ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภิรมย์ กมลรัตนกุล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
| footnotes =
| footnotes =
}}
}}
'''ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล''' นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<ref>ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ''ratchakitcha.soc.go.th.'' 05 มีนาคม 2561. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/049/11.PDF (07 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).</ref> กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF</ref> อดีตอธิการบดี[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และ[[นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ]] สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2545 อดีตคณบดี[[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และผู้อำนวยการ[[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] [[สภากาชาดไทย]]
'''ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล''' นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<ref>ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ''ratchakitcha.soc.go.th.'' 05 มีนาคม 2561. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/049/11.PDF (07 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).</ref> กรรมการอิสระ บริษัท [[เบอร์ลี่ ยุคเกอร์]] จำกัด (มหาชน) กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF</ref> อดีตอธิการบดี[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และ[[นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ]] สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2545 อดีตคณบดี[[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และผู้อำนวยการ[[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] [[สภากาชาดไทย]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:33, 21 มิถุนายน 2561

ภิรมย์ กมลรัตนกุล
ไฟล์:Pirom.jpg
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2551 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ก่อนหน้าศ.ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์
ถัดไปศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 สิงหาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิง สุธารา กมลรัตนกุล

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] กรรมการอิสระ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข[2] อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2545 อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ประวัติ

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ที่จังหวัดอุทัยธานี สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Master of Science (Clinical Epidemiology)จาก McMaster University และMaster of Science (Clinical Epidemiology)มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ปริญญาบัตรหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร[3]

ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้หรือความชำนาญการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป หนังสืออนุมัติบัตรแสดงความรู้หรือความชำนาญ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัวและสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน จากแพทยสภาแห่งประเทศไทย Certificatie : Distinguished Visiting Scholar in Clinical Economics จากThe Wharton School (มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย) และ Certificate in the Management Training Program จาก The University of Toronto, CANADA

