ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เนวิน ชิดชอบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 57: บรรทัด 57:


=== การศึกษา ===
=== การศึกษา ===
นายเนวินจบชั้น ป.7 จาก[[โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม]] และไปศึกษาระดับมัธยมศึกษาจนจบ ม.ศ. 5 จาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] เพื่อนร่วมรุ่นที่มีชื่อเสียงอาทิ นาย[[วัฒนา เมืองสุข]],นาย[[วีระ สมความคิด]],นาย[[สมชัย ศรีสุทธิยากร]] และ[[สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล|นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล]]
นายเนวินจบชั้น ป.7 จาก[[โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม]] และไปศึกษาระดับมัธยมศึกษาจนจบ ม.ศ. 5 จาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] มีเพื่อนร่วมรุ่นที่มีชื่อเสียงอาทิ นาย[[วัฒนา เมืองสุข]],นาย[[วีระ สมความคิด]],นาย[[สมชัย ศรีสุทธิยากร]] และ[[สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล|นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล]]


ต่อมาได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาวิชาพัฒนาชุมชนภาคพิเศษ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต จาก[[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] นอกจากนี้ยังได้รับมอบปริญญากิตติมศักดิ์ด้านบริหารรัฐกิจ จาก มหาวิทยาลัยแปซิฟิกเวสเทิร์น รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ต่อมาได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาวิชาพัฒนาชุมชนภาคพิเศษ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต จาก[[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] นอกจากนี้ยังได้รับมอบปริญญากิตติมศักดิ์ด้านบริหารรัฐกิจ จาก มหาวิทยาลัยแปซิฟิกเวสเทิร์น รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:11, 5 ตุลาคม 2561

เนวิน ชิดชอบ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุวรรณ วลัยเสถียร
ถัดไปวัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าประวัฒน์ อุตตะโมต
ฉัตรชัย เอียสกุล
อุดมศักดิ์ ทั่งทอง
ถัดไปประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
นที ขลิบทอง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้านที ขลิบทอง
ถัดไปอดิศร เพียงเกษ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าชวรัตน์ ชาญวีรกูล
อำนวย ปะติเส
ถัดไปเสริมศักดิ์ การุญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
บุรีรัมย์ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองสหประชาธิปไตย (2531 - 2534)
สามัคคีธรรม (2534 - 2535)
ชาติไทย (2535 - 2539)
เอกภาพ (2539 - 2543)
ชาติไทย (2543 - 2547)
ไทยรักไทย (2547 - 2549)
คู่สมรสนางกรุณา ชิดชอบ (สุภา)
ลายมือชื่อไฟล์:Signature Newin Ch.jpg

เนวิน ชิดชอบ (จีน: 陈乃温; พินอิน: chen naiwen) ปัจจุบันเป็นประธานบริหารสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อดีตเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีหลายสมัย และเคยเป็นหนึ่งในบุคคลใกล้ชิดคนสำคัญของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเป็นบุคคลสำคัญ ที่ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2551

ประวัติ

นายเนวิน ชิดชอบ เกิดวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของ ชัย ชิดชอบ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีต ส.ส. บุรีรัมย์ และนางละออง ชิดชอบ เป็นลูกคนกลางในบรรดาพี่น้องชาย 5 หญิง 1 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบน้องชาย เป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กำนันชัย ชิดชอบ บิดาของนายเนวิน ตั้งตัวมาจากธุรกิจ โรงโม่หิน มีกิจการที่สำคัญคือ โรงโม่หินศิลาชัย

ชื่อ "เนวิน" ถูกตั้งขึ้นตามชื่อของ เน วิน ผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหาร ที่ปกครองประเทศพม่า ในขณะนั้น ซึ่งกำนันชัยประทับใจมาก

นายเนวินสมรสกับ นางกรุณา ชิดชอบ นามสกุลเดิม "สุภา" บุตรีของ นายคะแนน สุภา เจ้าของ บริษัท เชียงใหม่ คอนสตรัคชั่น จำกัด

