ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มูลนิธิกระจกเงา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Veraporn (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มโครงการเด่น
Veraporn (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มโครงการปัจจุบัน
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
=== '''อาสาสมัคร''' ===
=== '''อาสาสมัคร''' ===
'''       ''' งานอาสาสมัครเป็นหนึ่งในภารกิจการสร้าง "คน” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของมูลนิธิกระจกเงา หน้างานทุกส่วนล้วนขับเคลื่อนด้วยอาสาสมัครเรามีความเชื่อว่างานอาสาสมัครจะนำพาให้บุคคลได้เห็นปัญหาในสังคม เมื่อเห็นแล้วบุคคลเหล่านั้นจะลุกขึ้นลงมือทำ อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและหาวิธีแก้ไขร่วมกัน ถึงแม้ว่าเขาอาจไม่ได้เริ่มทำวันนี้ แต่ในวันหนึ่งเมื่อพร้อมเขาจะลงมือทำอย่างแน่นอน ด้วยความสมัครใจ  และผลของการกระทำนั้นเป็นประโยชน์ส่งผลดีต่อตนเองและสังคมเป็นวงกว้าง
'''       ''' งานอาสาสมัครเป็นหนึ่งในภารกิจการสร้าง "คน” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของมูลนิธิกระจกเงา หน้างานทุกส่วนล้วนขับเคลื่อนด้วยอาสาสมัครเรามีความเชื่อว่างานอาสาสมัครจะนำพาให้บุคคลได้เห็นปัญหาในสังคม เมื่อเห็นแล้วบุคคลเหล่านั้นจะลุกขึ้นลงมือทำ อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและหาวิธีแก้ไขร่วมกัน ถึงแม้ว่าเขาอาจไม่ได้เริ่มทำวันนี้ แต่ในวันหนึ่งเมื่อพร้อมเขาจะลงมือทำอย่างแน่นอน ด้วยความสมัครใจ  และผลของการกระทำนั้นเป็นประโยชน์ส่งผลดีต่อตนเองและสังคมเป็นวงกว้าง

=== '''แบ่งปันเพื่อการเปลี่ยนแปลง''' ===
เปิดรับบริจาคเสื้อผ้า เครื่องนุ่ง อุปกรณ์ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และของใช้สภาพดีทุกประเภท หนึ่งนำส่งมอบต่อให้กับผู้ขาดแคลน สองระดมทุน ซึ่งรายได้จากการระดมทุน นำมาผลักดันให้เกิด “กองทุนแบ่งปัน” สนับสนุนและต่อยอดงานของมูลนิธิกระจกเงา เช่น โครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย โครงการอาสามาเยี่ยม ฯ “การแบ่งปันของคุณเปลี่ยนแปลงสังคมได้”


== โครงการภายใต้สำนักงานเชียงราย ==
== โครงการภายใต้สำนักงานเชียงราย ==
บรรทัด 63: บรรทัด 66:


โครงการ ที่ผ่านมาของมูลนิธิได้รวมถึงศูนย์อาสาสมัครสึนามิ (TVC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2548 โดยความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่[[เทศบาลเมืองพังงา]] สำหรับการช่วยเหลือฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนตลอดจนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547|สึนามิในช่วงปลาย พ.ศ. 2547]] <ref>{{cite news | last = Barnes | first = Pathomkanok | title = NGO workers – committed to fight for just causes | date = 2005-07-17 | url = http://www.nationmultimedia.com/2005/07/17/headlines/index.php?news=headlines_18057152.html | accessdate = 2008-10-16 | work = The Nation}}</ref><ref>{{cite news | last = Staff | title = Tsunami aftermath: Volunteers adjust to morgue shift | work = Bangkok Post | url = http://moreresults.factiva.com/results/index/index.aspx?ref=BKPOST0020050121e11l0000i | date = 2005-01-21 | accessdate = 2008-10-26}}</ref>
โครงการ ที่ผ่านมาของมูลนิธิได้รวมถึงศูนย์อาสาสมัครสึนามิ (TVC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2548 โดยความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่[[เทศบาลเมืองพังงา]] สำหรับการช่วยเหลือฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนตลอดจนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547|สึนามิในช่วงปลาย พ.ศ. 2547]] <ref>{{cite news | last = Barnes | first = Pathomkanok | title = NGO workers – committed to fight for just causes | date = 2005-07-17 | url = http://www.nationmultimedia.com/2005/07/17/headlines/index.php?news=headlines_18057152.html | accessdate = 2008-10-16 | work = The Nation}}</ref><ref>{{cite news | last = Staff | title = Tsunami aftermath: Volunteers adjust to morgue shift | work = Bangkok Post | url = http://moreresults.factiva.com/results/index/index.aspx?ref=BKPOST0020050121e11l0000i | date = 2005-01-21 | accessdate = 2008-10-26}}</ref>