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข

ประสบการณ์การทำงาน

  • ศาสตราจารย์ระดับ 11 ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หัวหน้าศูนย์วิทยาการวิจัยแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.)
  • กรรมการองค์การเภสัชกรรม
  • คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาคุณสมบัติและประเมินผลงานของบุคคล สาขาแพทยศาสตร์ สำนักงาน ก.พ.
  • อนุกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (อ.ก.ม.) เกี่ยวกับตำแหน่งวิชาการ
  • อนุกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (อ.ก.ม.) เกี่ยวกับการสรรหาและพัฒนา
  • กรรมการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
  • กรรมการบริหารศูนย์วิจัย กทม.
  • กรรมการแผนกแพทยศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล
  • ประธานคณะอนุกรรมการการพิจารณากลั่นกรองเงินทุนพัฒนาอาจารย์
  • คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง
  • กรรมการบริหารวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
  • คณะกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม
  • ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • กรรมการจัดสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาลส่วนกลาง (กสปร.กลาง)
  • คณะอนุกรรมการการศึกษาแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบความเสียหายเนื่องจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • คณะกรรมการอำนวยการในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติเรื่องโรคไข้เลือดออก
  • คณะกรรมการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
  • คณะกรรมการบริหารการศึกษาต่อเนื่อง แพทยสภา
  • คณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาบัณฑิตเพื่อพัฒนาอุดมศึกษาไทย ทบวงมหาวิทยาลัย
  • ประธานอนุกรรมการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรในประเทศไทย
  • คณะกรรมการบริหารแผนงานที่ใช้งบประมาณขององค์การอนามัยโลก (Executive Committee for RIG-WHO Collaborating Programme Budgeting System)
  • HIV-NAT International Advisory Board
  • คณะกรรมการตรวจสอบ องค์การเภสัชกรรม
  • อนุกรรมการพิจารณาสนับสนุนการเพิ่มพูนทักษะแพทย์ฯ
  • คณะกรรมการบริหารสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะกรรมการอำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะกรรมการอำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อนุกรรมการตรวจเยี่ยมและประเมินสถานฝึกปฏิบัติเพิ่มพูนทักษะ
  • รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2542)
  • หัวหน้าศูนย์วิทยาการวิจัยแพทยศาสตร์ (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2542)
  • ผู้อำนวยการร่วม ศูนย์ฝึกอบรมระบาดวิทยาคลินิกนานาชาติระดับปริญญาโท ภาคพื้นเอเซียอาคเนย์ ของเครือข่ายระบาดวิทยาคลินิกนานาชาติ (International Clinical Epidemiology Network : INCLEN)
  • ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์วิทยาการวิจัยแพทยศาสตร์
  • คณะกรรมการติดตาม กำกับ และประเมินผลงานตามนโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาการสาธารณสุขในช่วงแผนฯ 8 (2540-2544) (2540 ถึง 2544)
  • Independent Clinical Trial Monitor for Malaria Vaccine ขององค์การอนามัยโลก
  • ประธานคณะกรรมการบริหาร Clinical Research Management Co-ordinating Unit (CMU) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)
  • คณะทำงานเพื่อศึกษาการจัดทำแผนแม่บทแนวทางการทำ Clinical Research ในประเทศไทย
  • ประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบผู้มีความรู้ความชำนาญ สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (2540-2542)
  • ประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบผู้มีความรู้ความชำนาญ สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา
  • อนุกรรมการในคณะกรรมการและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ
  • อนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
  • คณะทำงานประสานแผนงานองค์การอนามัยโลก เพื่อการพัฒนาสาธารณสุข (Program Implementation Coordinating Team)
  • ที่ปรึกษาทางวิชาการ สถาบันนิติเวชวิทยา กรมตำรวจ
  • ที่ปรึกษาด้านวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลตำรวจ
  • อนุกรรมการโครงการพัฒนาโครงสร้างและแผนงาน ด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อความปลอดภัยของอาหารและสนับสนุนการส่งออก (2541 ถึง ปัจจุบัน)
  • ประธานกรรมการอำนวยการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
  • ประธานคณะกรรมการบริหารและวางนโยบายการฝึกอบรม Mini MBA in Health
  • คณะทำงานวิชาการวิเคราะห์และพยากรณ์แนวโน้มทางด้านสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการในคณะทำงานพัฒนาโครงการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • คณะกรรมการพิจารณาศาสตราภิชาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการศึกษาอนาคตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการเพื่อดำเนินการโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4]

เกียรติประวัติและผลงานดีเด่น

  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2545 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัล "ผู้บริหารโรงพยาบาลยอดเยี่ยม" ประจำปี 2547
  • The Roberta Labelle Award for Excellence for the Best Health Economies Research Project ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2535 ในผลงานวิจัยเรื่อง "Cost - effectiveness analysis of three short-course anti-tuberculosis programs, compared with standard regimen in Thailand"
  • The Franz Redeker Prize 1998 จากผลงานวิจัยเรื่อง "Economic impact of tuberculosis at the household level" โดยมีการประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลใน official ceremony via World conference of International Union Against TB & Luny Disease Global Congress on Lung Health เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2541
  • รางวัลชนะเลิศในการประกวด Poster Presentation จากมูลนิธิ Rockefeller ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ณ เมือง Bangalore ประเทศอินเดีย ในผลงานวิจัยเรื่อง

"Epidemiological Baseline Data of Malaria in 2 Endemic Areas of Thailand"

