ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดกาญจนบุรี"

พิกัด: 14°0′15″N 99°32′57″E / 14.00417°N 99.54917°E / 14.00417; 99.54917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 656: บรรทัด 656:
* [[พระวิสุทธรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร)]] – อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพล
* [[พระวิสุทธรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร)]] – อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพล
* [[หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ]] – พระเกจิอาจารย์
* [[หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ]] – พระเกจิอาจารย์
* [[พระโสภณสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ)]] - พระเกจิอาจารย์
* [[พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร)]] - เจ้าคณะภาค1
* [[พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร)]] - เจ้าคณะภาค1
* [[พระเผด็จ ทตฺตชีโว]] - พระสงฆ์
* [[พระเผด็จ ทตฺตชีโว]] - พระสงฆ์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:42, 17 กันยายน 2561

จังหวัดกาญจนบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Kanchanaburi
คำขวัญ: 
แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์
สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ จีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2560)
พื้นที่
 • ทั้งหมด19,483.148 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 3
ประชากร
 (พ.ศ. 2560)
 • ทั้งหมด887,979 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 25
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 74
รหัส ISO 3166TH-71
ชื่อไทยอื่น ๆปากแพรก, ศรีชัยสิงหปุระ, เมืองกาญจน์
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ขานาง
 • ดอกไม้กาญจนิการ์
 • สัตว์น้ำปลายี่สก
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนแสงชูโต ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71000
 • โทรศัพท์0 3451 1778
เว็บไซต์http://www.kanchanaburi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า

ประวัติ

ความเป็นมาของกาญจนบุรี เท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก[3] สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม[3] สมัยบายน

ประตูเมืองกาญจนบุรี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2374

กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรก อันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2374 และสำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 และได้แยกออกจากสุพรรณบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 10 เส้น 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯ ว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน[3]

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี[4] และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467

เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นได้ตัดสินใจสร้างทางรถไฟยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทยไปยังเมืองทันบูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี

ชื่อเรียกอื่น ๆ ของกาญจนบุรี เช่น เมืองกาญจน์ ปากแพรก ศรีชัยยะสิงหปุระ[5] (ซึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียกเมืองกาญจนบุรีว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ) และเมืองขุนแผน เป็นต้น

ภูมิศาสตร์

อาณาเขตติดต่อ

ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 5 จังหวัด ดังนี้

ภูมิประเทศ

แม่น้ำรันตีทางตอนใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาแหลม

พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านเหนือและตะวันตกของจังหวัด ถึงแม้จังหวัดกาญจนบุรีจะมีเขตพื้นที่ติดกับจังหวัดตากทางด้านทิศเหนือ แต่ก็ไม่มีถนนเชื่อมต่อกัน เนื่องจากมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นมรดกโลกและมีป่าที่อุดมสมบูรณ์รกทึบสลับกับมีภูเขาอันสลับซับซ้อน หากจะเดินทางติดต่อกันต้องอ้อมไปทางจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร แล้วจึงเข้าจังหวัดตาก ซึ่งมีระยะทางกว่า 490 กิโลเมตร และหากต้องการเดินทางไปอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี จะต้องเดินทางย้อนลงมาทางใต้รวมระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกได้ 3 ลักษณะดังนี้

  1. เขตภูเขาและที่สูง พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด ได้แก่ บริเวณอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค มีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยถัดไปทางด้านตะวันตกของจังหวัด เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศพม่าทอดยาวลงไปทางด้านใต้ บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด คือ แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งในแถบนี้จะมีรอยเลื่อนอยู่หลายรอยและมักเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่บ่อยครั้ง
  2. เขตที่ราบลูกฟูก ได้แก่ พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่บริเวณอำเภอเลาขวัญ อำเภอบ่อพลอย และบางส่วนของอำเภอพนมทวน
  3. เขตที่ราบลุ่มน้ำ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านใต้ของจังหวัด ลักษณะเป็นที่ราบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่บริเวณอำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง และบางส่วนของอำเภอพนมทวน อำเภอเมืองกาญจนบุรี

ภูมิอากาศ

  • ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายน
  • ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกชุกโดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยในช่วงนี้ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมจังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีมีอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 22.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 36.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 3.7 องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2517) อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ 44.2 องศาเซลเซียส (เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2559) และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1496.2 มิลลิเมตรต่อปี

ธรณีวิทยา

ในด้านทรัพยากรดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีมีภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ที่เหมาะสำหรับเกษตรกรรมคือ ที่ราบระหว่างภูเขาซึ่งมีแม่น้ำและลำน้ำสายต่าง ๆ ไหลผ่าน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหินปูน หินแกรนิต หินแกรไนโอออไรท์ หินไนล์ หินดินดาน หินควอทโซฟีลไลท์ เป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน ที่ราบระหว่างหุบเขาและสองฝั่งแม่น้ำจึงมีลักษณะเป็นตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวของหินดังกล่าวแล้วถูกน้ำพัดพามาทับถม และเนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้มีหินปูนเป็นส่วนใหญ่ ดินจึงมีปฏิกิริยาเป็นกลางหรือเป็นด่าง มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงดี จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สำคัญของประเทศเช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสับปะรด ส่วนในบริเวณที่ราบต่ำใช้ปลูกข้าวแต่มีเนื้อที่ไม่มากนัก

อุทกวิทยา

ในด้านทรัพยากรน้ำ จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งน้ำที่สำคัญ 3 ประเภทคือ