== โครงการภายใต้สำนักงานกรุงเทพ ==

=== '''โครงการในปัจจุบัน''' ===

==== '''โครงการแบ่งปันเพื่อการเปลี่ยนแปลง''' ====
เปิดรับบริจาคเสื้อผ้า เครื่องนุ่ง อุปกรณ์ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และของใช้สภาพดีทุกประเภท หนึ่งนำส่งมอบต่อให้กับผู้ขาดแคลน สองระดมทุน ซึ่งรายได้จากการระดมทุน นำมาผลักดันให้เกิด “กองทุนแบ่งปัน” สนับสนุนและต่อยอดงานของมูลนิธิกระจกเงา เช่น โครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย โครงการอาสามาเยี่ยม ฯ “การแบ่งปันของคุณเปลี่ยนแปลงสังคมได้”

==== '''โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง''' www.com4child.org ====
ค้นพบข้อเท็จจริงว่า โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ต่างจังหวัด ยังคงขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การใช้งานของเด็กนักเรียน ในอัตรา เด็ก1คน ต่อ คอมพิวเตอร์ 1 ชุดยังไม่เพียงพอ ดังนั้นโครงการจึงเปิดรับบริจาคคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงทุกสภาพการใช้งาน โดยเจ้าหน้าที่จะนำมาซ่อมบำรุง ตรวจสอบสภาพ ก่อนที่จะส่งมอบต่อ ให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ขาดแคลน

==== '''โครงการอ่านสร้างชาติ''' www.read4thai.mirror.or.th ====
เชื่อว่าหนังสือมีส่วนสร้างความสำเร็จในการดำรงชีวิต เป็นรากฐานของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โครงการฯจึง ได้ระดมรับบริจาคหนังสือมือสองสภาพดี เพื่อส่งมอบต่อให้ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก ห้องสมุดชุมชน ห้องสมุดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน วัด ชุมชนแออัดในเมืองหลวง โรงงาน ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการอ่านอย่างกว้างขวาง “อ่านเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง”

==== '''โครงการศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์''' www.backtohome.org ====
ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับแจ้งเพื่อให้คำปรึกษา ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตาม และให้ความช่วยเหลือคนหาย โดยที่ศูนย์ข้อมูลคนหาย เข้าไปมีบทบาทโดยตรงในการให้คำแนะนำ ประสานงานช่วยเหลือครอบครัวคนหายให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอันเป็นกลไกสำคัญในการติดตาม และช่วยเหลือคนหายให้กลับคืนสู่ครอบครัวด้วยความปลอดภัย

==== '''โครงการผู้ป่วยข้างถนน''' www.humanonstreet.org ====
ทำหน้าที่รับแจ้งเมื่อมีผู้พบผู้ป่วยข้างถนน ลงพื้นที่ประสานงานเพื่อนำผู้ป่วยข้างถนนที่มีอาการผู้ป่วยจิตเวช หรือเป็นผู้สูงอายุมีอาการป่วยทางสมองได้พลัดหลงออกจากบ้าน และรวมถึงคนไร้บ้านที่มีปัญหาสุขภาพจิตมีจำนวนเพิ่มขึ้น ให้เข้าถึงการรักษาสุขภาพและการบำบัดรักษายังสถานพยาบาล เข้าถึงกระบวนการดูแลฟื้นฟูภายหลังสิ้นสุดการรักษา และดำเนินผลักดันเชิงนโยบายในบริบทที่เกี่ยวข้อง

