ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระนางเอลฟรีดา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มภาพประกอบจากพงศวดารอังกฤษ A Chronicle of England: B.C. 55 – A.D. 1485
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ลบวงเล็บที่เกินออกมา
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox royalty|type=majesty|consort=yes|name=เอลฟ์ธรีธ|succession=[[ราชินีคู่สมรสแห่งอังกฤษ]]|birth_date=ค.ศ.945|death_date=17 พฤศจิกายน ค.ศ.1000 หรือไม่ก็ 1001|reign=ค.ศ.964/965 – 8 กรกฎาคม ค.ศ.975|coronation=11 พฤษภาคม พ.ศ. 973|spouse=[เอเธลวาลด์ ผู้นำท้องถิ่นของอีสต์แองเกลีย<br>[[พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบl|เอ็ดการ์ กษัตริย์แห่งอังกฤษ]]|father=ออร์ดการ์ ผู้นำท้องถิ่นของเดวอน|issue=''กับ [[พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ]]:'' <br> เอ็ดมุนด์แห่งอังกฤษ<br>[[พระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ|เอเธลเร็ด กษัตริย์แห่งอังกฤษ]]}}'''เอลฟ์ธรีธ''' [ภาษาอังกฤษ Ælfthryth] หรือบางครั้งก็เรียกว่า '''เอลฟรีด้า''' [ภาษาอังกฤษ Elfrida] เป็นราชินีแห่งอังกฤษ มเหสีองค์ที่สองหรือไม่ก็ที่สามของ[[พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ|พระเจ้าเอ็ดการ์แห่งอังกฤษ]] เอลฟ์ธรีธเป็นมเหสีของกษัตริย์พระองค์แรกที่เป็นที่รับรู้ว่าได้รับการสวมมงกุฎและเจิมน้ำมันเป็นราชินีแห่ง[[ราชอาณาจักรอังกฤษ|อาณาจักรอังกฤษ]] พระองค์เป็นพระมารดาของ[[พระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ|เอเธลเร็ดผู้ไม่พร้อม]] ทรงเป็นบุคคลทางการเมืองที่มีอำนาจ และอาจเกี่ยวข้องกับการปลงพระชนม์พระโอรสเลี้ยง [[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี]]
{{Infobox royalty|type=majesty|consort=yes|name=เอลฟ์ธรีธ|succession=[[ราชินีคู่สมรสแห่งอังกฤษ]]|birth_date=ค.ศ.945|death_date=17 พฤศจิกายน ค.ศ.1000 หรือไม่ก็ 1001|reign=ค.ศ.964/965 – 8 กรกฎาคม ค.ศ.975|coronation=11 พฤษภาคม พ.ศ. 973|spouse=เอเธลวาลด์ ผู้นำท้องถิ่นของอีสต์แองเกลีย<br>[[พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบl|เอ็ดการ์ กษัตริย์แห่งอังกฤษ]]|father=ออร์ดการ์ ผู้นำท้องถิ่นของเดวอน|issue=''กับ [[พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ]]:'' <br> เอ็ดมุนด์แห่งอังกฤษ<br>[[พระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ|เอเธลเร็ด กษัตริย์แห่งอังกฤษ]]}}'''เอลฟ์ธรีธ''' [ภาษาอังกฤษ Ælfthryth] หรือบางครั้งก็เรียกว่า '''เอลฟรีด้า''' [ภาษาอังกฤษ Elfrida] เป็นราชินีแห่งอังกฤษ มเหสีองค์ที่สองหรือไม่ก็ที่สามของ[[พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ|พระเจ้าเอ็ดการ์แห่งอังกฤษ]] เอลฟ์ธรีธเป็นมเหสีของกษัตริย์พระองค์แรกที่เป็นที่รับรู้ว่าได้รับการสวมมงกุฎและเจิมน้ำมันเป็นราชินีแห่ง[[ราชอาณาจักรอังกฤษ|อาณาจักรอังกฤษ]] พระองค์เป็นพระมารดาของ[[พระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ|เอเธลเร็ดผู้ไม่พร้อม]] ทรงเป็นบุคคลทางการเมืองที่มีอำนาจ และอาจเกี่ยวข้องกับการปลงพระชนม์พระโอรสเลี้ยง [[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี]]


== ราชินีคู่สมรสแห่งอังกฤษ ==
== ราชินีคู่สมรสแห่งอังกฤษ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:16, 16 ตุลาคม 2561

