ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสารสาสน์พลขันธ์ (เยโรลาโม เอมิลิโอ เยรินี)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
ในปี พ.ศ. 2426 ท่านได้ย้ายจากกองทัพบกมาเข้าราชการเป็นเลขานุการในพระองค์ของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์]] ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย ในระยะนี้ท่านได้เดินทางไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสยาม ทำให้มีโอกาสเรียนรู้[[ภาษาไทย]]จนเกิดความชำนาญ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ภาษาต่างๆ เช่น [[ภาษาบาลี]] [[ภาษาสันสกฤต]] [[ภาษาพม่า]] [[ภาษามลายู]] [[ภาษามอญ]] [[ภาษาเขมร]] และภาษาถิ่นต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2426 ท่านได้ย้ายจากกองทัพบกมาเข้าราชการเป็นเลขานุการในพระองค์ของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์]] ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย ในระยะนี้ท่านได้เดินทางไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสยาม ทำให้มีโอกาสเรียนรู้[[ภาษาไทย]]จนเกิดความชำนาญ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ภาษาต่างๆ เช่น [[ภาษาบาลี]] [[ภาษาสันสกฤต]] [[ภาษาพม่า]] [[ภาษามลายู]] [[ภาษามอญ]] [[ภาษาเขมร]] และภาษาถิ่นต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก


ในปี พ.ศ. 2430 ท่านได้ย้ายกลับมารับราชการในกองทัพบกอีกครั้ง โดยได้รับพระราชทานยศนายร้อยเอก ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนทหารสราญรมย์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2438 กรมยุทธนาธิการได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษาทหารบกขึ้นเพื่อจัดการด้านการศึกษาของกองทัพบก และได้แต่งตั้งให้ร้อยเอกเยรินีดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกคนแรก มียศและบรรดาศักดิ์เป็น นายพันตรี หลวงสารสาสน์พลขันธ์ ท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงปี พ.ศ. 2450 จึงได้ลาออกจากราชการและเดินทางกลับประเทศอิตาลี ในยศและบรรดาศักดิ์ที่ นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์
ในปี พ.ศ. 2430 ท่านได้ย้ายกลับมารับราชการในกองทัพบกอีกครั้ง โดยได้รับพระราชทานยศนายร้อยเอก ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนทหารสราญรมย์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2438 กรมยุทธนาธิการได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษาขึ้นเพื่อจัดการด้านการศึกษาของกองทัพบก (ปัจจุบันคือ[[กรมยุทธศึกษาทหารบก]]) และได้แต่งตั้งให้ร้อยเอกเยรินีดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกคนแรก มียศและบรรดาศักดิ์เป็น นายพันตรี หลวงสารสาสน์พลขันธ์ ท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงปี พ.ศ. 2450 จึงได้ลาออกจากราชการและเดินทางกลับประเทศอิตาลี ในยศและบรรดาศักดิ์ที่ นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์


นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี.อี.เยรินี) ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองตูรินด้วยโรคหัวใจ เมื่อ พ.ศ. 2456 ศพของท่านได้ฝังไว้ในสุสานประจำตระกูล ที่เมืองชิซาโน ซุล เนวา
นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี.อี.เยรินี) ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองตูรินด้วยโรคหัวใจ เมื่อ พ.ศ. 2456 ศพของท่านได้ฝังไว้ในสุสานประจำตระกูล ที่เมืองชิซาโน ซุล เนวา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:42, 26 ตุลาคม 2561

นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี.อี.เยรินี) (1 มีนาคม พ.ศ. 2403 – พ.ศ. 2456) เป็นชาวอิตาลีผู้เข้ามารับราชการทหารในประเทศไทย อดีตเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกคนแรกแห่งกองทัพบกไทย เป็นที่รู้จักในฐานะผู้มีผลงานด้านไทยศึกษาเป็นจำนวนมาก

ประวัติ

นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี.อี.เยรินี) มีชื่อจริงว่า เยโรราโม เอมิลิโอ เยรินี (Gerolamo Emilio Gerini) เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ที่เมืองชิซาโน ซุล เนวา (Cisano sul Neva) จังหวัดซาโวนา (Province of Savona) แคว้นลิกูเรีย ประเทศอิตาลี โดยเป็นบุตรชายคนโตของนายคาร์โล เยรินี ศาสตราจารย์ทางด้านวิชาเกษตรศาตร์แห่งมหาวิทยาลัยตูรินและเวโรนิกา รอสโซ

