ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มูลนิธิกระจกเงา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Veraporn (คุย | ส่วนร่วม)
จัดหมวดหมู่ข้อมูลใหม่
Veraporn (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มโครงการเด่น
บรรทัด 17: บรรทัด 17:


== พันธกิจ ==
== พันธกิจ ==
'''  " สร้างคน "  '''เราสร้างนักกิจกรรมด้วยกระบวนการ อาสาสมัคร เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสังคม เนื่องจาก ปัญหาสังคมในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมี ปริมาณมากมายเกินกว่าคนเล็ก ๆ เพียงไม่กี่คนจะแบกรับไว้ได้ และปัญหาสังคมไม่มีทางหมดไป หากผู้คนส่วนใหญ่ไม่ร่วมกันรับรู้และแก้ไข การสร้าง คนจึงเป็นต้นทางของการ แก้ปัญหาสังคม


=== '''"สร้างคน"''' ===
'''  " สร้างนวัตกรรม "  ''' นวัตกรรมเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การเส้นทางใหม่ของสังคม เราจึงสร้างนวัตกรรม เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาสังคมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมที่สอดคล้อง ไปกับปรากฏการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน
เราสร้างนักกิจกรรมด้วยกระบวนการ อาสาสมัคร เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสังคม เนื่องจาก ปัญหาสังคมในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมี ปริมาณมากมายเกินกว่าคนเล็ก ๆ เพียงไม่กี่คนจะแบกรับไว้ได้ และปัญหาสังคมไม่มีทางหมดไป หากผู้คนส่วนใหญ่ไม่ร่วมกันรับรู้และแก้ไข การสร้าง คนจึงเป็นต้นทางของการ แก้ปัญหาสังคม


=== '''"สร้างนวัตกรรม"''' ===
'''  " แล้วจะสร้างการเปลี่ยนแปลง "  ''' เมื่อได้สร้างนักกิจกรรม นวัตกรรมทางสังคมขึ้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการทำงาน ก็จะเริ่มขึ้น นักกิจกรรมที่ได้รับการปรับจูนความคิดที่มุ่งมั่นในการแกปัญหาสังคมร่วมกัน ก็จะเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรมที่หมุนวงล้อของสังคมสู่การ พัฒนาต่อไป เรา จึงให้ความสำคัญกับการรณรงค์และลงมือ จัดการปัญหาต่างๆ
นวัตกรรมเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การเส้นทางใหม่ของสังคม เราจึงสร้างนวัตกรรม เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาสังคมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมที่สอดคล้อง ไปกับปรากฏการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน

=== '''  "สร้างการเปลี่ยนแปลง"''' ===
เมื่อได้สร้างนักกิจกรรม นวัตกรรมทางสังคมขึ้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการทำงาน ก็จะเริ่มขึ้น นักกิจกรรมที่ได้รับการปรับจูนความคิดที่มุ่งมั่นในการแกปัญหาสังคมร่วมกัน ก็จะเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรมที่หมุนวงล้อของสังคมสู่การ พัฒนาต่อไป เรา จึงให้ความสำคัญกับการรณรงค์และลงมือ จัดการปัญหาต่างๆ


== ประวัติความเป็นมา ==
== ประวัติความเป็นมา ==
บรรทัด 37: บรรทัด 41:


== ที่อยู่สำนักงาน ==
== ที่อยู่สำนักงาน ==
'''มูลนิธิกระจกเงา''' ปัจจุบันมี 2 สำนักงาน คือ <br>1.มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย ตั้งอยู่ บ้านห้วยขม ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย <br>2.มูลนิธิกระจกเงากรุงเทพ ตั้งอยู่ ซอยวิภาวดี 62 แยก4-7 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
'''มูลนิธิกระจกเงา''' ปัจจุบันมี 2 สำนักงาน คือ <br>1.มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย ตั้งอยู่ บ้านห้วยขม ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย 53000<br>2.มูลนิธิกระจกเงากรุงเทพ ตั้งอยู่ ซอยวิภาวดี 62 แยก4-7 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

== โครงการเด่น ==

=== '''ศูนย์ข้อมูลคนหาย''' ===
เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546  มีบทบาทเป็นศูนย์กลางรับแจ้งเพื่อให้คำปรึกษา ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามและให้ความช่วยเหลือคนหายซึ่งมีสภาวะเสี่ยงต่อสวัสดิภาพ ความปลอดภัย ขบวนการค้ามนุษย์ เช่น เด็กขอทาน แรงงานประมง การลักพาตัว การถูกล่อลวงผ่านโปรแกรมแชทไลน์ ล่าสุดเมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ศูนย์ข้อมูลคนหาย ตอบสนองภารกิจผู้สูงอายุสูญหายจากภาวะหลงลืม (โรคอัลไซเมอร์) นอกจากนี้ผลักดันนโยบาย มีประชาชนร่วมลงรายชื่อกว่า 50,000 คน เพื่อเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งศูนย์ติดตามคนหายและมีการสั่งการให้ตำรวจทั่วประเทศ รับแจ้งความคนหายโดยทันที ไม่ต้องรอครบ 24 ชม.

