ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Dytoy/กระบะทราย"

พิกัด: 16°46′28″N 96°09′32″E / 16.774422°N 96.158756°E / 16.774422; 96.158756
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dytoy (คุย | ส่วนร่วม)
ทำหน้าว่าง
ป้ายระบุ: ทำหน้าว่าง
Dytoy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox religious building
| name = เจดีย์ซูเล
| native_name = ဆူးလေဘုရား
| native_name_lang = my
| image = Sule Pagoda 2017.jpg
| image_size = 250
| alt =
| caption =
| map_type = Burma
| map_size = 250
| map_alt =
| map_caption =
| location =
| coordinates = {{coord|16.774422|96.158756|display=inline,title}}
| religious_affiliation = [[พุทธ]]
| sect = [[เถรวาท]]
| deity =
| municipality = [[ย่างกุ้ง]]
| region = [[เขตย่างกุ้ง]]
| country = [[พม่า]]
| functional_status =
| website =
| founded_by =
| year_completed =
}}

'''เจดีย์ซูเล''' ({{lang-my|ဆူးလေဘုရား}}; {{IPA-my|sʰúlè pʰəjá|pron}}) เป็นเจดีย์ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง[[ย่างกุ้ง]] เป็นพื้นที่ภูมิศาสตร์สำคัญของการเมืองพม่าร่วมสมัย ตามตำนานระบุว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นก่อนเจดีย์ชเวดากอง ในช่วง[[พระโคตมพุทธเจ้า|พระพุทธเจ้า]]ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ทำให้เจดีย์องค์นี้เก่าแก่กว่า 2,500 ปี ตำนานระบุว่าสถานที่สำหรับก่อสร้างเจดีย์ชเวดากองได้รับการแนะนำจาก [[นะ (วิญญาณ)|นะ]] เก่าแก่ของเมืองที่สถิตอยู่บริเวณเจดีย์ซูเล

เจดีย์ซูเล เป็นจุดศูนย์กลางทางการเมืองของย่างกุ้งและพม่า เป็นสถานที่ชุมนุมประท้วงใน[[การก่อการกำเริบ 8888|เหตุการณ์ปฏิวัติ 8888]] ในปี พ.ศ. 2531 และ[[การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์]] ในปี พ.ศ. 2550 เจดีย์ซูเลถูกจัดอยู่ในรายชื่อโบราณสถานของเมืองย่างกุ้ง<ref name=hl>{{cite journal|url=http://www.myanmar.gov.mm/myanmartimes/no87/New/14.htm|title=Special Reports: Heritage List|work=[[The Myanmar Times]]|date=2001-10-29|archiveurl=https://web.archive.org/web/20090615164607/http://www.myanmar.gov.mm/myanmartimes/no87/New/14.htm|archivedate=15 June 2009}}</ref>

==เจดีย์==
เจดีย์ซูเลโครงสร้างเดิมคาดว่าได้รับอิทธิพลจากสถูปเจดีย์ของอินเดียซึ่งทำรูปแบบคล้าย ๆ กันคือเป็นรูปเนินดินสำหรับเก็บพระธาตุ ต่อมาเริ่มได้รับวัฒนธรรมท้องถิ่น รูปแบบอิทธิพลของอินเดียตอนใต้จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นเป็นรูปของเจดีย์ เป็นที่เชื่อกันว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ที่ได้ประทานให้แก่พี่น้องพ่อค้าสองคนคือ ตปุสสะและภัลลิกะ

==ประวัติและตำนาน==
ตามตำนานที่ตั้งของเจดีย์ซูเลในปัจจุบันเคยเป็นที่ตั้งของศาล [[นะ (วิญญาณ)|นะ]] นามว่า ซูเล เป็นกษัตริย์ของนะ เมื่อ[[ท้าวสักกะ]] อยากจะช่วยเหลือกษัตริย์โอกะละปา เพื่อหาสถานที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ แต่ท้าวสักกะไม่ทราบว่าควรเป็นที่ไหน เหล่าเทวดา มนุษย์ พร้อมด้วยกษัตริย์โอกะละปาจึงมาประชุมบริเวณซูเล และนะซูเลจึงได้แนะนำสถานที่สำหรับการสร้าง[[เจดีย์ชเวดากอง]]

