ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 7542465 สร้างโดย 110.169.13.197 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
|succession = พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
|succession = พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
| father = [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]
| father = [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]
| mother = [[นางกุสาวดี]]
| mother = พระราชเทวีสิริกัลยาณี
| spouse =
| spouse =
| issue = [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ]]<br>[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]<br>เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม<br>เจ้าฟ้าหญิงแก้ว<ref>[http://www.kingdom-siam.org/ayudhya-e.html ราชอาณาจักรสยาม]</ref><br>[[พระองค์เจ้าทับทิม]]<ref>สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''กรุงเทพฯ มาจากไหน?.'' กรุงเทพฯ:มติชน, 2548, หน้า 70</ref>
| issue = [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ]]<br>[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]<br>เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม<br>เจ้าฟ้าหญิงแก้ว<ref>[http://www.kingdom-siam.org/ayudhya-e.html ราชอาณาจักรสยาม]</ref><br>[[พระองค์เจ้าทับทิม]]<ref>สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''กรุงเทพฯ มาจากไหน?.'' กรุงเทพฯ:มติชน, 2548, หน้า 70</ref>
บรรทัด 29: บรรทัด 29:


== พระราชประวัติ ==
== พระราชประวัติ ==
พระชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าเสือนั้น เป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] กับพระสนมพระองค์หนึ่ง ปรากฏใน[[พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว)]] ว่า นางเป็นพระราชธิดาพระเจ้า[[เชียงใหม่]]<ref name="พิจิตร">[http://student.nu.ac.th/phichit/file/text1_1.html ประวัติ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)] Welcome to Phichit</ref> โดย[[คำให้การขุนหลวงหาวัด]] ได้ออกพระนามว่า ''พระราชชายาเทวี'' หรือ ''เจ้าจอมสมบุญ'' ส่วนใน[[คำให้การชาวกรุงเก่า]]เรียกว่า ''นางกุสาวดี''<ref name="sk">สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับพระนารายณ์". ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 109</ref>
[[พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน]] ระบุว่า สมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]กับพระสนมซึ่งเป็นพระราชธิดาใน[[พระแสนเมือง|พญาแสนหลวง เจ้าเมืองเชียงใหม่]]<ref>''พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน'', หน้า 239-240</ref> โดย[[คำให้การขุนหลวงหาวัด]]ออกพระนามว่า ''พระราชชายาเทวี'' หรือ ''เจ้าจอมสมบุญ'' ส่วนใน[[คำให้การชาวกรุงเก่า]]เรียกว่า ''[[นางกุสาวดี]]''<ref name="sk">สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับพระนารายณ์". ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 109</ref>


แต่ในเวลาต่อมา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่[[สมเด็จพระเพทราชา|พระเพทราชา]] เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง (เจ้ากรมช้าง) โดยในคำให้การของ[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร|ขุนหลวงหาวัด]]และคำให้การชาวกรุงเก่า มีเนื้อหาสอดคล้องกัน กล่าวคือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา แต่พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดแตกต่างไปจากคำให้การของขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา<ref name="sk" /> ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ความว่า<ref name="st">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ''. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 91-94</ref>
แต่ในเวลาต่อมา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่[[สมเด็จพระเพทราชา|พระเพทราชา]] เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง (เจ้ากรมช้าง) โดยในคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า มีเนื้อหาสอดคล้องกัน กล่าวคือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา แต่พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดแตกต่างไปจากคำให้การของขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา<ref name="sk" /> ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ ความว่า<ref name="st">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ''. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 91-94</ref>


<blockquote>"แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"</blockquote>
<blockquote>"แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"</blockquote>
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราว[[พระศรีศิลป์]] ส่วนคำให้การของขุนหลวงหาวัดว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น<ref name="sk" />
โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราว[[พระศรีศิลป์]] ส่วนคำให้การของขุนหลวงหาวัดว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น<ref name="sk" />


พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) จดพระนามเดิมของพระองค์ว่า ''มะเดื่อ''<ref name="st" /><ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ''. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 183</ref> ส่วนในหนังสือปฐมวงศ์ของ [[ก.ศ.ร. กุหลาบ]] เรียกว่า ''ดอกเดื่อ''<ref>''ปฐมวงศ์ ฉบับของ ก.ศ.ร. กุหลาบ'', ในอภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ:มิตชน, 2545, หน้า 68</ref> เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการ[[พระพุทธชินราช]]และ[[พระพุทธชินสีห์]]ที่[[พิษณุโลก|เมืองพิษณุโลก]]
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ จดพระนามเดิมของพระองค์ว่า ''มะเดื่อ''<ref name="st" /><ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ''. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 183</ref> ส่วนในหนังสือปฐมวงศ์ของ [[ก.ศ.ร. กุหลาบ]] เรียกว่า ''ดอกเดื่อ''<ref>''ปฐมวงศ์ ฉบับของ ก.ศ.ร. กุหลาบ'', ในอภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ:มิตชน, 2545, หน้า 68</ref> เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการ[[พระพุทธชินราช]]และ[[พระพุทธชินสีห์]]ที่[[พิษณุโลก|เมืองพิษณุโลก]]


จดหมายเหตุเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันประจำคณะทูตของบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีราชสำนักสยามในปี พ.ศ. 2233 ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปีประสูติของออกหลวงสรศักดิ์ว่า เมื่อ พ.ศ. 2233 พระสรศักดิ์ (Peja Surusak) พระมหาอุปราชมีพระชนม์ 20 พรรษา<ref>เอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ เขียน, อัมพร สายสุวรรณ แปล. ''ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์''. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2545, หน้า 64</ref> แสดงว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2213<ref name="sk" />
จดหมายเหตุเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันประจำคณะทูตของบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีราชสำนักสยามในปี พ.ศ. 2233 ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปีประสูติของออกหลวงสรศักดิ์ว่า เมื่อ พ.ศ. 2233 พระสรศักดิ์ (Peja Surusak) พระมหาอุปราชมีพระชนม์ 20 พรรษา<ref>เอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ เขียน, อัมพร สายสุวรรณ แปล. ''ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์''. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2545, หน้า 64</ref> แสดงว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2213<ref name="sk" />


=== ทัศนะ ===
=== ทัศนะ ===
อย่างไรก็ตาม [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] มิทรงเชื่อว่าหลวงสรศักดิ์จะเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์ ทรงวินิจฉัยว่าในเมื่อหลวงสรศักดิ์รู้อยู่เต็มอกว่าสมเด็จพระนารายณ์คือพระราชบิดา เหตุไฉนจึงร่วมมือกับพระเพทราชาบิดาบุญธรรมปราบดาภิเษกชนกแท้ ๆ ของตน แทนที่จะประจบเอาใจขอราชสมบัติกับพระราชบิดาเมื่อครั้งยังประชวร ส่วนเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ว่า [[พระแสนหลวง|พระยาแสนหลวง]] เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ที่ตกเป็นเชลยมายังกรุงศรีอยุธยานั้นก็มิได้มีฐานะต่ำต้อยอันใด ซ้ำยังจะดูมีหน้ามีตาเพราะสามารถต่อโคลงกับ[[ศรีปราชญ์]] กวีในรัชกาลได้ ถ้าหากพระยาแสนหลวงเป็นพระสัสสุระของสมเด็จพระนารายณ์จริง ก็น่าจะเป็นที่ความภาคภูมิมากกว่าอับอาย และยังสามารถใช้การเสกสมรสดังกล่าวเป็นเหตุผลทางการเมืองเข้าครอบครองล้านนาผ่านพระชายาได้<ref>เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (17 กุมภาพันธ์ 2555). "พระปีย์ vs พระเจ้าเสือ ใครคือโอรสลับของพระนารายณ์?". มติชนสุดสัปดาห์. 32:1644, หน้า 76</ref>
อย่างไรก็ตาม [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] มิทรงเชื่อว่าหลวงสรศักดิ์จะเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์ ทรงวินิจฉัยว่าในเมื่อหลวงสรศักดิ์รู้อยู่เต็มอกว่าสมเด็จพระนารายณ์คือพระราชบิดา เหตุไฉนจึงร่วมมือกับพระเพทราชาบิดาบุญธรรมปราบดาภิเษกชนกแท้ ๆ ของตน แทนที่จะประจบเอาใจขอราชสมบัติกับพระราชบิดาเมื่อครั้งยังประชวร ส่วนเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ว่า [[พระแสนหลวง|พระยาแสนหลวง]] เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ที่ตกเป็นเชลยมายังกรุงศรีอยุธยานั้นก็มิได้มีฐานะต่ำต้อยอันใด ซ้ำยังจะดูมีหน้ามีตาเพราะสามารถต่อโคลงกับ[[ศรีปราชญ์]] กวีในรัชกาลได้ ถ้าหากพระยาแสนหลวงเป็นพระสัสสุระของสมเด็จพระนารายณ์จริง ก็น่าจะเป็นที่ความภาคภูมิมากกว่าอับอาย และยังสามารถใช้การเสกสมรสดังกล่าวเป็นเหตุผลทางการเมืองเข้าครอบครองล้านนาผ่านพระชายาได้<ref>เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (17 กุมภาพันธ์ 2555). "พระปีย์ vs พระเจ้าเสือ ใครคือโอรสลับของพระนารายณ์?". มติชนสุดสัปดาห์. 32:1644, หน้า 76</ref>


