ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยรามคำแหง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Btsmrt12 (คุย | ส่วนร่วม)
Btsmrt12 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 278: บรรทัด 278:
|
|
| [http://www.faa.ru.ac.th/ RU-FAA]
| [http://www.faa.ru.ac.th/ RU-FAA]
|-
| [[คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง|สื่อสารมวลชน]] <small>(Faculty of Mass Communication)</small>
| 29 เมษายน พ.ศ. 2545
|
| [http://www.mac.ru.ac.th/ RU-MAC]
|-
|-
| [[คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง|พัฒนาทรัพยากรมนุษย์]] <small>(Faculty of Human Resource Development)</small>
| [[คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง|พัฒนาทรัพยากรมนุษย์]] <small>(Faculty of Human Resource Development)</small>
บรรทัด 283: บรรทัด 288:
|
|
| [http://www.hrd.ru.ac.th/ RU-HRD]
| [http://www.hrd.ru.ac.th/ RU-HRD]
|-
| [[คณะทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง|ทัศนมาตรศาสตร์]] <small>(Faculty of Optometry)</small>
| 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
|
| [http://www.opto.ru.ac.th/ RU-OPT]
|-
|-
|}
|}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:05, 15 มีนาคม 2561

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชื่อย่อม.ร. / RU
คติพจน์รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนาพ.ศ. 2514
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)
อุปนายกสภาฯสงวน ตียะไพบูลย์สิน (ทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย) (7 มีนาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยรามคำแหง เลขที่ 2086 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สี   สีน้ำเงิน-สีทอง
เครือข่ายASAIHL
เว็บไซต์เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ไฟล์:Banner1.png

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Ramkhamhaeng University; ชื่อย่อ: ม.ร. - RU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน อันเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และมีชื่อเสียงในด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์อย่างมาก

ประวัติ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา[1] กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือกนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 2514 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขการขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม

การตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2512 คือ นายประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย โดยในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชื่อมหาวิทยาลัย และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยตั้งคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมีพลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งกำหนดชื่อมหาวิทยาลัยในร่างพระราชบัญญัตินั้นว่า "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ..." โดยนายแคล้ว นรประติ ส.ส.จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้เสนอให้ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

ระยะแรก คณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่แสดงสินค้านานาชาติ ที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นที่ตั้งชั่วคราวจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้อนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งถาวร และได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่นๆ ในบางรายวิชา

สัญลักษณ์ของรามคำแหง

พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

นับแต่ได้สถานที่เป็นที่ตั้งถาวรแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคาร และปรับปรุงสถานที่ให้ทันกับการเปิดสอนของแต่ละปีมาโดยลำดับ ถาวรวัตถุสิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องก่อสร้างก่อนก็คือ ที่ประดิษฐาน..'พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช'.. ซึ่งมหาวิทยาลัยได้อัญเชิญมาเป็นเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย เมื่อได้สร้างเสร็จและอัญเชิญพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมาประดิษฐานเรียบร้อย ถาวรวัตถุนี้จะเป็นสัญญลักษณ์ที่รวมพลังกาย พลังใจของคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษาให้มุ่งประกอบแต่ความดีงามอันจักเป็นคุณต่อชาติบ้านเมืองสืบไป สำหรับพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ได้จัดสร้างตามแบบของกรมศิลปากร เป็นโลหะทองเหลืองผสมทองแดงและรมดำ ความสูงจากพื้นฐานถึงยอดพระมาลา 115 เซนติเมตร พระหัตถ์ขวาทรงถือหนังสือ และประทับบนพระแทนมนังคศิลาอาสน์(พระแท่นมนังศิลาบาตร) การหล่อพระบรมรูปต้องใช้วิธีแยกเททองเป็นส่วนๆ รวมถึง 5 ส่วน กว่าจะเสร็จครบบริบูรณ์ต้องใช้เวลาถึง 8 เดือนเศษ จากนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ (ฝ้ายคำซ้อน) เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542 สุพรรณิการ์มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมืองของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ นำเข้ามาประเทศไทยกว่า 50 ปีมาแล้ว

ตราประจำมหาวิทยาลัย

เป็นพระรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) จารึกนี้พบเมื่อ พ.ศ. 2376 ณ เนินปราสาท เมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ผนวชเป็นผู้ค้นพบ เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทย มีลักษณะเป็นแท่นหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินชนวนสีเขียวมีจารึกทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

สีประจำมหาวิทยาลัย

   "สีน้ำเงิน-ทอง" ความหมาย สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์คือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ส่วนสีทอง เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัย

อุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • ปรัชญา (Philosophy) : ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
  • ปณิธาน (Ambition) : พัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหงให้เป็นแหล่งวิทยาการแบบตลาดวิชา มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม และจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
  • วิสัยทัศน์ (Vision) : มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นองค์การเรียนรู้ (Learning Organization) ที่มีสมรรถนะสูง (High Organization) มุ่งผลิตบัณฑิตในอุดมคติไทยที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • คำขวัญ 1 (Slogan) : รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
  • คำขวัญ 2 (Slogan) : เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง
  • คำขวัญ 3 (Slogan) : สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม
  • คติพจน์ (Motto): อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ  : ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • รามคำแหงเปิดเรียนครั้งแรก ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2514 วิชาที่เปิดบรรยายเป็นวิชาแรกคือ LB103 (การใช้ห้องสมุด) โดยปัจจุบัน ได้เปลี่ยน รหัสวิชาเป็น LIS1003 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป ส่วนชื่อกระบวนวิชายังคงเดิม
  • คำขวัญเดิมของรามคำแหง คือ รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ เป็นของ ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดีคนแรก และต่อมาได้มีการคิดคำขวัญเพิ่มเติมขึ้นอีก ประมาณปี 2527 ได้มีการจัดประกวดคำขวัญของรามคำแหงขึ้น สำนวนที่ชนะเลิศคือ "เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง"
  • ค่าหน่วยกิตของรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีค่าหน่วยกิตถูกที่สุด คือ 25 บาท เดิมทีเดียวใน พ.ศ. 2514 กำหนดค่าหน่วยกิตไว้ที่ 30 บาท เนื่องจากคาดว่าอาจมีนักศึกษาเข้ามาสมัครเรียนไม่มากนัก แต่ปรากฏว่ากลับมีผู้สนใจสมัครเข้าเป็นนักศึกษาในครั้งนั้นกว่า 30,000 คน ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ จึงเสนอต่อที่ประชุม ทปม. เห็นควรให้ลดค่าหน่วยกิตลงมาเหลือ 25 บาท ครั้งหนึ่งในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้มีการเรียกร้องให้ลดค่าหน่วยกิตลงมาอีก ซึ่งได้ลดลงมาจนถึงหน่วยกิตละ 18 บาท จนถึงปีพ.ศ. 2537 ได้มีการเพิ่มค่าหน่วยกิตเป็น 25 บาท จนถึงปัจจุบัน ส่วนการเรียนแบบ Pre-degree สำหรับนักเรียนม.ปลายเก็บหน่วยกิต ค่าหน่วยกิตละ 50 บาท
  • เกรดของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ กล่าวคือ ใช้ระบบ G P F แสดงระดับผลการเรียนในระดับปริญญาตรี โดย G = Good 4.00 (ระดับคะแนน 80-100) , P = Pass 2.25 (ระดับคะแนน 60-79) และ F = Failure หมายถึงสอบตก (ระดับคะแนน 59 ลงมา) ในช่วงเตรียมจัดตั้งมหาวิทยาลัยได้มีบางท่านเสนอว่าควรใช้ระบบ A B C D แต่จากข้อสรุปของที่ประชุมตกลงให้ใช้ G P F ดังเช่นในปัจจุบัน สาเหตุที่ไม่ใช้ระบบ A B C D เนื่องจากนักศึกษามีเป็นจำนวนมาก และมีรูปแบบเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา การใช้ตะแกรงถี่เกินไปอาจไม่เป็นระบบการวัดผลที่ดี แต่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นตันไป มหาวิทยาลัยได้ปรับระบบเกรด จาก G P F เป็น A B C D เพื่อให้ทัดเทียมกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 [2] และมีการพิจารณาให้ ปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 แก่นักศึกษาที่มีระดับผลการเรียน G ร้อยละ 75 ของหน่วยกิตทั้งหมดของหลักสูตรการศึกษา และปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 2 แก่นักศึกษาผู้มีระดับผลการเรียน G ร้อยละ 50 ของหน่วยกิตทั้งหมดของหลักสูตรทั้งนี้นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับหลักสูตรนั้น และต้องไม่มีการลงทะเบียนในวิชาใดวิชาหนึ่งเกิน 1 ครั้ง ซึ่งเมื่อทางมหาวิทยาลัยได้ปรับระบบเกรดเป็น "A B C D" แล้วนั้น การพิจารณาให้เกียรตินิยมจึงเป็นดังนี้ ปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ให้แก่นักศึกษาที่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ย 3.75 ขึ้นไป , ปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 ให้แก่นักศึกษาผู้มีระดับผลการเรียนเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3.75 และ "'ปริญญาเกียรตินิยมอันดับสอง'" ให้แก่นักศึกษาผู้มีระดับผลการเรียนเฉลี่ย 3.25 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3.50 ส่วนการรีเกรดสามารถทำได้เฉพาะกรณีที่มีผลการเรียน "'D,D+'" เท่านั้น และที่สำคัญเกรด '"F"' จะไม่ปรากฏอยู่ในทรานสคริปส์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนในระบบตลาดวิชาและมีการสอบซ่อมภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง (ยกเว้นภาค 2 และภาคฤดูร้อนที่จะสอบซ่อมในคราวเดียวกัน)

