ข้ามไปเนื้อหา
เปิด/ปิดแถบข้าง
ค้นหา
สร้างบัญชี
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
เข้าสู่ระบบ
หน้าสำหรับผู้แก้ไขที่ออกจากระบบ
เรียนรู้เพิ่มเติม
คุย
ส่วนร่วม
หน้าผู้ใช้
อภิปราย
ไทย
อ่าน
แก้ไข
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
อ่าน
แก้ไข
ดูประวัติ
การนำทาง
หน้าหลัก
ถามคำถาม
เหตุการณ์ปัจจุบัน
สุ่มบทความ
เกี่ยวกับวิกิพีเดีย
ติดต่อเรา
บริจาคให้วิกิพีเดีย
มีส่วนร่วม
คำอธิบาย
เริ่มต้นเขียน
ศาลาประชาคม
เปลี่ยนแปลงล่าสุด
ดิสคอร์ด
เครื่องมือ
เรื่องที่ผู้ใช้มีส่วนร่วม
ปูม
ดูกลุ่มผู้ใช้
อัปโหลดไฟล์
หน้าพิเศษ
รุ่นพร้อมพิมพ์
ภาษาอื่น
ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Dytoy/กระบะทราย"
← การแก้ไขก่อนหน้า
การแก้ไขถัดไป →
ผู้ใช้:Dytoy/กระบะทราย
(แก้ไข)
รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:52, 2 กันยายน 2561
ลดลง 14,695 ไบต์
,
3 ปีที่แล้ว
ทำหน้าว่าง
รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:49, 2 กันยายน 2561
(
แก้ไข
)
Dytoy
(
คุย
|
ส่วนร่วม
)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
← การแก้ไขก่อนหน้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:52, 2 กันยายน 2561
(
แก้ไข
)
(
ทำกลับ
)
Dytoy
(
คุย
|
ส่วนร่วม
)
(ทำหน้าว่าง)
ป้ายระบุ
:
ทำหน้าว่าง
การแก้ไขถัดไป →
{{Infobox religious building
| name = เจดีย์โบตทอง
| native_name = ဗိုလ်တထောင်ဘုရား
| native_name_lang = my
| image = Yangon-Botataung-08-gje.jpg
| image_size = 250
| alt =
| caption =
| map_type = Burma
| map_size = 250
| map_alt =
| map_caption =
| location =
| coordinates = {{coord|16.768449|96.171973|display=inline,title}}
| religious_affiliation = [[พุทธ]]
| sect = [[เถรวาท]]
| deity =
| municipality = [[ย่างกุ้ง]]
| region = [[เขตย่างกุ้ง]]
| country = [[พม่า]]
| functional_status =
| website =
| founded_by =
| year_completed =
}}
'''เจดีย์โบตทอง''' ({{lang-my|ဗိုလ်တထောင်ဘုရား}} {{IPA-my|bòtətʰàʊɴ pʰəjá|}}; รู้จักกันในชื่อ '''เจดีย์โบตะทาว'''; หมายถึง "ทหาร 1,000 นาย") เป็นเจดีย์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมือง[[ย่างกุ้ง]] [[ประเทศพม่า]] ใกล้[[แม่น้ำย่างกุ้ง]] เจดีย์ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดย[[ชาวมอญ]]ช่วงเวลาเดียวกันกับเจดีย์ชเวดากอง ตามความเชื่อท้องถิ่นสร้างเมื่อกว่า 2,500 ปีที่ผ่านมา และเป็นที่รู้จักในชื่อภาษามอญว่า ไจเดอัต ({{lang-en|Kyaik-de-att}}) เจดีย์กลวงภายในและเชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ[[พระโคตมพุทธเจ้า|พระพุทธเจ้า]]<ref name=mti>{{cite web|url=http://myanmartravelinformation.com/mti-yangon/botahtaung.htm |title=Botataung Pagoda |accessdate=2009-02-05 |publisher=Myanmar Travel Information Committee |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20090101093817/http://myanmartravelinformation.com/mti-yangon/botahtaung.htm |archivedate=January 1, 2009 }}</ref><ref name="Botah"/><ref name="mmtimes"/>
เจดีย์โบตทองได้ถูกทำลายลงในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]และได้ถูกบูรณะใหม่หลังสงคราม<ref name="gothailand"/><ref name="Botah"/><ref name="mmtimes"/>