== ครองราชย์ ==
== ครองราชย์ ==
บรรทัด 52: บรรทัด 52:


== พระอุปนิสัย ==
== พระอุปนิสัย ==
[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] ระบุว่า<ref name="chan">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ'', หน้า 328</ref>
พงศาวดารบันทึกว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 มีพระอุปนิสัย ทรงมักมากในกามคุณ และทรงชอบการล่าสัตว์ ผู้คนจึงออกพระนามว่า "พระเจ้าเสือ" เปรียบว่าทรงร้ายดังเสือ<ref name="chan">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม).'' (2553). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา. ISBN 9786167146089.</ref> โดย[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] บันทึกว่า<ref name = "chan"/>


<blockquote>"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ให้ขัดเคือง{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} จะลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล</blockquote>
<blockquote>"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ให้ขัดเคือง{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} จะลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล</blockquote>
บรรทัด 97: บรรทัด 97:
| 3 = [[นางกุสาวดี]]
| 3 = [[นางกุสาวดี]]
| 4 = [[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]]
| 4 = [[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]]
| 5 = [[พระราชเทวีสิริกัลยาณี]]
| 5 = พระราชเทวี
| 6 = [[พระแสนเมือง|พญาแสนหลวง]] (พระเจ้าเชียงใหม่)
| 6 = [[พระแสนเมือง|พญาแสนหลวง]] (พระเจ้าเชียงใหม่)
| 7 = พระชายาในพญาแสนหลวง
| 7 = พระชายาในพญาแสนหลวง
| 8 =
| 8 = [[สมเด็จพระเอกาทศรถ]]
| 9 = นางอิน
| 9 =
| 10 =
| 10 = ''ไม่ปรากฎพระนาม''
| 11 =
| 11 = ''ไม่ปรากฎพระนาม''
| 12 = [[พระยาหลวงทิพเนตร]]
| 12 = [[พระยาหลวงทิพเนตร]]
| 13 =
| 13 = ''ไม่ปรากฎพระนาม''
| 14 =
| 14 = ''ไม่ปรากฎพระนาม''
| 15 =
| 15 = ''ไม่ปรากฎพระนาม''
}}
}}
</center>
</center>


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย]]
* [[รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย]]
* [[พันท้ายนรสิงห์]]
* [[พันท้ายนรสิงห์]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
; เชิงอรรถ
{{รายการอ้างอิง|4}}
{{รายการอ้างอิง|2}}
; บรรณานุกรม
{{เริ่มอ้างอิง}}
* {{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = | ชื่อหนังสือ = พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน | จังหวัด = กรุงเทพฯ| พิมพ์ที่ = [[อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง]]| ปี = 2558| ISBN = 978-616-92351-0-1| จำนวนหน้า = 558| หน้า = }} [จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔)]
* {{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = | ชื่อหนังสือ = พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น| จังหวัด = นนทบุรี| พิมพ์ที่ = ศรีปัญญา| ปี = 2553| ISBN = 978-616-7146-08-9| จำนวนหน้า = 800}}
{{จบอ้างอิง}}



