ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันงดสูบบุหรี่โลก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Bluete in Aschenbecher.jpg|thumb|ดอกไม้สดในที่เขี่ยบุหรี่ เป็นสัญลักษณ์สามัญของวันงดสูบบุหรี่โลก]]

'''วันงดสูบบุหรี่โลก''' ({{Lang-en|World No Tobacco Day}}) ตรงกับวันที่ [[31 พฤษภาคม]] ของทุกปี เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม [[ค.ศ. 1988]] โดย[[องค์การอนามัยโลก]] เพื่อให้เห็นอันตรายของ[[บุหรี่]]ต่อสุขภาพและโทษของบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลกhello
'''วันงดสูบบุหรี่โลก''' ({{Lang-en|World No Tobacco Day}}) ตรงกับวันที่ [[31 พฤษภาคม]] ของทุกปี เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม [[ค.ศ. 1988]] โดย[[องค์การอนามัยโลก]] เพื่อให้เห็นอันตรายของ[[บุหรี่]]ต่อสุขภาพและโทษของบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลกhello

'''โทษของบุหรี่'''

การสูบบุหรี่นั้นถือเป็นการทำลายสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเองและผู้อยู่ใกล้ชิดที่สูดเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีสารก่อมะเร็ง ไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารอันตรายที่สำคัญ เช่น

* '''คาร์บอนมอนอกไซด์''' ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ หากได้รับจะเกิดการขาดออกซิเจน ทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
* '''นิโคติน''' เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดลงได้)
* '''ทาร์''' หรือน้ำมันดินเป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ และเป็นสารก่อมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด, กล่องเสียง, หลอดลม. หลอดอาหาร, ไต, กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ร้อยละ 50 ของน้ำมันดินจะไปจับที่ปอด เกิดระคายเคือง ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ
* '''ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นต้อกระจก''' เนื่องจากสารพิษในบุหรี่จะเข้าสู่เลนส์ตา ทำให้ตาขุ่นมัว ยิ่งสูบมากก็ยิ่งมีโอกาสมาก
* '''เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด''' บุหรี่ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว เกิดการตีบตัน หากมีการออกกำลังกายหนักๆ อาจมีโอกาสเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
* '''โรคปอด''' โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสูบบุหรี่ โดยจากข้อมูลพบว่าเพียงแค่สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง สามารถมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า!

== สัญลักษณ์ของวันงดสูบบุหรี่โลก ==
'''ดอกลีลาวดี''' (ดอกลั่นทม) เป็นสัญลักษณ์ของ '''"วันงดสูบบุหรี่โลก"''' หมายถึง การขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัวเรา

'''ดอกลีลาวดี''' เป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึง การมีแต่ความสุข ชื่อเดิมนั้น คือ ดอกลั่นทม ซึ่งเมื่อก่อนทุกคนจะเข้าใจว่า เป็นดอกไม้อัปมงคล ไม่นิยมปลูกในบ้าน ปลูกแล้วมีแต่ความทุกข์ระทม แต่ถ้าศึกษาด้านภาษาจริงๆ คำว่า ลั่นทม เป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม

* ลั่น = ละทิ้ง เลิก
* ทม = ความระทม

รวมความของดอกไม้ประจำวันงดสูบบุหรี่ได้ว่า ละทิ้งความระทม ความเศร้าหมองต่างๆ นั่นก็คือให้มีความสุข สดใส และพอใกล้จะถึงวัน ที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี จะมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้สูบบุหรี่ที่พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ, หน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่ง, ร้านอาหารต่างๆ, ตลอดจนหน่วยงานทีมีความสนใจ ได้ร่วมกันรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ บางหน่วยงานจะมีการจัดขบวนมอบของกระตุ้นกำลังใจเพื่อวันที่ไร้บุหรี่ จัดเพื่อสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะเลิกบุหรี่อย่างแท้จริง

