ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
ปัจจุบันเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ดำรงสถานะเป็นผู้แทนเจ้านายฝ่ายเหนือ ประมุขแห่งสายสกุล ณ เชียงใหม่ ในการกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ อาทิ การนำคณะทายาทและประชาชนสักการะกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ณ วัดสวนดอก ซึ่งเป็นประเพณีในสายตระกูลที่ปฏิบัติสืบต่อจากเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ที่ได้ริเริ่มไว้และได้จัดตั้งมูลนิธิกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ภายหลังได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นประเพณีดำหัวกู่ของจังหวัดเชียงใหม่ถึงปัจจุบัน<ref>[http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000047993 ชาวเชียงใหม่หลั่งไหลสักการะกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่คับคั่ง]จาก มติชน วันที่ 17 เมษายน 2555 สืบค้นวันที่ 9 กรกฎาคม 2558</ref>
ปัจจุบันเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ดำรงสถานะเป็นผู้แทนเจ้านายฝ่ายเหนือ ประมุขแห่งสายสกุล ณ เชียงใหม่ ในการกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ อาทิ การนำคณะทายาทและประชาชนสักการะกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ณ วัดสวนดอก ซึ่งเป็นประเพณีในสายตระกูลที่ปฏิบัติสืบต่อจากเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ที่ได้ริเริ่มไว้และได้จัดตั้งมูลนิธิกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ภายหลังได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นประเพณีดำหัวกู่ของจังหวัดเชียงใหม่ถึงปัจจุบัน<ref>[http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000047993 ชาวเชียงใหม่หลั่งไหลสักการะกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่คับคั่ง]จาก มติชน วันที่ 17 เมษายน 2555 สืบค้นวันที่ 9 กรกฎาคม 2558</ref>


ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561 เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ได้ดำเนินการส่งมอบไม้เท้าหุ้มทอง ซึ่งเป็นสมบัติที่ตกทอดมาจากเจ้าแก้วนวรัฐ ให้แก่[[เจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่]] หรือเจ้าน้อย เพื่อเก็บรักษาและส่งต่อให้แก่ทายาทในสายสกุล ณ เชียงใหม่ โดยมีทายาทในสกุล ณ เชียงใหม่ ร่วมเป็นสักขีพยาน และเจ้าวงศ์สักก์จะได้มอบหมายให้เจ้าวีระยุทธสานต่องานของตนที่ดำเนินการในนามในมูลนิธนวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือต่อไป<ref>[https://www.matichon.co.th/region/news_896636 เจ้าวงศ์สักก์ฯส่งมอบไม้เท้าหุ้มทองคำให้ "เจ้าน้อย" สืบสมบัติ "เจ้าแก้วนวรัฐ" ณ เชียงใหม่] จาก มติชน วันที่ 29 มีนาคม 2561 สืบค้นวันที่ 29 สิงหาคม 2561</ref>
ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561 เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ได้ดำเนินการส่งมอบไม้เท้าหุ้มทอง ซึ่งเป็นสมบัติที่ตกทอดมาจากเจ้าแก้วนวรัฐ ให้แก่[[เจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่]] หรือเจ้าน้อย เพื่อเก็บรักษาและส่งต่อให้แก่ทายาทในสายสกุล ณ เชียงใหม่ โดยมีทายาทในสกุล ณ เชียงใหม่ ร่วมเป็นสักขีพยาน และเจ้าวงศ์สักก์ได้มอบหมายให้เจ้าวีระยุทธสานต่องานสาธารณะประโยชน์ที่ดำเนินการในนามของมูลนิธนวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ<ref>[https://www.matichon.co.th/region/news_896636 เจ้าวงศ์สักก์ฯส่งมอบไม้เท้าหุ้มทองคำให้ "เจ้าน้อย" สืบสมบัติ "เจ้าแก้วนวรัฐ" ณ เชียงใหม่] จาก มติชน วันที่ 29 มีนาคม 2561 สืบค้นวันที่ 29 สิงหาคม 2561</ref>


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:25, 30 สิงหาคม 2561

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่
เจ้านครเชียงใหม่ (แต่ในนาม)
ประสูติ25 กันยายน พ.ศ. 2478 (88 ปี)
คุ้มรินแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
หม่อม
  • ชนิดา (จุลละรัต) ณ เชียงใหม่
โอรสหรือธิดาสักก์ดนัย ณ เชียงใหม่
ราชวงศ์ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน (ทิพย์จักราธิวงศ์)
พระบิดาเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่
พระมารดาหม่อมจันทร์สม (ชนะนนท์) ณ เชียงใหม่
วงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
– ตำแหน่งในนาม –
ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่


เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (ไทยถิ่นเหนือ: ) ผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ ทายาทในเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ กับหม่อมจันทร์สม ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม "ชนะนนท์") เป็นหลานปู่ ใน พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9

วัยเยาว์

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ เกิดที่คุ้มรินแก้ว (เดิมชื่อคุ้มแจ่งหัวริน) เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2478 (88 ปี) เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ก่อนจะถูกส่งเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ขณะที่อายุได้ 12 ปี จวบจนอายุ 16 ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่เมืองเอดินบะระ ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี แล้วจึงย้ายมาศึกษาต่อที่ College of Aeronautical and Automobile Engineering, Chelsea กรุงลอนดอน จนกลายเป็นวิศวกรการบิน และเป็นนักบินสมัครเล่น