ที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงและวิทยาเขต

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ส่วนกลาง)

แรกเริ่มที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่แสดงสินค้านานาชาติที่ ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จำนวน 300 ไร่เศษ เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย ระยะแรกที่ทำการเปิดสอนได้ใช้อาคารแสดงสินค้าที่มีอยู่เดิมเป็นที่ทำการและห้องเรียนของมหาวิทยาลัย ต่อมาได้มีการก่อสร้างอาคารที่ทำการคณะ/สำนัก/สถาบัน รวมทั้งอาคารเรียนฯลฯ เพิ่มขึ้นแทนอาคารแสดงสินค้าเดิมเหล่านั้น จะเห็นว่า ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงไปมาก บริเวณของมหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยอาคารหลากหลายที่ทันสมัย บรรยากาศเป็นมหาวิทยาลัยวิชาการ อีกทั้งภูมิทัศน์สวยงาม สะอาดและสะดวกสบาย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เป็นสถานที่ตั้งที่ทำการของทุกคณะ/สำนัก/สถาบันต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางการบริหารและการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ - สุวรรณนภาศรี (รามคำแหง 2 - บางนา)

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้จัดตั้ง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ - สุวรรณนภาศรี (วิทยาเขตบางนา)ในปีพ.ศ. 2522 (และเริ่มเปิดทำการสอนปีพ.ศ. 2527) บนที่ดินที่ได้รับบริจาคจำนวน 150 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8 ถนนบางนา – ตราด เพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วิทยาเขตบางนาจึงใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนกระบวนวิชาชั้นปีที่ 1 ของระดับปริญญาตรีทุกสาขา ต่อมาได้ใช้เป็นสถานที่สอนระดับปริญญาโทบางโครงการ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย

เมื่อปี พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย ขึ้น เพื่อการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้มีการจัดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งหลักสูตรโครงการพิเศษต่าง ๆ จังหวัดสุโขทัยนั้นในอดีตคือกรุงสุโขทัยในยุคสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีมติเห็นชอบโครงการยกฐานะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย ในการนี้ ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับงบประมาณแผ่นดินเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียน ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระยะดำเนินการก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จ ก็จะเปิดสอนคณะใหม่ที่วิทยาเขตแห่งนี้

พื้นที่การศึกษา

มหาวิทยาลัยรามคำแหง แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 5 ส่วน กับ 1วิทยาเขต และ1ศูนย์การศึกษา (วิทยาเขต)

  • ส่วนที่ 1 คือส่วนของพื้นที่ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี (กองคลัง กองแผนงาน) อาคารวิทยบริการและบริหาร กองบริการการศึกษา อาคารเรียนรวม (เวียงคำ) อาคารเรียนรวม (เวียงผา) คณะรัฐศาสตร์1 อาคารบรรยายรวมและศูนย์ศึกษารัฐศาสตร์ อาคารจอดรถพิเศษ8ชั้น ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษานานาชาติ โรงกลาง (โรงอาหารกลาง) อาคารนพมาศ (บัณฑิตศึกษา) หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาคารบรรยายรวม (กงไกรลาศ) ศูนย์ฝึกซ้อมกอล์ฟในร่ม KLB 601 สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล งานแพทย์และอนามัย
  • ส่วนที่ 2 คือส่วนพื้นที่การจัดศึกษาได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ อาคารบรรยายรวมบริหารธุรกิจ อาคารท่าชัย (บัณฑิตวิทยาลัย) อาคารสุโขทัย เป็นที่ตั้งของ (คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถาบันภาษา สำนักทดสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ ) อาคารคณะเศรษฐศาสตร์1 และ2 อาคารสถาบันคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา อาคารโรงยิม1
  • ส่วนที่ 3ครอบคลุมไปยัง คณะนิติศาสตร์1 นิติศาสตร์2 สำนักหอสมุดกลาง อาคารสวรรคโลก คณะศึกษาศาสตร์1 ศึกษาศาสตร์2 สำนักกีฬา สนามกีฬาแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายประถม โรงเรียนสาธิตอนุบาล สนามเทนนิส โรงยิม2 โรงยิม3 อาคารวิทยบริการ (กองอาคารสถานที่)
  • ส่วนที่ 4เป็นที่ตั้งของ คณะมนุษยศาสตร์ 1 และ2 คณะวิทยาศาสตร์ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อาคารเรียนวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายมัธยม อาคารเรียนคณะมนุษยศาสตร์ (ส่วนขยาย) อาคารวิทยาการจัดการ ภาควิชาสถิติ
  • ส่วนที่ 5เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สระน้ำ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงกลางสระน้ำ สร้างในแบบปราสาทจตุรมุข หอนาฬิกา
  • ส่วนที่ 6เป็นที่ตั้งของ กองงานวิทยาเขตบางนา จัดการเรียนการสอนของ นักศึกษาชั้นปริญญาตรี ปีที่1 และ ปริญญาบางสาขา
  • ส่วนที่ 7อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีมติเห็นชอบโครงการยกฐานะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย ในการนี้ ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับงบประมาณแผ่นดินเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียน ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระยะดำเนินการก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จ ก็จะเปิดสอนคณะใหม่ที่วิทยาเขตแห่งนี้

