ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมป่าไม้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล หน่วยงานของรัฐ 2 | ชื่อหน่วยงาน = กรมป่าไม้ | ชื่อใ...
 
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36: บรรทัด 36:


=== ประวัติป่าไม้ในประเทศไทย ===
=== ประวัติป่าไม้ในประเทศไทย ===
การทำป่าไม้ของประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นในสมัยที่มีการริเริ่มทำ [[สัก|ป่าไม้สัก]] เป็นสินค้าทางภาคเหนือ โดยป่าสักที่มีความสำคัญ จะอยู่ในเขต 5 นคร ได้แก่ [[นครเชียงใหม่]], [[ลำพูน]], [[ลำปาง]], [[แพร่]], และ [[น่าน]] โดยมีเจ้าผู้ครองนครคอยควบคุม โดยที่ผู้จะทำป่าไม้ในเขตนั้น จะต้องเสียเงิน '''''ค่าตอไม้''''' ตามจำนวนต้นที่จะตัด นอกจากนั้น เจ้าผู้ครองนครจะยกป่าใดในท้องที่ ให้แก่ผู้ใดก็ได้ และเมื่อ เจ้าของป่าถึงแก่กรรมลง ป่าไม้นั้นก็จะเป็นทรัพย์สินอยู่ในกองมรดกด้วย ซึ่งไม่ได้มีการควบคุมการทำไม้ในทางวิชาการเลย เช่น การกำหนด จำนวนไม้ที่จะให้ตัดแต่ละครั้ง ขนาด ช่วงเวลาในการจะตัดออกที่ไม่มีความชัดเจน ทำให้ในเวลาต่อมา การอนุญาตทำป่าไม้ มีความไม่ชอบมาพากล และ เกิดกรณีพิพาท จนมีคำร้องทุกข์เป็นจำนวนมาก
การทำป่าไม้ของประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นในสมัยที่มีการริเริ่มทำ [[สัก|ป่าไม้สัก]] เป็นสินค้าทางภาคเหนือ โดยป่าสักที่มีความสำคัญ จะอยู่ในเขต 5 นคร ได้แก่ [[นครเชียงใหม่]], [[ลำพูน]], [[ลำปาง]], [[แพร่]], และ [[น่าน]] โดยมีเจ้าผู้ครองนครคอยควบคุม โดยที่ผู้จะทำป่าไม้ในเขตนั้น จะต้องเสียเงิน '''''ค่าตอไม้''''' ตามจำนวนต้นที่จะตัด นอกจากนั้น เจ้าผู้ครองนครจะยกป่าใดในท้องที่ ให้แก่ผู้ใดก็ได้ และเมื่อ เจ้าของป่าถึงแก่กรรมลง ป่าไม้นั้นก็จะเป็นทรัพย์สินอยู่ในกองมรดกด้วย ซึ่งไม่ได้มีการควบคุมการทำไม้ในทางวิชาการเลย เช่น การกำหนด จำนวนไม้ที่จะให้ตัดแต่ละครั้ง ขนาด ช่วงเวลาในการจะตัดออกที่ไม่มีความชัดเจน ทำให้ในเวลาต่อมา การอนุญาตทำป่าไม้ มีความไม่ชอบมาพากล และ เกิดกรณีพิพาท จนมีคำร้องทุกข์เป็นจำนวนมาก<ref name=":0">http://www.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=404&Itemid=408 '''ประวัติกรมป่าไม้โดยสังเขป - กรมป่าไม้'''</ref>