==== '''โครงการ Food For Friends''' ====
สนับสนุน อาหาร น้ำดื่ม ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน เสื้อผ้าสะอาด ยารักษาโรคพื้นฐานแก่คนไร้บ้าน เพื่อนำมาสู่การแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มคนไร้บ้านกับหน่วยงานต่างๆ สร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยมีเป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนไร้บ้าน การเพิ่มสิทธิ การเข้าถึงสิทธิ ในด้านต่างๆในฐานะพลเมืองของรัฐไทย

==== '''โครงการโรงพยาบาลมีสุข''' www.happyhospital.org ====
คือปฏิบัติการและพัฒนาวิธีคิด รูปแบบ กิจกรรมการ “เพิ่มความสุข ลดความทุกข์” ลดความตึงเครียดลง ในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล โดยมีปัจจัยภายนอกเข้ามาสนับสนุนคือ “อาสาสมัคร” กับภารกิจสร้างความสุขง่าย ๆ ไม่เป็นภาระ และเป็นพาหะของความสุข โครงการมีความมุ่งมั่นที่จะทำการจัดกิจกรรมใหม่ ๆ เข้าไปสนับสนุนการทำงาน ของโรงพยาบาลที่สังคมมีส่วนร่วมได้นอกจากมิติการรักษา

==== '''โครงการอาสามาเยี่ยม''' ====
ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุและครอบครัวถึงบ้าน โดยเข้าไปเป็นเพื่อนพูดคุยรวมถึงญาติผู้ป่วย บางรายมีภาวะความเครียด และสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์มือสองสภาพดี ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ตลอดจนของกินของใช้ในครัวเรือน ที่ได้รับบริจาคมาให้กับผู้ป่วยและครอบครัว

==== '''โครงการ Ngos Cyber''' ====
ITเป็นส่วนหนึ่งของงานพัฒนาโดยการใช้เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนางานด้านสังคมที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลได้เร็ว เราได้นำ IT เข้ามามีบทบาทในการพัฒนางานของ มูลนิธิกระจกเงา ให้เข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว สามารถประเมิน และวิเคราะห์ระบบต่างๆ ในการเชื่อมโยงงานองค์กรไว้ด้วยกัน รวมถึงให้คนทั่วไปได้เข้าถึง และมีส่วนร่วมในการติดตามและการดำเนินกิจกรรมทางสังคม www.ngoscyber.mirror.or.th

'''โครงการสวนครูองุ่น'''

สวนสาธารณะและพื้นที่กิจกรรม มีลักษณะเป็นสวนเด็ก กลุ่มเป้าหมายหลักที่เข้ามาใช้งานได้แก่ เด็ก ผู้ปกครอง รวมไปถึงบุคคลทั่วไป ซึ่งสวนสาธารณะเป็นการปรับปรุงและฟื้นฟูสร้างพื้นที่ส่วนใหญ่ให้เป็นพื้นที่สีเขียว มีความเป็นธรรมชาติ เพื่อให้ผู้คนในชุมชนที่ผ่านไปมาสามารถ มานั่งเล่นหรือพาบุตรหลานมาใช้ประโยชน์ และมีพื้นที่กิจกรรม ที่เปิดให้เป็นเวที สําหรับการทํากิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:14, 30 กรกฎาคม 2561

มูลนิธิกระจกเงา
ประเภทองค์การพัฒนาเอกชน
อุตสาหกรรมการพัฒนาชุมชน
ก่อตั้งพ.ศ. 2534, ประเทศไทย
สำนักงานใหญ่ตำบลแม่ยาว จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
เว็บไซต์themirrorfoundation.org

มูลนิธิกระจกเงา (อังกฤษ: The Mirror Foundation) คือ องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม หลายๆด้าน ได้แก่ งานด้านสิทธิมนุษยชน งานด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาอาสาสมัคร และการแบ่งปันทรัพยากร เพื่อเพิ่มศักยภาพใน การเรียนรู้และการใช้ชีวิต โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งบนสังคมออนไลน์ (internet) สังคมเมืองและสังคมชนบท โดยทำหน้าที่เป็นกระจกเงา ที่สะท้อนเรื่องราว ความเป็นจริงของสังคมและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้วยวิธีคิด คือ การสร้างคนและสร้างนวัตกรรม สร้างความมเปลี่ยนแปลงแก่สังคม ดังวิสัยทัศน์ขององค์กร คือ สร้างคน สร้างนวัตกรรม สร้างการเปลี่ยนแปลง