เอลฟ์ธรีธ
ราชินีคู่สมรสแห่งอังกฤษ
ดำรงพระยศค.ศ.964/965 – 8 กรกฎาคม ค.ศ.975
ราชาภิเษก11 พฤษภาคม พ.ศ. 973
ประสูติค.ศ.945
สวรรคต17 พฤศจิกายน ค.ศ.1000 หรือไม่ก็ 1001
คู่อภิเษกเอเธลวาลด์ ผู้นำท้องถิ่นของอีสต์แองเกลีย
เอ็ดการ์ กษัตริย์แห่งอังกฤษ
พระราชบุตรกับ พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ:
เอ็ดมุนด์แห่งอังกฤษ
เอเธลเร็ด กษัตริย์แห่งอังกฤษ
พระราชบิดาออร์ดการ์ ผู้นำท้องถิ่นของเดวอน

เอลฟ์ธรีธ [ภาษาอังกฤษ Ælfthryth] หรือบางครั้งก็เรียกว่า เอลฟรีด้า [ภาษาอังกฤษ Elfrida] เป็นราชินีแห่งอังกฤษ มเหสีองค์ที่สองหรือไม่ก็ที่สามของพระเจ้าเอ็ดการ์แห่งอังกฤษ เอลฟ์ธรีธเป็นมเหสีของกษัตริย์พระองค์แรกที่เป็นที่รับรู้ว่าได้รับการสวมมงกุฎและเจิมน้ำมันเป็นราชินีแห่งอาณาจักรอังกฤษ พระองค์เป็นพระมารดาของเอเธลเร็ดผู้ไม่พร้อม ทรงเป็นบุคคลทางการเมืองที่มีอำนาจ และอาจเกี่ยวข้องกับการปลงพระชนม์พระโอรสเลี้ยง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี

ราชินีคู่สมรสแห่งอังกฤษ

เอลฟ์ธรีธเป็นบุตรสาวของผู้นำท้องถิ่นออร์ดการ์แห่งเดวอน พระราชสมภพในปีค.ศ.945 พระมารดาของพระองค์ถูกพูดถึงว่าเป็นสมาชิกของราชวงศ์เวสเซ็กซ์ พระบิดาของพระองค์ ผู้นำท้องถิ่นออร์ดการ์ เป็นเจ้าของที่ดินในเขตการปกครองท้องถิ่นตั้งแต่เอ็กเซเตอร์ในเดวอนจนถึงฟรูมในซัมเมอร์เซ็ต ออร์ดการ์ถูกฝังในเอ็กเซเตอร์ และบุตรชายของเขา ออร์ดวูล์ฟ สร้างทาวิสต็อกแอบบีย์หรือไม่ก็สร้างขึ้นมาใหม่

เอลฟ์ธรีธกลายเป็นมเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ พระราชปนัดดาของอัลเฟรดมหาราช ตามคำบอกเล่าของเบิร์ทเฟิร์ธแห่งแรมซีย์ พระองค์สมรสครั้งแรกกับเอเธลวาลด์ ผู้นำท้องถิ่นของอีสต์แองเกลีย บุตรชายของเอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่ง วิลเลี่ยมแห่งมาล์มสบรีเล่าว่าความงามของเอลฟ์ธรีธเป็นที่สรรเสริญมากและถูกรายงานต่อพระเจ้าเอ็ดการ์ เอ็ดการ์ส่งเอเธลวาลด์ไปยลโฉมเอลฟ์ธรีธ ทรงมีพระราชบัญชาว่า "ให้เสนอการอภิเษกสมรส (กับเอ็ดการ์) หากนางงามเท่ากับที่ได้รับรายงานมา"

ทว่าเอเธลวาลด์กลับแต่งงานกับเลดี้เสียเองและรายงานกลับมาหาเอ็ดการ์ว่านางค่อนข้างไม่เหมาะสม เอ็ดการ์ท้ายที่สุดก็รู้ความจริงประกาศว่าพระองค์จะเสด็จไปเยี่ยมเยียนเอลฟ์ธริธ เตือนเอเธลวาลด์ให้บอกภรรยาว่าให้ทำตัวให้ไม่ดึงดูดสายตาที่สุดเท่าที่จะทำได้ในช่วงที่กษัตริย์เสด็จมาเยี่ยมเยียน ทว่าเอลฟ์ธริธทำตรงกันข้าม เอ็ดการ์ประทับใจนางอย่างสุดซึ้งและได้สังหารเอเธลวาลด์ขณะกำลังล่าสัตว์ใกล้กับลองแพริชในแฮมพ์เชียร์ปัจจุบัน เหตุการณ์ได้รับการรำลึกในปีค.ศ.1825 โดยการสร้าง Dead Man's Plack จารึกบนด้านที่อยู่ทางเหนือของอนุสาวรีย์บรรยายถึงเหตุการณ์ตายของเอเธลวาลด์

