ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูเนสโก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
|[[อุทยานธรณีโลก]] || 1 || {{sort|0|—}}
|[[อุทยานธรณีโลก]] || 1 || {{sort|0|—}}
|-
|-
|[[เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สากลk]] || 2 || {{sort|0|—}}
|[[เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สากล]] || 2 || {{sort|0|—}}
|-
|-
|[[มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม]] || {{sort|0|—}} || {{sort|0|—}}
|[[มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม]] || {{sort|0|—}} || {{sort|0|—}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:36, 4 พฤษภาคม 2561


องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
ประเภทหน่วยงานเฉพาะ
รัสพจน์UNESCO
หัวหน้าอิริคนา โบโควา
ผู้อำนวยการองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
จัดตั้ง16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945[1]
สำนักงานปารีส, ฝรั่งเศส
เว็บไซต์www.unesco.org
ธงของยูเนสโก

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 และต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 20 ประเทศ ได้ร่วมมือกันให้สัตยาบันธรรมนูญองค์การ ซึ่งเริ่มด้วยข้อความที่ว่า

สงครามเริ่มต้นที่จิตใจของมนุษย์ฉันใด ความหวงแหนสันติภาพก็ต้องสร้างขึ้นในจิตใจของมนุษย์ด้วยฉันนั้น (since wars begin in the minds of men, it is in the minds of men that the defences of peace must be constructed)

นอกจากนี้ ธรรมนูญยูเนสโกยังบ่งชี้ไว้ด้วยว่า สันติภาพที่เกิดจากการตกลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่แท้จริงและยืนนาน จากประเทศชาติต่าง ๆ ในโลก สันติภาพจะต้องวางรากฐานอยู่บนความร่วมมือทางภูมิปัญญา และจิตสำนึกของมนุษยชาติ. ดังนั้นองค์การยูเนสโกจึงมุ่งเน้นการส่งเสริมสันติภาพ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติ ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิ และเสรีภาพ ที่มนุษย์พึงมี โดยไม่ถือเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ. ยูเนสโกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ปัจจุบัน ยูเนสโกมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 195 ประเทศ[2] ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 (ลำดับที่ 49)

โดยปกติ ยูเนสโกจะใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ แต่ในระหว่างการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกและการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก จะใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องถึง 6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเชีย อาหรับ สเปน และจีน

การดำเนินงานของยูเนสโกนั้นจะปรากฏในรูปของการประชุมสมัยสามัญ ซึ่งมีทุก ๆ 2 ปี โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม จำนวน 58 คน ที่เลือกมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก กรรมการจะอยู่ในวาระ 4 ปี โดยจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่ครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดขององค์การ จะอยู่ในวาระ 6 ปี

ยูเนสโกได้จัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานย่อยประจำพื้นที่ เพื่อให้ยูเนสโกประสานงานกับประเทศต่าง ๆ ได้อย่างใกล้ชิด แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้น ๆ เพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ

ประเทศไทยกับยูเนสโก

ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 นับเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 49 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้ง คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (National Commission for UNESCO) เพื่อให้เป็นไปตามกฎบัตรของยูเนสโก โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน, ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน, และ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฝ่ายการต่างประเทศ) เป็นเลขาธิการ

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อประสานงานกับยูเนสโก คือ สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานในระดับชาติของกิจกรรมที่อยู่ในขอบข่ายงานของยูเนสโก มี 6 ด้านได้แก่ การศึกษา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วัฒนธรรม การสื่อสารและสารสนเทศ ส่วนด้านสุดท้ายเป็นหัวข้อพิเศษ ซึ่งในทางปฏิบัติจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะด้าน ตามภารกิจและความชำนาญ

ในปี พ.ศ. 2504 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้องค์การยูเนสโกจัดตั้ง สำนักงานส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ขึ้นที่ประเทศไทย โดยปัจจุบันอยู่ที่ “อาคาร ๑๐๐ ปี หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (Mom Luang Pin Malakul Centenary Building)” อยู่ใกล้กับ สสวท. และท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการจัดตั้ง สำนักงานคณะผู้แทนถาวรไทย ประจำ ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส โดยมีเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เป็นผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ส่วนกระทรวงศึกษาธิการได้จัดส่งนักวิชาการศึกษามาประจำที่สำนักงาน เพื่อทำหน้าที่รองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก แต่ในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยได้ประสบภาวะเศรษฐกิจ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอปิดสำนักงานเป็นการชั่วคราว และรองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ได้เดินทางกลับมาปฏิบัติหน้าที่ที่กรุงเทพฯ โดยมีสำนักงานชั่วคราวที่กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้มอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลงานของยูเนสโกแทน

ในฐานะประเทศสมาชิก ประเทศไทยได้ชำระเงินอุดหนุนองค์การเป็นประจำ โดยมีสัดส่วน ร้อยละ 0.335 โดยการตั้งงบประมาณไว้ที่กระทรวงศึกษาธิการ ในปีงบประมาณปี พ.ศ. 2545 ประเทศไทยได้ชำระค่าสมาชิกให้กับยูเนสโก เป็นจำนวน 35.18 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีเงินอุดหนุนสำนักงานส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เงินอุดหนุนศูนย์ ICCROM ที่ประเทศอิตาลี และเงินอุดหนุนกองทุนมรดกโลก อีก 905,000 บาท

ผลการดำเนินงานของประเทศไทยในองค์การยูเนสโก

โครงการยูเนสโก จำนวนรายการที่ขึ้นทะเบียน จำนวนรายการที่ขึ้นทะเบียนร่วมกับรัฐอื่น
พื้นที่สงวนชีวมณฑล 4
แหล่งมรดกโลก 5
ความทรงจำแห่งโลก 5
อุทยานธรณีโลก 1
เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สากล 2
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

อ้างอิง

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ history
  2. Member States (อังกฤษ), UNESCO

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น