พันธกิจ

"สร้างคน"

เราสร้างนักกิจกรรมด้วยกระบวนการ อาสาสมัคร เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสังคม เนื่องจาก ปัญหาสังคมในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมี ปริมาณมากมายเกินกว่าคนเล็ก ๆ เพียงไม่กี่คนจะแบกรับไว้ได้ และปัญหาสังคมไม่มีทางหมดไป หากผู้คนส่วนใหญ่ไม่ร่วมกันรับรู้และแก้ไข การสร้าง คนจึงเป็นต้นทางของการ แก้ปัญหาสังคม

"สร้างนวัตกรรม"

นวัตกรรมเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การเส้นทางใหม่ของสังคม เราจึงสร้างนวัตกรรม เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาสังคมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมที่สอดคล้อง ไปกับปรากฏการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน

  "สร้างการเปลี่ยนแปลง"

เมื่อได้สร้างนักกิจกรรม นวัตกรรมทางสังคมขึ้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการทำงาน ก็จะเริ่มขึ้น นักกิจกรรมที่ได้รับการปรับจูนความคิดที่มุ่งมั่นในการแกปัญหาสังคมร่วมกัน ก็จะเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรมที่หมุนวงล้อของสังคมสู่การ พัฒนาต่อไป เรา จึงให้ความสำคัญกับการรณรงค์และลงมือ จัดการปัญหาต่างๆ

ประวัติความเป็นมา

มูลนิธิกระจกเงา เริ่มต้นจากการรวมตัวทำกิจกรรมของคนหนุ่มสาวจำนวน 5 คน ในปลายปี 2534 ซึ่งประกอบด้วยนักกิจกรรมในรั้วและนอกรั้วมหาวิทยาลัย ได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่อเนื่อง  โดยในขณะนั้นใช้ชื่อกลุ่มว่า "กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา ได้ขอเข้าอยู่เป็นโครงการภายใต้มูลนิธิโกมลคีมทอง" ในปี 2535 และได้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิกระจกเงา ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.  2547 โดยมูลนิธิกระจกเงาเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำหน้าที่เป็นเงาในการสะท้อนปัญหาเพื่อร่วมพัฒนาสังคมในหลายด้าน ได้แก่ งานด้านสิทธิมนุษยชน งานด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาอาสาสมัคร และการแบ่งปันทรัพยากร เพื่อเพิ่มศักยภาพใน การเรียนรู้และการใช้ชีวิต โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งบนสังคมออนไลน์ (internet) สังคมเมืองและสังคมชนบท

ในปี พ.ศ.2540 ได้มีการย้ายที่ทำการจากกรุงเทพไปจังหวัดเชียงรายและเริ่มต้นการทำงานพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง อันเป็นที่มาของการทำงานด้านการพัฒนาชนบทขององค์กร

มูลนิธิกระจกเงา สำนักงานเชียงราย (อังกฤษ: The Mirror Foundation) เป็นองค์การพัฒนาเอกชน ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยในตำบลแม่ยาวของจังหวัดเชียงราย โดยจุดมุ่งหมายขององค์กรคือการช่วยชาวเขารอบๆ พื้นที่ ที่มีปัญหาอย่างเช่น ด้านสัญชาติ, ยาเสพติด, การกัดกร่อนทางวัฒนธรรม รวมถึงการค้ามนุษย์ของเด็กและสตรีผ่านทางหลายโครงการ มูลนิธินี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 และดำเนินการมากว่า 15 ปีในการส่งเสริมสิทธิของชาวเขากับเว็บไซต์ บ้านนอก.คอม โดยได้มีการรับอาสาสมัครในท้องถิ่นและเงินบริจาคเพื่อออกเดินทางไปช่วยเหลือที่หมู่บ้านของชาวเขา