นอกจากนี้ยังมีส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นหน่วยจัดการเรียนการสอนและพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัย คือ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ต่างจังหวัด22แห่งจัดการเรียนการสอน ปริญญาตรี โท บางคณะ และสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ต่างประเทศ

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัด

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เริ่มขยายการเรียนการสอนสู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่2/2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ปวงชนชาวไทยในต่างประเทศทั่วโลก เพื่อนำการอุดมศึกษาไทยสู่สากลอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาการอุดมศึกษาไทยแข่งขันในเวทีการศึกษาโลก พัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งสร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและประเทศชาติให้กว้างไกลทั่วสากล หลักสูตรที่เปิดสอนในต่างประเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และกำลังจะเปิดสอนระดับปริญญาเอก ปัจจุบัน ขยายสู่ 29 ประเทศทั่วโลก มีศูนย์สอบ 38 แห่งในประเทศต่าง ๆ และกำลังขยายเพิ่มขึ้น การจัดสอบได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการให้ความอนุเคราะห์สถานที่สอบ และการดำเนินการจัดสอบ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศต่าง ๆ ที่มีผู้สมัครเรียน ประเทศที่มีศูนย์สอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง 29 ประเทศ ดังต่อไปนี้

สถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย

  • พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นจุดเด่นของพระราชวัง ซึ่งในมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็มีพระที่นั่งจำลององค์นี้ ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวรามคำแหงภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
  • เรือสุพรรณหงส์จำลอง อยู่กลางสระน้ำภายในเรือประดิษฐานพระพุทธรูปจำลอง ซื้งมีความสวยงามโดดเด่น
  • พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านไว้กลางมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า “ลานพ่อขุน” ที่นี่ จึงเป็นจุดรวมใจของชาวรามคำแหงทั้งมวล

ชาวรามคำแหงเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทาน ปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประจำทุกปี

  • ศาลาไทยประยุกต์ อยู่หน้าอาคารสุโขทัย เป็นศาลาประยุกต์ กลางน้ำ จัดเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานร่วมสมัย
  • หอนาฬิกา จัดเป็นหอนาฬิกาขนาดใหญ่ มีความสูงเท่ากับตึก4 ชั้น หน้าปัด เป็นสถาปัตยกรรมศิลาจารึก เป็นกระจกสีฟ้า เดินเวลาแบบดิจิตอล
  • หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นอาคารแบบประยุกต์ 2 ชั้น โดยด้านหน้ามีหลังคาเป็นศิลาจารึก โดยภายในอาคารมีห้องรับรองไว้สำหรับเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาประกอบพระกรณียกิจที่มหาวิทยาลัย และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย

วิชาการ

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในปีพ.ศ. 2514 ซึ่งในครั้งแรกเปิดสอนใน 4 คณะ คือ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ โดยมีผู้สนใจสมัครเป็นนักศึกษาในครั้งแรกจำนวน 37,198 คน ต่อมาในพ.ศ. 2517 ได้เปิดเพิ่มอีกสามคณะคือ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ กระทั่งในปี 2540 ได้เปิดสอนคณะวิศวกรรม ศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก จนสถานที่เรียนที่หัวหมากเริ่มแออัด มหาวิทยาลัยจึงได้ เปิดวิทยาเขตรามคำแหง 2 หรือวิทยาเขตบางนา ขึ้นในปีพ.ศ. 2527 ที่ถนนบางนา-ตราด กม.8 แขวงวัดดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 150 ไร่เศษ โดยใช้เป็นที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่น ๆ ในบางรายวิชา