=== '''ครูบ้านนอก''' ===
'''“กระดานดำคือผืนป่า ตำราคือผืนดอย”''' มูลนิธิกระจกเงา  สนง.เชียงราย เปิดรับอาสาสมัคร เข้าร่วมโครงการครูบ้านนอก รุ่นแรก ในปี พ.ศ.2541   โดยมุ่งหวังที่จะนำครูอาสาลงพื้นที่ชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล เด็กส่วนใหญ่ขาดโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะเด็กบนพื้นที่ราบสูง และตามตะเข็บชายแดน เริ่มต้นจาก พื้นที่ในจังหวัดเชียงราย แนวคิดของการเป็นครูบ้านนอก มิเพียงแต่เป็นการอุทิศตนในช่วงเวลาระยะสั้น เพื่อเป็นอาสาสมัครสอนเด็กเท่านั้น เพราะในระหว่างที่ครูสอนให้เรียนรู้วิชาการในห้องเรียน เด็กจะทำหน้าที่แบ่งปันความรู้ความแตกต่างทางวิถีชีวิต และวัฒนธรรมให้กับครูอีกด้วย ถือเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เกิดเป็นเข้าใจ ในวิถีวัฒนธรรมที่แตกต่างและอยู่ร่วมกันได้ในสังคม

=== '''นักศึกษาฝึกงาน''' ===
ภายใต้ยุทธศาสตร์ "สร้างคน" และบูรณาการงานอาสาสมัครขององค์กร การเปิดโครงการนักศึกษาฝึกงานของ มูลนิธิกระจกเงา   ทำให้มีคนหนุ่มสาวมาเรียนรู้งานด้านสังคมผ่านการฝึกงาน ปีละไม่ต่ำกว่า 100 คน เรามีกองกำลังอาสาสมัครมาช่วยงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี แม้คนทำงานจะไม่มากเท่าไหร่ แต่ด้วยโครงสร้างงานอาสาสมัครเช่นนี้   ผลักดันให้เราสามารถทำงานได้มากกว่าที่กำลังคนทำงานประจำมี

=== '''อาสาสมัคร''' ===
'''       ''' งานอาสาสมัครเป็นหนึ่งในภารกิจการสร้าง "คน” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของมูลนิธิกระจกเงา หน้างานทุกส่วนล้วนขับเคลื่อนด้วยอาสาสมัครเรามีความเชื่อว่างานอาสาสมัครจะนำพาให้บุคคลได้เห็นปัญหาในสังคม เมื่อเห็นแล้วบุคคลเหล่านั้นจะลุกขึ้นลงมือทำ อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและหาวิธีแก้ไขร่วมกัน ถึงแม้ว่าเขาอาจไม่ได้เริ่มทำวันนี้ แต่ในวันหนึ่งเมื่อพร้อมเขาจะลงมือทำอย่างแน่นอน ด้วยความสมัครใจ  และผลของการกระทำนั้นเป็นประโยชน์ส่งผลดีต่อตนเองและสังคมเป็นวงกว้าง


== โครงการภายใต้สำนักงานเชียงราย ==
== โครงการภายใต้สำนักงานเชียงราย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:04, 30 กรกฎาคม 2561

มูลนิธิกระจกเงา
ประเภทองค์การพัฒนาเอกชน
อุตสาหกรรมการพัฒนาชุมชน
ก่อตั้งพ.ศ. 2534, ประเทศไทย
สำนักงานใหญ่ตำบลแม่ยาว จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
เว็บไซต์themirrorfoundation.org

มูลนิธิกระจกเงา (อังกฤษ: The Mirror Foundation) คือ องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม หลายๆด้าน ได้แก่ งานด้านสิทธิมนุษยชน งานด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาอาสาสมัคร และการแบ่งปันทรัพยากร เพื่อเพิ่มศักยภาพใน การเรียนรู้และการใช้ชีวิต โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งบนสังคมออนไลน์ (internet) สังคมเมืองและสังคมชนบท โดยทำหน้าที่เป็นกระจกเงา ที่สะท้อนเรื่องราว ความเป็นจริงของสังคมและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้วยวิธีคิด คือ การสร้างคนและสร้างนวัตกรรม สร้างความมเปลี่ยนแปลงแก่สังคม ดังวิสัยทัศน์ขององค์กร คือ สร้างคน สร้างนวัตกรรม สร้างการเปลี่ยนแปลง