  • น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ต้นกำเนิดของแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มาจากน้ำฝนซึ่งตกสู่ผิวดินลงไปกับเก็บใต้ชั้นดิน พื้นที่ทางตอนบนและทางตะวันตกของจังหวัดซึ่งมีสภาพเป็นที่สูงภูเขา รองรับด้วยหินแปรปริมาณน้ำบาดาลจึงมีน้อยมาก ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกและทางใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำบาดาลสามารถนำขึ้นมาใช้ได้ แต่ยังคงมีปริมาณน้อย
  • น้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินมีต้นน้ำอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี ลักษณะทางน้ำเป็นร่องลึกในระหว่างหุบเขา มีธารน้ำบางสายไหลขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศพม่า แต่ลำธารส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ ก่อนจะรวมตัวกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ส่วนด้านตะวันออกมีลำตะเพินเป็นธารน้ำสำคัญของบริเวณนี้ แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ (ศรีสวัสดิ์) แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำลำตะเพิน
  • น้ำจากการชลประทาน จังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ตามมาคือการชลประทานที่สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูก เขื่อนที่สำคัญ เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนเขาแหลมในอำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี และเขื่อนวชิราลงกรณ์ในอำเภอท่าม่วง
แหล่งน้ำที่สำคัญ

สัตว์ประจำถิ่น

  • ค้าวคาวกิตติ ถูกค้นพบครั้งแรกปี พ.ศ. 2516 โดยกิตติ ทองลงยา นักสัตววิทยาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย บริเวณถ้ำไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างทำการเก็บตัวอย่างค้างคาวในโครงการการสำรวจสัตว์ย้ายแหล่งทางพยาธิวิทยา กิตติพบค้างคาวที่มีขนาดเล็กมากซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน จึงได้ส่งตัวอย่างค้างคาวให้กับจอห์น เอ็ดวาร์ด ฮิลล์ (John Edward Hill) แห่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ประเทศอังกฤษ เพื่อตรวจพิสูจน์และพบว่าค้างคาวชนิดนี้มีลักษณะหลายอย่างเป็นแบบฉบับของตนเอง สามารถที่จะตั้งเป็นสกุลและวงศ์ใหม่ได้ หลังจากกิตติเสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ฮิลล์ได้จำแนกและตีพิมพ์ถึงค้างคาวชนิดนี้ และตั้งชื่อว่า Craseonycteris thonglongyai เพื่อเป็นเกียรติแก่กิตติ ทองลงยา ผู้ค้นพบค้างคาวชนิดนี้เป็นคนแรก สภาวะของค้างคาวคุณกิตติในประเทศพม่าไม่เป็นที่แน่ชัด และประชากรที่พบในประเทศไทยก็พบว่าจำกัดอยู่ในเพียงจังหวัดเดียว คือ จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้ค้างคาวคุณกิตติอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สาเหตุหลักเกิดจากการคุกคามจากมนุษย์ และการลดลงของถิ่นที่อยู่อาศัย
ปลายี่สก
  • ปลายี่สก ชาวกาญจนบุรีมีความผูกพันธุ์กับปลาชนิดนี้มากถึงได้มาเป็นสัญลักษณ์ตามถนน ที่เข้าสู่ตัวเมืองกาญจน์เราจะเห็นตามเสาหลอดไฟที่เรืองรอง แล้วก็จะมีปลาชนิดหนึ่งอยู่บนเสาไฟตามถนนผ่านเส้นทางศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี จะมีตัวสีทองเหลืองอร่าม อยู่บนยอดมองเห็นได้อย่างชัดเจนก่อนที่จะมีเขื่องศรีนครินทร์ ปลายี่สกไทยจะไปวางไข่ตามเกาะแก่งต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่หลากหลายการเดินทางมาผสมพันธุ์เสร็จแล้วก็จะกลับมาหากินตั้งแต่กาญจนบุรี ไปจนถึงสมุทรสงคราม เมื่อก่อนจะเจอปลาชนิดนี้บ่อยมาก แต่พอสร้างเขื่อนปลาชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ก็น้อยลงไป ตามระบบนิเวศน์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ก่อนคนเมืองกาญจน์ ส่วนใหญ่ปลาชนิดนี้อยู่ที่แม่น้ำแม่กลองเอาเป็นว่าขายกันเป็นล่ำเป็นสัน ก็ว่าได้เนื่องจากหาง่าย ตัวใหญ่เนื้ออร่อย เช่น ต้มยำ แกงส้ม ลวกจิ้มสำหรับนักรับประทานปลา ถ้ามาถึงกาญจนบุรีแล้ว ไม่ได้รับประทาน "แสดงว่ายังมาไม่ถึงก็ว่าได้"
  • ปูพระพี่นาง พบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 บริเวณฝั่งลำห้วย ตำบลท่าแฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี หลังจากนั้น ได้รับประทานอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ให้ใช้ชื่อว่า "ปูพระพี่นาง" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ปูป่า" มีกระดองสีแดงเลือดนก ขอบกระดอง ขอบเบ้าตา และปากเป็นสีแดงส้ม ขาเดินทั้ง 4 คู่ เป็นสีแดงเลือดนก ยกเว้นตรงปลายประมาณ 1 ใน 3 ของก้ามหนีบทั้ง 2 ข้าง เป็นสีขาว ปูพระพี่นางถือเป็นอีกหนึ่งปูน้ำจืดหายากของเมืองไทย
  • ปูราชินี มีปากและขามีสีแดงและส้ม ก้ามมีสีขาว และกระดองมีสีน้ำเงินอมม่วง เชื่อว่าสามารถเปลี่ยนสีได้เรื่อย ๆ ตามฤดูกาล ตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 12.5 มิลลิเมตร โดยทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขออนุญาตใช้ชื่อ สิริกิติ์ เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติและเฉลิมฉลองครบรอบ 5 รอบของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้พระราชทานให้ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ปัจจุบันพบเป็นปูประจำถิ่นในป่าพรุน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำน้อย อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และไม่เคยมีรายงานพบที่อื่นอีกเลย มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
  • ปูเจ้าฟ้า พบได้ในอำเภอทองผาภูมิ บริเวณน้ำตกและลำธาร
  • ตะพาบแก้มแดง (อังกฤษ: Malayan solf-shell turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dogania subplana) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ที่จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดชุมพร จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก
  • กริวดาว เป็นตะพาบที่หายากมากที่สุด มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534 แล้ว และแต่เดิมก็พบเห็นได้ยากมาก ซึ่งถ้าใช้หลักการอนุกรมวิธานตามแบบปัจจุบัน เชื่อว่า กริวดาวต้องถูกจัดเป็นชนิดใหม่อย่างไม่ต้องสงสัย เนื่องจากมีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบอย่างพอสมควร แต่เสียดายที่ไม่ได้มีการศึกษามากกว่านี้ เนื่องจากไม่มีตัวอย่างต้นแบบให้ศึกษา โดยตัวสุดท้ายที่ค้นพบและมีภาพถ่ายที่สมบูรณ์ มีขนาดยาวราว 30 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม จับได้จากแม่น้ำแควใหญ่ ที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

