ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Zaa2528 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
* คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
* คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
* คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
* คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
*คณะเกษตรศาสตร์(โครงการจัดตั้ง)
*วิทยาลัยการพยาบาลและสุขภาพ (โครงการจัดตั้ง)
* [[โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี]]
* [[โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:47, 19 สิงหาคม 2561

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ชื่อเดิมโรงเรียนลวะศรี
ชื่อย่อมรท. / TRU
คติพจน์มหาวิทยาลัยทันสมัย ใส่ใจคุณภาพทุกด้าน มีมาตรฐานระดับสากล ประชาชนพึ่งพาได้
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนาพ.ศ. 2463
นายกสภาฯวิชัย ศรีขวัญ
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ จินตนา เวชมี[1]
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ จินตนา เวชมี[1]
ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
เลขที่ 321 ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 15000
หน่วยจัดการศึกษานอกที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดสิงห์บุรี
เลขที่ 14/3 หมู่2 ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 16130
สี   กรมท่า - เขียว
เว็บไซต์www.tru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี (อังกฤษ: Thepsatri Rajabhat University) เป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกในส่วนภูมิภาค[2] ตั้งอยู่ที่ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

ประวัติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 โดยเริ่มการการก่อตั้ง "โรงเรียนลวะศรี" ซึ่งเปิดสอนเฉพาะนักเรียนหญิง ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเทพสตรีวิทยาลัย" หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2483 ได้ย้ายโรงเรียนมาที่ถนนนารายณ์มหาราช พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนสตรีลพบุรี" และได้รับการยกฐานะเป็น "วิทยาลัยครูเทพสตรี" ซึ่งนับเป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกในส่วนภูมิภาค

ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" มีผลให้ "วิทยาลัยครูเทพสตรี" เปลี่ยนชื่อเป็น"สถาบันราชภัฏเทพสตรี"

และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไภยในร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏเทพสตรีเปลี่ยนสภาพเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี" ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า " THEPSATRI RAJABHAT UNIVERSITY"

หน่วยงาน

  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • คณะเกษตรศาสตร์(โครงการจัดตั้ง)
  • วิทยาลัยการพยาบาลและสุขภาพ (โครงการจัดตั้ง)
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

วิทยาเขตและศูนย์การเรียน

วิทยาเขต

  • วิทยาเขตสิงห์บุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยขออนุญาตใช้พื้นที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ จำนวน 51 ไร่ บริเวณหมู่ 10 ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ปัจจุบันเปิดทำการสอนทั้งภาคปกติ และภาค กศ.บป.[3]

ศูนย์การเรียน

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/049/21.PDF
  2. ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  3. ประวัติวิทยาเขตสิงห์บุรี
  4. "มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีเปิดรับสัมครนักศึกษา ภาคพิเศษ". Eduzone. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ประวัติการก่อตั้งศูนย์การศึกษาเดิมบางนางบวช". มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อำเภอเดิมบางนางบวช. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "มรภ.เทพสตรีปลื้มขยายศูนย์การศึกษาที่อ่างทอง". สนุกดอตคอม. 17 มีนาคม พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น