ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประปานครหลวง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7602472 สร้างโดย 119.76.5.44 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] นอกจากจะเป็นยุคแห่งการพัฒนาความเจริญแล้ว ยังเริ่มต้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรอีกด้วย เนื่องจากในสมัยนั้นราษฎรได้อาศัยน้ำฝนหรือน้ำในแม่น้ำลำคลอง ใช้ในการอุปโภคและบริโภคในบางฤดูน้ำจะกร่อยและสกปรก บางครั้งมีอหิวาตกโรคระบาดประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงทานขึ้นที่ข้าง[[พระบรมมหาราชวัง]]เพื่อแจกอาหารและน้ำที่สะอาดให้ประชาชนได้ดื่มกิน และหลังจากที่ได้ตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นแล้ว เมื่อ [[พ.ศ. 2448]] จึงมีพระราชดำริให้กรมสุขาภิบาลดำเนินการสำรวจหาวิธีการจัดหาน้ำสะอาดสำหรับประชาชนในพระนคร ซึ่งนายเดอ ลาโรเตียร์ ซึ่งเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เข้ามารับราชการเป็น ช่างสุขาภิบาลในสมัยนั้น ได้เสนอให้เอาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่น้ำเค็มเข้าไม่ถึงมาใช้ ซึ่งสะดวกและไม่ต้องลงทุนมาก ในที่สุดจึงร่วมมือกับกรมคลองพิจารณาขุดคลองรับน้ำจากเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี นำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศ กิจการที่นำน้ำมาใช้ในพระนครนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เรียกตามภาษาสันสกฤตว่า '''การประปา'''
ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] นอกจากจะเป็นยุคแห่งการพัฒนาความเจริญแล้ว ยังเริ่มต้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรอีกด้วย เนื่องจากในสมัยนั้นราษฎรได้อาศัยน้ำฝนหรือน้ำในแม่น้ำลำคลอง ใช้ในการอุปโภคและบริโภคในบางฤดูน้ำจะกร่อยและสกปรก บางครั้งมีอหิวาตกโรคระบาดประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงทานขึ้นที่ข้าง[[พระบรมมหาราชวัง]]เพื่อแจกอาหารและน้ำที่สะอาดให้ประชาชนได้ดื่มกิน และหลังจากที่ได้ตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นแล้ว เมื่อ [[พ.ศ. 2448]] จึงมีพระราชดำริให้กรมสุขาภิบาลดำเนินการสำรวจหาวิธีการจัดหาน้ำสะอาดสำหรับประชาชนในพระนคร ซึ่งนายเดอ ลาโรเตียร์ ซึ่งเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เข้ามารับราชการเป็น ช่างสุขาภิบาลในสมัยนั้น ได้เสนอให้เอาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่น้ำเค็มเข้าไม่ถึงมาใช้ ซึ่งสะดวกและไม่ต้องลงทุนมาก ในที่สุดจึงร่วมมือกับกรมคลองพิจารณาขุดคลองรับน้ำจากเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี นำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศ กิจการที่นำน้ำมาใช้ในพระนครนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เรียกตามภาษาสันสกฤตว่า '''การประปา'''


ในที่สุดเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเช่นการจัดซื้อที่ดิน การขุดคลอง อ่างเก็บน้ำ ก่อสร้างประตูน้ำ ท่อไซฟอนลอดคลอง สะพาน ติดตั้งเครื่องสูบเพื่อให้สามารถส่งน้ำจืด มายังโรงกรองน้ำสามเสนได้ ซึ่งได้ก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งระบบผลิตน้ำ ได้แก่ การติดตั้งเครื่องกวนสารส้มเพื่อให้น้ำตกตะกอน ถังเกอะกรองน้ำที่ ตำบลสามเสน ในการก่อสร้างระบบน้ำได้ฝังท่อเหล็ก เพื่อส่งน้ำไปตามท้องที่ที่จะจ่ายน้ำไปทั่วพระนครตั้งที่ปิด – เปิดน้ำตามถนนต่างๆ รวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประปาทั้งหมดรวมทั้งค่าที่ดินทั้งสิ้น 4,308,221.81 บาท โดยใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 ปีเศษ จึงสามารถจ่ายน้ำสะอาดให้กับชาวพระนครได้ใช้ นับว่าเป็นโครงการใหญ่ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ตราบเท่าทุกวันนี้
ในที่สุดเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเช่นการจัดซื้อที่ดิน การขุดคลอง อ่างเก็บน้ำ ก่อสร้างประตูน้ำ ท่อไซฟอนลอดคลอง สะพาน ติดตั้งเครื่องสูบเพื่อให้สามารถส่งน้ำจืด มายังโรงกรองน้ำสามเสนได้ ซึ่งได้ก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งระบบผลิตน้ำ ได้แก่ การติดตั้งเครื่องกวนสารส้มเพื่อให้น้ำตกตะกอน ถังเกอะกรองน้ำที่ ตำบลสามเสน ในการก่อสร้างระบบน้ำได้ฝังท่อเหล็ก เพื่อส่งน้ำไปตามท้องที่ที่จะจ่ายน้ำไปทั่วพระนครตั้งที่ปิด – เปิดน้ำตามถนนต่างๆ รวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างใต้ถุน ตราบเท่าทุกวันนี้