องค์การกับเว็บไซต์นี้ เป็นหนึ่งในส่วนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในประเทศไทย ตามหนังสือ Empowering Marginal Communities with Information Networking ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีการกล่าวถึงตัวอย่างของการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีศักยภาพสำหรับการ "ส่งเสริมบุคคลชาวพื้นเมืองให้สามารถเข้าถึงเวทีทางการเมือง และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับบุคคลชาวพื้นเมืองซึ่งเป็นปัญหาในระดับชาติ"[1] พ.ศ. 2544 หนังสือ Towards Financial Self-reliance: A Handbook on Resource Mobilization for Civil Society Organizations in the South ได้นำเสนอองค์กรนี้เป็นกรณีศึกษาในการระดมทรัพยากรสำหรับการพัฒนาชุมชนผ่านทางอินเทอร์เน็ต[2]

ปี พ.ศ.2546 ได้เปิดสำนักงานเพิ่มอีกแห่งที่กรุงเทพ

ปัจจุบันโครงการที่เป็นที่รู้จักของมูลนิธิกระจกเงาได้แก่ ศูนย์ข้อมูลคนหาย, ครูบ้านนอก, โครงการแบ่งปันเพื่อการเปลี่ยนแปลง, โครงการผู้ป่วยข้างถนน ฯลฯ

ที่อยู่สำนักงาน

มูลนิธิกระจกเงา ปัจจุบันมี 2 สำนักงาน คือ
1.มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย ตั้งอยู่ บ้านห้วยขม ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย 53000
2.มูลนิธิกระจกเงากรุงเทพ ตั้งอยู่ ซอยวิภาวดี 62 แยก4-7 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โครงการเด่น

ศูนย์ข้อมูลคนหาย

เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546  มีบทบาทเป็นศูนย์กลางรับแจ้งเพื่อให้คำปรึกษา ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามและให้ความช่วยเหลือคนหายซึ่งมีสภาวะเสี่ยงต่อสวัสดิภาพ ความปลอดภัย ขบวนการค้ามนุษย์ เช่น เด็กขอทาน แรงงานประมง การลักพาตัว การถูกล่อลวงผ่านโปรแกรมแชทไลน์ ล่าสุดเมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ศูนย์ข้อมูลคนหาย ตอบสนองภารกิจผู้สูงอายุสูญหายจากภาวะหลงลืม (โรคอัลไซเมอร์) นอกจากนี้ผลักดันนโยบาย มีประชาชนร่วมลงรายชื่อกว่า 50,000 คน เพื่อเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งศูนย์ติดตามคนหายและมีการสั่งการให้ตำรวจทั่วประเทศ รับแจ้งความคนหายโดยทันที ไม่ต้องรอครบ 24 ชม.

ครูบ้านนอก

“กระดานดำคือผืนป่า ตำราคือผืนดอย” มูลนิธิกระจกเงา  สนง.เชียงราย เปิดรับอาสาสมัคร เข้าร่วมโครงการครูบ้านนอก รุ่นแรก ในปี พ.ศ.2541   โดยมุ่งหวังที่จะนำครูอาสาลงพื้นที่ชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล เด็กส่วนใหญ่ขาดโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะเด็กบนพื้นที่ราบสูง และตามตะเข็บชายแดน เริ่มต้นจาก พื้นที่ในจังหวัดเชียงราย แนวคิดของการเป็นครูบ้านนอก มิเพียงแต่เป็นการอุทิศตนในช่วงเวลาระยะสั้น เพื่อเป็นอาสาสมัครสอนเด็กเท่านั้น เพราะในระหว่างที่ครูสอนให้เรียนรู้วิชาการในห้องเรียน เด็กจะทำหน้าที่แบ่งปันความรู้ความแตกต่างทางวิถีชีวิต และวัฒนธรรมให้กับครูอีกด้วย ถือเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เกิดเป็นเข้าใจ ในวิถีวัฒนธรรมที่แตกต่างและอยู่ร่วมกันได้ในสังคม