เจดีย์ซูเลเริ่มเป็นศูนย์กลางของย่างกุ้งโดย อเล็กซานเดอร์ ฟราเซอร์ (Lt. Alexander Fraser) วิศวะกรจากเบงกอล ผู้ซึ่งสร้างรูปแบบถนนย่างกุ้งอย่างในปัจจุบัน ไม่นานนักหลังจากการยึดครองของ[[จักรวรรดิบริติช|จักรวรรดิอังกฤษ]]ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ฟราเซอร์ ยังให้ยืมชื่อของเขาไปตั้งชื่อถนน ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนอโนรธา และยังคงเป็นหนึ่งในเส้นทางสายหลักของย่างกุ้ง)

เจดีย์เป็นรูปทรงแปดเหลี่ยมซึ่งแต่ละด้านมีความยาว 24 ฟุต (7 เมตร) สูง 144 ฟุต (9 1/2) นิ้ว (44 เมตร) เจดีย์ได้รับการบูรณะและมีขนาดเท่าปัจจุบันในสมัย[[พระนางเชงสอบู]] (ค.ศ. 1453–1472) รอบ ๆ เจดีย์มีระฆังสัมฤทธิ์ 10 ใบขนาดและอายุแตกต่างกันไปโดยมีการจารึกชื่อผู้บริจาคและวันที่ถวาย คำอธิบายเกี่ยวกับชื่อเจดีย์แตกต่างกันไปตามความเชื่อเช่น มาจาก ซู-เว หมายถึง "การชุมนุมโดยรอบ" มาจากเมื่อครั้งกษัตริย์โอกะละปาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สืบหาที่ตั้งของเนินเขาเชียงกุตระเพื่อสร้างเจดีย์ อีกความเชื่อกล่าวว่ามาจาก ซู-เล หมายถึงพุ่มไม้ป่าชนิดหนึ่ง และสมมุติฐานใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับตำนานมาจากความเชื่อมโยงกับภาษาบาลีคำว่า จุลฺล หมายถึง "เล็ก" และ เจติย หมายถึง "เจดีย์"

==ที่ตั้ง==
เจดีย์ซูเลตั้งอยู่ใจกลางกรุงย่างกุ้งและเป็นส่วนหนึ่งของเมืองทั้งด้านเศรษฐกิจและชีวิตของประชาชน ระหว่างการชุมนุมประท้วงเมื่อปี พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2550 เจดีย์ซูเลเป็นจุดนัดพบของผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลและผู้ประท้วงเพื่อประชาธิปไตย

==บทบาททางการเมือง==
ในช่วงการ[[การก่อการกำเริบ 8888|เหตุการณ์ปฏิวัติ 8888]] เจดีย์เป็นจุดนัดพบและจุดหมายปลายทางที่ได้รับการเลือก ทั้งจากแหน่งที่ตั้งและเป็นนัยสำคัญทางสัญลักษณ์ ในปี พ.ศ. 2550 ระหว่างการปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ เจดีย์ซูเลถูกใช้เป็นจุดชุมนุมในการประท้วงเพื่อประชาธิปไตย พระสงฆ์จำนวนหลายพันคนมาชุมนุมกันเพื่อกราบไหว้รอบพระเจดีย์ และเป็นสถานที่แรกที่ได้เห็นถึงปฏิกิริยารุนแรงของรัฐบาลพม่าต่อกลุ่มผู้ประท้วง