เอลฟ์ธริธกับเอ็ดการ์อภิเษกสมรสกันและพระนางได้รับการสวมมงกุฎราชินีในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ.973 ที่บาธแอบบีย์ ซึ่งเป็นครั้งแรกของการราชาภิเษกราชินีแซ็กซันของอังกฤษ พระองค์เป็นคู่สมรสพระองค์แรกที่ได้เป็นราชินีนับตั้งแต่จูดิธ พระธิดาของชาร์ลผู้หัวล้าน ผู้ฉาวโฉ่ในศตวรรษก่อนหน้า

เอลฟ์ธริธได้ประสูติพระโอรสที่มีพระนามว่าเอ็ดมุนด์ ในกฎบัตรของพระเจ้าเอ็ดการ์ที่พระราชทานอภิสิทธิ์ให้แก่นิวมินสเตอร์ วินเชสเตอร์ ในปีเดียวกัน เอ็ดมุนด์ได้เป็น "clito legitimus" (เจ้าชายแซ็กซันที่ถูกต้องตามกฎหมาย) และมาก่อนโอรสพระองค์อื่นของกษัตริย์ พระโอรสที่พระชนมายุมากกว่าจากการอภิเษกสมรสครั้งก่อน เอ็ดเวิร์ด ในรายชื่อพยาน เอ็ดมุนด์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังหนุ่มในปีค.ศ.970 แต่ในปีค.ศ.968 เอลฟ์ธรีธได้ประสูติพระโอรสองค์ที่สองที่มีพระนามว่าเอเธลเร็ด

เอ็ดการ์สวรรคตในปีค.ศ.975 ทิ้งพระโอรสวัยเยาว์สองพระองค์ เอ็ดเวิร์ดและเอเธลเร็ด ไว้ พินัยกรรมของพระราชบิดาแจ้งพระนามของพระโอรสองค์โต เอ็ดเวิร์ด เป็นรัชทายาท และพระองค์ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอิทธิพลในยุคนั้น นักบุญดุนสตาน อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์บรี เนื่องจากข้อโต้เถียงเรื่องพระสวามีคนแรกของเอลฟ์ธรีธ เอเธลวาลด์ อาร์ชบิชอปดุนสตานกล่าวหาเอลฟ์ธรีธกับเอ็ดการ์ว่ากระทำความผิดฐานคบชู้ สร้างความคลางแคลงใจในความชอบธรรมทางกฎหมายของเอเธลเร็ดน้อย ขุนนางหลายคนของราชอาณาจักรรวมถึงอัลเฟอร์ผู้ทรงอำนาจ ผู้นำท้องถิ่นของเมอร์เซียเอนเอียงไปทางเอเธลเร็ดวัยเจ็ดชันษา ประเทศถูกแบ่งแยกด้วยประเด็นที่ว่าโอรสพระองค์ใดควรสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระเจ้าเอ็ดการ์ การประชุมของสภาวิทันที่ถูกจัดขึ้นที่คานในวินต์เชียร์เป็นการโต้เถียงที่ยาวนาน ท้ายที่สุดอิทธิพลของดุนสตานก็มีชียเหนือกว่าและเอ็ดเวิร์ดได้รับเลือกเป็นกษัตริย์

การปลงพระชนม์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมาณสักขี

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี ทรงรับเหล้านํ้าผึ้งของพระนางเอลฟรีดามาเสวยโดยไม่ทราบว่าพระนางมีเจตนามุ่งร้าย

เอ็ดเวิร์ดได้รับการสวมมงกุฎโดยนักบุญดุนสตานที่คิงสตันเหนือเธมส์ในปีค.ศ.975 ด้วยพระชนมพรรษา 13 พรรษา หลังการบันทึกถึงการสืบสันตติวงศ์ของเอ็ดเวิร์ด พงศาวดารแองโกลแซ็กซันรายงานว่าเกิดดาวหาง และตามมาด้วยภาวะข้าวยากหมากแพงและความไม่สงบนานัปการ

แม้จะผ่านไปแล้ว แต่สองพี่น้อง เอเธลเร็ดและเอ็ดเวิร์ด ดูเหมือนจะยังคงตัวติดกัน ทว่าราชินีม่ายเอลฟ์ธรีธเกลียดชังพระโอรสเลี้ยงจับใจและปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้พระโอรสของตนสืบสันตติวงศ์ของพระราชบิดา จากการยั่วยุของพระองค์ แผนการปลงพระชนม์กษัตริย์น้อยถูกวางขึ้นอย่างลับๆ

