ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โซดาไฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:

{{ggggggggggg
| Name = Sodium hydroxide
| ImageFile = SodiumHydroxide.jpg
| ImageFile1 = Sodium-hydroxide-crystal-3D-vdW.png
| IUPACName = Sodium hydroxide
| OtherNames = Caustic soda<br />Lye
| Section1 = {{Chembox Identifiers
| CASNo = 1310-73-2
| CASNo_Ref = {{cascite}}
| ChemSpiderID = 14114
| EINECS = 215-185-5
| UNNumber = 1823
| RTECS = WB4900000
}}
| Section2 = {{Chembox Properties
| Formula = NaOH
| MolarMass = 39.997 g/mol
| Appearance = White solid
| Density = 2.1 g/cm<sup>3</sup>
| Solubility = 111 g/100 ml (20&nbsp;°C)
| MeltingPt = 318&nbsp;°C (591 K)
| BoilingPt = 1390&nbsp;°C (1663 K)
}}
| Section7 = {{Chembox Hazards
| ExternalMSDS = [http://www.jtbaker.com/msds/englishhtml/s4034.htm External MSDS]
| EUIndex = 011-002-00-6
| EUClass = Corrosive ('''C''')
| RPhrases = {{R35}}
| SPhrases = {{S1/2}}, {{S26}}, {{S37/39}}, {{S45}}
| NFPA-H = 3
| NFPA-F = 0
| NFPA-R = 1
| FlashPt = Non-flammable
}}
| Section8 = {{Chembox Related
| OtherAnions = [[Sodium hydrosulfide]]<br />[[Sodium amide]]
| OtherCations = [[Lithium hydroxide]]<br />[[Potassium hydroxide]]<br />[[Rubidium hydroxide]]<br />[[Caesium hydroxide]]
| OtherCpds = [[Sodium oxide]]
}}
}}


'''โซดาไฟ''' หรือคอสติกโซดา ({{lang-en|caustic soda}}) ''[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]]'' นิยามว่า คือ "สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก ละลายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสบู่ เส้นใยเรยอน"
'''โซดาไฟ''' หรือคอสติกโซดา ({{lang-en|caustic soda}}) ''[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]]'' นิยามว่า คือ "สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก ละลายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสบู่ เส้นใยเรยอน"

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:51, 13 มิถุนายน 2561


โซดาไฟ หรือคอสติกโซดา (อังกฤษ: caustic soda) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า คือ "สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก ละลายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสบู่ เส้นใยเรยอน"

โซดาไฟถูกใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ

การใช้สารเคมีแก้ปัญหาท่ออุดตัน

เวลาที่ท่อระบายน้ำทิ้งต่าง ๆ อุดตัน ส่วนใหญ่จะนึกถึง โซดาไฟ หรือ คอสติกโซดา (Caustic soda) หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (sodium hydroxide) บางครั้งรู้จักกันในชื่อ สารเคมีผงมัน หรือ โซดาแผดเผา สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป หรือร้านขายอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน คุณลักษณะสารเคมีเป็นของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น มีฤทธิ์เป็นด่าง ยิ่งเข้มข้นมากยิ่งมีฤทธิ์มาก ร้อน และสามารถกัดผิวหนังให้เปื่อยยุ่ยได้ในระยะเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที ผู้คนส่วนมากอาจจะไม่รู้ถึงคุณลักษณะของสารเคมี และการทำปฏิกิริยาทางเคมีดีพอ เมื่อนำไปใช้งานจริงทำให้เกิดปัญหาติดตามมาอย่างคาดไม่ถึง เช่น เวลาที่ท่ออุดตัน ก็จะไปซื้อโซดาไฟ มาเทใส่ลงไปในท่อที่อุดตัน (วิธีใช้งาน ควรใส่โซดาไฟในภาชนะที่มีน้ำอยู่ก่อน แล้วคนให้ละลายให้หมดก่อนที่จะนำไปเทใส่ท่อระบายน้ำ เพื่อกันไม่ให้โซดาไฟไปเกาะผนังท่อเพิ่มการอุดตันอีก) การแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ สามารถใช้ได้กับการอุดตันบางประเภทเท่านั้นเอง เช่น การอุดตันที่เกิดจากคราบไขมัน คราบสบู่ คราบผงซักฟอก **คำเตือน การเทน้ำลงบนโซดาไฟจะทำให้เกิดปฏิกิริยาปล่อยความร้อนอย่างรุนแรง**

ข้อควรระวังเมื่อใช้โซดาไฟ

โซดาไฟ สามารถทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้อย่างเฉียบพลัน ถ้าสุดดมฝุ่นควันของสารจะทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอดได้ หากเข้าตาจะมีฤทธิ์ทำลาย ตั้งแต่ระคายเคือง หรือรุนแรงกระทั่งทำให้ตาบอดได้ หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการไหม้จนเป็นแผลลึก หากรับประทานเข้าไปจะเกิดการไหม้ในปาก ลำคอ และทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เคยได้รับสารเข้าไปทางปาก อาจมีการพัฒนากลายเป็นมะเร็งในภายหลัง 12-42 ปี หลังจากกินเข้าไป

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ถ้าหายใจเข้าไปให้รีบย้ายผู้ป่วยออกมา ให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์แล้วรีบนำส่งแพทย์ หากเข้าตารีบล้างตาด้วยน้ำอุ่นทันที โดยค่อย ๆ ให้น้ำไหลผ่านตา 30 นาที เปิดเปลือกตาไว้ พยายามอย่าให้น้ำล้างตาไหลข้างที่มีสารเคมีไหลเข้าตาข้างที่ไม่เป็นอะไรโดยเด็ดขาด เมื่อถูกผิวหนังให้รีบล้างออก โดยให้น้ำไหลผ่านบริเวณที่ถูกสารอย่างน้อย 30 นาที พร้อมกับถอดชุด - อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เปื้อนสารออกแล้วรีบนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด

โซดาไฟกับปฏิกิริยาต่อเนื่อง

แม้ว่าโซดาไฟเป็นสารไม่ติดไฟ แต่ถ้าสัมผัสกับสารบางชนิด เช่น กรดเข้มข้น หรือทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกันจนเกิดความร้อนพอเพียง และทำให้สารที่วางอยู่ใกล้สามารถติดไฟได้ การดับเพลิงจึงต้องดูสารที่เป็นคู่ปฏิกิริยาทางเคมี และรวมถึงการเลือกใช้เครื่องดับเพลิงให้ถูกต้องกับเหตุการณ์ด้วย