พันธกิจ

"สร้างคน"

เราสร้างนักกิจกรรมด้วยกระบวนการ อาสาสมัคร เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสังคม เนื่องจาก ปัญหาสังคมในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมี ปริมาณมากมายเกินกว่าคนเล็ก ๆ เพียงไม่กี่คนจะแบกรับไว้ได้ และปัญหาสังคมไม่มีทางหมดไป หากผู้คนส่วนใหญ่ไม่ร่วมกันรับรู้และแก้ไข การสร้าง คนจึงเป็นต้นทางของการ แก้ปัญหาสังคม

"สร้างนวัตกรรม"

นวัตกรรมเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การเส้นทางใหม่ของสังคม เราจึงสร้างนวัตกรรม เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาสังคมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมที่สอดคล้อง ไปกับปรากฏการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน

  "สร้างการเปลี่ยนแปลง"

เมื่อได้สร้างนักกิจกรรม นวัตกรรมทางสังคมขึ้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการทำงาน ก็จะเริ่มขึ้น นักกิจกรรมที่ได้รับการปรับจูนความคิดที่มุ่งมั่นในการแกปัญหาสังคมร่วมกัน ก็จะเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรมที่หมุนวงล้อของสังคมสู่การ พัฒนาต่อไป เรา จึงให้ความสำคัญกับการรณรงค์และลงมือ จัดการปัญหาต่างๆ

ประวัติความเป็นมา

มูลนิธิกระจกเงา เริ่มต้นจากการรวมตัวทำกิจกรรมของคนหนุ่มสาวจำนวน 5 คน ในปลายปี 2534 ซึ่งประกอบด้วยนักกิจกรรมในรั้วและนอกรั้วมหาวิทยาลัย ได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่อเนื่อง  โดยในขณะนั้นใช้ชื่อกลุ่มว่า "กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา ได้ขอเข้าอยู่เป็นโครงการภายใต้มูลนิธิโกมลคีมทอง" ในปี 2535 และได้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิกระจกเงา ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.  2547 โดยมูลนิธิกระจกเงาเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำหน้าที่เป็นเงาในการสะท้อนปัญหาเพื่อร่วมพัฒนาสังคมในหลายด้าน ได้แก่ งานด้านสิทธิมนุษยชน งานด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาอาสาสมัคร และการแบ่งปันทรัพยากร เพื่อเพิ่มศักยภาพใน การเรียนรู้และการใช้ชีวิต โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งบนสังคมออนไลน์ (internet) สังคมเมืองและสังคมชนบท

ในปี พ.ศ.2540 ได้มีการย้ายที่ทำการจากกรุงเทพไปจังหวัดเชียงรายและเริ่มต้นการทำงานพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง อันเป็นที่มาของการทำงานด้านการพัฒนาชนบทขององค์กร

มูลนิธิกระจกเงา สำนักงานเชียงราย (อังกฤษ: The Mirror Foundation) เป็นองค์การพัฒนาเอกชน ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยในตำบลแม่ยาวของจังหวัดเชียงราย โดยจุดมุ่งหมายขององค์กรคือการช่วยชาวเขารอบๆ พื้นที่ ที่มีปัญหาอย่างเช่น ด้านสัญชาติ, ยาเสพติด, การกัดกร่อนทางวัฒนธรรม รวมถึงการค้ามนุษย์ของเด็กและสตรีผ่านทางหลายโครงการ มูลนิธินี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 และดำเนินการมากว่า 15 ปีในการส่งเสริมสิทธิของชาวเขากับเว็บไซต์ บ้านนอก.คอม โดยได้มีการรับอาสาสมัครในท้องถิ่นและเงินบริจาคเพื่อออกเดินทางไปช่วยเหลือที่หมู่บ้านของชาวเขา

