ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน (แบบเก่า)/แก้ไข"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ล็อก วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน (แก้ไข) [edit=autoconfirmed:move=autoconfirmed]
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:05, 18 ตุลาคม 2550

อารัมภบท วิธีการแก้ไข การจัดรูปแบบ ลิงก์ การอ้างอิง
แหล่งที่มา
 หน้าคุย จำไว้ว่า ลงทะเบียน ท้ายสุด  
กด "แก้ไข" เพื่อเปลี่ยนเนื้อหาในบทความ
กด "แก้ไข" เพื่อเปลี่ยนเนื้อหาในบทความ

คำสั่งวิกิพื้นฐานที่สุดคือ การแก้ไขหน้า โดยหน้าในวิกิเกือบทั้งหมด (ยกเว้นหน้าที่ถูกล็อก) สามารถแก้ไขได้โดยผู้เขียนทุกคน ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ในการสร้างเว็บ ที่รู้จักกันในชื่อ วิกิ ปุ่มข้อความว่า "แก้ไข" จะแสดงไว้ในส่วนหัวเหมือนดังรูป โดยเมื่อกดเข้าไปแล้วคุณจะสามารถทำการเปลี่ยนแปลงหน้านั้นได้ทันทีแม้ว่าจะล็อกอินหรือไม่ก็ตาม (ลองเขียนเล่นได้ที่หน้า กระดาษทด และกดปุ่มแก้ไขด้านบน) คุณสามารถทดลองใส่ข้อความ หรือใส่สิ่งอะไรก็ได้ที่น่าสนใจหรืออยากเขียนลงไป ซึ่งเมื่อทำการบันทึก ข้อความที่คุณเขียนไปจะแสดงขึ้นทันที (ไม่ได้แก้ไขหน้านี้นะ)

ดูตัวอย่าง

คุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญในการเริ่มใช้วิกิพีเดียคือ "แสดงตัวอย่าง" โดยจะแสดงเป็นปุ่มในด้านล่างของบทความทุกหน้าที่ทำการแก้ไข ซึ่งถ้าคุณไม่ได้ล็อกอินคุณต้องกดดูตัวอย่างก่อนถึงจะทำการบันทึกได้ ลองเขียนได้ที่ กระดาษทด และเขียนอะไรซักอย่างลงไป หลังจากนั้นให้กดปุ่ม แสดงตัวอย่าง แทนที่จะกดปุ่ม "บันทึก" เมื่อกดไปข้อความที่คุณเขียนจะแสดงขึ้นมาให้เห็นว่าหน้าตาของข้อความเป็นอย่างไร "ก่อน"ที่คุณจะได้บันทึกจริง ชาววิกิพีเดียทุกคนจะพยายามกดปุ่มดูตัวอย่าง ซึ่งจะช่วยให้เห็นว่าได้เขียนอะไรลงไปหรืออาจจะดูว่าสะกดผิดตรงไหนบ้าง ความสามารถนี้ช่วยให้สามารถจัดรูปแบบหน้าได้หลายแบบ โดยไม่ได้ทำให้เกิดประวัติของหน้า อย่างไรก็ตามอย่าลืมทำการบันทึกภายหลังจากดูตัวอย่าง

คำอธิบายอย่างย่อ

กล่องคำอธิบายอย่างย่อ
กล่องคำอธิบายอย่างย่อ

ตามมารยาทในวิกิพีเดียแล้ว ก่อนที่จะกดปุ่ม "บันทึก" คุณสามารถเขียนลงไปใน กล่องคำอธิบายอย่างย่อ เพื่อบอกว่าได้แก้ไขส่วนใดไป ซึ่งกล่องนี้จะอยู่ด้านล่างข้างทุกหน้า อยู่เหนือปุ่มบันทึกและปุ่มดูตัวอย่าง การเขียนคำอธิบายอย่างย่อนี้ช่วยบอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเราได้ทำอะไรลงไป ตัวอย่างการเขียนเช่นใส่คำว่า "แก้คำผิด" หรือ "จัดรูปแบบ" หรือ "ใส่ภาพ"

นอกจากนี้ถ้าคุณได้แก้ไขเล็กน้อย เช่น การแก้คำผิด หรือการจัดรูปแบบเล็กน้อย คุณอาจจะพิจารณากดติ๊กในช่อง การแก้ไขเล็กน้อย (คำสั่งนี้จะแสดงขึ้นมาต่อเมื่อคุณได้ทำการล็อกอิน)

ทดลองเขียนเล่นได้ที่ กระดาษทด
ต่อด้วย จัดรูปแบบ