เอ็ดเวิร์เสด็จไปเยี่ยมพระอนุชาต่างพระมารดา เอเธลเร็ดที่คอร์ฟในเนินพัวร์เบ็กของดอร์เซ็ต อจเป็นที่เดียวหรือใกล้ๆกับเนินที่ปัจจุบันซากปรังหักพังของปราสาทคอร์ฟตั้งอยู่ พระองค์เสด็จมาถึงในช่วงบ่ายของวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.978 ตามคำเชิญของพระมารดาเลี้ยง เอลฟ์ธรีธ ที่รอพบพระองค์อย่างมุ่งร้ายอยู่ที่ประตูและจุมพิตต้อนรับพระองค์ ต่อมาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้รับการเสนอเครื่องดื่มท้องถิ่นเพื่อช่วยให้สดชื่น ขณะที่กษัตริย์หนุ่มดับกระหายอย่างสำราญหลังการเดินทางที่คลุกฝุ่น ผู้ติดตามคนหนึ่งของพระราชินีแทงหนุ่มวัย 16 พรรษาอย่างมุ่งร้ายที่หลัง แม้จะได้รับบาดเจ็บหลายแผล แต่พระองค์ก็ดึงบังเหียนม้าและหนีออกมาได้ พยายามเสด็จกลับไปหาผู้ร่วมเดินทางของพระองค์ แต่ทรงสวรรคตระหว่างทาง พระศพที่อาบเลือดของพระองค์ถูกลากกลับมาโดยสัตว์ร้าย บอกผู้ติดตามของพระองค์ให้ทราบถึงโชคชะตาของพระองค์

พงศาวดารแองโกลแซ็กซันเชื่อมโยงว่า "ปีนี้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดถูกปลงพระชนม์ในยามเย็นที่ประตูคอร์ฟในวันที่ 15 ก่อนเดือนเมษายน (วันที่ 18 มีนาคม) และพระองค์ถูกฝังที่แวร์แฮมอย่างไร้ซึ่งเกียรติแห่งราชวงศ์" การบรรยายของพงศาวดารแองโกลแซ็กซันไม่ได้กล่าวโทษว่าใครเป็นผูสังหาร การกล่าวโทษในการปลงพระชนม์ครั้งแรกๆปรากฏอยู่ในชีวประวัติของนักบุญออสวาลด์ เขียนในปีค.ศ.1000 โดยเบิร์ทเฟิร์ธ แรมซีย์ เอ็ดเวิร์ดถูกพูดถึงว่าได้เสด็จไปเยี่ยมเยียนพระอนุชา เอเธลเร็ด และพระมารดาเลี้ยง เอลฟ์ธรีธ กลุ่มคนของเอเธลเร็ดเจิกับเอ็ดเวิร์ดและแทงพระองค์ก่อนที่จะทรงลงจากพาหนะได้ ไม่มีข้อชี้ชัดว่ามีคนอื่นนอกเหนือจากผู้ติดตามของเอเธลเร็ดเกี่ยวข้องกับการปลงพระชนม์ ในการเทศน์ของปีค.ศ.1014 อาร์ชบิชอปวูล์ฟสตานแห่งยอร์กพูดถึงการปลงพระชนม์ แต่เลี้ยงที่จะเอ่ยนามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง "คนพวกนั้นวางแผนต่อต้านเอ็ดเวิร์ดและต่อมาก็ปลงพระชนม์พระองค์และเผาพระองค์หลังจากนั้น"

เอ็ดเวิร์ดถูกฝังที่แวร์แฮมและการปลงพระชนม์พระองค์ไม่ได้รับการลงโทษ เอลฟ์ธรีธได้ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนของพระโอรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจนกระทั่งพระองค์บรรลุนิติภาวะในปีค.ศ.984 เอเธลเร็ดปรากฏว่าถูกก่อกบฏโดยที่ปรึกษาอาวุโสของพระองค์ แต่น่าจะเป็นกลุ่มของขุนนางหนุ่มมากกว่า พระมารดาของพระองค์หายไปจากของพยานในกฎบัตรตั้งแต่ราวปีค.ศ.983-993 เมื่อพระนางปรากฏตัวอีกครั้งในตำแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม พระนางยังคงเป็นคนสำคัญ มีหน้าที่ดูแลพระราชบุตรของเอเธลเร็ดกับมเหสีพระองค์แรก เอลฟ์จิฟู โอรสพระองค์โตของเอเธลเร็ด เอเธลสตาน สวดมนต์ให้กับดวงวิญญาณของพระอัยยิกาว่า "ผู้เลี้ยงดูข้า" ในพินัยกรรมในปีค.ศ.1014 ว่ากันว่าเพราะสำนึกผิดอย่างสุดซึ้งกับการปลงพระชนม์เอ็ดเวิร์ดมรณสักขี ราชินีเอลฟ์ธรีธจึงไปเป็นแม่ชีที่อารามประจำพระองค์ เวอร์เวลล์แอบบีย์ในแฮมพ์เชียร์ และสวรรคตที่นั่นในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.999, 1000 หรือไม่ก็ 1001

 แหล่งข้อมูล

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระราชินีเอลฟ์ธรีธ