องค์การกับเว็บไซต์นี้ เป็นหนึ่งในส่วนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในประเทศไทย ตามหนังสือ Empowering Marginal Communities with Information Networking ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีการกล่าวถึงตัวอย่างของการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีศักยภาพสำหรับการ "ส่งเสริมบุคคลชาวพื้นเมืองให้สามารถเข้าถึงเวทีทางการเมือง และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับบุคคลชาวพื้นเมืองซึ่งเป็นปัญหาในระดับชาติ"[1] พ.ศ. 2544 หนังสือ Towards Financial Self-reliance: A Handbook on Resource Mobilization for Civil Society Organizations in the South ได้นำเสนอองค์กรนี้เป็นกรณีศึกษาในการระดมทรัพยากรสำหรับการพัฒนาชุมชนผ่านทางอินเทอร์เน็ต[2]

ปี พ.ศ.2546 ได้เปิดสำนักงานเพิ่มอีกแห่งที่กรุงเทพ

ปัจจุบันโครงการที่เป็นที่รู้จักของมูลนิธิกระจกเงาได้แก่ ศูนย์ข้อมูลคนหาย, ครูบ้านนอก, โครงการแบ่งปันเพื่อการเปลี่ยนแปลง, โครงการผู้ป่วยข้างถนน ฯลฯ

ที่อยู่สำนักงาน

มูลนิธิกระจกเงา ปัจจุบันมี 2 สำนักงาน คือ
1.มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย ตั้งอยู่ บ้านห้วยขม ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย 53000
2.มูลนิธิกระจกเงากรุงเทพ ตั้งอยู่ ซอยวิภาวดี 62 แยก4-7 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โครงการเด่น

ศูนย์ข้อมูลคนหาย

เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546  มีบทบาทเป็นศูนย์กลางรับแจ้งเพื่อให้คำปรึกษา ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามและให้ความช่วยเหลือคนหายซึ่งมีสภาวะเสี่ยงต่อสวัสดิภาพ ความปลอดภัย ขบวนการค้ามนุษย์ เช่น เด็กขอทาน แรงงานประมง การลักพาตัว การถูกล่อลวงผ่านโปรแกรมแชทไลน์ ล่าสุดเมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ศูนย์ข้อมูลคนหาย ตอบสนองภารกิจผู้สูงอายุสูญหายจากภาวะหลงลืม (โรคอัลไซเมอร์) นอกจากนี้ผลักดันนโยบาย มีประชาชนร่วมลงรายชื่อกว่า 50,000 คน เพื่อเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งศูนย์ติดตามคนหายและมีการสั่งการให้ตำรวจทั่วประเทศ รับแจ้งความคนหายโดยทันที ไม่ต้องรอครบ 24 ชม.

ครูบ้านนอก

“กระดานดำคือผืนป่า ตำราคือผืนดอย” มูลนิธิกระจกเงา  สนง.เชียงราย เปิดรับอาสาสมัคร เข้าร่วมโครงการครูบ้านนอก รุ่นแรก ในปี พ.ศ.2541   โดยมุ่งหวังที่จะนำครูอาสาลงพื้นที่ชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล เด็กส่วนใหญ่ขาดโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะเด็กบนพื้นที่ราบสูง และตามตะเข็บชายแดน เริ่มต้นจาก พื้นที่ในจังหวัดเชียงราย แนวคิดของการเป็นครูบ้านนอก มิเพียงแต่เป็นการอุทิศตนในช่วงเวลาระยะสั้น เพื่อเป็นอาสาสมัครสอนเด็กเท่านั้น เพราะในระหว่างที่ครูสอนให้เรียนรู้วิชาการในห้องเรียน เด็กจะทำหน้าที่แบ่งปันความรู้ความแตกต่างทางวิถีชีวิต และวัฒนธรรมให้กับครูอีกด้วย ถือเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เกิดเป็นเข้าใจ ในวิถีวัฒนธรรมที่แตกต่างและอยู่ร่วมกันได้ในสังคม

นักศึกษาฝึกงาน

ภายใต้ยุทธศาสตร์ "สร้างคน" และบูรณาการงานอาสาสมัครขององค์กร การเปิดโครงการนักศึกษาฝึกงานของ มูลนิธิกระจกเงา   ทำให้มีคนหนุ่มสาวมาเรียนรู้งานด้านสังคมผ่านการฝึกงาน ปีละไม่ต่ำกว่า 100 คน เรามีกองกำลังอาสาสมัครมาช่วยงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี แม้คนทำงานจะไม่มากเท่าไหร่ แต่ด้วยโครงสร้างงานอาสาสมัครเช่นนี้   ผลักดันให้เราสามารถทำงานได้มากกว่าที่กำลังคนทำงานประจำมี