แนวคิดเปลี่ยนคำขวัญจังหวัด

เมืองขุนแผน แคว้นโบราณ ด่านพระเจดีย์ มณีนิลเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แลเขื่อนสำคัญสี่แห่ง แหล่งแร่ น้ำตก มรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร

การเมืองการปกครอง

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 13 อำเภอ 95 ตำบล 959 หมู่บ้าน 206 ชุมชน โดยทั้ง 13 อำเภอ มีดังนี้

การปกครองส่วนท้องถิ่น

พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 122 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี, เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองกาญจนบุรี และเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น, เทศบาลตำบล 47 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 72 แห่ง[6] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี มีดังนี้

รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด

ประชากร

ประชากรจังหวัดกาญจนบุรีแบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2536 724,675—    
2537 736,996+1.7%
2538 744,933+1.1%
2539 756,528+1.6%
2540 766,352+1.3%
2541 775,198+1.2%
2542 778,456+0.4%
2543 786,001+1.0%
2544 792,294+0.8%
2545 801,836+1.2%
2546 797,372−0.6%
2547 810,339+1.6%
2548 826,169+2.0%
2549 834,447+1.0%
2550 835,282+0.1%
2551 840,905+0.7%
2552 839,423−0.2%
2553 839,776+0.0%
2554 838,914−0.1%
2555 838,269−0.1%
2556 842,882+0.6%
2557 848,198+0.6%
2558 882,146+4.0%
2559 885,112+0.3%
2560 887,979+0.3%
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[7]

ตามข้อมูลจำนวนประชากรของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 จังหวัดกาญจนบุรีมีประชากร 887,979 คน คิดเป็นอันดับที่ 25 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นประชากรเพศชาย 446,262 คน และประชากรเพศหญิง 441,717 คน[8] มีความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย 43.53 คนต่อตารางกิโลเมตร คิดเป็นอันดับที่ 74 ของประเทศ อำเภอที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด คือ อำเภอท่ามะกา ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 400.14 คนต่อตารางกิโลเมตร ส่วนอำเภอที่ประชากรเบาบางที่สุด คือ อำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 8.09 คนต่อตารางกิโลเมตร

ชาติพันธุ์

ในจังหวัดกาญจนบุรีมีประชากรหลายชาติพันธุ์ ได้แก่

ภาษา

มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรี ทำให้เกิดภาษาต่าง ๆ ที่ใช้พูดกันในจังหวัดกาญจนบุรีมีทั้งสิ้น 11 ภาษา โดยแบ่งออกเป็น 4 ตระกูลภาษา ได้แก่

  1. ภาษาตระกูลไต ได้แก่ ภาษาไทยภาษาลาวโซ่งภาษาลาวพวนและภาษาลาวครั่ง
  2. ภาษาตระกูลมอญ-เขมร ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาเขมร ภาษาขมุ
  3. ภาษาตระกูลกระเหรี่ยง ได้แก่ ภาษาละว้า (อุก่อง)
  4. ภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ได้แก่ ภาษากระเหรี่ยง (ยาง) ภาษากระเหรี่ยงโปว์ ภาษาโพล่ว

ภาษาต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมีภูมิลำเนากระจายอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี ดังนี้

  • ภาษาไทย อยู่ทั่วไปในจังหวัดโดยเฉพาะในเขตเทศบาลและ อำเภอเมือง
  • ภาษาลาวโซ่ง อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอพนมทวน และ อำเภอบ่อพลอย
  • ภาษาลาวครั่ง อำเภอด่านมะขามเตี้ย
  • ภาษาลาวพวน อำเภอเลาขวัญ และ อำเภอพนมทวน
  • ภาษามอญ อำเภอสังขละบุรี อำเภอเลาขวัญ และ อำเภอทองผาภูมิ
  • ภาษาเขมร อำเภอไทรโยค อำเภอเลาขวัญ และ อำเภอศรีสวัสดิ์
  • ภาษาขมุ อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละ และ อำเภอไทรโยค
  • ภาษาละว้า อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ และ อำเภอศรีสวัสดิ์
  • ภาษากระเหรี่ยง (ยาง) ภาษากระเหรี่ยงโปว์ และภาษาโผล่ว อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี

นอกจากนี้ในจังหวัดกาญจนบุรียังมีกลุ่มคนที่พูดภาษาอื่น ๆ แต่โดยมากจะเป็นกลุ่มคนที่มีขนาดเล็กหรือเป็นกลุ่มคนที่พึ่งจะอพยพย้ายถิ่นที่อยู่มาจากที่อื่น และในแต่ละอำเภอภาษาที่ใช้พูดต่าง ๆ อาจจะมีจำนวนมากขึ้น ถึงแม้ว่าภาษาในจังหวัดกาญจนบุรีจะมีหลากหลายภาษา แต่ในปัจจุบันผู้คนส่วนมากพูดภาษากลาง ซึ่งมีสำเนียง “เหน่อ” ทั้งนี้ผู้คนในพื้นที่ต่าง ๆ ยังคงรักษาวัฒนธรรมทางภาษาดั้งเดิมไว้ เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้สืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามต่อไป

อีกประการหนึ่งพบว่า ระบบวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรีที่พูดกันที่อำเภอพนมทวน อำเภอท่าม่วง อำเภอด่านมะขามเตี้ย และ อำเภอห้วยกระเจา มีระบบวรรณยุกต์5 หน่วยเสียงเช่นเดียวกับภาษาไทยมาตรฐาน แต่ลักษณะการแยกเสียงรวมเสียงในกล่องวรรณยุกต์แตกต่างจากทั้งภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่นกลางสำเนียงอื่น ๆ และพบว่าภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรีที่พูดใน 4 อำเภอดังกล่าวมีสัทลักษณะของหน่วยเสียงวรรณยุกต์แตกต่างจากกัน ทำให้สามารถแยกภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรีได้ นอกจากนี้พบว่าหน่วยเสียงวรรณยุกต์ทุกหน่วยเสียงมีการแปรของสัทลักษณะทั้งในแง่ของการขึ้น-ตก และระดับเสียงเมื่อปรากฏในบริบทต่าง ๆ โดยสัทลักษณะของหน่วยเสียงวรรณยุกต์ในคำชุดเทียบเสียงมีระดับเสียงและลักษณะการขึ้น-ตกของเสียงชัดเจนมากที่สุด และความชัดเจนจะลดน้อยลงเมื่อปรากฏในคำพูดต่อเนื่อง โดยที่หน่วยเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏในพยางค์ที่ลงเสียงหนักจะมีสัทลักษณะแตกต่างกันมากกว่าในพยางค์ที่ไม่ลงเสียงหนัก และในแต่ละตำบลของแต่ละอำเภอก็ยังมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไปในหมู่บ้านของแต่ละตำบลก็ยังแตกต่างกันออกไปอีก เช่น ที่อำเภอท่าม่วงซึ่งมีความหลากหลายของสำเนียงเหน่ออย่างเห็นได้ชัด

วัฒนธรรม

ความเชื่อ

ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี

กาญจนบุรีเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ฝั่งชายแดนทางภาคตะวันตกของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานทุกยุคสมัยต่อกันมาโดยไม่ขาดสาย ในการนับถือศาสนาของประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรีจะมีทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และรวมถึงศาสนาพราหมณ์ โดยศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีนับถือเป็นชาวพุทธ ศาสนาสถานต่าง ๆ มีวัดพุทธ 427 แห่ง สำนักสงฆ์ 170 แห่ง ที่พักสงฆ์ 104 แห่ง มัสยิด 3 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 11 แห่ง ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจเริ่มต้นจากรูปแบบความเชื่อที่ถือกันว่าเก่าแก่ที่สุดนั่นคือการนับถือภูตผีปีศาจเหตุนี้จึงก่อให้มีหลากหลายศาสนาเกิดขึ้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าส่วนที่สำคัญในทุกวัฒนธรรมคือศาสนาเพราะศาสนามีผลต่อความรู้สึกนึกคิดประเพณีและเป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก เพื่อเป็นแนวทางในการสืบทอดประพฤติปฏิบัติ ชาวบ้านในจังหวัดกาญจนบุรียังได้มีความเชื่อและความนับถือตั้งแต่บรรพบุรุษในเรื่องของผีสาง เทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา เห็นได้ว่าการนับถือศาสนาและความเชื่อของคนกาญจนบุรีมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ นอกจากจะกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแล้ว ยังกราบไหว้บูชาศาลพระภูมิและผีสางเทวดา และยังมีความเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น นอกจากนี้ ยังมีลักษณะที่ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับศาสนาพุทธและพราหมณ์ได้อย่างแนบสนิท ซึ่งจะยกตัวอย่างความเชื่อที่สืบทอดกันมาแต่ยาวนานที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี

  1. หม้อยาย เป็นความเชื่อของชาวบ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง ที่ทุกบ้านจะมีหม้อดินแขวนไว้ ภายในหม้อบรรจุไวด้วยขี้ผึ้งปั้นเป็นรูปคน เชื่อว่า ยายจะช่วยปกปักษ์รักษาให้ทุกคนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
  2. ศาลพ่อแม่ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านในเรื่องพิธีกรรมความเชื่อมากกว่า 200 ปี ให้คุ้มครองและให้งานนั้น ๆ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และครอบครัวมีความอยู่ดีมีสุข
  3. ศาลเจ้าพ่อโรงหนัง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อที่ชาวบ้านให้การนับถือและเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านหนองขาวในการประกอบพิธีกรรม
  4. ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนชาวอำเภอศรีสวัสดิ์เคารพนับถือ โดยจะมีการจัดทำบุญขึ้นทุกปี ที่ชาวบ้านเรียกว่าทำบุญกลางบ้าน

