ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท"

พิกัด: 13°45′00″N 100°29′26″E / 13.750125°N 100.490549°E / 13.750125; 100.490549
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pond1991 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
}}
}}


'''พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท''' เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระมหาปราสาท ใน [[พระบรมมหาราชวัง]] ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลาง ทางทิศตะวันตกของ[[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] มีพระที่นั่งพิมานรัตยา พระปรัศว์ซ้าย พระปรัศว์ขวา และ เรือนบริวาร หรือ เรือนจันทร์ ต่อเนื่องทางด้านหลังใน[[เขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง)|เขตพระราชฐานชั้นใน]] พระที่นั่งองค์นี้ได้รับยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเอกของ[[กรุงรัตนโกสินทร์]] และเป็นพระที่นั่งทรงไทยแท้องค์เดียว ในพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะเรือนยอดพระมหาปราสาท ([[กุฎาคาร]]) มีรูปทรงต้องด้วยศิลปะลักษณะอันวิจิตรงดงาม
'''พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท''' เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระมหาปราสาท ใน [[พระบรมมหาราชวัง]] ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลาง ทางทิศตะวันตกของ[[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] มีพระที่นั่งพิมานรัตยา พระปรัศว์ซ้าย พระปรัศว์ขวา และ เรือนบริวาร หรือ เรือนจันทร์ ต่อเนื่องทางด้านหลังใน[[เขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง)|เขตพระราชฐานชั้นใน]] พระที่นั่งองค์นี้ได้รับยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเอกของ[[กรุงรัตนโกสินทร์]] และเป็นพระที่นั่งทรงไทยแท้องค์เดียว ในพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะเรือนยอดพระมหาปราสาท ([[กุฎาคาร]]) มีรูปทรงต้องด้วยศิลปะลักษณะอันวิจิตรงดงาม


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:34, 19 พฤษภาคม 2561

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
Phra Thinang Dusit Maha Prasat
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระที่นั่งภายในพระบรมมหาราชวัง
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมไทย
เมืองเขตพระนคร, กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2332
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระมหาปราสาท ใน พระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลาง ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีพระที่นั่งพิมานรัตยา พระปรัศว์ซ้าย พระปรัศว์ขวา และ เรือนบริวาร หรือ เรือนจันทร์ ต่อเนื่องทางด้านหลังในเขตพระราชฐานชั้นใน พระที่นั่งองค์นี้ได้รับยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเอกของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นพระที่นั่งทรงไทยแท้องค์เดียว ในพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะเรือนยอดพระมหาปราสาท (กุฎาคาร) มีรูปทรงต้องด้วยศิลปะลักษณะอันวิจิตรงดงาม

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2332 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้น บนพื้นที่ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ซึ่งถูกฟ้าผ่าไหม้จนหมด จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมหาปราสาทขึ้นใหม่บนพื้นที่เดิม นามว่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

สถาปัตยกรรม

พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ตั้งอยู่ภายในส่วนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างจำลองไว้ที่พระราชวังบางปะอิน มีชื่อว่า พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นพระที่นั่ง1ชั้นสถาปัตยกรรมทรงปราสาทแบบจตุรมุขด้านเหนือมีมุขเด็ดยื่นออกมาเป็นพระที่นั่งก่ออิฐถือปูนฐานสูง2.85เมตรชั้นล่างเป็นเชิงฐานถัดไปเป็นฐานสิงห์และฐานเชิงบาตรสองชั้นหลังคาเป็นยอดทรงปราสาทประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้งคันทวยมีลักษณะเป็นพญานาค3หัวหน้าบันจำหลักรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณล้อมรอบด้วยลายกนกเทพพนมมุมยอดปราสาททั้ง4มุมเป็นรูปลายพญาครุฑหน้าบันจำหลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑไขรารอบปราสาทเป็นรูปครุฑหยุดนาครองรับ

พระแท่นที่ประดิษฐานอยู่ภายใน

ภายในพระที่นั่งประดิษฐานพระแท่นต่าง ๆ ดังนี้

  • พระที่นั่งบุษบกมาลา เป็นพระแท่นสำหรับประดิษฐานพระสยามเทวาธิราชเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จออกมหาสมาคมเนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี
  • พระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก เป็นพระแท่นประดับมุก กางกั้นด้วยนพปฎลมหาเศวตฉัตร ใช้เป็นที่ประทับในการพระราชพิธีใหญ่ๆ ส่วนถ้าเป็นงานอื่นๆใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญต่าง ๆ
  • พระแท่นราชบรรจถรณ์ประดับมุก เป็นพระแท่นที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้ขนย้ายหนีไฟ เมื่อคราวที่เกิดอสุนีบาตลงที่เครื่องยอดพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ปัจจุบันประดิษฐานปูชนียวัตถุในพระราชพิธีสำคัญ และเป็นที่นั่งของพระสงฆ์ที่จะสวดสรภัญญะในงานการบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพและพระศพต่างๆ

ธรรมเนียม

พระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุกภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

เมื่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จออกว่าราชการที่ท้องพระโรง จนเมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระศรีสุดารักษ์สิ้นพระชนม์จึงได้เชิญพระศพมาประดิษฐานเป็นพระศพแรก จึงเป็นธรรมเนียมที่สามารถใช้พระมหาปราสาทนี้ประดิษฐานพระศพพระบรมวงศ์ที่ทรงโปรดเกล้าเป็นพิเศษได้ พระมหาปราสาทนี้ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพของพระมหากษัตริย์แทบทุกรัชกาล(ยกเว้นรัชกาลที่ 7) และพระบรมศพของพระอัครมเหสี(ยกเว้นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี) และพระบรมวงศ์ที่ทรงโปรดเกล้าเป็นพิเศษ อาทิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร(เจ้านายฝ่ายหน้าพระองค์เดียวที่ได้ประดิษฐานบนพระมหาปราสาทนี้) สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีโดยได้ประดิษฐานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระองค์ล่าสุด

พระที่นั่งองค์นี้ไม่ได้เป็นเพียงที่ประดิษฐานพระบรมศพและพระศพเท่านั้น ยังเป็นสถานที่เพื่อทำพระราชพิธีสำคัญด้วย อย่างเช่น เมื่อปี พ.ศ. 2454 ในรัชกาลสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ในปัจจุบัน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี และ พระราชกุศลต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล (พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า) ในวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี

มุขกระสัน

มุขกระสันระหว่างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท กับพระที่นั่งพิมานรัตยาเป็นอาคารทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูนทาสีขาว หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ปิดทองประดับกระจก มุขกระสันนี้เป็นโถงยาว มีฝากั้นแบ่งเป็นสองตอน ตอนหนึ่งต่อกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท อีกตอนหนึ่งติดต่อกับพระที่นั่งพิมานรัตยา มีพระทวารเป็นทางเชื่อมถึงกัน มุขกระสันตอนที่ต่อกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาททางด้านทิศเหนือ มีบันไดทางขึ้นพระที่นั่งบุษบกมาลาสองข้าง

อ้างอิง

  • สำนักพระราชวัง. พระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, พ.ศ. 2547. 331 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-8274-98-5

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′00″N 100°29′26″E / 13.750125°N 100.490549°E / 13.750125; 100.490549