หลังจบการศีกษาชั้นต้นแล้ว ท่านได้รับทุนเรียนดีและเข้าศึกษาต่อในราชวิทยาลัยการทหารแห่งเมืองโมเดนา (Royal Military Academy of Modena) จนกระทั่งจบการศึกษาและติดยศนายร้อยตรีเหล่าทหารราบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2422 ประจำการที่กรมทหารราบที่ 13 "ปิเนโรโล" (13º Reggimento Fanteria Pinerolo) เมืองเปรูจา แคว้นอุมเบรีย

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2424 ท่านได้เดินทางมายังกรุงเทพ ประเทศสยาม และเข้ารับราชการในกองทัพบกสยาม ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยโท

ในปี พ.ศ. 2426 ท่านได้ย้ายจากกองทัพบกมาเข้าราชการเป็นเลขานุการในพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย ในระยะนี้ท่านได้เดินทางไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสยาม ทำให้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาไทยจนเกิดความชำนาญ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ภาษาต่างๆ เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาพม่า ภาษามลายู ภาษามอญ ภาษาเขมร และภาษาถิ่นต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2430 ท่านได้ย้ายกลับมารับราชการในกองทัพบกอีกครั้ง โดยได้รับพระราชทานยศนายร้อยเอก ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนทหารสราญรมย์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2438 กรมยุทธนาธิการได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษาขึ้นเพื่อจัดการด้านการศึกษาของกองทัพบก (ปัจจุบันคือกรมยุทธศึกษาทหารบก) และได้แต่งตั้งให้ร้อยเอกเยรินีดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกคนแรก มียศและบรรดาศักดิ์เป็น นายพันตรี หลวงสารสาสน์พลขันธ์ ท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงปี พ.ศ. 2450 จึงได้ลาออกจากราชการและเดินทางกลับประเทศอิตาลี ในยศและบรรดาศักดิ์ที่ นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์

นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี.อี.เยรินี) ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองตูรินด้วยโรคหัวใจ เมื่อ พ.ศ. 2456 ศพของท่านได้ฝังไว้ในสุสานประจำตระกูล ที่เมืองชิซาโน ซุล เนวา

ผลงาน

  • “A retrospective View and Account of the Origin of the Thet Maha Chat Ceremony" ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2435
  • “Chulakantamangala or The Tonsure Ceremony as Performed in Siam” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2436 (มีการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง)
  • "พิชัยสงครามฮินดูโบราณ" เรียบเรียงและตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2437 สำนักพิมพ์ศรีปัญญาตีพิมพ์ซ้ำเมื่อ พ.ศ. 2548
  • “Trial by Ordeal in Siam and the Siamese Laws of Ordeals " ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2439
  • “Shan and Siam” and “Siam's Intercourse with China - Seventh to Nineteenth Centuries” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2442
  • “On Siamese Proverbs and Idiomatic Expressions “ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447
  • “Archaeology a sinoptical Sketch” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447
  • “Historical Retrospect of Junkceylon Island” ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารของสยามสมาคม เมื่อ พ.ศ. 2448 (ตีพิมพ์ซ้ำเมื่อ พ.ศ. 2528 ในชื่อ “Old Puket”)
  • “Researches on Ptolemy's Geography of Eastern Asia (Further India and Indo-Malay Archipelago)” ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารของสยามสมาคม เมื่อ พ.ศ. 2452
  • “Catalogo Descrittivo della Mostra Siamese alla Esposizione Internazionale delle Industrie e del Lavoro in Torino”, 1911 - Siam and Its Productions, Arts and Manufactures (1911), ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2455 (ตีพิมพ์พร้อมกันทั้งฉบับภาษาอิตาลีและภาษาอังกฤษ, สำนักพิมพ์ White Lotus ได้ตีพิมพ์ซ้ำเมื่อ พ.ศ. 2543)
  • "จดหมายเหตุเรื่องทูตานุทูตของสมเด็จพระนารายน์ออกไปกรุงฝรั่งเศสครั้งสุดท้าย" ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 18 เมื่อ พ.ศ. 2462

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม 17, ตอน 33, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443, หน้า 446

แหล่งข้อมูลอื่น