  • รางวัลชนะเลิศในการประกวด 'Poster Presentation' การประชุมวิชาการประจำปีของ คณะแพทยศาสตร์ ในผลงานวิจัยเรื่อง "The Cost-Effectiveness Analysis of Malaria Control for Migrant Workers in Eastern Thailand"
  • รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม เรื่อง "ปัญหาและการป้องกันไวรัสตับอักเสบในประเทศไทย" จากคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2537 โดยมี ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เป็นหัวหน้าทีมวิจัย
  • รางวัลชนะเลิศจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในผลงานวิจัยเรื่อง "Anemia during Pregnancy in Thailand, 1997 : Trend and Etiology"
  • รางวัลผลงานทางวิชาการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระดับดีเด่น จากกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ในผลงานวิจัยเรื่อง "The Validity and Efficiency of a New Screening Test for Detection the Infectious Tuberculosis Cases among Prisoners at Thonburi Remand Prison" xu 2542
  • รางวัลดีเด่นในการประกวด Poster Presentation การประชุมวิชาการประจำปีคณะแพทยศาสตร์ ในผลงานวิจัยเรื่อง "Unit Cost of the Out-Patient Department in Chulalongkorn Hospital"
  • ผลงานวิจัยเรื่อง "Cost-Effectiveness Analysis of Malaria Control for Migrant Workers in Eastern Thailand" ได้รับการยกย่องจาก Organizing Committee ให้เป็นตัวอย่างและได้รับเชิญให้นำเสนอใน Plenary Session ในการประชุม INCLEN ร่วมกับ International Epidemiological Association (IEA) และ Filed Epidemiology Training Programs (FETP) ระหว่างวันที่ 24-30 มกราคม ณ เมืองพัทยา
  • ผลงานวิจัย เรื่อง "Cost - Effectiveness Analysis of Anti-tuberculosis Programs in Thailand" ได้รับการยกย่องจาก Organizing Committee ให้เป็นผลงานวิจัยตัวอย่างและได้รับเชิญให้นำเสนอใน Plenary Session ในการประชุม INCLEN ร่วมกับ IEA,FETP,IDRC, USAID และ World Bank ระหว่างวันที่ 19-24 มกราคม พ.ศ. 2535 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
  • ได้รับแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลก ให้เป็น 'Independent Clinical Trial Monitor for the Phase IIb SPf66 Malaria Vaccine Field Trial' ซึ่งเป็นการวิจัยร่วมกับทวีปอเมริกาใต้และแอฟริกา
  • ได้รับการแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลก ให้เป็น 'Temporary Advisor to the Regional Director for the Intercountry Workshop on Planning and Implementation of Vector Control for Malaria in South-East Asia Region' ที่เมือง Bangalore ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 4-14 ธันวาคม พ.ศ. 2538
  • ได้รับเชิญจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น Short Term Consultant สำหรับโครงการวิจัยเกี่ยวกับการประยุกต์ Health Economics ในงานวิจัยมาลาเรีย ณ ประเทศ Myanmar
  • ศิษย์เก่าดีเด่นของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประจำปี พ.ศ. 2545
  • นิสิตเก่าวิทยาศาสตร์จุฬาฯ ดีเด่นปี พ.ศ. 2547

ประกาศเกียรติคุณ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2545

คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นว่า ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล แห่ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่บุกเบิกงานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และทำงานทางด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปี เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มุ่งเน้นในการทำวิจัยที่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ ได้นำความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขมาใช้ในการประเมินความคุ้มค่าของบริการอนามัยต่าง ๆ ซึ่งมีประโยชน์มาก เป็นผู้ที่ริเริ่มให้มีการจัดการเรียนการสอนในด้านการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม และอย่างเป็นระบบในประเทศไทย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล เป็นนักวิจัยที่มีคุณธรรมและจริยธรรมของนักวิจัย สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักวิจัยอื่น คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ จึงมีมติประกาศเกียรติคุณ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2545 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนที่สองหลังจากออกนอกระบบ

27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนใหม่ สืบแทน ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ ที่จะหมดวาระในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 ตามที่คณะกรรมการสรรหาผู้เหมาะสมเป็นอธิการบดีจุฬาฯ ซึ่งมี ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย เป็นประธานเสนอ โดยจะนำชื่อ ศ.นพ.ภิรมย์ ทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ ต่อไป ถือเป็นอธิการบดีจุฬาฯ คนที่สองภายหลังจากจุฬาฯ ออกนอกระบบ ต่อจาก ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์

ชีวิตส่วนตัว

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล สมรสกับ คุณหญิงสุธารา กมลรัตนกุล มีธิดา 3 คน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ratchakitcha.soc.go.th. 05 มีนาคม 2561. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/049/11.PDF (07 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
  3. http://cai.md.chula.ac.th/med23/md23news/pirom/outstanding%20researcher/biography/education.html
  4. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557

แหล่งข้อมูลอื่น


ก่อนหน้า ภิรมย์ กมลรัตนกุล ถัดไป
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์