นักศึกษาฝึกงาน

ภายใต้ยุทธศาสตร์ "สร้างคน" และบูรณาการงานอาสาสมัครขององค์กร การเปิดโครงการนักศึกษาฝึกงานของ มูลนิธิกระจกเงา   ทำให้มีคนหนุ่มสาวมาเรียนรู้งานด้านสังคมผ่านการฝึกงาน ปีละไม่ต่ำกว่า 100 คน เรามีกองกำลังอาสาสมัครมาช่วยงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี แม้คนทำงานจะไม่มากเท่าไหร่ แต่ด้วยโครงสร้างงานอาสาสมัครเช่นนี้   ผลักดันให้เราสามารถทำงานได้มากกว่าที่กำลังคนทำงานประจำมี

อาสาสมัคร

        งานอาสาสมัครเป็นหนึ่งในภารกิจการสร้าง "คน” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของมูลนิธิกระจกเงา หน้างานทุกส่วนล้วนขับเคลื่อนด้วยอาสาสมัครเรามีความเชื่อว่างานอาสาสมัครจะนำพาให้บุคคลได้เห็นปัญหาในสังคม เมื่อเห็นแล้วบุคคลเหล่านั้นจะลุกขึ้นลงมือทำ อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและหาวิธีแก้ไขร่วมกัน ถึงแม้ว่าเขาอาจไม่ได้เริ่มทำวันนี้ แต่ในวันหนึ่งเมื่อพร้อมเขาจะลงมือทำอย่างแน่นอน ด้วยความสมัครใจ  และผลของการกระทำนั้นเป็นประโยชน์ส่งผลดีต่อตนเองและสังคมเป็นวงกว้าง

แบ่งปันเพื่อการเปลี่ยนแปลง

เปิดรับบริจาคเสื้อผ้า เครื่องนุ่ง อุปกรณ์ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และของใช้สภาพดีทุกประเภท หนึ่งนำส่งมอบต่อให้กับผู้ขาดแคลน สองระดมทุน ซึ่งรายได้จากการระดมทุน นำมาผลักดันให้เกิด “กองทุนแบ่งปัน” สนับสนุนและต่อยอดงานของมูลนิธิกระจกเงา เช่น โครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย โครงการอาสามาเยี่ยม ฯ “การแบ่งปันของคุณเปลี่ยนแปลงสังคมได้”

โครงการภายใต้สำนักงานเชียงราย

โครงการที่ดำเนินการของมูลนิธิประกอบด้วย การช่วยเป็นสื่อกลางในการยื่นเรื่องขอสัญชาติไทยระหว่างชาวเขากับรัฐบาล[3][4] โดยพยายามค้นหาและรวบรวมบุคคลสูญหาย ซึ่งหลายคนตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์จากใครบางคนที่พวกเขารัก[5] และการสร้างความตระหนักถึงการค้ามนุษย์ดังกล่าว โครงการต่อต้านการค้าเด็กและสตรีจึงทำการช่วยให้ความรู้แก่ประชาชนถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์นี้ รวมทั้งให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการให้เงินขอทานอาจเป็นการเติมเชื้อเพลิงทางอาชญากรรม เนื่องด้วยเด็กขอทานจำนวนมากถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้แสวงประโยชน์จากเด็กเพื่อประโยชน์ของตนเอง[6][7] มูลนิธิได้ทำงานในโครงการด้านไอซีที ด้วยการสอนทักษะคอมพิวเตอร์ให้แก่ชาวเขาท้องถิ่นทั่วภูมิภาคเชียงราย รวมถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิในปี พ.ศ. 2547 อีกด้วย[8] และทางมูลนิธิยังทำโครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ที่บ้านจะแลและพิพิธภัณฑ์ชนเผ่า ผ่านทางเว็บไซต์ www.hilltribe.org ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนเรือในการรักษาวัฒนธรรมของชาวเขาสู่อนาคตต่อไป[9]

เว็บไซต์ ของมูลนิธินอกเหนือจากนี้ยังได้ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิ และประเด็นการค้นหาที่อยู่ รวมถึงเป็นช่องทางสำหรับชาวเขารอบพื้นที่ในการจำหน่ายงานศิลปะและงานฝีมือของพวกเขาในรูปแบบออนไลน์[10]