==อ้างอิง==
{{Commons category|Sule pagoda|เจดีย์ซูเล}}
; เชิงอรรถ
{{รายการอ้างอิง}}
;บรรณานุกรม
{{เริ่มอ้างอิง}}
*Barnes, Gina L. “An Introduction to Buddhist Archaeology,” World Archaeology, Vol. 27, No. 2. (Oct., 1995), pp.&nbsp;165–182.
*Raga, Jose Fuste. Sule pagoda, in the centre of Yangon, Myan. Encyclopædia Britannica. 10 February 2009
*Soni, Sujata. Evolution of Stupas in Burma. Delhi: Motilal Banarsidass Publishers Pvt. Ltd, 1991.
{{จบอ้างอิง}}

{{เรียงลำดับ|ซ}}
[[หมวดหมู่:เขตย่างกุ้ง]]
[[หมวดหมู่:เจดีย์ในประเทศพม่า]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในประเทศพม่า]]
[[หมวดหมู่:สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศพม่า]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:13, 2 กันยายน 2561

เจดีย์ซูเล
ဆူးလေဘုရား
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาท
ภูมิภาคเขตย่างกุ้ง
ที่ตั้ง
เทศบาลย่างกุ้ง
ประเทศพม่า
Dytoy/กระบะทรายตั้งอยู่ในประเทศพม่า
Dytoy/กระบะทราย
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัดภูมิศาสตร์16°46′28″N 96°09′32″E / 16.774422°N 96.158756°E / 16.774422; 96.158756

เจดีย์ซูเล (พม่า: ဆူးလေဘုရား; ออกเสียง: [sʰúlè pʰəjá]) เป็นเจดีย์ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองย่างกุ้ง เป็นพื้นที่ภูมิศาสตร์สำคัญของการเมืองพม่าร่วมสมัย ตามตำนานระบุว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นก่อนเจดีย์ชเวดากอง ในช่วงพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ทำให้เจดีย์องค์นี้เก่าแก่กว่า 2,500 ปี ตำนานระบุว่าสถานที่สำหรับก่อสร้างเจดีย์ชเวดากองได้รับการแนะนำจาก นะ เก่าแก่ของเมืองที่สถิตอยู่บริเวณเจดีย์ซูเล

เจดีย์ซูเล เป็นจุดศูนย์กลางทางการเมืองของย่างกุ้งและพม่า เป็นสถานที่ชุมนุมประท้วงในเหตุการณ์ปฏิวัติ 8888 ในปี พ.ศ. 2531 และการปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ ในปี พ.ศ. 2550 เจดีย์ซูเลถูกจัดอยู่ในรายชื่อโบราณสถานของเมืองย่างกุ้ง[1]

เจดีย์

เจดีย์ซูเลโครงสร้างเดิมคาดว่าได้รับอิทธิพลจากสถูปเจดีย์ของอินเดียซึ่งทำรูปแบบคล้าย ๆ กันคือเป็นรูปเนินดินสำหรับเก็บพระธาตุ ต่อมาเริ่มได้รับวัฒนธรรมท้องถิ่น รูปแบบอิทธิพลของอินเดียตอนใต้จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นเป็นรูปของเจดีย์ เป็นที่เชื่อกันว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ที่ได้ประทานให้แก่พี่น้องพ่อค้าสองคนคือ ตปุสสะและภัลลิกะ

ประวัติและตำนาน

ตามตำนานที่ตั้งของเจดีย์ซูเลในปัจจุบันเคยเป็นที่ตั้งของศาล นะ นามว่า ซูเล เป็นกษัตริย์ของนะ เมื่อท้าวสักกะ อยากจะช่วยเหลือกษัตริย์โอกะละปา เพื่อหาสถานที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ แต่ท้าวสักกะไม่ทราบว่าควรเป็นที่ไหน เหล่าเทวดา มนุษย์ พร้อมด้วยกษัตริย์โอกะละปาจึงมาประชุมบริเวณซูเล และนะซูเลจึงได้แนะนำสถานที่สำหรับการสร้างเจดีย์ชเวดากอง