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น แม่พญางิ้วดำ ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี ความเชื่อห้ามผู้หญิงเดินเข้าไปในพระธาตุโบอ่อง ทั้งนี้ความเชื่อของชาวจังหวัดกาญจนบุรีเป็นวัฒนธรรมที่มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ ชื่นชมธรรมชาติมากกว่าจะเอาชนะธรรมชาติ มีความละเอียดลออ ประณีตพิถีพิถันตามแบบฉบับชีวิตชาวบ้านที่ไม่มีความรีบร้อน และยังเป็นวัฒนธรรมที่มีความอิสรเสรี แสดงออกถึงความสนุกสนาน ร่าเริง เน้นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

วิถีชีวิต

  • การแต่งกาย ชาวจังหวัดกาญจนบุรีโดยทั่วไปยกเว้นคนไทยเชื้อสายต่าง ๆ เช่น พม่า มอญ กะเหรี่ยง จะมี การแต่งกายคล้ายคลึงกับชาวจังหวัดอื่นในภาคกลาง คือเมื่ออยู่กับบ้านจะแต่งกายสบาย ๆ ไม่พิถีพิถัน แต่เมื่อเวลา ไปงานเลี้ยง งานบุญ งานพิธี ก็จะแต่งกายพิถีพิถันสวยงามตามสมัยนิยม
  • การกินอยู่ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของจังหวัดกาญจนบุรีเป็นป่าเขา มีแม่น้ำลำธารมาก ทำให้มีพืชผัก ของป่าหลายชนิดที่ชาวบ้านรู้จักและนำมาปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านรับประทานกันตลอดมา ผักบางชนิดคนจังหวัดอื่นไม่รู้จัก เช่น ผักหวานป่า ผักกูด ผักหนาม ดอกอีนูน ดอกดิน ลูกตาลเสี้ยน เห็ดรวก เห็ดไผ่
  • อาหารพื้นบ้านมีอยู่หลายชนิดที่เป็นอาหารขึ้นชื่อที่ชาวต่างจังหวัดที่มาท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีนิยมสั่งรับประทาน เช่น ยำเห็ดโคน ต้มยำปลายี่สก ปลารากกล้วยทอด แกงป่าปลาคัง และแกงป่าไก่ไทย นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีนิยมทำรับประทานมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือแกงป่าที่ปรุงจากวัตถุดิบที่หาได้จากป่า ปลาแม่น้ำ ข้าวต้มมัดไต้ ข้าวหลาม ขนมจีน วุ้นเส้น
  • กิริยามารยาทชาวกาญจนบุรีจะเป็นแบบบ้าน ๆ เรียบง่ายถือคำสัตย์หากเป็นนักเลงก็เป็นนักเลงที่มีสัจจะอยู่กันแบบสันติไม่ชอบวิวาทกับใครแต่หากมีใครล่วงเกินก็ไม่ยอมใครเช่นกัน
  • วิถีการดำเนินชีวิตแบบไทยเดิม ครอบครัวที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องยังอยู่รวมกัน มีความเคารพตามลำดับอาวุโส
  • รำเหย่ย เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวกาญจนบุรีมาแต่บรรพกาลราว ๆ 500 ปีเศษมาแล้ว จะเล่นกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์ ปีใหม่ เป็นต้น วิธีการเล่นคือ ฝ่ายชายฝ่ายหญิงยืนล้อมวงกัน มีการร้องนำ ร้องแก้ และลูกคู่ ร้องรับพร้อมปรบมือเป็นจังหวะ

