ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนไชยปราการ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
|native_name =
|native_name =
|en_name = Chaiprakarn School
|en_name = Chaiprakarn School
|image =
|image = [[ไฟล์:ตราโรงเรียนไชยปราการ.jpg
|100 × 148 (9 KB)]]
|address = 99 หมู่ 2 ถนนโชตนา ตำบลหนองบัว [[อำเภอไชยปราการ]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] 50320
|address = 99 หมู่ 2 ถนนโชตนา ตำบลหนองบัว [[อำเภอไชยปราการ]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] 50320
|abbr = ช.ป. <br> C.P.K.
|abbr = ช.ป. <br> C.P.K.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:49, 24 พฤษภาคม 2561

โรงเรียนไชยปราการ
Chaiprakarn School
ที่ตั้ง
99 หมู่ 2 ถนนโชตนา ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 50320
ข้อมูล
ชื่ออื่นช.ป.
C.P.K.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
คำขวัญปัญญาดี กีฬาเยี่ยม เปี่ยมมารยาท สะอาดเป็นนิจ มีจิตอาสา
สถาปนา16 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
ผู้ก่อตั้งกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส50032008
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1 - ม.6
สี███ ███ สีฟ้า - สีขาว
เพลงมาร์ชฟ้า-ขาว ไชยปราการรำลึก
เว็บไซต์http://www.chaiprakarn.ac.th/index.html

โรงเรียนไชยปราการ (อังกฤษ: Chaiprakarn School; ชื่อย่อ: ช.ป. - CPK) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางนอกเขตตัวเมืองเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนประจำอำเภอไชยปราการ[1] เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6[2] และได้รับเลือกเป็นโรงเรียนส่งเสริมศักยภาพเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อความเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ

โรงเรียนไชยปราการ ตั้งอยู่ที่ 99 หมู่ที่ 2 ถนนสายเชียงใหม่ – ฝาง ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2503 ณ บริเวณป่าช้าเก่า ซึ่งประชาชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอฝาง ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอฝาง และคณะสงฆ์ในตำบลปงตำ (เดิม) ได้ร่วมมือกันตัดโค่นต้นไม้ปรับสนามจนเรียบใช้การได้ พร้อมกันนั้น นายโท ลีฬหาชีวะ ได้มอบที่ดินของตนสมทบอีก 3 ไร่ 2 งาน รวมเป็นเนื้อที่ 13 ไร่ 1 งาน 28 ตารางวา ขณะก่อตั้งเริ่มแรกได้ไปอาศัยเรียนที่ศาลาวักสุกาวาส (วัดแม่ขิ) เปิดสอนระดับ ม.1 – ม.3 (เทียบ ป.58 – ป.7) เดิมชื่อว่า “โรงเรียนมัธยมแม่ขิ”

  • ปี พ.ศ. 2504 สร้างอาคารเรียนหลังหนึ่ง โดยเงินของนายน้อย – นางกิมเหรียญ สุวรรณ มอบให้นายโท ลีฬหาชีวะ (บุตร) สมทบกับเงินบริจาคของนายอุดม ลีฬหาชีวะ ปลูกสร้างอาคารเรียนชั้นเดียวแบบ ป.6 ก จำนวน 7 ห้อง ชื่อว่า “อาคารกิมเหรียญอนุสรณ์” สร้างเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2504 เปิดป้ายอาคารเรียน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 250 ต่อมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2523 อาคารนี้ถูกพายุพัดพังเสียหายไม่สามารถซ่อมแซมได้ จึงขออนุญาตรื้อถอน
  • ปี พ.ศ. 2505 เปลี่ยนการสอนจาก ม.1 – ม.3 เป็นประถมปลาย (ป.5 – ป.7) จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “แม่ขิประถมตอนปลาย”
  • ปี พ.ศ. 2508 เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียน “แม่ขิประถมปลาย” เป็น “โรงเรียนไชยปราการ” ทั้งนี้เนื่อจากชื่อเดิมไปพ้องกับชื่อโรงเรียนบ้านแม่(ประถมต้น)(ตามหนังสือราชการของจังหวัดที่ ช.ม. 59/1148 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2508)
  • ปี พ.ศ. 2517ได้ริเริ่มหาทุนซื้อที่ดินสมทบ โดยความร่วมมือของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน พ่อค้าคหบดีในตำบลปงตำและศรีดงเย็น (เดิมมีตำบลปงตำต่อมาแยกเป็นตำบลศรีดงเย็นอีกตำบลหนึ่ง) ตลอดจนผู้ปกครองนักเรียนและการสวมทบของหลวงพ่อบุญเย็น ฐานธฺมโม ซื้ที่ดินของนายนวล สุตัน จำนวน 13 ไร่ 3 ตารางวา ซึ่งเป็ฯที่ดินที่ติดกับโรงเรียนไชยปราการทางทอศตะวันตก รวมเป็นที่ดิน ทั้งสิ้น 30 ไร่ 3 งาน 67.42 ตารางวา การตจัดหาที่ดินสมทบในครั้งนี้ สิ้นสุดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2522
  • ปี พ.ศ. 2518 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.1 – ม.ศ.3) โอนวังกัดจากกองการประถมศึกษาเข้าสังกัดกองการมัธยมศึกษา (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 16 เมษายน 2518)
  • ปี พ.ศ. 2532 เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4-6) ตามคำสั่งกรมสามัญศึกษา ที่ 1152/2532 สั่ง ณ วันที่ 20 เมษายน 2532
  • ปี พ.ศ. 2532-2533 เข้าโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (มพชส)
  • ปี พ.ศ. 2534 สร้างอาคารหอประชุม โรงอาหารแบบ 100/27 จำนวน 1 หลัง ชื่อ “อาคารพรหมประดิษฐ์”
  • ปี พ.ศ. 2535 โรงเรียนได้เข้าอยู่ในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาและก่อสร้างอาคารเรียนแบบถาวรแบบ 216 ล(ปรับปรุง) 1 หลังชื่อ “อาคารพรหมคุณ” และสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 4 ? 347 ตารางเมตร
  • ปี พ.ศ. 2547 เป็นโรงเรียนในฝัน
  • ปี พ.ศ. 2548 ได้ดำเนินการซื้อที่ดินทางด้านทิศเหนือของโรงเรียนไชยปราการ จำนวนเนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 49 ตารางวา