รัฐบาลไทยก็ได้ตระหนักถึงความสูญเสีย ทางด้านชีวิตของประชากรที่เกิดจากการสูบบุหรี่ จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ ไม่เพียงแต่วันวันงดสูบบุหรี่โลกเท่านั้น แต่รัฐบาลยังออกกำหนดมาตรการต่างๆ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะพยายามให้เกิดการเลิกสูบบุหรี่ ดังเช่นที่กระทรวงได้ประกาศบังคับใช้มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์คำเตือน และโทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 มีนาคม พ.ศ.2548 เป็นต้นมา อีกทั้งยังมีกฏหมายที่ใช้คุ้มครองสุขภาพประชาชนทั้งผู้ที่สูบและผู้ที่ไม่สูบ เช่นการจัดตั้งพื้นที่เฉพาะสำหรับสูบบุหรี่ และการเพิ่มข้อห้ามการสูบบุหรี่ในพื้นที่ต่างๆ เป็นต้น


== คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก ==
== คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:16, 3 มิถุนายน 2561

วันงดสูบบุหรี่โลก (อังกฤษ: World No Tobacco Day) ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 โดยองค์การอนามัยโลก เพื่อให้เห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพและโทษของบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลกhello

โทษของบุหรี่

การสูบบุหรี่นั้นถือเป็นการทำลายสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเองและผู้อยู่ใกล้ชิดที่สูดเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีสารก่อมะเร็ง ไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารอันตรายที่สำคัญ เช่น

  • คาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ หากได้รับจะเกิดการขาดออกซิเจน ทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
  • นิโคติน เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดลงได้)
  • ทาร์ หรือน้ำมันดินเป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ และเป็นสารก่อมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด, กล่องเสียง, หลอดลม. หลอดอาหาร, ไต, กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ร้อยละ 50 ของน้ำมันดินจะไปจับที่ปอด เกิดระคายเคือง ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ
  • ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นต้อกระจก เนื่องจากสารพิษในบุหรี่จะเข้าสู่เลนส์ตา ทำให้ตาขุ่นมัว ยิ่งสูบมากก็ยิ่งมีโอกาสมาก
  • เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด บุหรี่ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว เกิดการตีบตัน หากมีการออกกำลังกายหนักๆ อาจมีโอกาสเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
  • โรคปอด โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสูบบุหรี่ โดยจากข้อมูลพบว่าเพียงแค่สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง สามารถมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า!

สัญลักษณ์ของวันงดสูบบุหรี่โลก

ดอกลีลาวดี (ดอกลั่นทม) เป็นสัญลักษณ์ของ "วันงดสูบบุหรี่โลก" หมายถึง การขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัวเรา

ดอกลีลาวดี เป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึง การมีแต่ความสุข ชื่อเดิมนั้น คือ ดอกลั่นทม ซึ่งเมื่อก่อนทุกคนจะเข้าใจว่า เป็นดอกไม้อัปมงคล ไม่นิยมปลูกในบ้าน ปลูกแล้วมีแต่ความทุกข์ระทม แต่ถ้าศึกษาด้านภาษาจริงๆ คำว่า ลั่นทม เป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม

  • ลั่น = ละทิ้ง เลิก
  • ทม = ความระทม

รวมความของดอกไม้ประจำวันงดสูบบุหรี่ได้ว่า ละทิ้งความระทม ความเศร้าหมองต่างๆ นั่นก็คือให้มีความสุข สดใส และพอใกล้จะถึงวัน ที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี จะมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้สูบบุหรี่ที่พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ, หน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่ง, ร้านอาหารต่างๆ, ตลอดจนหน่วยงานทีมีความสนใจ ได้ร่วมกันรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ บางหน่วยงานจะมีการจัดขบวนมอบของกระตุ้นกำลังใจเพื่อวันที่ไร้บุหรี่ จัดเพื่อสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะเลิกบุหรี่อย่างแท้จริง

รัฐบาลไทยก็ได้ตระหนักถึงความสูญเสีย ทางด้านชีวิตของประชากรที่เกิดจากการสูบบุหรี่ จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ ไม่เพียงแต่วันวันงดสูบบุหรี่โลกเท่านั้น แต่รัฐบาลยังออกกำหนดมาตรการต่างๆ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะพยายามให้เกิดการเลิกสูบบุหรี่ ดังเช่นที่กระทรวงได้ประกาศบังคับใช้มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์คำเตือน และโทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 มีนาคม พ.ศ.2548 เป็นต้นมา อีกทั้งยังมีกฏหมายที่ใช้คุ้มครองสุขภาพประชาชนทั้งผู้ที่สูบและผู้ที่ไม่สูบ เช่นการจัดตั้งพื้นที่เฉพาะสำหรับสูบบุหรี่ และการเพิ่มข้อห้ามการสูบบุหรี่ในพื้นที่ต่างๆ เป็นต้น

คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก

ปี คำขวัญภาษาอังกฤษ คำขวัญภาษาไทย
2531 (1988) Between tobacco and the health , choose health " บุหรี่หรือสุขภาพ ต้องเลือกสุขภาพ
2532 (1989) Women and Tobacco: Added risk. พิษของบุหรี่ต่อสตรี ยิ่งมีมากกว่าบุรุษ
2533 (1990) Growing up without tobacco. เติบโตอย่างสดใส ห่างไกลจากภัยบุหรี่
2534 (1991) Public places and transport: Better be tobacco free. สถานที่สาธารณะและยวดยานปลอดบุหรี่
2535 (1992) Tobacco free work places: Safer and healthier. ที่ทำงานปลอดบุหรี่ สุขภาพดี ชีวีปลอดภัย
2536 (1993) Health services, our window to a tobacco – free world. บุคลากรสาธารณสุขร่วมสร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่
2537 (1994) The media against tobacco. ทุกสื่อร่วมใจต้านภัยบุหรี่
2538 (1995) Tobacco costs more than you think. บุหรี่ก่อความสูญเสียมากกว่าที่คุณคิด
2539 (1996) Sport and the arts: play it tobacco free. ศิลปะและกีฬาไม่พึ่งพาบุหรี่
2540 (1997) United for a Tobacco – free world. ผนึกกำลังเพื่อสังคมปลอดบุหรี่
2541 (1998) Growing up without tobacco. คนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่
2542 (1999) Leave the pack behind. อนาคตมีคุณค่า เมื่อบอกลา...เลิกบุหรี่
2543 (2000) Tobacco kills don’t be Duped. บุหรี่คร่าชีวิต อย่าหลงผิดตกเป็นเหยื่อ
2544 (2001) Second-Hand Smoke: Let’s Clear the Air. เห็นใจคนรอบข้าง ร่วมสร้างอากาศสดใส ปลอดจากภัยควันบุหรี่
2545 (2002) Tobacco Free Sports – Play it clean. กีฬาปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อสุขภาพ
2546 (2003) Tobacco free films tobacco free fashion ภาพยนตร์ปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อเยาวชน
2547 (2004) Tobacco and Poverty (A Vicious Circle) หรือ “บุหรี่ : ยิ่งสูบ...ยิ่งจน” ครอบครัวปลอดบุหรี่ จะมั่งมีและแข็งแรง
2548 (2005) Health Professionals and Tobacco Control ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่
2549 (2006) Tobacco: Deadly in any form or disguise บุหรี่ทุกชนิดนำชีวิตสู่ความตาย
2550 (2007) 100 % SMOKE-FREE ENVIRONMENTS :CREATE AND ENJOY ไร้ควันบุหรี่ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีสดใส
2551 (2008) Tobacco - free Youth เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่
2552 (2009) Tobacco Health Warnings เตือน! ควันบุหรี่ฆ่าคุณ
2553 (2010) Genderand Tobacco Withan Emphasis on Marketing to women หญิงไทยฉลาด ไม่เป็นทาสตลาดบุหรี่
2554 (2011) The WHO Framework Convention on Tobacco Control พิทักษ์สิทธิตามกฎหมาย มุ่งสู่สังคมไทยปลอดบุหรี่
2555 (2012) Tobacco Industry Interference จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบ
2556 (2013) Ban tobacco advertising, promotion and sponsorship ไม่ใช้ ไม่รับ ไม่สนับสนุนโฆษณายาสูบร้าย ทำลายชีวิต
2557 (2014) Raise taxes on tobacco บุหรี่ ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด
2560 (2017)

บุหรี่ภัยคุกคามต่อการพัฒนา

2561 (2018) Tobacco break heart บุหรี่ตัวร้ายทำลายหัวใจ