โครงการ ที่ผ่านมาของมูลนิธิได้รวมถึงศูนย์อาสาสมัครสึนามิ (TVC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2548 โดยความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่เทศบาลเมืองพังงา สำหรับการช่วยเหลือฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนตลอดจนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิในช่วงปลาย พ.ศ. 2547 [11][12]

โครงการภายใต้สำนักงานกรุงเทพ

โครงการในปัจจุบัน

โครงการแบ่งปันเพื่อการเปลี่ยนแปลง

เปิดรับบริจาคเสื้อผ้า เครื่องนุ่ง อุปกรณ์ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และของใช้สภาพดีทุกประเภท หนึ่งนำส่งมอบต่อให้กับผู้ขาดแคลน สองระดมทุน ซึ่งรายได้จากการระดมทุน นำมาผลักดันให้เกิด “กองทุนแบ่งปัน” สนับสนุนและต่อยอดงานของมูลนิธิกระจกเงา เช่น โครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย โครงการอาสามาเยี่ยม ฯ “การแบ่งปันของคุณเปลี่ยนแปลงสังคมได้”

โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง www.com4child.org

ค้นพบข้อเท็จจริงว่า โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ต่างจังหวัด ยังคงขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การใช้งานของเด็กนักเรียน ในอัตรา เด็ก1คน ต่อ คอมพิวเตอร์ 1 ชุดยังไม่เพียงพอ ดังนั้นโครงการจึงเปิดรับบริจาคคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงทุกสภาพการใช้งาน โดยเจ้าหน้าที่จะนำมาซ่อมบำรุง ตรวจสอบสภาพ ก่อนที่จะส่งมอบต่อ ให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ขาดแคลน

โครงการอ่านสร้างชาติ www.read4thai.mirror.or.th

เชื่อว่าหนังสือมีส่วนสร้างความสำเร็จในการดำรงชีวิต เป็นรากฐานของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โครงการฯจึง ได้ระดมรับบริจาคหนังสือมือสองสภาพดี เพื่อส่งมอบต่อให้ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก ห้องสมุดชุมชน ห้องสมุดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน วัด ชุมชนแออัดในเมืองหลวง โรงงาน ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการอ่านอย่างกว้างขวาง “อ่านเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง”

โครงการศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ www.backtohome.org

ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับแจ้งเพื่อให้คำปรึกษา ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตาม และให้ความช่วยเหลือคนหาย โดยที่ศูนย์ข้อมูลคนหาย เข้าไปมีบทบาทโดยตรงในการให้คำแนะนำ ประสานงานช่วยเหลือครอบครัวคนหายให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอันเป็นกลไกสำคัญในการติดตาม และช่วยเหลือคนหายให้กลับคืนสู่ครอบครัวด้วยความปลอดภัย

โครงการผู้ป่วยข้างถนน www.humanonstreet.org

ทำหน้าที่รับแจ้งเมื่อมีผู้พบผู้ป่วยข้างถนน ลงพื้นที่ประสานงานเพื่อนำผู้ป่วยข้างถนนที่มีอาการผู้ป่วยจิตเวช หรือเป็นผู้สูงอายุมีอาการป่วยทางสมองได้พลัดหลงออกจากบ้าน และรวมถึงคนไร้บ้านที่มีปัญหาสุขภาพจิตมีจำนวนเพิ่มขึ้น ให้เข้าถึงการรักษาสุขภาพและการบำบัดรักษายังสถานพยาบาล เข้าถึงกระบวนการดูแลฟื้นฟูภายหลังสิ้นสุดการรักษา และดำเนินผลักดันเชิงนโยบายในบริบทที่เกี่ยวข้อง

โครงการ Food For Friends

สนับสนุน อาหาร น้ำดื่ม ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน เสื้อผ้าสะอาด ยารักษาโรคพื้นฐานแก่คนไร้บ้าน เพื่อนำมาสู่การแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มคนไร้บ้านกับหน่วยงานต่างๆ สร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยมีเป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนไร้บ้าน การเพิ่มสิทธิ การเข้าถึงสิทธิ ในด้านต่างๆในฐานะพลเมืองของรัฐไทย

