนท์ รักริษยา
ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยม ประจวบ ฤกษ์ยามดี รักริษยา
ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย ยอดอนงค์ (พ.ศ. 2501)
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม มารุต รักริษยา
บทประพันธ์ยอดเยี่ยม แขไข เทวิณ เกล็ดแก้ว (พ.ศ. 2501)
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ส. อาสนจินดา กตัญญูประกาศิต
รางวัลถ่ายภาพ (16 มม.) วิเชียร วีระโชติ เกล็ดแก้ว
รางวัลถ่ายภาพ (35 มม.) นิพนธ์ นิ่มบุญจาด รักริษยา
รางวัลการลำดับภาพยอดเยี่ยม พันคำ เกล็ดแก้ว
รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม อุไร ศิริสมบัติ กตัญญูประกาศิต
รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม สุนทรี เย็นบำรุง มัสยา (2500)
รางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ปง อัศวินิกุล รักริษยา
รางวัลพากย์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เสน่ห์ โกมารชุน - เสถียร ธรรมเจริญ, สอางค์ ทิพยทัศน์ เห่าดง (2501)

รางวัลพิเศษ

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (16 มม.) วิเชียร วีระโชติ เกล็ดแก้ว
ผู้แสดงเด็กยอดเยี่ยม ล้อต๊อกน้อย ยอดอนงค์
ผู้แสดงบทบาทต่างวัยยอดเยี่ยม รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง พ่อจ๋า (2500)

อ้างอิง

  1. http://www.thaifilm.com/articleDetail.asp?id=7
  2. สูจิบัตร งานประกวดภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม ประจำปี 2502
  • http://www.thaifilm.com/awardsDetail.asp?id=60
  • หนึ่งเดียว, หนังสือชุดพิพิธภัณฑ์หนังไทย "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย", 2549