== ประวัติ ==
ตามตำนานกษัตริย์มอญนามว่าโอกะละปาได้ให้นายทหารระดับแม่ทัพ 1,000 นาย ตั้งแถวถวายสักการะพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าที่พ่อค้าสองพี่น้อง ตปุสสะและภัลลิกะ อัญเชิญมาทางเรือจาก[[ประเทศอินเดีย]] และมาขึ้นฝั่งเมืองตะเกิงหรือดากอง ณ บริเวณนี้เมื่อ 2,000 ปีก่อน จึงสร้างเจดีย์โบตทองไว้เป็นที่ระลึก พร้อมทั้งแบ่งพระเกศา 1 เส้นมาบรรจุไว้ ก่อนนำไปบรรจุใน[[เจดีย์ชเวดากอง]]และเจดีย์สำคัญอื่น ๆ<ref name="gothailand">[https://ghttp://gothailandgoasean.tourismthailandorg/th/สักการะและขอพรเทพทันใจที่เจดีย์โบดาทาวน์-ณ-กรุงย่างกุ้ง/ เจดีย์โบดาทาวน์ ณ กรุงย่างกุ้ง]</ref><ref name="Botah">[https://myanmartravelinformation.com/yangon-where-to-visit/botahtaung-pagoda.html Yangon Visit Botahtaung Pagoda]</ref><ref name="mmtimes">[https://www.mmtimes.com/national-news/yangon/3400-history-lures-visitors-to-botahtaung-pagoda.html History lures visitors to Botahtaung Pagoda. Myanmar Time]</ref>
=== สงครามโลกครั้งที่ 2 ===
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เจดีย์ได้ถูกทำลายลงเพราะการทิ้งระเบิดโจมตีท่าเรือเมืองย่างกุ้งของกองทัพอากาศอังกฤษ (RAF) เจดีย์ถูกทิ้งไว้ในซากปรักหักพังสีดำ<ref>[https://albinger.me/2016/08/31/yangons-botataung-paya/ yangons botataung paya]</ref><ref name="mmtimes"/>
=== การบูรณะ ===
การบูรณะเจดีย์เริ่มต้นขึ้นในวันเดียวกันกับที่ประเทศพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษคือ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 หลังจากที่นำซากปรักหักพังออกจากพื้นดินแล้วจึงเริ่มกระบวนการขุดที่ความลึกประมาณเจ็ดฟุต เพื่อสร้างฐานรากของเจดีย์องค์ใหม่ มีการขุดค้นเพิ่มเติมบริเวณใจกลางพื้นที่ที่ระดับความลึกสามฟุต พบกรุที่สร้างขึ้นอย่างดีและมีขนาดค่อย ๆ ลดลงจากด้านบน และปรากฎผอบขนาดใหญ่วางกลับด้านครอบทับสิ่งที่อยู่ภายใน ใจกลางกรุพบผอบหินทรงสถูป มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 23 นิ้วและสูง 39 นิ้ว รอบ ๆ ผอบพบรูป [[นะ (วิญญาณ)|นะ]] ที่แกะสลักจากศิลาแลงเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์รักษา ผอบถูกพบฝังอยู่ในโคลนเพราะมีน้ำซึมเข้ามาในกรุตลอดช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา<ref name=uog>{{cite journal | title=Shrines of Burma: The Botataung Pagoda | url=http://www.triplegem.plus.com/botataun.htm | accessdate=2009-02-12 | year=1953 | volume=1 | issue=2 | author=Ohn Ghine | deadurl=yes | archiveurl=https://web.archive.org/web/20071113002844/http://www.triplegem.plus.com/botataun.htm | archivedate=2007-11-13 | df= }}</ref>
ภายในกรุที่เก็บผอบหินทรงสถูปพบสมบัติล้ำค่าหลายชนิดเช่น อัญมณี, เครื่องประดับ, เพชรพลอย, จารึกดินเผา, และพระพุทธรูปทองคำ, เงิน, ทองเหลือง, หิน พระพุทธรูปจำนวนทั้งหมดภายในและภายนอกผอบราวกว่า 700 องค์ จารึกดินเผาบางส่วนกล่าวถึงการรักษาธรรมและเรื่องราวทางพุทธศาสนา<ref name=uog/>