งานเทศกาลประเพณี

  • งานวันอาบน้ำแร่แช่น้ำตก จัดขึ้นบริเวณพุน้ำร้อนหินดาด หมู่ 5 ตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ภายในงานมีกิจกรรมออกร้านผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร นิทรรศการการท่องเที่ยวของอำเภอทองผาภูมิ นักท่องเที่ยวยังจะได้อาบน้ำแร่ที่พุน้ำร้อนหินดาดและเที่ยวชมความงามของน้ำตกผาดาด
  • งานเทศกาลชาวเรือชาวแพ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่บริเวณถนนสองแคว ริมน้ำหน้าเมืองกาญจนบุรี ภายในงานมีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงมหกรรมลูกทุ่ง นิทรรศการทางวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง และการแข่งขันกีฬาทางน้ำประเภทต่าง ๆ อาทิ เรือยาว เรือเร็ว เจ็ตสกี เป็นต้น
  • งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จัดขึ้นทุกปีบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว ในราวปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการสร้างทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแสดงนิทรรศการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ กิจกรรมบันเทิงและการแสดงแสงและเสียง
  • งานสงกรานต์วัฒนธรรมหมู่บ้านหนองขาว บ้านหนองขาวคือหมู่บ้านที่มีการรักษาขนบธรรรมเนียมประเพณีเอาไว้ตลอดหลายชั่วอายุคน และมรดกเหล่านีถูกนำเสนอมาแสดงออกผ่านเทศการประจำปีของหมู่บ้านที่จัดในช่วงวันสงกรานต์ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ที่ชาวบ้านจะร่วมทำบุญตักบาตร จากนั้นในช่วงสายจะมีการประกวดธิดาเกวียนของแต่ละหมู่บ้าน การละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ ที่สร้างความสามัคคีขงอชาวบ้านภายในหมู่บ้าน การจำลองวิธีชิวีตของชาวบ้าน เช่น การทำขนมจีนสูตรพื้นบ้าน การทำตาลโตนต การทอผ้าซิ่น การแข่งขักิฬาเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน
  • งานเทศการเห็ดโคน และอัญมณี อำเภอบ่อพลอย จัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี ภาย ในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของเห็ดโคน ที่ยังไม่สามารถเพราะพันธ์ได้ การสาธิตแปรรูปอาหารจากเห็ดโคน สามารถเลือกชิมได้และยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการทำเหมืองพลอย การเจียระไนพลอย รวมถึงการออกร้านจำหน่ายอัญมณีจากหลายร้านด้วย
  • งานสงกรานต์มอญ จัดขึ้ในช่วงวันที่ 13 -15 เมษยนของทุกปี ที่บริเวณวัดวังก์วิเวการาม ช่วงเช้าชาวบ้านมากหน้าหลายตาจะพากันมาทำบุญตักบาตร์อย่างเนื่องแน่น มีการก่อเจดีย์ทรายขนาดใหญ่ การรดน้ำพระสงฆ์มอญ และวันนี้ชาวมอญจะมีการแต่งตัวด้วยเสือผ้าแบบมอญที่สวยงาม มีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน อย่างการละเล่นสะบ้าที่หาดูได้ยาก และมีอาหารพื้นบ้านแบบมอญให้ชิมด้วย
  • ประเพณีฟาดข้าวชาวกะเหรี่ยง อยู่ที่ ต.ไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี เป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานานแต่โบราณ นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น หรื่อความสามารถของผู้เฒ่าผู้แก่ที่จะให้ลูหลานมีความสมานสามัคคีกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ยังมาช่วยเหลือซื่งกันและกัน
  • งานแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว "วันสร้างเมืองกาญจนบุรี" จัดขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อชาวจังหวัดกาญจนบุรีให้ประชาชนเกิดความสำนึกในคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นการสร้างเสริมอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์เมืองกาญจนบุรี และเพื่อให้ภาครัฐ เอกชนและประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม

สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมออกร้านจำหน่ายสินค้าชุมชน ท้องถิ่น พร้อมทั้งชมการแสดงต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวเมืองกาญจนบุรีนานัปการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯย้านเมืองกาญจนบุรีจากที่ตั้งเดิมมาที่ปัจจุบันและให้สร้างกำแพงเมืองกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2374 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ ทรงสร้างหลักเมือง วัดถาวรวราราม หรือวัดญวณ และได้ทรงบูรณะวัดเทวสังฆาราม พระอารามหลวง หรือวัดเหนือ นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์มีพระคุณยิ่งต่อชาวจังหวัดกาญจนบุรีและต่อประเทศไทย

  • งานสมโภชศาลหลักเมืองกาญจนบุรี มีการจัดงานประจำปีศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โดยมีพิธีทางสงฆ์และพิธีทางพราหมณ์ ในพิธีบวงสรวงนี้ มีทั้งพิธีทางสงฆ์และพิธีทางพรามณ์จะเป็นการอัญเชิญเทพยาดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตปกปักรักษาเมืองกาญจนบุรี มารับการบวงสรวง ซึ่งพิธีบวงสรวงดังกล่าวได้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลของประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรี ภายในงานจะมีสินค้าจำหน่ายให้กับผู้ที่มาเที่ยวชมภายในมากมาย นอกจากนี้กลางคืน ยังมีการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปิน ที่มีชื่อเสียงและการแสดงมหรสพสมโภชอย่างยิ่งใหญ่

ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของประตูเมืองกาญจนบุรี ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยจตุรมุข ตัวอาคารภายในเปิดโล่ง ภายในประดิษฐานเสาหลักเมืองเป็นเสาไม้หัวเม็ด สูง 1 เมตร ลงรักปิดทอง สร้างขึ้นในสมัยพระยาประสิทธิสงคราม หรือท่านรามภักดี ศรีวิเศษ ชาวกาญจนบุรีเรียกท่านว่า “เจ้าเมืองตาแดง” เป็นเจ้าเมืองคนที่สองในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทำนุบำรุงเมืองหลายอย่าง เช่น สร้างกำแพงเมือง ขุดคูเมือง ป้องปราการ ประตูเมืองและศาลหลักเมือง อีกทั้งยังได้สร้างศิลาจารึกประวัติการสร้างเมืองกาญจนบุรี ซึ่งยังคงมีอยู่ ณ ศาลหลักเมืองในปัจจุบัน ใช้อักษรภาษาไทยบันทึกเรื่องราวการสร้างเมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2374 ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี เป็นสถานที่เคารพสักการะบูชาของชาวเมืองกาญจนบุรีตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเทศบาลเมืองกาญจนบุรีได้จัดงานสมโภชศาลหลักเมืองขึ้นในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปีเป็นเวลา 11 วัน 11 คืน

  • ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน การทำบุญตักบาตร การสรงน้ำพระพุทธรูป การละเล่นพื้นบ้าน ชมการแสดงมหรสพ และร่วมสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ ประเพณีการ แห่ปราสาทผึ้งของชาวหนองปรือเกิดขึ้นจากรากฐานความเชื่อของบรรพบุรุษของชาวหนองปรือที่มีเชื้อสายมาจากชาวเวียงจันทน์ซึ่งมีความเชื่อว่าการได้ถวายน้ำผึ้งเป็นพุทธบูชาจะได้อานิสงส์ยิ่ง ตามที่กล่าวไว้ในพุทธประวัติ จึงทำให้เกิดประเพณีการตีผึ้งขึ้นในเดือนเมษายน ชาวบ้านที่เป็นชายจะหยุดกิจการงานทั้งปวง เพื่อออกหาผึ้งและนำน้ำผึ้งมาถวายพระสงฆ์ ส่วนรังผึ้งชาวบ้านจะนำมารวมกันแล้วเคี่ยวทำเป็นเทียนจุดให้ แสงสว่างแก่พระสงฆ์เพื่อพระสงฆ์จะได้ใช้จุดให้แสงสว่างเวลาศึกษาพระธรรมในตอนกลางคืนหรือจุดบูชาพระ อีกส่วนหนึ่งจะนำมาทำเป็นปราสาท แกะสลักตกแต่งอย่างสวยงาม และแห่ไปถวายพระสงฆ์ที่วัดกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ การแห่ปราสาทผึ้งด้วยริ้วขบวนรถที่มีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ริ้วขบวนของชุมชนต่าง ๆ การทำบุญตักบาตรและสรงน้ำพระที่วัดของชุมชน การแสดงการละเล่นพื้นบ้านที่หา ชมได้ยากเป็นการละเล่นประจำถิ่น การชมมหรสพดนตรี และการออกร้านจำหน่ายสินค้า เลือกหาเลือกซื้อได้อย่างมากมาย
  • งานบุญเดือน 10 ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ เป็นงานบุญประจำปีของชาวไทยเชื้อสายมอญ หรือแม้แต่ชาวมอญที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่าโดยยึดถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน

สำหรับประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ชาวไทยรามัญอำเภอสังขละบุรี ถือเป็นงานประเพณีที่เป็นการสืบสานวัฒนธรรมเก่าแก่มายาวนาน และเป็นประเพณีตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายมอญ ที่ถือเป็นจุดรวมแห่งความมีศรัทธาต่อหลวงพ่ออุตตมะ ที่วัดวังก์วิเวการาม กำหนดจัด 3 วัน ในวันขึ้น 14-15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบูชาเทวดาที่อยู่ในน้ำ ในป่า และบนบก อีกทั้งเพื่อสืบสานประเพณีดั้งเดิมของกลุ่มชน ตลอดทั้งเป็นการเผยแพร่ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ให้แก่ชุมชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้

  • ประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์ และออกร้านตลาดนิพพาน ที่วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และถือปฏิบัติกันในทุกวันเพ็ญเดือน ๖ นี้ด้วย นั่นคือ “ประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์” ซึ่งแต่เดิมเป็นพิธีที่พุทธศาสนิกชนในพม่าปฏิบัติกันในวันวิสาขบูชา แต่สำหรับในประเทศไทยนั้น จะพบได้ที่ชุมชนชาวมอญสังขละบุรี ที่วัดวังก์วิเวการาม แห่งนี้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

สำหรับความเป็นมาของประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์ เกิดขึ้นในสมัยใดของเมืองมอญนั้นไม่ทราบแน่ชัด ส่วนในชุมชนคนมอญวัดวังก์วิเวการาม เมื่อครั้งยังตั้งชุมชนอยู่ที่อำเภอสังขละบุรีเก่า ก่อนจะถูกน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ (บริเวณที่เป็น “เมืองบาดาล” ในปัจจุบัน) ยังไม่มีประเพณีนี้เกิดขึ้น เพราะไม่มีต้นโพธิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 เมื่อครั้งที่หลวงพ่ออุตตมะเดินทางไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำมาประดิษฐานไว้บนยอดเจดีย์พุทธคยา หลวงพ่ออุตตมะได้อัญเชิญต้นหน่อพระศรีมหาโพธิ์ ที่ได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศศรีลังกา มาพร้อมกันด้วย เมื่อวันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2530 สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จมาทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ไว้ ที่บริเวณลานเจดีย์พุทธคยา ของวัดวังก์วิเวการาม ตั้งแต่นั้นมา หลวงพ่ออุตตมะจึงได้รื้อฟื้นให้มีประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์ขึ้น เหมือนที่เมืองมอญบ้านเกิดของท่าน ในทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี โดยในช่วงเย็นถึงค่ำ ชาวมอญจะพร้อมใจกันนำน้ำอบ น้ำหอม น้ำสะอาดลอยด้วยดอกไม้ มาร่วมกันรดน้ำต้นพระศรีมหาโพธิ์ผ่านรางกระบอกไม้ไผ่ จนได้กลายมาเป็น “ประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์” ของชุมชนมอญสังขละบุรี