ในวันที่ [[14 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2457]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดกิจการโดยมีชื่อเรียกครั้งนั้นว่า '''การประปากรุงเทพฯ'''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/1967.PDF การเปิดการประปากรุงเทพฯ วันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2457]</ref> โดยมีพระราชดำรัสให้เห็นถึงความสำคัญของน้ำที่สะอาดของกิจการประปาตอนหนึ่งว่า
ในวันที่ [[14 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2457]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดกิจการโดยมีชื่อเรียกครั้งนั้นว่า '''การประปากรุงเทพฯ'''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/1967.PDF การเปิดการประปากรุงเทพฯ วันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2457]</ref> โดยมีพระราชดำรัสให้เห็นถึงความสำคัญของน้ำที่สะอาดของกิจการประปาตอนหนึ่งว่า

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:36, 13 กันยายน 2561

การประปานครหลวง
Metropolitan Waterworks Authority
ไฟล์:การประปานครหลวง.jpg
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 (109 ปี) (การประปากรุงเทพ)
16 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี) (การประปานครหลวง)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • การประปากรุงเทพ
    การประปาธนบุรี
    การประปานนทบุรี
    การประปาสมุทรปราการ
เขตอำนาจกรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดสมุทรปราการ
สำนักงานใหญ่400 ถนนประชาชื่น แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งบประมาณประจำปี1,196.9567 ล้านบาท (พ.ศ. 2555)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • นายกองเอก[2]วัลลภ พริ้งพงษ์, ประธานกรรมการ
  • ปริญญา ยมะสมิต, ผู้ว่าการ
ต้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เว็บไซต์http://www.mwa.co.th

การประปานครหลวง เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ผลิตและให้บริการเกี่ยวกับน้ำประปาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลขององค์การอนามัยโลก

ประวัติ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากจะเป็นยุคแห่งการพัฒนาความเจริญแล้ว ยังเริ่มต้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรอีกด้วย เนื่องจากในสมัยนั้นราษฎรได้อาศัยน้ำฝนหรือน้ำในแม่น้ำลำคลอง ใช้ในการอุปโภคและบริโภคในบางฤดูน้ำจะกร่อยและสกปรก บางครั้งมีอหิวาตกโรคระบาดประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงทานขึ้นที่ข้างพระบรมมหาราชวังเพื่อแจกอาหารและน้ำที่สะอาดให้ประชาชนได้ดื่มกิน และหลังจากที่ได้ตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2448 จึงมีพระราชดำริให้กรมสุขาภิบาลดำเนินการสำรวจหาวิธีการจัดหาน้ำสะอาดสำหรับประชาชนในพระนคร ซึ่งนายเดอ ลาโรเตียร์ ซึ่งเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เข้ามารับราชการเป็น ช่างสุขาภิบาลในสมัยนั้น ได้เสนอให้เอาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่น้ำเค็มเข้าไม่ถึงมาใช้ ซึ่งสะดวกและไม่ต้องลงทุนมาก ในที่สุดจึงร่วมมือกับกรมคลองพิจารณาขุดคลองรับน้ำจากเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี นำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศ กิจการที่นำน้ำมาใช้ในพระนครนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เรียกตามภาษาสันสกฤตว่า การประปา