ข้อมูลทั่วไป

สีประจำโรงเรียน

: ฟ้า ขาว

ดอกไม้ประจำโรงเรียน

: ดอกทองกวาว

คติพจน์

: ปัญญา นรานํ รตนํ  ปัญญาเป็นแก้ววิเศษของคน

ปรัชญาโรงเรียน

: ปัญญาดี กีฬาเยี่ยม เปี่ยมมารยาท สะอาดเป็นนิจ มีจิตอาสา

เอกลักษณ์โรงเรียน

: ดำรงตนบนวิถีพอเพียง

อัตลักษณ์โรงเรียน

: สืบสานวัฒนธรรมตามวิถีพอเพียง

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 นายบุญทา สุภา พ.ศ. 2504-2513
2 นายเกรียงศักดิ์ ศรีสังวาลย์ พ.ศ. 2515-2517
3 นายทองทัต ลัดดาพันธุ์ พ.ศ. 2518-2520
4 ว่าที่ร.ต.มงคล ชัยมงคล พ.ศ. 2521-2525
5 นายวิชัย วาสิการ พ.ศ. 2526-2540
6 นายประมวล พุทธานนท์ พ.ศ. 2540-2544
7 นายบุญส่ง สมมิตร พ.ศ. 2544-2550
8 นางนิตยา บุญเป็ง พ.ศ. 2550-2554
9 นายไพโรจน์ ศิริ พ.ศ. 2554-2556
10 นายนิรันดร หมื่นสุข พ.ศ. 2557-2558
11 นางสุริยา ชุ่มมะโน พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน

ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง โรงเรียนไชยปราการ

อาคารเรียน

216 ค..216 ล.ป,29 ,216 ก,,216 ปรัปปรุง 46,216 ปีที่สร้าง 2524

อาคารเรียน

216 ค..216 ล.ป,29 ,216 ก,,216 ปรัปปรุง 46,216 ปีที่สร้าง 2535

อาคารเรียน

CS213B ปีที่สร้าง 2527

อาคารอเนกประสงค์

อาคารหอประชุม 100/27 ปีที่สร้าง 2534

อาคารอเนกประสงค์

002/44,002/12,002,004,มพช,00/12,อาหาร,ป.,ป+อ, ปีที่สร้าง 2527

อาคารอเนกประสงค์

002/44,002/12,002,004,มพช,00/12,อาหาร,ป.,ป+อ, ปีที่สร้าง 2527

อาคารอเนกประสงค์

โรงฝึกงานแบบ ศก.23 ปีที่สร้าง 2527

อาคารอเนกประสงค์

โรงฝึกงานแบบ ศก.23 ปีที่สร้าง 2527

อาคารอเนกประสงค์

โรงอาหาร(300ที่นั่ง) ปีที่สร้าง 2509

บ้านพักครู

บ้านพักครู 203/27 ปีที่สร้าง 2531

บ้านพักครู

บ้านพักครู 203/27 ปีที่สร้าง 2534

บ้านพักครู

อื่น อื่น(สร้างเอง) ปีที่สร้าง 2519

บ้านพักครู

พิเศษ ปีที่สร้าง 2525

บ้านพักครู

อื่น อื่น(สร้างเอง) ปีที่สร้าง 2527

บ้านพักภารโรง

บ้านพักภารโรง/32 ปีที่สร้าง 2535

ส้วม

ปีที่สร้าง 2552

ส้วม

ปีที่สร้าง 2534

ส้วม

ปีที่สร้าง 2537

ส้วม

ปีที่สร้าง 2538

ส้วม

ส้วมนักเรียนชาย 6 ที่/49 ปีที่สร้าง 2558

ส้วม

ปีที่สร้าง 2543

สนามกีฬา

สนามวอลเลย์บอล ปีที่สร้าง 2529

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น