ทำให้ต้องมีการตรา '''''พระราชบัญญัติ สำหรับผู้รักษาเมืองซึ่งจะทำสัญญากับชาวต่างประเทศ จุลศักราช 1236 (พ.ศ.2417)''''' โดยมีสาระสำคัญคือการทำป่าไม้ ระหว่างเจ้าเมือง หรือ ผู้ครองนคร กับชาวต่างประเทศนั้นจะต้องได้รับ สัตยาบันจากทาง กรุงเทพฯ ก่อน จึงจะมีผลใชับังคับได้ และ ห้ามไม่ให้เจ้าเมือง หรือ ผู้ครองนคร ออกใบอนุญาตแก่บุคคลเกินกว่า 1 คน ตามสัญญาทางพระราชไมตรีอังกฤษ เมื่อปี 2426 จึงได้ให้ความสำคัญในการควบคุมการทำป่าไม้ ทำให้ [[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]] ได้ว่าจ้าง Mr.Castensjold ชาวเดนมาร์กไปสำรวจการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ
ทำให้ต้องมีการตรา '''''พระราชบัญญัติ สำหรับผู้รักษาเมืองซึ่งจะทำสัญญากับชาวต่างประเทศ จุลศักราช 1236 (พ.ศ.2417)''''' โดยมีสาระสำคัญคือการทำป่าไม้ ระหว่างเจ้าเมือง หรือ ผู้ครองนคร กับชาวต่างประเทศนั้นจะต้องได้รับ สัตยาบันจากทาง กรุงเทพฯ ก่อน จึงจะมีผลใชับังคับได้ และ ห้ามไม่ให้เจ้าเมือง หรือ ผู้ครองนคร ออกใบอนุญาตแก่บุคคลเกินกว่า 1 คน ตามสัญญาทางพระราชไมตรีอังกฤษ เมื่อปี 2426 จึงได้ให้ความสำคัญในการควบคุมการทำป่าไม้ ทำให้ [[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]] ได้ว่าจ้าง Mr.Castensjold ชาวเดนมาร์กไปสำรวจการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ<ref name=":0" />


ต่อมาในปี 2438 รัฐบาลบริติชราชได้ให้ความช่วยเหลือในการส่งผู้ชำนาญการป่าไม้ โดยส่ง Mr. H. Slade มาสำรวจการทำป่าไม้ ในภาคเหนือ และได้ทำรายงานผลการสำรวจป่าไม้ ต่อกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2438 โดยในเวลานั้น ได้มีการชี้แจงข้อบกพร่องการทำป่าไม้ของไทยในเวลานั้น 2 ประการคือ
ต่อมาในปี 2438 รัฐบาลบริติชราชได้ให้ความช่วยเหลือในการส่งผู้ชำนาญการป่าไม้ โดยส่ง Mr. H. Slade มาสำรวจการทำป่าไม้ ในภาคเหนือ และได้ทำรายงานผลการสำรวจป่าไม้ ต่อกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2438 โดยในเวลานั้น ได้มีการชี้แจงข้อบกพร่องการทำป่าไม้ของไทยในเวลานั้น 2 ประการคือ<ref name=":0" />


1. กิจการป่าไม้ทั้งหมดที่มีในเวลานั้น อยู่ในการครอบครองของเจ้าผู้ครองนคร ซึ่งทำให้ ทางส่วนกลาง ไม่สามารถเข้ามาบริหารจัดการ หรือ ควบคุม การทำป่าไม้ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีมาตรฐาน โดยเฉพาะเรื่องสัมปทานป่าไม้ ที่ยังมีปัญหาที่ว่า เมื่อเจ้าของสัมปทานเดิม หมดสัญญา ก็ยังปรากฎว่ายังไม่หยุดกิจการ รวมไปถึงการขออนุญาตการทำป่าไม้ ซึ่งการขอสัมปทาน ยังต้องมีการเสียค่าใช้จ่าย ทำให้ราคาต้นทุนของไม้สักในขณะนั้น มีราคาสูงขึ้น
1. กิจการป่าไม้ทั้งหมดที่มีในเวลานั้น อยู่ในการครอบครองของเจ้าผู้ครองนคร ซึ่งทำให้ ทางส่วนกลาง ไม่สามารถเข้ามาบริหารจัดการ หรือ ควบคุม การทำป่าไม้ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีมาตรฐาน โดยเฉพาะเรื่องสัมปทานป่าไม้ ที่ยังมีปัญหาที่ว่า เมื่อเจ้าของสัมปทานเดิม หมดสัญญา ก็ยังปรากฎว่ายังไม่หยุดกิจการ รวมไปถึงการขออนุญาตการทำป่าไม้ ซึ่งการขอสัมปทาน ยังต้องมีการเสียค่าใช้จ่าย ทำให้ราคาต้นทุนของไม้สักในขณะนั้น มีราคาสูงขึ้น
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
2. ในช่วงต้น ที่มีการสำรวจป่าไม้สัก เพื่อกำหนดจำนวนไม้ที่อนุญาตให้ตัดฟัน และ เสนอให้ควบคุมการตัดไม้สักเพื่อใช้สอย โดยเสนอให้ใช้ไม้กระยาเลยแทน ต่อมาจึงได้พบอีกว่า ประชาชนได้ตัดต้นสักขนาดเล็กเพื่อใช้สอยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกินกำลังการทำป่าไม้ ซึ่งมีผลต่อทรัพยากรป่าไม้อย่างยิ่ง ซึ่งสถานการณ์ป่าไม้สักขณะนั้น ได้มีการตัดฟันไม้สักเกินกำลังป่า ถึงประมาณ 3 เท่าครึ่ง
2. ในช่วงต้น ที่มีการสำรวจป่าไม้สัก เพื่อกำหนดจำนวนไม้ที่อนุญาตให้ตัดฟัน และ เสนอให้ควบคุมการตัดไม้สักเพื่อใช้สอย โดยเสนอให้ใช้ไม้กระยาเลยแทน ต่อมาจึงได้พบอีกว่า ประชาชนได้ตัดต้นสักขนาดเล็กเพื่อใช้สอยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกินกำลังการทำป่าไม้ ซึ่งมีผลต่อทรัพยากรป่าไม้อย่างยิ่ง ซึ่งสถานการณ์ป่าไม้สักขณะนั้น ได้มีการตัดฟันไม้สักเกินกำลังป่า ถึงประมาณ 3 เท่าครึ่ง


และได้เสนอให้ทางส่วนกลางควรต้องเข้าจัดการป่าไม้เสียเอง และเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานที่ควบคุมและ บริหารป่าไม้ขึ้น ต่อมาจึงได้นำความกราบบังคมทูล [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยซึ่งก็ได้ทรงพระราชดำริเห็นชอบ และ พระราชทาน พระราชหัตถเลขาถึงเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้น โดยให้สังกัดอยู่ในกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน ร.ศ.115 (พ.ศ. 2439) และถือเป็นวันสถาปนากรมป่าไม้
และได้เสนอให้ทางส่วนกลางควรต้องเข้าจัดการป่าไม้เสียเอง และเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานที่ควบคุมและ บริหารป่าไม้ขึ้น ต่อมาจึงได้นำความกราบบังคมทูล [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยซึ่งก็ได้ทรงพระราชดำริเห็นชอบ และ พระราชทาน พระราชหัตถเลขาถึงเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้น โดยให้สังกัดอยู่ในกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน ร.ศ.115 (พ.ศ. 2439) และถือเป็นวันสถาปนากรมป่าไม้<ref name=":0" />


=== ประวัติการจัดตั้งกรม ===
=== ประวัติการจัดตั้งกรม ===
กรมป่าไม้ ได้รับการสถาปนาขึ้นในวันที่ 18 กันยายน 2439 โดย [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในสังกัด [[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]] โดยในระยะแรก รัฐบาลไทยได้ขอตัวเจ้าหน้าที่ป่าไม้จาก [[บริติชราช]] มาช่วยบริหารราชการกรมระหว่างปี 2439 ถึง 2466 ต่อมาในปี 2466 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ [[พระยาดรุพันธ์พิทักษ์ (สนิท พุกกะมาน)|พระยาดรุพันธ์พิทักษ์]] ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้ จึงเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนแรกที่เป็นคนไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
กรมป่าไม้ ได้รับการสถาปนาขึ้นในวันที่ 18 กันยายน 2439 โดย [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในสังกัด [[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]] โดยในระยะแรก รัฐบาลไทยได้ขอตัวเจ้าหน้าที่ป่าไม้จาก [[บริติชราช]] มาช่วยบริหารราชการกรมระหว่างปี 2439 ถึง 2466 ต่อมาในปี 2466 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ [[พระยาดรุพันธ์พิทักษ์ (สนิท พุกกะมาน)|พระยาดรุพันธ์พิทักษ์]] ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้ จึงเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนแรกที่เป็นคนไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา<ref name=":0" />


โดยกรมป่าไม้ ได้ย้ายสังกัดถึง 5 ครั้ง ได้แก่:
โดยกรมป่าไม้ ได้ย้ายสังกัดถึง 5 ครั้ง ได้แก่<ref name=":0" />:


* [[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเกษตราธิการ]] ในปี 2464 ถึง 2477
* [[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเกษตราธิการ]] ในปี 2464 ถึง 2477
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
* [[กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเศรษฐการ]] ในปี 2476 ต่อมาได้สังกัด ''ทบวงเกษตราธิการ'' ถึงปี 2478
* [[กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเศรษฐการ]] ในปี 2476 ต่อมาได้สังกัด ''ทบวงเกษตราธิการ'' ถึงปี 2478
* [[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเกษตราธิการ]] ในปี 2478 หลังจากยกฐานะทบวงเกษตราธิการ ขึ้นเป็นกระทรวง และ สังกัดจนกระทั่งเปลื่ยนชื่อเป็น ''กระทรวงเกษตร'' และ ''กระทรวงเกษตรและสหกรณ์'' ตามลำดับจนถึงปี 2546
* [[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเกษตราธิการ]] ในปี 2478 หลังจากยกฐานะทบวงเกษตราธิการ ขึ้นเป็นกระทรวง และ สังกัดจนกระทั่งเปลื่ยนชื่อเป็น ''กระทรวงเกษตร'' และ ''กระทรวงเกษตรและสหกรณ์'' ตามลำดับจนถึงปี 2546
* [[กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)|กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม]] ในปี 2547 (แต่ได้แยกส่วนงานอุทยานแห่งชาติ การดูแลสัตว์ป่า ตั้งเป็นกรมใหม่ในชื่อ [[กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช]] และส่วนงานทรัพยากรทางทะเล เป็นกรมใหม่ในชื่อ [[กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง]] สังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
* [[กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)|กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม]] ในปี 2547 (แต่ได้แยกส่วนงานอุทยานแห่งชาติ การดูแลสัตว์ป่า ตั้งเป็นกรมใหม่ในชื่อ [[กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช]] และส่วนงานทรัพยากรทางทะเล เป็นกรมใหม่ในชื่อ [[กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง]] สังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00102282.PDF พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕]</ref>


== ทำเนียบเจ้ากรมและอธิบดี ==
== ทำเนียบเจ้ากรมและอธิบดี ==


นับตั้งแต่ก่อตั้งกรม มีเจ้ากรมและอธิบดีกรมป่าไม้ทั้งสิ้น 34 คน (ไม่นับรักษาการอธิบดี)<ref>http://www.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=302&Itemid=409&lang=th '''พระนามและรายนามอธิบดีกรมป่าไม้''' - กรมป่าไม้</ref>
หมายเหตุ: ''ตัวเอียง'' รักษาการอธิบดี

'''หมายเหตุ:''' ''ตัวเอียง'' รักษาการอธิบดี


{| class="wikitable" width=100%
{| class="wikitable" width=100%

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:06, 23 กรกฎาคม 2561

กรมป่าไม้
Royal Forest Department
ไฟล์:Royal Forest Department TH.png
ตรากรมป่าไม้

ตราอาร์มกรมป่าไม้
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง18 กันยายน พ.ศ. 2439
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
งบประมาณประจำปี1,933,376,700 บาท (พ.ศ. 2561)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • สุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ, รักษาการอธิบดี[2]
ต้นสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เว็บไซต์http://www.forest.go.th

กรมป่าไม้ เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ รักษา และจัดการทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ ซึ่งมีทั้งหมด 77 ล้านไร่ โดยในอดีต สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ประวัติ

ประวัติป่าไม้ในประเทศไทย

การทำป่าไม้ของประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นในสมัยที่มีการริเริ่มทำ ป่าไม้สัก เป็นสินค้าทางภาคเหนือ โดยป่าสักที่มีความสำคัญ จะอยู่ในเขต 5 นคร ได้แก่ นครเชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, และ น่าน โดยมีเจ้าผู้ครองนครคอยควบคุม โดยที่ผู้จะทำป่าไม้ในเขตนั้น จะต้องเสียเงิน ค่าตอไม้ ตามจำนวนต้นที่จะตัด นอกจากนั้น เจ้าผู้ครองนครจะยกป่าใดในท้องที่ ให้แก่ผู้ใดก็ได้ และเมื่อ เจ้าของป่าถึงแก่กรรมลง ป่าไม้นั้นก็จะเป็นทรัพย์สินอยู่ในกองมรดกด้วย ซึ่งไม่ได้มีการควบคุมการทำไม้ในทางวิชาการเลย เช่น การกำหนด จำนวนไม้ที่จะให้ตัดแต่ละครั้ง ขนาด ช่วงเวลาในการจะตัดออกที่ไม่มีความชัดเจน ทำให้ในเวลาต่อมา การอนุญาตทำป่าไม้ มีความไม่ชอบมาพากล และ เกิดกรณีพิพาท จนมีคำร้องทุกข์เป็นจำนวนมาก[3]

ทำให้ต้องมีการตรา พระราชบัญญัติ สำหรับผู้รักษาเมืองซึ่งจะทำสัญญากับชาวต่างประเทศ จุลศักราช 1236 (พ.ศ.2417) โดยมีสาระสำคัญคือการทำป่าไม้ ระหว่างเจ้าเมือง หรือ ผู้ครองนคร กับชาวต่างประเทศนั้นจะต้องได้รับ สัตยาบันจากทาง กรุงเทพฯ ก่อน จึงจะมีผลใชับังคับได้ และ ห้ามไม่ให้เจ้าเมือง หรือ ผู้ครองนคร ออกใบอนุญาตแก่บุคคลเกินกว่า 1 คน ตามสัญญาทางพระราชไมตรีอังกฤษ เมื่อปี 2426 จึงได้ให้ความสำคัญในการควบคุมการทำป่าไม้ ทำให้ กระทรวงมหาดไทย ได้ว่าจ้าง Mr.Castensjold ชาวเดนมาร์กไปสำรวจการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ[3]

ต่อมาในปี 2438 รัฐบาลบริติชราชได้ให้ความช่วยเหลือในการส่งผู้ชำนาญการป่าไม้ โดยส่ง Mr. H. Slade มาสำรวจการทำป่าไม้ ในภาคเหนือ และได้ทำรายงานผลการสำรวจป่าไม้ ต่อกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2438 โดยในเวลานั้น ได้มีการชี้แจงข้อบกพร่องการทำป่าไม้ของไทยในเวลานั้น 2 ประการคือ[3]

1. กิจการป่าไม้ทั้งหมดที่มีในเวลานั้น อยู่ในการครอบครองของเจ้าผู้ครองนคร ซึ่งทำให้ ทางส่วนกลาง ไม่สามารถเข้ามาบริหารจัดการ หรือ ควบคุม การทำป่าไม้ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีมาตรฐาน โดยเฉพาะเรื่องสัมปทานป่าไม้ ที่ยังมีปัญหาที่ว่า เมื่อเจ้าของสัมปทานเดิม หมดสัญญา ก็ยังปรากฎว่ายังไม่หยุดกิจการ รวมไปถึงการขออนุญาตการทำป่าไม้ ซึ่งการขอสัมปทาน ยังต้องมีการเสียค่าใช้จ่าย ทำให้ราคาต้นทุนของไม้สักในขณะนั้น มีราคาสูงขึ้น

2. ในช่วงต้น ที่มีการสำรวจป่าไม้สัก เพื่อกำหนดจำนวนไม้ที่อนุญาตให้ตัดฟัน และ เสนอให้ควบคุมการตัดไม้สักเพื่อใช้สอย โดยเสนอให้ใช้ไม้กระยาเลยแทน ต่อมาจึงได้พบอีกว่า ประชาชนได้ตัดต้นสักขนาดเล็กเพื่อใช้สอยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกินกำลังการทำป่าไม้ ซึ่งมีผลต่อทรัพยากรป่าไม้อย่างยิ่ง ซึ่งสถานการณ์ป่าไม้สักขณะนั้น ได้มีการตัดฟันไม้สักเกินกำลังป่า ถึงประมาณ 3 เท่าครึ่ง

และได้เสนอให้ทางส่วนกลางควรต้องเข้าจัดการป่าไม้เสียเอง และเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานที่ควบคุมและ บริหารป่าไม้ขึ้น ต่อมาจึงได้นำความกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยซึ่งก็ได้ทรงพระราชดำริเห็นชอบ และ พระราชทาน พระราชหัตถเลขาถึงเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้น โดยให้สังกัดอยู่ในกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน ร.ศ.115 (พ.ศ. 2439) และถือเป็นวันสถาปนากรมป่าไม้[3]

ประวัติการจัดตั้งกรม

กรมป่าไม้ ได้รับการสถาปนาขึ้นในวันที่ 18 กันยายน 2439 โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในสังกัด กระทรวงมหาดไทย โดยในระยะแรก รัฐบาลไทยได้ขอตัวเจ้าหน้าที่ป่าไม้จาก บริติชราช มาช่วยบริหารราชการกรมระหว่างปี 2439 ถึง 2466 ต่อมาในปี 2466 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาดรุพันธ์พิทักษ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้ จึงเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนแรกที่เป็นคนไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา[3]

โดยกรมป่าไม้ ได้ย้ายสังกัดถึง 5 ครั้ง ได้แก่[3]:

ทำเนียบเจ้ากรมและอธิบดี

นับตั้งแต่ก่อตั้งกรม มีเจ้ากรมและอธิบดีกรมป่าไม้ทั้งสิ้น 34 คน (ไม่นับรักษาการอธิบดี)[5]

หมายเหตุ: ตัวเอียง รักษาการอธิบดี

เจ้ากรมป่าไม้ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. มร.เอช.เอ. เสลด (H.A. SLADE) 2439 - 2444
2. มร.ดับลิว.เอฟ.แอล ทอตเทนแฮม (W.F.L. TOTTENHAM) 2444 - 2447
3. มร.ดับลิว.เอฟ. ลอยด์ (W.F. LLOYD) 2448 - 2466
อธิบดีกรมป่าไม้ วาระการดำรงตำแหน่ง
4. พระยาดรุพันพิทักษ์ 2467 - 2477
5. พระยาพนานุจร 2478 - 2484
6. พ.อ.เพียร สฤษฎ์ยุทธศิลป์ พิริยะโยธิน 2484 - 2490
7. หม่อมเจ้าสืบศุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ 2491 - 2492
8. หลวงสมานวนกิจ 2493 - 2495
9. พระยาประเสริฐสงคราม 2495 - 2500
10. เฉลิม ศิริวรรณ 2501 - 2503
11. วิเชียร กุญชร ณ อยุธยา 2503 - 2507
12. ดุสิต พานิชพัฒน์ 2507 - 2514
13. ตรี กกกำแหง 2514 - 2516
14. ประดิษฐ วนาพิทักษ์ 9 สิงหาคม 2516 - 15 กรกฎาคม 2520
15. ถนอม เปรมรัศมี 15 กรกฎาคม 2520 - 14 ตุลาคม 2523
16. พงศ์ โสโน 15 ตุลาคม 2523 - 30 กันยายน 2526
17. จำนงค์ โพธิสาโร 1 ตุลาคม 2526 - 30 กันยายน 2528
18. ดร.ชำนิ บุณโยภาส 1 ตุลาคม 2528 - 14 กันยายน 2531
ดร.เกษม จันทรแก้ว 15 กันยายน 2531 - 26 ตุลาคม 2531
ดร.ยุกติ สาริกะภูติ 27 ตุลาคม 2531 - 30 กันยายน 2532
19. ไพโรจน์ สุวรรณกร 1 ตุลาคม 2532 - 30 กันยายน 2534
20. ทิวา สรรพกิจ 1 ตุลาคม 2534 - 30 พฤศจิกายน 2535
21. ผ่อง เล่งอี้ 1 ธันวาคม 2535 - 21 มิถุนายน 2538
22. ร.ต.บรรณเลิศ รัชตกุล 22 มิถุนายน 2538 - 27 มิถุนายน 2538
23. ยรรยง ถนอมพิชัย 11 กรกฎาคม 2538 - 23 มกราคม 2539
24. พยุง นพสุวรรณ 24 มกราคม 2539 - 23 สิงหาคม 2539 (รักษาราชการ)
24 สิงหาคม 2539 - 30 กันยายน 2539
25. สถิตย์ สวินทร 1 ตุลาคม 2539 - 25 เมษายน 2541
26. ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี 4 พฤษภาคม 2541 - กันยายน 2545
27. วีรพันธุ์ ศรีบุญลือ ตุลาคม 2545 - เมษายน 2546
28. ฉัตรชัย รัตนโนภาส 7 กรกฎาคม 2546 - 30 กันยายน 2549
ไพศาล กุวลัยรัตน์ กันยายน 2549 - พฤศจิกายน 2549
29. วิชัย แหลมวิไล พฤศจิกายน 2549 - เมษายน 2551
30. สมชัย เพียรสถาพร เมษายน 2551 - กันยายน 2553
31. สุวิทย์ รัตนมณี กันยายน 2553 - ตุลาคม 2555
32. บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ตุลาคม 2555 - กรกฎาคม 2557
33. ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ กรกฎาคม 2557 - กันยายน 2558
34. ชลธิศ สุรัสวดี กันยายน 2558 - ตุลาคม 2560
สุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ กุมภาพันธ์ 2561 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561". เล่ม 134 ตอนที่ 101ก หน้า 7 วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560.
  2. http://forestinfo.forest.go.th/55/Content.aspx?id=16 ผู้บริหารกรมป่าไม้ - ข้อมูลสารสนเทศ กรมป่าไม้
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 http://www.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=404&Itemid=408 ประวัติกรมป่าไม้โดยสังเขป - กรมป่าไม้
  4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
  5. http://www.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=302&Itemid=409&lang=th พระนามและรายนามอธิบดีกรมป่าไม้ - กรมป่าไม้

แหล่งข้อมูลอื่น