ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำมะโน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
 
บรรทัด 10: บรรทัด 10:


[[หมวดหมู่:สำมะโน| ]]
[[หมวดหมู่:สำมะโน| ]]
[[หมวดหมู่:พงศาวลีวิทยา]]
[[หมวดหมู่:ประชากร]]
[[หมวดหมู่:ระเบียบวิธีการสำรวจ]]
[[หมวดหมู่:การชักตัวอย่าง]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 03:01, 22 เมษายน 2561

ผู้เก็บข้อมูลสำมะโนขณะเยี่ยมครอบครัวชาวโรมานีที่อาศัยอยู่ในคาราวาน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1925

สำมะโน (อังกฤษ: census) เป็นวิธีดำเนินการได้มาซึ่งและบันทึกสารสนเทศอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสมาชิกของประชากรหนึ่ง ๆ คำนี้ใช้เชื่อมโยงกับสำมะโนประชากรและเคหะมากที่สุด แต่สำมะโนที่พบบ่อยชนิดอื่นได้แก่ สำมะโนเกษตรกรรม ธุรกิจและจราจร สหประชาชาตินิยามลักษณะสำคัญของสำมะโนประชากรและเคหะว่า "การแจกนับปัจเจกซึ่งเป็นสากลในดินแดนตามที่กำหนด ความเป็นเวลาเดียวกันและมีภาวะเป็นคาบตามที่กำหนด" และแนะนำให้จัดทำสำมะโนประชากรอย่างน้อยทุก 10 ปี ข้อแนะนำของสหประชาชาติยังครอบคลุมหัวข้อสำมะโนที่ควรรวบรวม บทนิยามอย่งเป็นทางการ และสารสนเทศที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นเพื่อประสานงานการปฏิบัติระหว่างประเทศ[1][2]

คำว่า "census" เป็นคำภาษาละติน ระหว่างสาธารณรัฐโรมัน เซนซัสเป็นรายการที่เก็บติดตามชายฉกรรจ์ที่พร้อมรับราชการทหาร สำมะโนสมัยใหม่มีความสำคัญต่อการเปรียบเทียบระหว่างประเทศสำหรับสถิติทุกชนิด และสำมะโนเก็บข้อมูลลักษณะเฉพาะหลายอย่างของประชากร ไม่เพียงแต่ว่ามีจำนวนประชากรเท่าใดเท่านั้น แต่ปัจจุบันสำมะโนเกิดในระบบแบบสำรวจซึ่งตรงแบบเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรศาสตร์ของชาติเท่านั้น แม้ประมาณการประชากรยังเป็นหน้าที่สำคัญของสำมะโน รวมทั้งการรวมการกระจายทางภูมิศาสตร์อย่างแน่ชัดของประชากร แต่สถิติยังสามารถสร้างได้จากการรวมลักษณะเฉพาะ เช่น การศึกษาแบ่งตามอายุและเพศในภูมิภาคต่าง ๆ ระบบข้อมูลบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบันทำให้การแจงนับแนวทางอื่นมีระดับรายละเอียดเดียวกัน แต่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเฉพาะส่วนตัวและโอกาสที่ประมาณการเกิดความลำเอียงได้[3]

สำมะโนอาจแตกต่างจากการชักตัวอย่างที่สารสนเทศจะได้มาจากเซตย่อยของประชากรเท่านั้น ซึ่งตรงแบบประมาณการประชากรหลักมีการปรับตามประมาณการระหว่างสำมะโนดังกล่าว ข้อมูลสำมะโนสมัยใหม่มีใช้แพร่หลายเพื่อการวิจัย การตลาดธุรกิจ และการวางแผน และเป็นเส้นฐานสำหรับออกแบบแบบสำรวจตัวอย่างโดยให้กรอบชักตัวอย่าง เช่น ทะเบียนเลขที่อยู่ ยอดของสำมะโนจำเป็นต่อการปรับตัวอย่างเพื่อให้เป็นตัวแทนของประชากรโดยการถ่วงน้ำหนักที่ใช้บ่อยในการสำรวจความเห็น ในทำนองเดียวกัน การจัดช่วงชั้นต้องอาศัยความรู้ขนาดโดยสัมพัทธ์ของช่วงชั้นประชากรต่าง ๆ ซึ่งได้มาจากการแจงนับในสำมะโน สำมะโนในบางประเทศยังให้ยอดอย่างเป็นทางการที่ใช้กำหนดจำนวนผู้แทนตามส่วนของพลเมือง (apportion) แก่ภูมิภาคต่าง ๆ ในหลายกรณี ตัวอย่างที่สุ่มเลือกอย่างระมัดระวังสามารถให้สารสนเทศแม่นยำกว่าพยายามทำสำมะโนประชากร[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. United Nations (2008). Principles and Recommendations for Population and Housing Censuses. Statistical Papers: Series M No. 67/Rev.2. p8. ISBN 978-92-1-161505-0.
  2. "CES 2010 Census Recommendations" (PDF). Unece.org. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  3. "History and Development of the Census in England and Wales". theforgottenfamily.wordpress.org. สืบค้นเมื่อ 2017-01-20.
  4. Salant, Priscilla, and Don A. Dillman. "How to Conduct your own Survey: Leading professional give you proven techniques for getting reliable results." (1995).