ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนมัญจาศึกษา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 35: บรรทัด 35:


== ตราสัญลักษณ์โรงเรียนมัญจาศึกษา ==
== ตราสัญลักษณ์โรงเรียนมัญจาศึกษา ==
| image = [[ไฟล์:Logo MC..png|1800px]]
[[ไฟล์:Logo MC..png|180px]]

1.กราฟแสดงการเจริญเติบโตที่ไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบประดุจการศึกษาเพื่อความเจริญก้าวหน้า
1.กราฟแสดงการเจริญเติบโตที่ไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบประดุจการศึกษาเพื่อความเจริญก้าวหน้า



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:03, 6 ตุลาคม 2561

โรงเรียนมัญจาศึกษา
Manchasuksa School
ไฟล์:Logo MC..png
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ศ./MC.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอ
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญขยัน สามัคคี มีระเบียบ
ลูก ม.ศ. ปัญญาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม
(การศึกษา คือ ชีวิต)
สถาปนาพ.ศ. 2456 ก่อตั้งโรงเรียน
พ.ศ. 2470 พระราชทานนามโรงเรียน
ผู้ก่อตั้งเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ หรือ (อ้วน ติสโส)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1010460101
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
วิทยาเขตอุดมคงคาคีรี
สี   น้ำเงิน-ชมพู
เพลงมาร์ช มัญจาศึกษา
เว็บไซต์http://www.mc.ac.th
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน

โรงเรียนมัญจาศึกษา (อังกฤษ : Mancha Suksa School) (อักษรย่อ: ม.ศ. ,M.C.) เป็นสถานศึกษาแห่งแรกของจังหวัดขอนแก่นที่ผ่านการประเมินโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนในฝัน

ประวัติโรงเรียนมัญจาศึกษา

โรงเรียนมัญจาศึกษา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 90 คน เป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านไผ่ (ขก5) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ปีแรกที่เปิดทำการสอนได้อาศัยที่เรียนชั่วคราวของโรงเรียนชุมชนบ้านหันมัญจา คีรี อำเภอมัญจาคีร ี(โรงเรียนประถม) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราวมี นายสุวรรณ พิริยะอนันตกุล ศึกษาธิการอำเภอมัญจาคีรี รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ในปีเดียวกันนั้น ได้แต่งตั้ง นายอุดม ภักดี ให้มาดำรงค์ตำแหน่งครูใหญ่

ใน ปี พ.ศ. 2516 โรงเรียน อำเภอและจังหวัดร่วมกันทำเรื่องขอโรงบ่มใบยาขององค์การยาสูบขององค์การยาสูบ กระทรวงการคลัง ซึ่งได้เลิกกิจการไป กระทรวงการคลังได้อนุเคราะห์มอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมสามัญศึกษา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ มีเนื้อที่ประมาณ 23 ไร่ 1 งาน 61 ตารางวา และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ อีก แต่ค่อนข้างชำรุด ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ตั้งของอาคารเรียน โรงฝึกงาน แปลงเกษตร โรงอาหาร หอประชุม สนามกีฬาบางส่วนเนื่องจากสถานที่ของโรงเรียนคับแคบ ต่อมาจังหวัดได้อนุมัติให้โรงเรียนใช้ที่ดินราชพัสดุอีก 1 แปลง เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ 1 งาน 91 ตารางวา และปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อที่รวม 2 แปลง เป็นเนื้อที่ 38 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา

ตราสัญลักษณ์โรงเรียนมัญจาศึกษา

ไฟล์:Logo MC..png

1.กราฟแสดงการเจริญเติบโตที่ไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบประดุจการศึกษาเพื่อความเจริญก้าวหน้า

2.พื้นที่ส่วนรองรับกราฟ    สีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคี อำนาจ ผู้นำ พระมหากษัตริย์    สีชมพู เกิดจาก สีแดงผสมกับสีขาว    สีขาว หมายถึง ศาสนา คุณธรรม และความดี มีวินัย    สีแดง หมายถึง ความรักชาติ ขยัน หมั่นเพียร    สีเทา หมายถึง มันสมองคือปัญญา ตามปรัชญาของโรงเรียนที่ว่า "ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่มนุษย์"      

3.ทั้งสามส่วนล้อมรอบด้วยกลีบบัวบาน หมายถึง ผู้ได้รับการศึกษามีปัญญาเปรียบประดุจดอกบัวที่โผล่เหนือน้ำ และเจริญเติบโตเต็มที่

4.วงกลมล้อมรอบนอก หมายถึง วงล้อของการหมุนเวียน การพัฒนาไปรอบ ๆ ในทุก ๆ ด้าน

สีประจำโรงเรียนมัญจาศึกษา

น้ำเงิน-ชมพู

สีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคี อำนาจ ผู้นำ พระมหากษัตริย์

สีชมพู เกิดจาก สีแดงผสมกับสีขาว

-สีแดง หมายถึง ความรักชาติ ขยันหมั่นเพียร

-สีขาว หมายถึง ศาสนา คุณธรรม ความดี มีวินัย

ปรัชญา

ปญฺโญ เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ

ผู้มีปัญญา เป็นผู้ประเสร็ฐที่สุดในหมู่มนุษย์

คติพจน์

"ขยัน สามัคคี มีระเบียบ"

แผนการเรียนการสอนของทางโรงเรียน/หลักสูตร

- แผนการเรียนห้องเรียนหลักสูตรทั่วไป

-แผนการเรียนห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม GIFTED GTEP , (GEFTED AND TALENTED EDUCATION PROGRAM)

โรงเรียนมาตรฐานสากล World Class Standard School ในจังหวัดขอนแก่น

รายชื่อโรงเรียน
1. โรงเรียนกัลยาณวัตร (ก.ว.)
2. โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย (ก.น.ว.)
3. โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน (ข.ก.)
4. โรงเรียนขามแก่นนคร (ข.ก.น.)
5. โรงเรียนชุมแพศึกษา (ช.ศ.)
6. โรงเรียนนครขอนแก่น (น.ข.ก.)
7. โรงเรียนมัญจาศึกษา (ม.ศ.)
8. โรงเรียนบ้านไผ่ (ข.ก.๕) (บ.ผ.)
9. โรงเรียนพล (พ.ล.)
10. โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม (ภ.ว.ค.)
11. โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม (ศ.ก.ว.)
12. โรงเรียนหนองเรือวิทยา (น.ร.ว.)
13. โรงเรียนหนองสองห้องวิทยา (น.ส.ว.)
14. โรงเรียนน้ำพองศึกษา (น.ศ.)

บุคคลที่เกี่ยวข้องโรงเรียนมัญจาศึกษา

  • อาจารย์ประยูร ลาแสง อาจารย์สอนวิชาภาษาไทย ร.ร.มัญจาศึกษา ผู้แต่งเพลง ชาวนาอาลัย วงคนด่านเกวียน และครูกวีชื่อดัง)
  • อังคาร จันทาทิพย์ ศิษย์เก่ามัญจาศึกษารุ่น 17 นักเขียนรางวัลสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (The S.E.A.Write Awards) หรือซีไรต์ปี 56 จากผลงาน'หัวใจห้องที่ห้า' ประจำปี 2556 จากรวมบทกวี ‘หัวใจห้องที่ห้า’ [1] [2]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น