เจดีย์ซูเลเริ่มเป็นศูนย์กลางของย่างกุ้งโดย อเล็กซานเดอร์ ฟราเซอร์ (Lt. Alexander Fraser) วิศวะกรจากเบงกอล ผู้ซึ่งสร้างรูปแบบถนนย่างกุ้งอย่างในปัจจุบัน ไม่นานนักหลังจากการยึดครองของจักรวรรดิอังกฤษในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ฟราเซอร์ ยังให้ยืมชื่อของเขาไปตั้งชื่อถนน ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนอโนรธา และยังคงเป็นหนึ่งในเส้นทางสายหลักของย่างกุ้ง)

เจดีย์เป็นรูปทรงแปดเหลี่ยมซึ่งแต่ละด้านมีความยาว 24 ฟุต (7 เมตร) สูง 144 ฟุต (9 1/2) นิ้ว (44 เมตร) เจดีย์ได้รับการบูรณะและมีขนาดเท่าปัจจุบันในสมัยพระนางเชงสอบู (ค.ศ. 1453–1472) รอบ ๆ เจดีย์มีระฆังสัมฤทธิ์ 10 ใบขนาดและอายุแตกต่างกันไปโดยมีการจารึกชื่อผู้บริจาคและวันที่ถวาย คำอธิบายเกี่ยวกับชื่อเจดีย์แตกต่างกันไปตามความเชื่อเช่น มาจาก ซู-เว หมายถึง "การชุมนุมโดยรอบ" มาจากเมื่อครั้งกษัตริย์โอกะละปาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สืบหาที่ตั้งของเนินเขาเชียงกุตระเพื่อสร้างเจดีย์ อีกความเชื่อกล่าวว่ามาจาก ซู-เล หมายถึงพุ่มไม้ป่าชนิดหนึ่ง และสมมุติฐานใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับตำนานมาจากความเชื่อมโยงกับภาษาบาลีคำว่า จุลฺล หมายถึง "เล็ก" และ เจติย หมายถึง "เจดีย์"

ที่ตั้ง

เจดีย์ซูเลตั้งอยู่ใจกลางกรุงย่างกุ้งและเป็นส่วนหนึ่งของเมืองทั้งด้านเศรษฐกิจและชีวิตของประชาชน ระหว่างการชุมนุมประท้วงเมื่อปี พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2550 เจดีย์ซูเลเป็นจุดนัดพบของผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลและผู้ประท้วงเพื่อประชาธิปไตย

บทบาททางการเมือง

ในช่วงการเหตุการณ์ปฏิวัติ 8888 เจดีย์เป็นจุดนัดพบและจุดหมายปลายทางที่ได้รับการเลือก ทั้งจากแหน่งที่ตั้งและเป็นนัยสำคัญทางสัญลักษณ์ ในปี พ.ศ. 2550 ระหว่างการปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ เจดีย์ซูเลถูกใช้เป็นจุดชุมนุมในการประท้วงเพื่อประชาธิปไตย พระสงฆ์จำนวนหลายพันคนมาชุมนุมกันเพื่อกราบไหว้รอบพระเจดีย์ และเป็นสถานที่แรกที่ได้เห็นถึงปฏิกิริยารุนแรงของรัฐบาลพม่าต่อกลุ่มผู้ประท้วง

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. "Special Reports: Heritage List". The Myanmar Times. 2001-10-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2009.
บรรณานุกรม
  • Barnes, Gina L. “An Introduction to Buddhist Archaeology,” World Archaeology, Vol. 27, No. 2. (Oct., 1995), pp. 165–182.
  • Raga, Jose Fuste. Sule pagoda, in the centre of Yangon, Myan. Encyclopædia Britannica. 10 February 2009
  • Soni, Sujata. Evolution of Stupas in Burma. Delhi: Motilal Banarsidass Publishers Pvt. Ltd, 1991.