  • ประเพณียกธงสงกรานต์ ประเพณีสำคัญของชาวเบญพาด ตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ที่ชาวบ้านสืบต่อกันมามากกว่า 100 ปี ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่ 13 บ้านเบญพาด เล่าว่า เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้านจะร่วมกันทำธงตลอด 5 วัน คือตั้งแต่วันที่ 13 จนถึงพิธีแห่วันที่ 17 เม.ย. ของทุกปีเริ่มจากชาวบ้านแต่ละหมู่บ้าน จะเข้าไปหาต้นไผ่ลำต้นยาวตรงและมีกิ่งก้านแตกแขนง นำมาใช้เป็น “ธง” และจะช่วยกันเย็บผ้าผืนใหญ่ที่มีความยาวพอดีกับความสูงของต้นไผ่ ประดับด้วยลูกปัดสวยงาม ทำเป็น “ผ้าธง” อันเป็นสองส่วนประกอบหลักของธงสงกรานต์ ส่วนของกิ่งก้านบริเวณปลายต้นไผ่ชาวบ้านจะช่วยกันประดิษฐ์ของตกแต่ง เช่น ใยแมงมุม ดอกไม้ ปลาตะเพียนสาน นกสาน ตะกร้อ หรือแล้วแต่ธีมของหมู่บ้านนั้นที่ตกลงกัน ในอดีตของตกแต่งธงจะใช้พวกเศษผ้าสี ใบลาน ใบตาล ปุยฝ้าย หรือของประดิษฐ์จากธรรมชาติ
  • ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ในจังหวัดกาญจนบุรีมีที่วัดดอนคราม ตำบลเขาน้อย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เพียงที่เดียวประชาชนตำบลเขาน้อย จะร่วมตักบาตรดอกไม้ เนื่องในวันอาสาฬบูชา และเทศกาลเข้าพรรษาโดยเป็นประเพณีที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนาน จะมีประชาชนนำดอกไม้นานชนิดมาร่วมตักบาตรให้กับพระภิกษุสงฆ์ตามความเชื่อในสมัยพุทธกาล ก่อนที่จะนำไปถวายแด่องค์พระพุทธและถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดดอนครามแห่งนี้ ถือเป็นประเพณีที่บุญกุศลอันยิ่งใหญ่และสวยงามจากพันธุ์ดอกไม้นานาชนิดโดยเฉพาะดอกบัว ดอกกระเจียว ดอกดาวเรืองจะที่เป็นที่นิยมนำมาใส่บาตรกัน
  • ประเพณีร่อยพรรษา เป็นประเพณีที่ช่วยส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนาให้คงอยู่โดยการสนับสนุนกำลังปัจจัยสิ่งของต่าง ๆ นำเข้าวัด โดยใช้เพลงร่อยพรรษาซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นการตั้งใจร้อง เพราะมีความศรัทธาในการทำบุญทางพระพุทธศาสนาเป็นหลัก

เพลงร่อยพรรษามักร้องก่อนวันออกพรรษา วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป จนถึงวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ผู้ร้องเพลงร่อยพรรษาส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ จะร้องประมาณ 7 - 10 คน จะหาบกระบุงหรือตะกร้าออกเดินไปตามบ้านต่าง ๆ เมื่อเจ้าของบ้านได้ยินก็จะนำเงินหรือสิ่งของ ได้แก่ ข้าวสาร ขนม หรือผลไม้ ออกมาให้ หัวหน้าคนร่อยพรรษาก็จะนำไปถวายพระ เวลาออกไปร้องร่อยพรรษามักเป็นเวลากลางคืน เนื่องจากกลางวันคนมักจะออกไปทำนาทำไร่กันหมด

โครงสร้างพื้นฐาน

การศึกษา

อุดมศึกษา
โรงเรียน

สาธารณสุข

โรงพยาบาลรัฐบาล
โรงพยาบาลเอกชน
  • โรงพยาบาลกาญจนบุรีเมโมเรียล
  • โรงพยาบาลธนกาญจน์
  • โรงพยาบาลแสงชูโต

ที่สุดในประเทศไทย

สถานที่สำคัญ

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีอนุสรณสถานหลายแห่งปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานทหารสัมพันธมิตร พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ฯลฯ

อุทยาน
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
น้ำตก
น้ำพุร้อน
  • น้ำพุร้อนหินดาด
เขื่อน
วัด
  • วัดสิริกาญจนาราม (ยุต) (วัดเขาพุรางบน) ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี
  • วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) (หลวง)
  • วัดสระลงเรือ (เรือสุพรรณหงส์จำลองที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
  • วัดทิพย์สุคนธาราม (พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์)
  • วัดสุนันทวนาราม
  • วัดวังก์วิเวการาม (วัดหลวงพ่ออุตตมะ)
  • วัดวังขนายทายิการาม (มีบ่อน้ำแร่)
  • วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (วัดเลี้ยงเสือ)
  • วัดถ้ำเสือ-วัดถ้ำเขาน้อย
  • วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ
  • วัดถ้ำพรหมโลกเขาใหญ่ (พระอาจารย์วินัยธรวันชัย ปัญญาสาโร หลวงพ่อล้าน)
  • วัดพ่อขุนเณร (เขื่อนศรีนครินทร์)
  • วัดพระแท่นดงรัง (หลวง)
  • วัดถาวรวราราม (วัดญวณ)
  • วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) (หลวง)
  • วัดบ้านถ้ำ (มังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ)
อื่น ๆ
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2552)
สนามกีฬา
  • สนามกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี (สนามกลีบบัว)
  • สนามกีฬา36 พรรษา สยามบรมราชกุมารี
  • สนามกีฬาสมเด็จพระญาณสังวร
  • สนามกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • สนามกีฬาท่าม่วง
  • สนามกีฬาสังขละบุรี

บุคคลสำคัญ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เมืองพี่เมืองน้อง

  • ธงของประเทศจีน จีน เขตการปกครองตนเองชนชาติอี๋เหลียงซาน มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2561.
  3. 3.0 3.1 3.2 "ประวัติศาสตร์ จังหวัดกาญจนบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oceansmile.com/K/Kanjanaburi/Kan1.htm สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  4. "ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.finearts.go.th/fad1/parameters/km/item/ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี.html สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  5. “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” วิษัยนครตะวันตก .....ที่สาบสูญ สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  6. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
  7. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/ 2561. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2561.
  8. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 จังหวัดกาญจนบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=71&statType=1&year=60 สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

14°0′15″N 99°32′57″E / 14.00417°N 99.54917°E / 14.00417; 99.54917