อาสาสมัคร

        งานอาสาสมัครเป็นหนึ่งในภารกิจการสร้าง "คน” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของมูลนิธิกระจกเงา หน้างานทุกส่วนล้วนขับเคลื่อนด้วยอาสาสมัครเรามีความเชื่อว่างานอาสาสมัครจะนำพาให้บุคคลได้เห็นปัญหาในสังคม เมื่อเห็นแล้วบุคคลเหล่านั้นจะลุกขึ้นลงมือทำ อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและหาวิธีแก้ไขร่วมกัน ถึงแม้ว่าเขาอาจไม่ได้เริ่มทำวันนี้ แต่ในวันหนึ่งเมื่อพร้อมเขาจะลงมือทำอย่างแน่นอน ด้วยความสมัครใจ  และผลของการกระทำนั้นเป็นประโยชน์ส่งผลดีต่อตนเองและสังคมเป็นวงกว้าง

โครงการภายใต้สำนักงานเชียงราย

โครงการที่ดำเนินการของมูลนิธิประกอบด้วย การช่วยเป็นสื่อกลางในการยื่นเรื่องขอสัญชาติไทยระหว่างชาวเขากับรัฐบาล[3][4] โดยพยายามค้นหาและรวบรวมบุคคลสูญหาย ซึ่งหลายคนตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์จากใครบางคนที่พวกเขารัก[5] และการสร้างความตระหนักถึงการค้ามนุษย์ดังกล่าว โครงการต่อต้านการค้าเด็กและสตรีจึงทำการช่วยให้ความรู้แก่ประชาชนถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์นี้ รวมทั้งให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการให้เงินขอทานอาจเป็นการเติมเชื้อเพลิงทางอาชญากรรม เนื่องด้วยเด็กขอทานจำนวนมากถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้แสวงประโยชน์จากเด็กเพื่อประโยชน์ของตนเอง[6][7] มูลนิธิได้ทำงานในโครงการด้านไอซีที ด้วยการสอนทักษะคอมพิวเตอร์ให้แก่ชาวเขาท้องถิ่นทั่วภูมิภาคเชียงราย รวมถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิในปี พ.ศ. 2547 อีกด้วย[8] และทางมูลนิธิยังทำโครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ที่บ้านจะแลและพิพิธภัณฑ์ชนเผ่า ผ่านทางเว็บไซต์ www.hilltribe.org ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนเรือในการรักษาวัฒนธรรมของชาวเขาสู่อนาคตต่อไป[9]

เว็บไซต์ ของมูลนิธินอกเหนือจากนี้ยังได้ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิ และประเด็นการค้นหาที่อยู่ รวมถึงเป็นช่องทางสำหรับชาวเขารอบพื้นที่ในการจำหน่ายงานศิลปะและงานฝีมือของพวกเขาในรูปแบบออนไลน์[10]

โครงการ ที่ผ่านมาของมูลนิธิได้รวมถึงศูนย์อาสาสมัครสึนามิ (TVC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2548 โดยความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่เทศบาลเมืองพังงา สำหรับการช่วยเหลือฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนตลอดจนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิในช่วงปลาย พ.ศ. 2547 [11][12]

อ้างอิง

  1. Rahman, Hakikur (2006). Empowering Marginal Communities with Information Networking. Idea Group Inc. p. 138. ISBN 1591406994.
  2. Holloway, Richard (2001). Towards Financial Self-reliance: A Handbook on Resource Mobilization for Civil Society Organizations in the South. Earthscan. p. 147. ISBN 1853837733.
  3. Silp, Sai (2006-11-15). "Proposals seek changes to Thai citizenship law". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  4. Macan-Markar, Marwaan (2002-04-10). "Thailand: Native hill tribes lack basic rights of other Thais". Inter Press Service English News Wire. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  5. Hongthong, Pennapa (2008-05-08). "The fight to rescue those who've disappeared". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  6. Xiaodan, Du (2007-01-20). "Migrant workers and trafficking (III) : Human trafficking in Asia". CCTV International. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  7. Staff (2005-02-26). "Cash hand-outs 'only fuel crime, trafficking'". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  8. Abennet (2006-06-16). "Microsoft battles slavery in Asia". IT World. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  9. Chinvarakorn, Vasana (2007-06-02). "We Care: The Living Museum". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  10. Macan-Markar, Marwaan (2003-07-15). "Hill tribes try high-tech to preserve way of life". Interpress Service. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  11. Barnes, Pathomkanok (2005-07-17). "NGO workers – committed to fight for just causes". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2008-10-16.
  12. Staff (2005-01-21). "Tsunami aftermath: Volunteers adjust to morgue shift". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.

แหล่งข้อมูลอื่น