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีกระบวนวิชาที่เปิดสอน ในระดับปริญญาตรีประมาณ 1,900 กระบวนวิชา ระดับปริญญาโท 130 กระบวนวิชาจัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 256 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 111 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8 หลักสูตร ปริญญา จัดการสอนในหลักสูตรระดับอนุปริญญา 23 สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 สาขาวิชาระดับ ปริญญาโท 30 สาขาวิชา โดยมีคณะวิชาที่รับผิดชอบ 8 คณะ และหน่วยงานเทียบเท่าคณะรับผิดชอบการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาอีก 1 หน่วยงาน รวมทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรปริญญาเอก และหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ และเปิดคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะธุรกิจการบริการ คณะสาธารณสุขศาสตร์

กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

นอกจากนี้ ยังมีหลายหน่วยงานที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา อาทิ สถาบันภาษา, กองกิจการนักศึกษา เป็นต้น อีกทั้งทางมหาวิทยาลัยยังมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับสูงกว่าปริญญาตรีอีกด้วย อันได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสถาบันภาษา

กลุ่มบัณฑิตศึกษา

รายละเอียด

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะ ก่อตั้ง สีประจำคณะ หมายเหตุ
คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law) 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514   สีขาว RU-LAW
คณะบริหารธุรกิจ (Faculty of Business Administration) 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514   สีฟ้า RU-BUS
คณะมนุษยศาสตร์ (Faculty of Humanities) 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514   สีส้ม RU-HUM
คณะศึกษาศาสตร์ (Faculty of Education) 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514   สีชมพู RU-EDU
คณะรัฐศาสตร์ (Faculty of Science) 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516   สีแดง RU-POL
คณะเศรษฐศาสตร์ (Faculty of Economics) 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516   สีม่วง RU-ECO
คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Science) 29 มีนาคม พ.ศ. 2517   สีเหลือง RU-SCI
บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School) 21 ธันวาคม พ.ศ. 2536 RU-GS
คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering) พ.ศ. 2540   สีเลือดหมู RU-ENG
ศิลปกรรมศาสตร์ (Faculty of Fine and Applied Arts) RU-FAA
สื่อสารมวลชน (Faculty of Mass Communication) 29 เมษายน พ.ศ. 2545 RU-MAC
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Faculty of Human Resource Development) 18 กันยายน พ.ศ. 2552 RU-HRD
ทัศนมาตรศาสตร์ (Faculty of Optometry) 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 RU-OPT

หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ ยังประกอบด้วย สำนักงานสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2518 นับเป็นวันที่สำคัญยิ่งของชาวรามคำแหง เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และประทับ ณ ห้องรามคำแหงอนุสรณ์ถือเป็นความภาคภูมิใจหนึ่งของมหาวิทยาลัยและชาวรามคำแหง เพราะเป็นห้องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถประทับพักพระราชอิริยาบถ ทรงฉลองพระองค์ชุดครุย และวันเดียวกันในช่วงบ่ายมีพิธีทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางสังคมวิทยา แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จากนั้นพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ณ บริเวณหน้าสำนักหอสมุดกลางฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงจารึกวันมหามงคลนี้ กำหนดเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ

พระราชทานพระบรมราโชวาท

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานปริญญาบัตรแล้ว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บัณฑิต ความตอนหนึ่งว่า...

...มหาวิทยาลัยรามคำแหงนี้เป็นมหาวิทยาลัยในแบบที่ให้โอกาสแก่

ผู้ปรารถนาวิชาความรู้ ให้เข้ามาศึกษาค้นคว้าวิทยาการต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง และอย่างอิสระจึงอำนวยประโยชน์ได้มาก ในด้านสนับสนุนส่งเสริมบุคคลทั่วไป และโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานแล้ว ให้ได้ฟื้นฟูเพิ่มพูนความสามารถของตนทางด้านวิชาการ เพื่อนำไปปรับปรุง การงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยกฐานะหน้าที่ให้สูงขึ้น มหาวิทยาลัยมีความมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งที่จะส่งเสริม ผู้ที่เข้ามาศึกษาดังนี้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วทุกคนควรจะได้มองเห็น และควรที่จะได้น้อมนำมาเป็นคติในการดำเนินชีวิต และการงานต่อไป โดยทำความตั้งใจและความเพียรให้มั่นคง ในอันที่จะฝึกฝนและปรับปรุงตนเอง ในการทำงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และสำคัญที่สุดควรจะได้พยายาม หาทางนำความคิดวิทยาการซึ่งอุตส่าห์ฝึกฝนศึกษามาได้ด้วยยากนั้นมาใช้ ให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความ

เจริญมั่นคงของชาติบ้านเมืองของเรา...

— พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรปัจจุบัน

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

สถานที่พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก

ห้องรามคำแหงอนุสรณ์ตั้งอยู่บริเวณอาคาร 1 ชั้น 1 สำนักหอสมุดกลาง ภายในห้องรามคำแหงอนุสรณ์นั้นแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ในส่วนที่ 1 เป็นส่วนของห้องรับรองที่ทรงใช้ประทับพักพระราชอิริยาบถ และเสวยพระสุธารส พระราชอาสน์ทุกองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในส่วนนี้เป็นของเดิมทั้งหมด ที่ทางสำนักหอสมุดกลางได้ดูแล และเก็บรักษาเป็นอย่างดี และให้คงอยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด ส่วนที่ 2 และ3 เป็นห้องทรงฉลองพระองค์ครุย ทรงเปลื้องพระองค์ครุย ทรงแต่งพระวรกาย เครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่อยู่ในส่วนนี้ทุกองค์ก็ได้รับการดูแลไว้เป็นอย่างดีที่สุดเช่นกัน

ปัจจุบันทางสำนักหอสมุดกลางได้ปรับปรุงห้องรามคำแหงอนุสรณ์ให้เป็นห้องสำหรับจัดนิทรรศการ แสดงพระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่บัณฑิตรุ่นแรกในวันที่ 26 และ 27 พฤศจิกายน 2518 พระราชนิพนธ์ และสิ่งของที่จัดทำเป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสต่างๆ อาทิ เหรียญที่ระลึก เรือใบจำลอง (เรือมด) และอื่นๆ รวมทั้งใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของบัณฑิตรุ่นแรก เช่นหนังสืออนุสรณ์บัณฑิตรุ่นแรก หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหงฉบับปฐมฤกษ์ หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหงที่จัดพิมพ์เป็นพิเศษเนื่องในวันพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเป็นต้น พร้อมทั้งเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชม ศึกษาหาความรู้ และร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของทั้งสองพระองค์ ที่ทรงมีต่อผสกนิกรชาวรามคำแหง

รายนามอธิการบดีและรักษาราชการแทนอธิการบดี

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมี อธิการบดี มาแล้ว 9 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์

13 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (วาระที่ 1)
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (วาระที่ 2)
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วาระที่ 3)

[1]
[2]
[3]
2. ศาสตราจารย์ กำธร พันธุลาภ

2 กันยายน พ.ศ. 2517 - 1 กันยายน พ.ศ. 2519 (วาระที่ 1)
21 กันยายน พ.ศ. 2519 - 20 กันยายน พ.ศ. 2521 (วาระที่ 2)

[4]
[5]

3. รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรมย์ ณ นคร

3 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2525

[6]

4. รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

15 มกราคม พ.ศ. 2526 - 14 มกราคม พ.ศ. 2528 (วาระที่ 1)
15 เมษายน พ.ศ. 2528 - 14 เมษายน พ.ศ. 2530 (วาระที่ 2)

[7]
[8]
5. ศาสตราจารย์ ดร.ธรรมนูญ โสภารัตน์

13 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2532

[9]

6. รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล

6 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (วาระที่ 1)
20 กันยายน พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2537 (วาระที่ 2)

[10]
[11]

7. รองศาสตราจารย์ รังสรรค์ แสงสุข

13 มกราคม พ.ศ. 2537 - 12 มกราคม พ.ศ. 2539 (วาระที่ 1)
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (วาระที่ 2)
20 สิงหาคม พ.ศ. 2541 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 (วาระที่ 3)
16 มกราคม พ.ศ. 2546 - 16 มกราคม พ.ศ. 2550 (วาระที่ 4)

[12]
[13]
[14]
[15]

8. รองศาสตราจารย์ คิม ไชยแสนสุข

18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

[16]

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์

21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (วาระที่ 1)
3 มีนาคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

[17]
[18]

รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 5 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. จอมพล ถนอม กิตติขจร

พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2515

2. พลเอกแสวง เสนาณรงค์

18 กันยายน พ.ศ. 2515 - 18 กันยายน พ.ศ. 2517

[19]

3. ศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย

30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 - 17 กันยายน พ.ศ. 2519
18 กันยายน พ.ศ. 2519 - 17 กันยายน พ.ศ. 2521
18 กันยายน พ.ศ. 2521 - 17 กันยายน พ.ศ. 2523
18 กันยายน พ.ศ. 2523 - 17 กันยายน พ.ศ. 2525
18 กันยายน พ.ศ. 2525 - 16 กันยายน พ.ศ. 2527
17 กันยายน พ.ศ. 2527 - 16 กันยายน พ.ศ. 2529
17 กันยายน พ.ศ. 2529 - 16 กันยายน พ.ศ. 2531
17 กันยายน พ.ศ. 2531 - 16 กันยายน พ.ศ. 2533
17 กันยายน พ.ศ. 2533 - 16 กันยายน พ.ศ. 2535
17 กันยายน พ.ศ. 2535 - 16 กันยายน พ.ศ. 2537
17 กันยายน พ.ศ. 2537 - 16 กันยายน พ.ศ. 2539
17 กันยายน พ.ศ. 2539 - 16 กันยายน พ.ศ. 2541
23 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2543
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 - 16 กันยายน พ.ศ. 2546

[20]
[21]
[22]
[23]
[24]
[25]
[26]
[27]
[28]
[29]
[30]
[31]
[32]
[33]

4. นายประจวบ ไชยสาส์น

16 กันยายน พ.ศ. 2546 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (วาระที่ 1)
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (วาระที่ 2)
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (วาระที่ 3)

[34]
[35]
[36]

5. นายวิรัช ชินวินิจกุล

8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (วาระที่ 1)
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (วาระที่ 2)
10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2561 (วาระที่ 3) (ลาออกก่อนครบวาระ)[3][4]

[37]
[38]
[39]

-. นายสงวน ตียะไพบูลย์สิน

7 มีนาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน (อุปนายกสภามหาวิทยาลัย ทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย)[5]

[40]

กีฬาศาสตร์สัมพันธ์

กีฬาศาสตร์สัมพันธ์ หรือ ศาสตร์เกมส์ (SARD Games) เป็นกีฬาระหว่างชมรมที่ใหญ่ที่สุดในมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2557 ซึ่งมีลำดับการแข่งขัน ดังนี้

ครั้งที่ วันที่ ชมรม หมายเหตุ
1 5–7 กันยายน พ.ศ. 2557 8
2 9–11 ตุลาคม พ.ศ. 2558 9
3 14–18 กันยายน พ.ศ. 2559 9

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

การแข่งขัน ทอง เงิน ทองแดง รวม อันดับ
ไฟล์:Chiang Mai University Logo.png มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2513 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2515
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2517 40 27 27 94 1
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2518 49 32 19 100 1
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง 2519 42 41 24 107 1
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 4 แห่ง 2521 45 48 20 113 1
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง 2522 73 41 37 151 1
ไฟล์:Chiang Mai University Logo.png มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2523 42 25 30 97 1
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง 2524 66 32 36 134 1
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2525 49 32 27 108 1
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2526 65 47 43 155 1
ไฟล์:KKU Emblem.png มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2527 55 31 36 122 1
ไฟล์:มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2.png มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2528 84 40 21 145 1
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2529 38 26 27 91 1
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2530 43 26 27 96 1
ไฟล์:Chiang Mai University Logo.png มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2531 47 30 22 99 1
ไฟล์:KKU Emblem.png มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2532 24 29 25 78 3
ไฟล์:มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2.png มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2533 32 28 21 81 2
ไฟล์:Logo Mahidol.png มหาวิทยาลัยมหิดล 2534 32 28 21 81 2
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2535
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2536
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2537
ไฟล์:มหาวิทยาลัยแม่โจ้ edit.png สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ 2538
ไฟล์:มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2.png มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2539 33 25 29 87 1
ไฟล์:Logo Mahidol.png มหาวิทยาลัยมหิดล 2540
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2541
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2542
ไฟล์:WTU logo.jpg มหาวิทยาลัยณิวัฒนา 2543
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2544
ไฟล์:Logo SPU.png มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2545 11 2 11 24 5
ไฟล์:Chiang Mai University Logo.png มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2546
ไฟล์:Sut logo Thai.svg มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2547 10 2 12 24 6
ไฟล์:Logo Mahidol.png มหาวิทยาลัยมหิดล 2548 6 8 11 25 13
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2549 8 11 10 29 11
ไฟล์:ตรามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.png มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2550 6 11 14 31 12
ไฟล์:มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2.png มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2551 30 17 17 64 2
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552 13 8 21 42 9
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2553 18 18 13 49 3
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2554 15 19 18 52 8
สถาบันการพลศึกษา 2555 12 8 17 37 8
ไฟล์:KKU Emblem.png มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556 6 10 11 27 15
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2557 3 3 13 19 25
ไฟล์:Ubu logo.png มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2558 4 3 8 15 19
ไฟล์:Sut logo Thai.svg มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2559 3 5 10 18 20
ไฟล์:RMUTTLOGO.png มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2560 7 5 9 21 11
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2561 การแข่งขันในอนาคต
รวม 1,004 727 707 2,438

