ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าสายสีทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
Thmmrth (คุย | ส่วนร่วม)
→‎สัญญาการก่อสร้าง: ลบหน่วยไมล์
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 72: บรรทัด 72:
! หมายเหตุ
! หมายเหตุ
|-
|-
| 1 || โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี - สำนักงานเขตคลองสาน<br>ระยะทาง {{km to mi|1.8|abbr=yes|precision=2|wiki=yes}} <br> รวมงานปรับปรุง[[สถานีกรุงธนบุรี]] งานระบบราง และงานก่อสร้างสถานีซ่อมบำรุง || 1,070 || บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ (ITD) ||
| 1 || โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี - สำนักงานเขตคลองสาน<br>ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร <br> รวมงานปรับปรุง[[สถานีกรุงธนบุรี]] งานระบบราง และงานก่อสร้างสถานีซ่อมบำรุง || 1,070 || บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ (ITD) ||
|-
|-
| 2 || ที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและติดตั้งระบบการเดินรถ || || กลุ่มที่ปรึกษา เอ็มเอชพีเอ็ม-เทสโก้-โชติจินดา<br>(บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด, บริษัท เทสโก้ จำกัด, และ<br>บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด) ||
| 2 || ที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและติดตั้งระบบการเดินรถ || || กลุ่มที่ปรึกษา เอ็มเอชพีเอ็ม-เทสโก้-โชติจินดา<br>(บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด, บริษัท เทสโก้ จำกัด, และ<br>บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด) ||

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:42, 29 เมษายน 2561

รถไฟฟ้าสายสีทอง
ไฟล์:Bma-goldline-krungthonburi.png
แบบร่างสถานีกรุงธนบุรี และสถานีซ่อมบำรุงเบา
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังก่อสร้าง
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี4
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้าล้อยาง
ระบบระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร
เส้นทาง1
ผู้ดำเนินงานบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด
ขบวนรถบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 3 ขบวน
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2562 (ระยะที่ 1 กรุงธน-คลองสาน) พ.ศ. 2566 (ระยะที่ 2 คลองสาน-ประชาธิปก)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง2.7 กิโลเมตร (2 ไมล์) (not.)

โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนรองบนพื้นที่ฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางบนถนนเจริญนคร และเป็นการเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์การค้าไอคอนสยาม ดำเนินการโดย กรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ดำเนินการในรูปแบบรถไฟฟ้าล้อยาง และมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีต้นทางของโครงการใกล้กับสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม วิ่งไปตามแนวถนนเจริญนคร ผ่านศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน สิ้นสุดในระยะแรกที่บริเวณแยกสมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก รวมระยะทาง 5.7 กิโลเมตร คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 50,000 เที่ยวต่อวันเมื่อเปิดทำการ

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) โครงการได้รับอนุมัติการดำเนินการจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยจะดำเนินการในรูปแบบของรถไฟฟ้าล้อยาง​ (APM: Automated People Mover) แบบเดียวกับที่ใช้ในสนามบิน มีระยะทางในระยะแรก 1.7 กิโลเมตร โดยจะเริ่มก่อสร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 และคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2562

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน

เขตคลองสาน และธนบุรี กรุงเทพมหานคร

แนวเส้นทาง

ช่วงที่ 1 : สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี - สำนักงานเขตคลองสาน - ประชาธิปก

เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางซ้ายบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร ผ่านวัดสุวรรณาราม ศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน ข้ามทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านโรงพยาบาลตากสิน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนจันทรวิทยา วัดอนงคารามวรวิหาร และวัดพิชยญาติการามวรวิหาร สิ้นสุดบริเวณแยกสมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก บริเวณด้านหลังอนุสรณ์สถานสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน

ช่วงที่ 2 : สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สำเหร่ - สถานีรถไฟฟ้ามหานคร อิสรภาพ

เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดสถานีสะพานพุทธ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนประชาธิปก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีสะพานพุทธ (สำเหร่) แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนอิสรภาพ ผ่านบิ๊กซี อิสรภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แล้วสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีอิสรภาพ ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล[1]

ช่วงที่ 3 : สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี - โรงแรมอนันตรากรุงเทพริเวอร์ไซด์

เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางขวาบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเลี้ยวขวาเข้าถนนเจริญนคร ผ่านวัดเศวตฉัตรวรวิหาร สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย และสิ้นสุดบริเวณซอยเจริญนคร 60 ใกล้ๆ กับโรงแรมอนันตรากรุงเทพริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา[1]

รูปแบบของโครงการ

  • เป็นระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (automated people mover transit) โดยโครงการได้เลือกใช้ขบวนรถรุ่น Innovia APM 300 จากบอมบาร์ดิเอร์ จำนวน 2 ขบวน ขบวนละ 3 คัน
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 14-17 เมตรตลอดทั้งโครงการ
  • มีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.6 เมตร ยาว 12 เมตร สูง 3.7 เมตร ความจุ 103 คนต่อคัน (309 คนต่อขบวน) ต่อพวงได้ 3 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 4,300 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถที่สถานีกรุงธนบุรี และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการได้พิจารณาให้มีการก่อสร้างสถานีซ่อมบำรุงขนาดย่อยต่อจากสถานีกรุงธนบุรีโดยใช้โครงสร้างร่วมกัน (ในลักษณะเดียวกับสถานีซ่อมบำรุงย่อยบางหว้า ถนนราชพฤกษ์) สถานีซ่อมบำรุงดังกล่าวจะไว้ใช้สำหรับงานบำรุงรักษาที่ไม่หนักจนเกินควร ในส่วนของการจอดพักขบวนรถหลังปิดให้บริการ จะใช้วิธีการจอดตามสถานีรายทางเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับให้บริการในวันถัดไป แต่สำหรับการซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) จะใช้วิธีการถอดขบวนรถออกจากระบบเพื่อนำไปซ่อมที่ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีต้นทาง (กรุงธนบุรี)

สถานี

มีทั้งหมด 4 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด

รูปแบบสถานี

สถานีมีความยาวประมาณ 40-50 เมตร ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และบริเวณทางเดินเท้าริมถนนในบางช่วง

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาที่ เนื้องาน มูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูล หมายเหตุ
1 โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี - สำนักงานเขตคลองสาน
ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร
รวมงานปรับปรุงสถานีกรุงธนบุรี งานระบบราง และงานก่อสร้างสถานีซ่อมบำรุง
1,070 บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ (ITD)
2 ที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและติดตั้งระบบการเดินรถ กลุ่มที่ปรึกษา เอ็มเอชพีเอ็ม-เทสโก้-โชติจินดา
(บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด, บริษัท เทสโก้ จำกัด, และ
บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด)
3 งานระบบรถไฟฟ้า (กรุงธนฯ-คลองสาน) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ใช้วิธีการว่าจ้างโดยตรง

งบประมาณ

โครงการรถไฟฟ้าสายสีทองได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างจาก บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด หรือศูนย์การค้าไอคอนสยาม เป็นจำนวนเงิน 2,080 ล้านบาท โดยแลกกับสัมปทานในการบริหารพื้นที่ภายในสถานีและโฆษณา

รายชื่อสถานีอย่างเป็นทางการ

ตัวเอียง หมายถึงโครงการในอนาคต

รหัส ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
G1 กรุงธนบุรี   รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม: กรุงธนบุรี
G2 เจริญนคร
G3 คลองสาน   รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม: คลองสาน
G4 ประชาธิปก   รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม: สะพานพุทธ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 สำนักการจราจรและการขนส่ง กรุงเทพมหานคร (21 November 2017). รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก). สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.