ในที่สุดเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเช่นการจัดซื้อที่ดิน การขุดคลอง อ่างเก็บน้ำ ก่อสร้างประตูน้ำ ท่อไซฟอนลอดคลอง สะพาน ติดตั้งเครื่องสูบเพื่อให้สามารถส่งน้ำจืด มายังโรงกรองน้ำสามเสนได้ ซึ่งได้ก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งระบบผลิตน้ำ ได้แก่ การติดตั้งเครื่องกวนสารส้มเพื่อให้น้ำตกตะกอน ถังเกอะกรองน้ำที่ ตำบลสามเสน ในการก่อสร้างระบบน้ำได้ฝังท่อเหล็ก เพื่อส่งน้ำไปตามท้องที่ที่จะจ่ายน้ำไปทั่วพระนครตั้งที่ปิด – เปิดน้ำตามถนนต่างๆ รวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างใต้ถุน ตราบเท่าทุกวันนี้

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดกิจการโดยมีชื่อเรียกครั้งนั้นว่า การประปากรุงเทพฯ[3] โดยมีพระราชดำรัสให้เห็นถึงความสำคัญของน้ำที่สะอาดของกิจการประปาตอนหนึ่งว่า

...ท่านทั้งหลายที่ได้ช่วยเราทำการอันนี้ให้สำเร็จไปได้ ควรรู้สึกปลื้มใจว่า ได้ทำการอันเป็นประโยชน์และ กุศลอย่างยิ่ง เพราะน้ำซึ่งใสสะอาดบริสุทธิ์ใครๆย่อมรู้อยู่แล้วทั้งในโบราณและบัดนี้ว่า เป็นของจำเป็นเพื่อประโยชน์และเพื่อความสุขสำหรับป้องกันโรคอันตรายของมนุษย์ น้ำใสสะอาดย่อมเป็นเครื่องบำบัดโรคได้ดีกว่าโอสถหรือเภสัชทั้งหลาย...

ในที่สุดน้ำประปาที่สะอาดบริสุทธิ์ อันเป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ผู้ทรงริเริ่ม เพื่อให้ประชาชนของพระองค์ในกรุงเทพฯ ได้บริโภค ก็สำเร็จตามพระราชประสงค์ ต่อนี้ไปราษฎรของพระองค์ไม่ต้องบริโภคน้ำที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งก่อให้เกิดโรคภัยอีกต่อไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการบำรุงความสุขอันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนแล้ว การประปายังเป็นเครื่องแสดงปรากฏอีกอย่างหนึ่งว่าเมืองไทยได้ดำเนินขึ้นสู่บันไดแห่งความเจริญอีกขั้นหนึ่งแล้ว กิจการประปากรุงเทพฯ ก้าวหน้าเป็นลำดับจนกระทั่งปี 2496 เมื่อประชาชนเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงได้มีการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทั้งในพระนคร ธนบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ ในพ.ศ. 2510 รัฐบาลได้รวมกิจการประปา 3 จังหวัด 4 องค์กร คือ การประปากรุงเทพฯ การประปาเทศบาลธนบุรี การประปานนทบุรี และการประปาสมุทรปราการ รวมเป็นกิจการเดียวกันมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีชื่อเรียกว่า การประปานครหลวง[4] มาจนทุกวันนี้

การดำเนินงาน

การประปานครหลวงมีพื้นที่รับผิดชอบ 3,192 ตารางกิโลเมตร ใช้น้ำดิบจากสองแหล่งในการผลิตน้ำประปา คือ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำแม่กลอง มีโรงงานผลิตน้ำหลัก 4 แห่ง คือ โรงงานผลิตน้ำบางเขน มหาสวัสดิ์ สามเสน และธนบุรี รวมกำลังการผลิต 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน น้ำประปาที่ผลิตได้มีคุณภาพมาตรฐานองค์การอนามัยโลก จำนวนผู้ใช้น้ำกว่า 2.1 ล้านราย คิดเป็นประชากรประมาณ 10 ล้านคน หรือเป็นร้อยละ 99% ของประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ

ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์ประจำองค์กร ประกอบด้วย ตราพระแม่ธรณี ชื่อการประปานครหลวง และเส้นน้ำ และมีสีหลักขององค์กร 3 สี คือสีน้ำเงิน, สีเขียวน้ำทะเล และสีฟ้าใส

อ้างอิง