โครงการโรงพยาบาลมีสุข www.happyhospital.org

คือปฏิบัติการและพัฒนาวิธีคิด รูปแบบ กิจกรรมการ “เพิ่มความสุข ลดความทุกข์” ลดความตึงเครียดลง ในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล โดยมีปัจจัยภายนอกเข้ามาสนับสนุนคือ “อาสาสมัคร” กับภารกิจสร้างความสุขง่าย ๆ ไม่เป็นภาระ และเป็นพาหะของความสุข โครงการมีความมุ่งมั่นที่จะทำการจัดกิจกรรมใหม่ ๆ เข้าไปสนับสนุนการทำงาน ของโรงพยาบาลที่สังคมมีส่วนร่วมได้นอกจากมิติการรักษา

โครงการอาสามาเยี่ยม

ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุและครอบครัวถึงบ้าน โดยเข้าไปเป็นเพื่อนพูดคุยรวมถึงญาติผู้ป่วย บางรายมีภาวะความเครียด และสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์มือสองสภาพดี ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ตลอดจนของกินของใช้ในครัวเรือน ที่ได้รับบริจาคมาให้กับผู้ป่วยและครอบครัว

โครงการ Ngos Cyber

ITเป็นส่วนหนึ่งของงานพัฒนาโดยการใช้เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนางานด้านสังคมที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลได้เร็ว เราได้นำ IT เข้ามามีบทบาทในการพัฒนางานของ มูลนิธิกระจกเงา ให้เข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว สามารถประเมิน และวิเคราะห์ระบบต่างๆ ในการเชื่อมโยงงานองค์กรไว้ด้วยกัน รวมถึงให้คนทั่วไปได้เข้าถึง และมีส่วนร่วมในการติดตามและการดำเนินกิจกรรมทางสังคม www.ngoscyber.mirror.or.th

โครงการสวนครูองุ่น

สวนสาธารณะและพื้นที่กิจกรรม มีลักษณะเป็นสวนเด็ก กลุ่มเป้าหมายหลักที่เข้ามาใช้งานได้แก่ เด็ก ผู้ปกครอง รวมไปถึงบุคคลทั่วไป ซึ่งสวนสาธารณะเป็นการปรับปรุงและฟื้นฟูสร้างพื้นที่ส่วนใหญ่ให้เป็นพื้นที่สีเขียว มีความเป็นธรรมชาติ เพื่อให้ผู้คนในชุมชนที่ผ่านไปมาสามารถ มานั่งเล่นหรือพาบุตรหลานมาใช้ประโยชน์ และมีพื้นที่กิจกรรม ที่เปิดให้เป็นเวที สําหรับการทํากิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้

อ้างอิง

  1. Rahman, Hakikur (2006). Empowering Marginal Communities with Information Networking. Idea Group Inc. p. 138. ISBN 1591406994.
  2. Holloway, Richard (2001). Towards Financial Self-reliance: A Handbook on Resource Mobilization for Civil Society Organizations in the South. Earthscan. p. 147. ISBN 1853837733.
  3. Silp, Sai (2006-11-15). "Proposals seek changes to Thai citizenship law". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  4. Macan-Markar, Marwaan (2002-04-10). "Thailand: Native hill tribes lack basic rights of other Thais". Inter Press Service English News Wire. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  5. Hongthong, Pennapa (2008-05-08). "The fight to rescue those who've disappeared". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  6. Xiaodan, Du (2007-01-20). "Migrant workers and trafficking (III) : Human trafficking in Asia". CCTV International. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  7. Staff (2005-02-26). "Cash hand-outs 'only fuel crime, trafficking'". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  8. Abennet (2006-06-16). "Microsoft battles slavery in Asia". IT World. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  9. Chinvarakorn, Vasana (2007-06-02). "We Care: The Living Museum". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  10. Macan-Markar, Marwaan (2003-07-15). "Hill tribes try high-tech to preserve way of life". Interpress Service. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  11. Barnes, Pathomkanok (2005-07-17). "NGO workers – committed to fight for just causes". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2008-10-16.
  12. Staff (2005-01-21). "Tsunami aftermath: Volunteers adjust to morgue shift". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.

แหล่งข้อมูลอื่น