{{เริ่มกล่อง}}
{{เริ่มกล่อง}}
บรรทัด 123: บรรทัด 130:
|สี3 = #E9E9E9
|สี3 = #E9E9E9
|รูปภาพ = Seal of Ayutthaya (King Narai).png
|รูปภาพ = Seal of Ayutthaya (King Narai).png
|ตำแหน่ง = พระมหากษัตริย์แห่ง[[อาณาจักรอยุธยา]]<br>([[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]])
|ตำแหน่ง = พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
|ช่วงเวลา = [[พ.ศ. 2246]] - [[พ.ศ. 2251]]
|ช่วงเวลา = พ.ศ. 2246-2251
|ก่อนหน้า = [[สมเด็จพระเพทราชา]]<br>([[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]])
|ก่อนหน้า = [[สมเด็จพระเพทราชา]]
|วาระก่อนหน้า = ([[พ.ศ. 2231]] - [[พ.ศ. 2246]])
|วาระก่อนหน้า = (พ.ศ. 2231-2246)
|ถัดไป = [[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9]]<br>([[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]])
|ถัดไป = [[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9]]
|วาระถัดไป = ([[พ.ศ. 2251]] - [[พ.ศ. 2275]])
|วาระถัดไป = (พ.ศ. 2251-2275)
}}
}}
{{จบกล่อง}}
{{จบกล่อง}}
บรรทัด 136: บรรทัด 143:
{{กรมพระราชวังบวรสถานมงคล}}
{{กรมพระราชวังบวรสถานมงคล}}


{{อายุขัย|2205|2252}}
{{ประสูติปี|2205}}{{สิ้นพระชนม์ปี|2252}}
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา|สรรเพชญ์ที่ 8]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา|สรรเพชญ์ที่ 8]]
[[หมวดหมู่:กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]]
[[หมวดหมู่:กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:45, 5 เมษายน 2561

สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี
พระมหากษัตริย์ไทย
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์6 กุมภาพันธ์[1] พ.ศ. 2246–2251
ก่อนหน้าสมเด็จพระเพทราชา
ถัดไปสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
ประสูติพ.ศ. 2204
ตำบลโพธิ์ประทับช้าง เมืองพิจิตร อาณาจักรอยุธยา[2]
สวรรคตพ.ศ. 2251
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
พระราชบุตรสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
เจ้าฟ้าหญิงแก้ว[3]
พระองค์เจ้าทับทิม[4]
พระนามเต็ม
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระราชบิดาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระราชมารดานางกุสาวดี

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือคำให้การชาวกรุงเก่าว่า สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2246 — พ.ศ. 2251

ผู้คนในสมัยพระองค์มักเรียกขานพระองค์ว่า พระเจ้าเสือ เพื่อเปรียบว่า พระองค์มีพระอุปนิสัยโหดร้ายดังเสือ[5] พระองค์ทรงมีพระปรีชาด้านมวยไทย โดยทรงเป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน และได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้ชาวไทยรุ่นหลังได้เรียนรู้ฝึกฝนจนถึงปัจจุบัน[6]

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ระบุในหนังสือ ศิลปะมวยไทย ถึงพระองค์ในการปลอมพระองค์เป็นชาวบ้านมาชกมวยกับนักมวยฝีมือดีจากเมืองวิเศษชัยชาญ และสามารถชนะนักมวยเอกได้ถึง 3 คน ซึ่งได้แก่ นายกลาง หมัดตาย, นายใหญ่ หมัดเหล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก[7] ปัจจุบัน กระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดให้วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์เป็นวันมวยไทย[1]

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงฝึกเจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรผู้เป็นพระราชโอรส ให้มีความสามารถในด้านมวยไทย, กระบี่กระบอง และมวยปล้ำ[8]

พระราชประวัติ

พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่า สมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระสนมซึ่งเป็นพระราชธิดาในพญาแสนหลวง เจ้าเมืองเชียงใหม่[9] โดยคำให้การขุนหลวงหาวัดออกพระนามว่า พระราชชายาเทวี หรือ เจ้าจอมสมบุญ ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดี[10]

แต่ในเวลาต่อมา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่พระเพทราชา เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง (เจ้ากรมช้าง) โดยในคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า มีเนื้อหาสอดคล้องกัน กล่าวคือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา แต่พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดแตกต่างไปจากคำให้การของขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา[10] ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ ความว่า[11]

"แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"

โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ ส่วนคำให้การของขุนหลวงหาวัดว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น[10]

พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ จดพระนามเดิมของพระองค์ว่า มะเดื่อ[11][12] ส่วนในหนังสือปฐมวงศ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เรียกว่า ดอกเดื่อ[13] เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก

จดหมายเหตุเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันประจำคณะทูตของบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีราชสำนักสยามในปี พ.ศ. 2233 ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปีประสูติของออกหลวงสรศักดิ์ว่า เมื่อ พ.ศ. 2233 พระสรศักดิ์ (Peja Surusak) พระมหาอุปราชมีพระชนม์ 20 พรรษา[14] แสดงว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2213[10]

ทัศนะ

อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิทรงเชื่อว่าหลวงสรศักดิ์จะเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์ ทรงวินิจฉัยว่าในเมื่อหลวงสรศักดิ์รู้อยู่เต็มอกว่าสมเด็จพระนารายณ์คือพระราชบิดา เหตุไฉนจึงร่วมมือกับพระเพทราชาบิดาบุญธรรมปราบดาภิเษกชนกแท้ ๆ ของตน แทนที่จะประจบเอาใจขอราชสมบัติกับพระราชบิดาเมื่อครั้งยังประชวร ส่วนเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ว่า พระยาแสนหลวง เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ที่ตกเป็นเชลยมายังกรุงศรีอยุธยานั้นก็มิได้มีฐานะต่ำต้อยอันใด ซ้ำยังจะดูมีหน้ามีตาเพราะสามารถต่อโคลงกับศรีปราชญ์ กวีในรัชกาลได้ ถ้าหากพระยาแสนหลวงเป็นพระสัสสุระของสมเด็จพระนารายณ์จริง ก็น่าจะเป็นที่ความภาคภูมิมากกว่าอับอาย และยังสามารถใช้การเสกสมรสดังกล่าวเป็นเหตุผลทางการเมืองเข้าครอบครองล้านนาผ่านพระชายาได้[15]

ครองราชย์

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้ตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา หลวงสรศักดิ์ให้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเพทราชา พระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8

ราชาภิเษก พ.ศ. 2246 มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) มีพระสมัญญานามว่า “เสือ”[2] ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็น หลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแล้ว[16]

ทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่ภายหลังก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ[16]

พระอุปนิสัย

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า[5]

"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ให้ขัดเคือง[ต้องการอ้างอิง] จะลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล

"ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัจฉาชาติฉนากฉลามในชลมารคทางทะเลเกาะสีชังเขาสามมุขแลประเทศที่ใด ย่อมเสวยน้ำจัณฑ์พลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางในแลมหาดเล็ก ชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไป มิได้มีพระวิจารณะ ปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดทิ้งลงไปกลางทะเล ให้ปลาฉนากฉลามกินเป็นอาหาร

"ประการหนึ่ง ปราศจากพระเบญจางคิกศีล มักพอพระทัยทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาพระนามปรากฏเรียกว่า พระเจ้าเสือ"

ขณะที่พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมบันทึกไว้ทำนองเดียวกันว่า

"ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยกักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ร้ายกาจ ปราศจากกุศลสุจริต ทรงพระประพฤติผิดพระราชประเพณี มิได้มีหิริโอตัปปะ และพระทัยหนาไปด้วยอกุศลลามก มีวิตกในโทสโมหมูลเจือไปในพระสันดานเป็นนิรันดร์มิได้ขาด แลพระองค์เสวยน้ำจัณฑ์ขาวอยู่เป็นนิจ แล้วมักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู ถ้าและนางใดอุตส่าห์อดทนได้ ก็พระราชทานรางวัลเงินทองผ้าแพรพรรณต่าง ๆ แก่นางนั้นเป็นอันมาก ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่ประฉิมุราประเทศให้ถึงแก่ความตาย แล้วให้เอาโลงเข้ามาใส่ศพนางนั้นออกไปทางประตูพระราชวังข้างท้ายสนมนั้นเนือง ๆ และประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูผีออก มีมาตราบเท่าทุกวันนี้

"อยู่มาครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จด้วยพระชลพาหนะออกไปประพาส ณ เมืองเพชรบุรี และเสด็จไปประทับแรมอยู่ ณ พระราชนิเวศน์ตำบลโตนดหลวง ใกล้ฝั่งพระมหาสมุทร และที่พระตำหนักนี้เป็นที่พระตำหนักเคยประพาสมหาสมุทรมาแต่ก่อนครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้านั้น และสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จด้วยพระที่นั่งมหานาวาท้ายรถ แล่นไปประพาสในท้องพระมหาสมุทรตราบเท่าถึงตำบลเขาสามร้อยยอด และทรงเบ็ดตกปลาฉลามและปลาอื่นเป็นอันมาก แล้วเสด็จกลับมา ณ ตำหนักโตนดหลวง และเสด็จเที่ยวประพาสอยู่ดังนั้นประมาณ 15 เวร จึ่งเสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร"

พระราชกรณียกิจ

ด้านศาสนา

  1. ทรงปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี สร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม
  2. ปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร
  3. เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์
  4. พระราชกรณียกิจที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องเมืองพิจิตร เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาติภูมิของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเสือได้โปรดให้สร้างวัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นที่เมืองพิจิตร โดยสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระมหาเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ มีอาณาบริเวณวัดกว้างขวางใหญ่โต ใช้เวลาสร้าง 2 ปี จึงสำเร็จ เสด็จพระราชดำเนินมาทำการฉลองด้วยพระองค์เอง มีการฉลอง สามวันสามคืน มีมหรสพครึกครื้น และมีผู้คนมากมายมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและ ดูมหรสพ ฉลองเสร็จแล้วทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้าพระไว้สำหรับอุปฐากพระอารามถึง 200 ครัวเรือน นับว่าครั้งนั้นวัดโพธิ์ประทับช้างเป็นวัดที่เด่นที่สุดในเมืองพิจิตร

สมเด็จพระเจ้าเสือทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าแตงโม (พระสุวรรณมุนี) เป็นพระอาจารย์สอนวิชาความรู้แก่พระราชโอรสและพระราชนัดดา ทรงไม่พอพระทัยที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งคนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงทรงโปรดการลาสิกขาของพระภิกษุเพื่อออกมารับราชการ ในรัชสมัยมีพระภิกษุชอบด้วยการนี้เป็นจำนวนมาก

ด้านคมนาคม

  1. ทรงให้มีการตัดถนนข้ามบึงหูกวางที่เมืองนครสวรรค์
  2. ทรงให้ขุดคลองโคกขามซึ่งคดเคี้ยวให้ตรง[17] และขุดลัดคลองอ้อมเกร็ด[ต้องการอ้างอิง]
  3. ทรงให้มีการปรับปรุงเส้นทางทางไปพระพุทธบาทสระบุรี ให้เดินทางมาสะดวกยิ่งขึ้น

สวรรคต

สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จอยู่ในตำแหน่งที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2231 – 2246 เป็นเวลา 15 ปี เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ พ.ศ. 2246 – 2251 เป็นเวลา 5 ปี สวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2251 พระชนมายุ 47 พรรษา

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระราชเทวี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระยาหลวงทิพเนตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พญาแสนหลวง (พระเจ้าเชียงใหม่)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางกุสาวดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระชายาในพญาแสนหลวง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 "6 กุมภาพันธ์ "วันมวยไทย" เทิดไท้ "พระเจ้าเสือ"". พีพีทีวี. 5 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ พิจิตร
  3. ราชอาณาจักรสยาม
  4. สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ:มติชน, 2548, หน้า 70
  5. 5.0 5.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ, หน้า 328
  6. ตามรอยพระเจ้าเสือ กษัตริย์นักมวย ณ ราชธานีเก่า - ไทยโพสต์
  7. ประวัติความเป็นมาของมวยไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
  8. ประวัติมวยไทย
  9. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน, หน้า 239-240
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับพระนารายณ์". ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 109
  11. 11.0 11.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 91-94
  12. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 183
  13. ปฐมวงศ์ ฉบับของ ก.ศ.ร. กุหลาบ, ในอภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ:มิตชน, 2545, หน้า 68
  14. เอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ เขียน, อัมพร สายสุวรรณ แปล. ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2545, หน้า 64
  15. เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (17 กุมภาพันธ์ 2555). "พระปีย์ vs พระเจ้าเสือ ใครคือโอรสลับของพระนารายณ์?". มติชนสุดสัปดาห์. 32:1644, หน้า 76
  16. 16.0 16.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์. พระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อย. สกุลไทย ฉบับที่ 2436 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2544
  17. ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ - จังหวัดพิจิตร
บรรณานุกรม
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2558. 558 หน้า. ISBN 978-616-92351-0-1 [จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔)]
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9


ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี ถัดไป
สมเด็จพระเพทราชา
(พ.ศ. 2231-2246)

พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
(พ.ศ. 2246-2251)
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
(พ.ศ. 2251-2275)