ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยคม 8"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bebiezaza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bebiezaza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27: บรรทัด 27:


| orbit_epoch =
| orbit_epoch =
| orbit_reference = [[Geocentric orbit|โลกเป็นจุดศูนย์กลาง]]
| orbit_reference = [[w:en:Geocentric orbit|โลกเป็นจุดศูนย์กลาง]]
| orbit_regime = [[วงโคจรค้างฟ้า|ค้างฟ้า]]
| orbit_regime = [[วงโคจรค้างฟ้า|ค้างฟ้า]]
| orbit_periapsis =
| orbit_periapsis =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:29, 17 พฤษภาคม 2561

ไทยคม 8
เครื่องหมายภารกิจของ ไทยคม 8
ประเภทภารกิจสื่อสาร
ผู้ดำเนินการไทย บมจ. ไทยคม
COSPAR ID2016-031A
SATCAT no.41552
ระยะภารกิจ15 ปี
ข้อมูลยานอวกาศ
BusGEOStar-2
ผู้ผลิตสหรัฐ ออร์บิทัล เอทีเค
มวลขณะส่งยาน3,100 กิโลกรัม
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น27 พฤษภาคม 2559 9:40 UTC
จรวดนำส่งFalcon 9 Full Thrust
ฐานส่งแหลมคะแนเวอรัล SLC-40
ผู้ดำเนินงานสหรัฐ สเปซเอ็กซ์
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงโลกเป็นจุดศูนย์กลาง
ระบบวงโคจรค้างฟ้า
 

ไทยคม 8 (อังกฤษ: THAICOM 8) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทยจากดาวเทียมไทยคมซีรีส์ ประกอบการโดยบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน), บริษัทสาขาของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และถือเป็นดาวเทียมไทยคมดวงที่ 8 ที่มีสำนักงานใหญ่ใน กรุงเทพ, ประเทศไทย[1]

ภาพรวม

ผลิตโดยออร์บิทัล เอทีเค ดาวเทียมสื่อสารไทยคม 8 (มีน้ำหนักราว 3,100 กิโลกรัม), จะบริการประเทศไทย, ประเทศอินเดีย และทวีปแอฟริกา โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้าจาก78.5° องศาตะวันออก[2] มีจานรับส่งสัญญาณ เคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 24 ช่อง[3]สำหรับถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัย (DTH) และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (HD และ UHD)

การปล่อยจรวด

ได้รับการอนุมัติให้ยิงสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2557 ไทยคม 8 ถูกยิงขึ้นจากฐาน ณ แหลมคะแนเวอรัล SLC-40 ในรัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 โดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ เป็นดาวเทียมดวงที่สี่ของโลกที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวดฟัลคอน 9 และจรวดสเตจที่ 1 ที่ใช้ส่งไทยคม 8 ลงจอดบนเรืออัตโนมัติ Of Course I Still Love You ได้สำเร็จ[4][5] จรวดสเตจที่ 1 ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นจรวดผลักดันด้านข้างของฟัลคอน เฮฟวี ซึ่งได้ทำการจุดเครื่องในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ของปี 2560[6]จรวดสเตจที่ 1 อันนี้ได้ลงจอดอีกรอบที่ Landing Zone 1 ที่ฐานทัพอากาศแหลมคะแนเวอรัลในช่วง Falcon Heavy maiden test flight[7]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "InTouch may have to up stake in Thaicom - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-01-23.
  2. "Thaicom 8". Satbeams. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  3. "THAICOM 8". Thaicom. สืบค้นเมื่อ November 10, 2017.
  4. "SpaceX Falcon 9 recycles to Friday for Thaicom 8 launch". NASASpaceFlight.com. 26 May 2016. สืบค้นเมื่อ 27 May 2016.
  5. SpaceX Webcast
  6. "SpaceX on Twitter". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-25.
  7. "SpaceX on Twitter". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-03.

แหล่งข้อมูลอื่น


แม่แบบ:ประวัติการยิงจรวดฟัลคอน แม่แบบ:การยิงจรวดไปในวงโคจรปี 2559