สมรสกับ ชนิดา ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม "จุลละรัต")[1] ในปี พ.ศ. 2503 มีบุตร 1 คน คือ สักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ (พ.ศ. 2503 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2553) เจ้าสักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาท ปัจจุบัน เจ้าวงศ์สักก์ มีทายาทลูกหลาน (หลานลุง) ที่สนิทคอยดูแลคือ เจ้าพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ และเจ้าพันธุ์ปิติ ณ เชียงใหม่

กลับมาทำงานที่เมืองไทย

หลังจากสำเร็จการศึกษาจึงกลับมาทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท ในปี พ.ศ. 2502 ที่กรมช่างอากาศ กองพันอากาศ กองทัพอากาศ แต่รับราชการได้ไม่นานก็ลาออกจากราชการมาทำงานกับบริษัท International Engineering จำกัด

ในปี พ.ศ. 2537 ได้ริเริ่มจัดทำหนังสือ "เจ้าหลวงเชียงใหม่"[2] เป็นหนังสือพระราชประวัติของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทั้งหมด จัดทำโดย มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมโบราณของฝ่ายเหนือ ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม วรรณกรรม ดนตรีพื้นเมือง และทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นมรดกของไทยที่ทรงคุณค่า และสืบทอดมาแต่โบราณ ซึ่งมูลนิธินี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานโดยตำแหน่ง

เล่มต่อมา คือ เจ้าพ่อหลวง ทำถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2542 อีกเล่มชื่อ "ขัตติยานีศรีล้านนา" ทำถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547

การสืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

เมื่อเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2532 เจ้าวงศ์สักก์ ในฐานะบุตรจึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบต่อมา[3] นับเป็นการสืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ[4]

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ได้ร่วมกิจกรรมกับภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป ในการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างสม่ำเสมอ และกิจกรรมถวายพระเกียรติพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ[5] และเจ้านายฝ่ายเหนือ[6] ในฐานะที่เป็นผู้สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่[7] นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ อาทิ สนับสนุน "โครงการรณรงค์ น้อมนำพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท พระราชดำริ แนวทางทรงงานและพระราชปรัชญา ประพฤติเป็นวัตรปฏิบัติ ในโครงการบัณฑิตอุดมคติไทย" ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[8]

ปัจจุบันเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ดำรงสถานะเป็นผู้แทนเจ้านายฝ่ายเหนือ ประมุขแห่งสายสกุล ณ เชียงใหม่ ในการกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ อาทิ การนำคณะทายาทและประชาชนสักการะกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ณ วัดสวนดอก ซึ่งเป็นประเพณีในสายตระกูลที่ปฏิบัติสืบต่อจากเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ที่ได้ริเริ่มไว้และได้จัดตั้งมูลนิธิกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ภายหลังได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นประเพณีดำหัวกู่ของจังหวัดเชียงใหม่ถึงปัจจุบัน[9]

ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561 เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ได้ดำเนินการส่งมอบไม้เท้าหุ้มทอง ซึ่งเป็นสมบัติที่ตกทอดมาจากเจ้าแก้วนวรัฐ ให้แก่เจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่ หรือเจ้าน้อย เพื่อเก็บรักษาและส่งต่อให้แก่ทายาทในสายสกุล ณ เชียงใหม่ โดยมีทายาทในสกุล ณ เชียงใหม่ ร่วมเป็นสักขีพยาน และเจ้าวงศ์สักก์ได้มอบหมายให้เจ้าวีระยุทธสานต่องานสาธารณะประโยชน์ที่ดำเนินการในนามของมูลนิธนวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แม่แบบ:ต.จ. สืบราชสกุล เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่[11]

ราชตระกูล

อ้างอิง

  1. คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ.
  2. เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
  3. http://www.matichon.co.th/matichon/m...day=2007/01/07
  4. http://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=23828
  5. เชียงใหม่จัดพิธีเทิดพระเกียรติ “พระเจ้าค่ายกาวิละ”
  6. ต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ร่วมจุฬาฯ ทำบุญคล้ายวันประสูติ "พระราชชายาเจ้าดารารัศมี" เสวนา-ฟ้อนเล็บยิ่งใหญ่
  7. http://region3.prd.go.th/ct/news/showprint.php?ID=090419115125
  8. "เจ้าวงศ์สักก์" มอบทุนหนุนวิศวฯมช. นำร่อง50มหา'ลัยสร้างฝายให้ชุมชน
  9. ชาวเชียงใหม่หลั่งไหลสักการะกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่คับคั่งจาก มติชน วันที่ 17 เมษายน 2555 สืบค้นวันที่ 9 กรกฎาคม 2558
  10. เจ้าวงศ์สักก์ฯส่งมอบไม้เท้าหุ้มทองคำให้ "เจ้าน้อย" สืบสมบัติ "เจ้าแก้วนวรัฐ" ณ เชียงใหม่ จาก มติชน วันที่ 29 มีนาคม 2561 สืบค้นวันที่ 29 สิงหาคม 2561
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 110 ตอนที่ 57 วันที่ 3 พฤษภาคม 2536
ก่อนหน้า เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ถัดไป
เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่
ผู้สืบสกุลเจ้านครเชียงใหม่
(พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง