ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครพนม"

พิกัด: 17°24′N 104°47′E / 17.4°N 104.78°E / 17.4; 104.78
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 206: บรรทัด 206:
* [[วัดโอกาสศรีบัวบาน]]
* [[วัดโอกาสศรีบัวบาน]]
* [[วัดศรีเทพประดิษฐาราม]]
* [[วัดศรีเทพประดิษฐาราม]]
* [[พญาศรีสัตตนาคราช]]
* [[พญาศรีสัตตนาคราช]],แลนด์มาร์คนครพนม
** แลนด์มาร์คนครพนม
* [[วัดมหาธาตุ]]
* [[วัดมหาธาตุ]]
* [[วัดนักบุญอันนา]]
* [[วัดนักบุญอันนา]]
บรรทัด 220: บรรทัด 219:
* [[ถนนคนเดินนครพนม]]
* [[ถนนคนเดินนครพนม]]
* [[ศาลหลักเมือง]]
* [[ศาลหลักเมือง]]
* หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม
* หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม,อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์,บ้านท่านประธานโฮจิมินห์
** อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์
** บ้านท่านประธานโฮจิมินห์
* พิพิธภัณฑ์ประธานโฮจิมินห์
* พิพิธภัณฑ์ประธานโฮจิมินห์
* [[สถานที่จัดแสดงโลกของปลาแม่น้ำโขง นครพนม]]
* [[สถานที่จัดแสดงโลกของปลาแม่น้ำโขง นครพนม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:03, 14 กรกฎาคม 2561

จังหวัดนครพนม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nakhon Phanom
คำขวัญ: 
พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย
เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา
งามตาฝั่งโขง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครพนมเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครพนมเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครพนมเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ สมชาย วิทย์ดำรงค์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2558)
พื้นที่
 • ทั้งหมด5,512.668 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 38
ประชากร
 (พ.ศ. 2560)
 • ทั้งหมด718,028 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 35
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 36
รหัส ISO 3166TH-48
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้กันเกรา
 • ดอกไม้กันเกรา
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนอภิบาลบัญชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000
 • โทรศัพท์0 4251 1287, 0 4251 1574, 0 4251 4262
 • โทรสาร0 4251 1287, 0 4251 1574, 0 4251 4262
เว็บไซต์http://www.nakhonphanom.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอด

ภูมิศาสตร์

อาณาเขต

สภาพภูมิประเทศ

สภาพโดยทั่วไปของจังหวัดนครพนมเป็นที่ราบลุ่ม มีที่ราบสูงและภูเขาอยู่บ้าง มีแม่น้ำสายสั้น ๆ เป็นสาขาย่อยแยกจากแม่น้ำโขงมาหล่อเลี้ยงความอุดมสมบูรณ์ภายในพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน นครพนมจึงนับว่าเป็นจังหวัดที่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์มาก ด้านตะวันออกมีแม่น้ำโขงทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว

จังหวัดนครพนมมีจุดผ่านแดนไปประเทศลาว รวม 6 จุด เป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด จุดผ่านแดนที่สำคัญและเป็นสากล คือ ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ซึ่งเป็นประตูไปสู่อินโดจีน

ประวัติศาสตร์

นครพนมเป็นจังหวัดชายแดนตั้งเลียบชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วนของประเทศลาว นครพนมเป็นจังหวัดที่ประดิษฐานพระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ ซึ่งเป็นพระธาตุที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (สมณโคดม) และนับเป็นพระบรมธาตุคู่เมืองนครพนม เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยและชาวลาวทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงมาตั้งแต่บรรพกาล พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ที่อำเภอธาตุพนม อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนม 52 กิโลเมตร จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ 5,512.668 ตารางกิโลเมตร ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 740 กิโลเมตร นอกจากนี้ ในตัวเมืองนครพนมยังมีพระธาตุนครประดิษฐานเป็นพระธาตุกลางเมืองด้วย พระธาตุนครนี้เดิมเป็นวัดที่ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมืองนครพนมในอดีต

นครพนมเป็นจังหวัดที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์มาแต่โบราณกาล ในฐานะเมืองเก่าเคียงคู่อยู่กับอาณาจักรศรีโคตรบูร แต่เดิมนครพนมมีชื่อเต็มในจารึกสถาปนาวัดโอกาสศรีบัวบานว่า เมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง เคยเป็นราชธานีที่มีกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครปกครองมาก่อนหลายสมัย เอกสารของล้านช้างส่วนใหญ่ออกนามว่าเมืองลครหรือเมืองนคร เดิมทีนั้นมีพื้นที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหรือเมืองเก่าท่าแขก ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ฝั่งขวาที่เมืองเก่าหนองจันทน์ จากนั้นย้ายขึ้นไปทางตอนเหนือที่บ้านโพธิ์คำ คือตัวเมืองนครพนมในปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตีเมืองนครเวียงจันทน์ได้แล้ว เจ้าเมืองนครพนมหรือเมืองศรีโคตรบองได้ทูลเกล้าถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองแก่สยามในฐานะนครประเทศราช ชื่อของดินแดนนี้ได้ถูกเปลี่ยนนามเป็น "นครพนม" สันนิษฐานว่านามนี้มาจากนครพนมเป็นเมืองที่มีพื้นที่ติดต่อกับทิวเขามากมายทางฝั่งซ้าย หลังเสร็จสิ้นสงครามเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ลดฐานะเมืองนครพนมเป็นหัวเมืองชั้นเอก ด้วยความเป็นอาณาจักรที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาเก่าก่อน ประกอบกับแม่น้ำโขงเป็นแหล่งวัฒนธรรมของมนุษย์ชาติจากหลายชนเผ่า ดังนั้น นครพนมจึงมีโบราณสถานจำนวนมาก และมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์

ครั้นในปีต่อมา พ.ศ. 2459 มีประกาศพระบรมราชโองการเรื่อง โอนอำเภอไชยบุรีไปขึ้นจังหวัดหนองคาย ลงวันที่ 22 มีนาคม 2459 มีความว่าทรงทราบฝ่าละอองธุรีพระบาทว่าอำเภอไชยบุรี ซึ่งเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดนครพนมเวลานี้ ( พ.ศ. 2459) มีท้องที่และระยะทางห่างไกลจากจังหวัดนครพนมมาก เป็นการลำบากแก่ราษฎรที่อยู่ในแขวงอำเภอไชยบุรี ผู้มีกิจสุขทุกข์จะมายังจังหวัดนครพนมและทั้งไม่เหมาะแก่การปกครอง จึงทรงพระราชดำริว่าสมควรจะโอนอำเภอไชยบุรี มาขึ้นจังหวัดหนองคาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้โอนอำเภอไชยบุรีมาขึ้นจังหวัดหนองคาย ตั้งแต่บัดนี้ (พ.ศ. 2459) เป็นต้นไป (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 320 – 321 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2459 )

ในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525 แยกอำเภอ มุกดาหารเป็นจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525

ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกมีผู้เสียชีวิต 3 ราย[3]พ.ต.ท.สมบูรณ์ คำบึงรัตนะวงศา ว่าที่ ร.ต.ชินวุฒิ นวลกลับ ดร.ยิ่งยศ อุดรพิมพ์

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดนครพนม

การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 99 ตำบล 1,128 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 82 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง 22 เทศบาลตำบล

การศึกษา

ในจังหวัดนครพนมมีสถาบันระดับอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยรามคำแหง (มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครพนม), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์นครพนม นอกจากนี้ ยังมีสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ปริญญาตรีสายปฏิบัติการ/เทคโนโลยีบัณฑิต) ได้แก่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ (วิทยาลัยเทคนิคนครพนม, วิทยาลัยเทคนิคบ้านแพง)

การขนส่ง

รถยนต์

จากกรุงเทพมหานคร ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 213 ไปจังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึงจังหวัดสกลนคร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 22 ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 740 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนม มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ทั้งรถที่มาจากกรุงเทพฯ และรถที่ไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น

  • สาย 26 กรุงเทพฯ - นครพนม ใช้เส้นทาง สระบุรี นครราชสีมา บ้านไผ่ บรบือ มหาสารคาม ยางตลาด กาฬสินธุ์ สมเด็จ สกลนคร ท่าแร่ กุสุมาลย์ ให้บริการโดย บขส. (รถมาตรฐาน ม.4ค ,ม.4ข ,ม.4ก) และ นครชัยแอร์ (รถมาตรฐาน ม.1ข Silver, ม.1พ Gold+)
  • สาย 930 กรุงเทพฯ - นครพนม ใช้เส้นทาง สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น หนองหาน สว่างแดนดิน พังโคน พรรณานิคม สกลนคร ท่าแร่ กุสุมาลย์ ให้บริการโดย บขส. (รถมาตรฐาน ม.4ค) เชิดชัยทัวร์ (รถมาตรฐาน ม.2 และ ม.1ข) และ โลตัสพิบูลทัวร์ (รถมาตรฐาน ม.1ข และ ม.4กพ VIP)
  • สาย 256 อุบลราชธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง เรณูนคร ธาตุพนม มุกดาหาร ให้บริการโดย สหมิตรอุบล (รถมาตรฐาน ม.3 ,ม.2 ,ม.1ข)
  • สาย 231 อุดรธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง หนองหาน สว่างแดนดิน พังโคน พรรณานิคม สกลนคร ท่าแร่ กุสุมาลย์ ให้บริการโดย สหอุดรเดินรถ (รถมาตรฐาน ม.1ข และ ม.2)
  • สาย 224 อุดรธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง หนองคาย บึงกาฬ บ้านแพง ท่าอุเทน ให้บริการโดย รถร่วม บขส. หลายเจ้า (รถมาตรฐาน ม.2)
  • สาย 555 นครพนม - มุกดาหาร ให้บริการโดย วิทยาทรานสปอร์ต (รถมาตรฐาน ม.2 และ ม.2จ รถตู้)
  • สาย 586 ขอนแก่น - นครพนม ให้บริการโดย เชิงชุมเดินรถ (ชัยวัฒน์เซอร์วิส) (รถมาตรฐาน ม.1ข)
  • สาย 661 นครพนม - เชียงราย ให้บริการโดย สมบัติทัวร์ และ จักรพงษ์ทัวร์ (มาตรฐาน ม.1ข และ ม.1พ)
  • สาย 827 นครพนม - ระยอง ให้บริการโดย ชาญทัวร์ (รถมาตรฐาน ม.4ข และ ม.4พ)
  • สาย 837 นครพนม - นครศรีธรรมราช ให้บริการโดย ชาญทัวร์ (รถมาตรฐาน ม.4พ)
  • สาย 876 เชียงใหม่ - นครพนม ให้บริการโดย เพชรประเสริฐ (รถมาตรฐาน ม.4พ)
  • สาย 1431 นครพนม - ท่าอุเทน - ศรีสงคราม - นาหว้า

รถโดยสารระหว่างประเทศ

เครื่องบิน

การคมนาคมภายในตัวจังหวัดนครพนม

  • รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
  • รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง (เป็นรถเหมา)
  • แท็กซี่ คิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์

วัฒนธรรม

เทศกาลและงานประเพณีประจำปีในจังหวัดนครพนม เช่น

สถานที่สำคัญ

สถานที่สำคัญแบ่งตามอำเภอ

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

ปูชนียสถาน

พระธาตุพนมยามค่ำคืน พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองนครพนม

ปูชนียสถานที่สำคัญในจังหวัดนครพนม คือ พระธาตุพนม นอกจากนี้ยังมีพระธาตุอื่น ๆ ที่ชาวจังหวัดนครพนมเคารพนับถือ ได้แก่ พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณู พระธาตุศรีคุณ พระธาตุนคร และพระธาตุมหาชัย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเมืองพระธาตุโดยแท้

อุทยาน สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์

บุคคลที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2560. สืบค้น 26 มีนาคม 2561.
  3. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/700674

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

17°24′N 104°47′E / 17.4°N 104.78°E / 17.4; 104.78