ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พงศ์ประยูร ราชอาภัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 78: บรรทัด 78:
* 2560 ''[[มัสยา]]'' ช่อง 7 (รับเชิญ)
* 2560 ''[[มัสยา]]'' ช่อง 7 (รับเชิญ)
* 2561 ''พันธกานต์รัก'' ช่อง 7
* 2561 ''พันธกานต์รัก'' ช่อง 7
* 2561 ''[[เพชรร้อยรัก]]'' ช่อง 7
* 2561 ''[[เพชรร้อยรัก]]'' ช่อง 7 (รับเชิญ)
* 2561 ''[[สายโลหิต]]'' ช่อง 7
* 2561 ''[[สายโลหิต]]'' ช่อง 7



รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:21, 2 มิถุนายน 2561

พงศ์ประยูร ราชอาภัย
ไฟล์:พงศ์ประยูร ราชอาภัย.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 เมษายน พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสสาลิกา ราชอาภัย
ชื่อเล่นพงศ์

พงศ์ประยูร ราชอาภัย ชื่อเล่น พงศ์ เป็นนักแสดงชาวไทย ที่มีผลงานแสดงละครโทรทัศน์สังกัดช่อง 7 และเป็นอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

พงศ์ประยูร ราชอาภัย เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2496 ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกษตรศาสตรบัณฑิต จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2519

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางสาลิกา ราชอาภัย มีบุตรชายคนหนึ่งเป็นนักกีฬาลีลาศทีมชาติไทย คือ ปวัตน์พงศ์ ราชอาภัย[1]

การทำงาน

พงศ์ประยูร ราชอาภัย เคยทำงานเป็นผู้จัดการบริษัทประกันชีวิต[2] และเป็นนักแสดงละครโทรทัศน์ มีผลงานการแสดงหลายเรื่อง อาทิ

ภาพยนตร์

ละคร

งานการเมือง

พงศ์ประยูร ราชอาภัย เคยลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544 เขต 5 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพื้นที่บ้านเกิดของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[3] ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้นพงษ์ประยูร ได้รับคะแนนถึง 26,911 คะแนน เป็นลำดับที่ 2 มากกว่าเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าของพื้นที่เดิม[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[5]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พงศ์ประยูร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม โดยการสนับสนุนของเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6] หลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกเลย แต่ยังมีส่วนสนับสนุนในการช่วยนางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ หาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2555 ในนามพรรคประชาธิปัตย์

อ้างอิง