การศึกษา

นายเนวินจบชั้น ป.7 จากโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม และไปศึกษาระดับมัธยมศึกษาจนจบ ม.ศ. 5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีเพื่อนร่วมรุ่นที่มีชื่อเสียงอาทิ นายวัฒนา เมืองสุข,นายวีระ สมความคิด,นายสมชัย ศรีสุทธิยากร และนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ต่อมาได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาวิชาพัฒนาชุมชนภาคพิเศษ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกจากนี้ยังได้รับมอบปริญญากิตติมศักดิ์ด้านบริหารรัฐกิจ จาก มหาวิทยาลัยแปซิฟิกเวสเทิร์น รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา

การเมือง

นายเนวินมีชื่อเล่นจริง ๆ ว่า "เป็ด" แต่ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ยี้ห้อย ร้อยยี่สิบ" จากการทุจริตซื้อเสียงในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2538 ที่ จ.บุรีรัมย์ เมื่อตำรวจจับธนบัตรใบละ 20 และ 100 เย็บติดกันเป็นปึกใหญ่มัดรวมกับใบแนะนำตัวของนายเนวิน นอกจากนี้นายเนวินยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า "ชื่อพม่า หน้าลาว เว้าเขมร" ด้วย เนื่องจากชื่อเหมือนนายพลเน วิน อดีตผู้นำทหารพม่า แต่เมื่อเวลาหาเสียงจะพูดปราศรัยเป็นภาษาเขมรจนเป็นเอกลักษณ์ หน้าลาวเพราะเป็นคนอีสาน

ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ถูกนายถาวร เสนเนียมกล่าวหาว่าเป็นผู้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูลให้ความช่วยเหลือพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลงความเห็นว่าหลักฐานที่นายถาวรใช้ยื่นฟ้องคือ เทปบันทึกเสียงของนายเนวินไม่ชัดเจนพอ[1]

หลังจากนั้นได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า "หมอผีเขมร" เนื่องจากเชื่อว่าเป็นผู้แนะนำให้ ทักษิณ ชินวัตร ใช้ไสยศาสตร์ในการปกป้องคุ้มครองตัว ในวิกฤตการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[2] และเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการนำม็อบคาราวานคนจนมาปิดล้อมตึกของเครือเนชั่น ที่เขตบางนา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 [3] และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการจัดทำสื่อทางเลือก เช่น TTV MV1 และเว็บไซต์ รีพอตเตอร์ ออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ด้วย [4] และเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกควบคุมตัวหลังรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พร้อมกับนายยงยุทธ ติยะไพรัชด้วย อีกทั้งก็เป็นบุคคลต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังของการพยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ที่จะมีการรับร่างในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย[5]

ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550 ที่ จ.บุรีรัมย์ นายเนวินได้ขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงของพรรคพลังประชาชน ตอนหนึ่งนายเนวินได้บอกว่าระหว่างที่ถูกควบคุมตัวได้ถูกกระทำอย่างไม่ถูกต้องและถูกจับแก้ผ้าหมดทั้งตัว และถูกทิ้งไว้ข้างถนน แต่ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริงและปฏิบัติต่อนายเนวินอย่างใด[6]

นายเนวินถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 แต่ยังคงเป็นผู้นำกลุ่มเพื่อนเนวินที่มี ส.ส.ในกลุ่มอยู่ราว 30 คน มีบทบาทอย่างสูงในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นแกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ ส.ส. เดิมของพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกลุ่มเพื่อนเนวิน พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกตัดสินยุบพรรค เข้าสังกัด และร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์

ในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 หลังจากนายเนวินถูก ทักษิณ และกลุ่มคนเสื้อแดงและ ส.ส.พรรคเพื่อไทย โจมตีว่าเนรคุณหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน นายเนวินได้เปิดแถลงข่าวในตอนบ่ายของวันที่ 7 เมษายน ในเชิงท้าชนกับ ทักษิณ พร้อมกับตั้งคำถามว่า คำว่า รัฐไทยใหม่ของ ทักษิณและกลุ่มคนเสื้อแดงกล่าวถึงนั้นหมายถึงอะไร และข้อเรียกร้องให้องคมนตรีลาออกนั้นเป็นการก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย ซึ่งตนถือว่าสำคัญกว่าพระราชอำนาจ และถ้าจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องข้ามศพตนไปก่อน[7]

ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2552 นายเนวินได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากรัฐบาล โดยกำหนดตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม จนถึงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ตลอดแนวถนนราชดำเนินตั้งแต่สนามหลวงจนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า[8] และจัดงานได้อย่างน่าประทับใจ

ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งตรงกับวันครบรอบวันเกิด 54 ปี นายเนวินได้ประกาศยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด เพื่อที่จะลดความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาในรอบหลายปี โดยจะทุ่มเทให้กับการกีฬาอย่างเต็มที่[9]

การกีฬา

ในช่วงฤดูกาล 2552 นายเนวินต้องการซื้อหุ้นทีมฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก ให้ย้ายไปเล่นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในเบื้องต้นได้เจรจากับสโมสรฟุตบอลตำรวจ แต่ได้รับการปฏิเสธ [10] นายเนวินได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกับสโมสรฟุตบอลทีโอที และสโมสรฟุตบอลทหารบก [11] แต่ตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดจึงได้มีการซื้อขายหุ้นของสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์[10] หลังจากนั้นทางสโมสรได้เปลี่ยนแปลงชื่อทีมเป็น บุรีรัมย์-พีอีเอ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมด และทีมผู้ฝึกสอนบางส่วน

เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 นายเนวินแถลงข่าวว่าได้ซื้อหุ้นอีก 30% ของสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาบริหารจัดการเองทั้งหมด รวมทั้งสิทธิทั้งหมดในนามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากนั้นเปลี่ยนชื่อทีมเป็นสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด[12]

นอกจากนี้นายเนวินยังเป็นประธานที่ปรึกษาโครงการสนามแข่งรถช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต[13][14] ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของนิวไอโมบายสเตเดียม ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=17/Jan/2548&news_id=101075&cat_id=501
  2. http://tnews.teenee.com/politic/684.html
  3. http://tnews.teenee.com/politic/1101.html
  4. http://www.thaiinsider.com/ShowNewsPost.php?Link=News/Political/2006-09-20/02-09.htm
  5. http://news.sanook.com/politic/politic_166393.php
  6. http://www.posttoday.com/topstories.php?id=194251
  7. เนวินแถลงนปช.คิดไกลกว่าไล่รัฐมุ่งเผาชาติ
  8. เนวินปัดหวังฟอกตัวการเมือง
  9. 'เนวิน'ประกาศเลิกเล่นการเมือง หวังลดความขัดแย้ง จากกรุงเทพธุรกิจ
  10. 10.0 10.1 เนวินจะได้แต่ทีมการไฟฟ้าฯ แต่ไม่ได้นักเตะไปบุรีรัมย์
  11. เนวินเบนเป้าเล็งดึงทัพบกเล่นบุรีรัมย์ สยามกีฬา, 5 พฤศจิกายน 2552
  12. "เนวิน"ทุ่มซื้อสิทธิ์"พีอีเอ"ยุติปัญหาทั้งหมด
  13. ""เนวิน" ปลื้ม "ช้าง อินเตอร์ฯ เซอร์กิต" จัดซิ่งระดับโลกสบาย". ผู้จัดการออนไลน์. 5 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. ""ฮอนด้า-บุรีรัมย์"เปิดสนามแข่งรถ"ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต"". เดลินิวส์. 10 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ จำนวน ๔,๗๙๙ ราย)
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)
  17. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/B/021V2/1_1.PDF