ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตัวเลขไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7004142 สร้างโดย 113.53.186.116 (พูดคุย)
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
|align="center"| 1
|align="center"| 1
|align="center"| หนึ่ง
|align="center"| หนึ่ง
|align="center"| [[อ้าย]]
|align="center"|
|-
|-
|align="center"| ๒
|align="center"| ๒

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:01, 18 มิถุนายน 2561

ตัวเลขไทย เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลขอารบิก เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่ใช้ระบบจำนวนนับเป็นเลขฐานสิบ และมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน จากอดีตสู่ปัจจุบันน้อยมาก

ไฟล์:๐๑๒๓๔๕๖๗๘๙.GIF
ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ตัวเลขไทยมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐานน้อยมาก

เลขพื้นฐาน

ศูนย์ถึงสิบ

เลขไทย เลขอารบิก ค่าของตัวเลข และค่าแสดงลำดับปัจจุบัน ค่าแสดงลำดับในอดีต
0 ศูนย์
1 หนึ่ง
2 สอง ยี่
3 สาม สาม
4 สี่ ไส
5 ห้า งั่ว
6 หก ลก
7 เจ็ด เจ็ด
8 แปด แปด
9 เก้า เจา
๑๐ 10 สิบ จ๋ง

สิบถึงหนึ่งล้าน

เลขไทย เลขอารบิก ค่าของตัวเลข
๑๐ 10 สิบ
๑๑ 11 สิบเอ็ด
๒๐ 20 ยี่สิบ
๑๐๐ 100 (หนึ่ง)ร้อย
๑,๐๐๐ 1,000 (หนึ่ง)พัน
๑๐,๐๐๐ 10,000 (หนึ่ง)หมื่น
๑๐๐,๐๐๐ 100,000 (หนึ่ง)แสน
๑,๐๐๐,๐๐๐ 1,000,000 (หนึ่ง)ล้าน

เลข ๑๓๒ อ่านว่า หนึ่งร้อยสามสิบสอง คำว่า ร้อย, พัน ฯลฯ ซึ่งเป็นค่าประจำหลัก จะต้องอ่านออกเสียงหลังเลขในหลักนั้นๆ และในหลักภาษา จะต้องอ่านออกเสียง ๑๐๐ ว่า หนึ่งร้อย ไม่ใช่ ร้อย[ต้องการอ้างอิง] ในภาษาพูดทั่วไป คำว่า หนึ่ง มีออกเสียงเพี้ยนเป็น นึง ซึ่งทำให้ความหมายของ 100 (ร้อยนึง) กับ 101 (ร้อยหนึ่ง : ตามหลักภาษา อ่านว่า หนึ่งร้อยเอ็ด) แตกต่างกัน[ต้องการอ้างอิง]

สูงกว่าหนึ่งล้าน

ตัวเลขที่สูงกว่าหนึ่งล้าน สามารถใช้คำว่า ล้าน เป็นตัวคูณ เช่น 10,000,000 อ่านว่า สิบล้าน มาจากเอา "สิบ" คูณ "ล้าน"

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น