หนึ่งในแผ่นดินเผาที่ได้จากกรุซึ่งมีรูปพระพุทธรูปและแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากอายุและความชื้นก็ตาม ด้านหลังมีตัวอักษรที่ถูกจารึกไว้ซึ่งใกล้เคียงกับ[[อักษรพราหมี]]แถบอินเดียตอนใต้ เป็นหลักฐานสำคัญของสมัยโบราณและได้รับการตีความโดย อูลูเปวิน ผู้อำนวยการนักโบราณคดี สมัยรัฐบาล[[สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)|สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า]] ซึ่งชี้ให้เห็นคำว่า "e" จาก "evam vadi" แสดงให้เห็นถึงตัวอักษรลักษณะแบบมอญโบราณ เป็นหลักฐานที่พิสูจน์ความเชื่อที่ว่าผู้สร้างเจดีย์ในสมัยโบราณคือชาวมอญ<ref name=uog/>
หลังการประชุมและหารือผู้นำทางศาสนา 15 คน จึงมีมติให้เปิดผอบต่อหน้าทุกคนในคณะกรรมการ การเปิดผอบมีการระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อผอบหินถูกเปิดพบว่าภายในมีผอบสีทองซ้อนอีกชั้นหนึ่ง เป็นผอบลักษณะคล้ายกับผอบหินภายนอก เป็นทรงสถูปลักษณะคล้ายเจดีย์ ฝีมือปราณีต แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสในศาสนา โคลนบางส่วนได้ซึมมาด้านข้างและฐานชั้นนี้ เมื่อล้างและร่อนด้วยตะแกรงจึงพบหินมีค่า ทอง และอัญมณีรอบฐานชั้นนี้ ผอบชั้นที่สองถูกเปิดภายในพบสถูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดเล็กตั้งอยู่บนถาดเงิน และข้างสถูปทองคำมีรูปหินแกะสลักสูง 4½ นิ้ว เป็นฝีมือโบราณขั้นสูง<ref name=uog/>
เมื่อสถูปทองถูกเปิดออกก็พบกระบอกทองคำขนาดเล็ก ยาว 3/4 นิ้ว (19 มม.) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5/12 นิ้ว (11 มม.) ภายในกระบอกพบพระธาตุขนาดเล็กสององค์ ขนาดเล็กเท่าเมล็ดมัสตาร์ด และสิ่งที่เชื่อว่าเป็นพระเกศาของพระพุทธเจ้า เป็นเส้นพระเกศาม้วนเป็นวงกลมและยึดติดเล็กน้อยกับยางรักที่ซึ่งเห็นเป็นจุดทองฉาบปิดไว้<ref name=uog/>
== โครงสร้าง ==
เจดีย์ใหม่มีการออกแบบให้มีลักษณะตามเดิมและสูง 131 ฟุต 8 นิ้ว (40.13 เมตร) บนฐาน 96 ฟุต (29 ม.) x 96 ฟุต (29 ม.) แหล่งท่องเที่ยวหลักคือภายในของเจดีย์ซึ่งกลวง ทางเดินมีลักษณะเหมือนเขาวงกต พนังบุด้วยทองคำมีกระจกกั้น ภายในแสดงโบราณวัตถุและสิ่งประดิษฐ์โบราณจำนวนมากที่เคยฝังไว้ภายในเจดีย์ก่อนหน้านี้<ref name=mti/>
== คลังภาพ ==
<center>
<gallery mode="nolines" widths="180" heights="140">
ไฟล์:Botataung Paya From the River (8392990635).jpg|เจดีย์โบตทองจากริมฝั่งแม่น้ำ
ไฟล์:2016 Rangun, Pagoda Botahtaung (52).jpg|บริเวณโดยรอบเจดีย์
ไฟล์:Image of Mindfulness and Wisdom (8392104320).jpg|พระพุทธรูปบริเวณเจดีย์
ไฟล์:Botataung Stupa 0308.jpg|พระพุทธรูปภายในอาคาร
ไฟล์:2016 Rangun, Pagoda Botahtaung (04).jpg|ทางเข้าภายในเจดีย์
ไฟล์:Guilded Corridor (27629705157).jpg|บริเวณภายในเจดีย์
ไฟล์:Botataung Pagoda (10424732815).jpg|พระสารีริกธาตุในตู้กระจก
ไฟล์:Bo Bo Gyi, Botahtaung Pagoda, Yangon.jpg|[[นะ (วิญญาณ)|นะ]] โบโบจี หรือ คนไทยคุ้นเคยในชื่อ เทพทันใจ เป็นผู้พิทักษ์เจดีย์ตามความเชื่อของชาวพม่า
</gallery>
</center>
==อ้างอิง==
{{Commonscat|Botahtaung pagoda|เจดีย์โบตทอง}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{เรียงลำดับ|บ}}
[[หมวดหมู่:เขตย่างกุ้ง]]
[[หมวดหมู่:เจดีย์ในประเทศพม่า]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในประเทศพม่า]]
[[หมวดหมู่:สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศพม่า]]
Dytoy
322
การแก้ไข