รายนามบุคคลที่ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ศิษย์สร้างชื่อเสียงมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ตลอดระยะเวลา 46 ปี ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีความภูมิใจในบัณฑิตและศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วกว่า 8 แสนคน ซึ่งศิษย์เก่าเหล่านี้ได้นำวิชาความรู้ไปสร้างสรรค์สังคม และประสบความสำเร็จในวิชาชีพมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างเป็นที่ประจักษ์ชัด

  • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี, อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร, อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี,อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร,ฯลฯ , ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ทวิช กลิ่นประทุม อดีตรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ทบวงมหาวิทยาลัย, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษโน, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ, ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ชัย ชิดชอบ อดีตประธานรัฐสภา, อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร, ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และกระทรวงสาธารณสุข
  • นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ชินวรณ์ บุณยเกียรติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ,อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • อ.วันชัย สอนศิริ ทนายความ, อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ดร.วราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • วิทวัส บุญญสถิตย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตสมาชิกวุฒิสภา, อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • พล.อ.ดร.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, อดีตผู้บัญชาการทหารบก ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • พล.อ.คมสัน มานวกุล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก แม่ทัพน้อยที่ 2,อดีตผู้ช่วยเสนาธิการกองทัพบก ฝ่ายกิจการพลเรือน ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง,อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,กรรมการปฏิรูปกฎหมาย,อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,อดีตกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย,ประธานคณะทำงานการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์
  • ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์
  • รศ.คิม ไชยแสนสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง,อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์
  • ชวลิต สุจริตกุล ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 9, อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา(คนแรกของรามคำแหง) ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ศิริชัย วัฒนโยธิน อดีตประธานศาลอุทธรณ์, อดีตรองประธานศาลฎีกา, อดีตอุปนายกเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา, กรรมการกฤษฎีกา, นายกเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานศาลอุทธรณ์, ประธานกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม, อุปนายกเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ชัยยุทธ ศรีจำนงค์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา, อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลชั้นฎีกา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ เลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา, กรรมการเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • สราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม, กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม, กรรมการเนติบัณฑิตยสภา, กรรมการอำนวยการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, อดีตเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ, กรรมการเนติบัณฑิตยสภา, กรรมการอำนวยการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • สรัลชา ศรีชลวัฒนา อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน สภาทนายความ, เลขาธิการสภาทนายความ ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ว่าที่พันตรีสมบัติ วงศ์กำแหง อุปนายกฝ่ายบริหาร สภาทนายความ, ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ, กรรมการเนติบัณฑิตยสภา, ประธานคณะอนุกรรมการบริหารสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • มงคล สุระสัจจะ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง อดีตอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง อดีตรองอธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ศิษย์เก่าคณะบริหารธุรกิจ
  • วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน , อดีตรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิชย์ ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์
  • กำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • นิรันดร์ กัลยาณมิตร รองอธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนการบริหารงานแบบบูรณาการ) ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตเลขาธิการสภาทนายความ, อดีตสมาชิกวุฒิสภา, อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2550) คนที่1, อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร, อดีตสมาชิกสภาปฏิรูประเทศ, , ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา,อดีตข้าราชการ กองตรวจเงินรัฐวิสาหกิจและเงินทุน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, อดีตที่ปรึกษาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ศิษย์เก่าคณะบริหารธุรกิจ
  • นายกองเอก เจริญ สิริวัฒนภักดี นักธุรกิจชาวไทย ประธานกรรมการบริษัทไทยเบฟเวอเรจ ระดับปริญญาตรี ,ระดับปริญญาโท จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ดร.ณัฐกฤตย์ ณ ชุมพร ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์,นักบริหาร,เจ้าของกิจการไร่กาแฟ, เจ้าของผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วสดยี่ห้อ Hilly Coffee กาแฟดีติดอันดับโลกของคนไทย, ปริญญาตรี,โท,เอก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รศ.พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • ภราดร ศรีชาพันธุ์ อดีตนักเทนนิสอันดับ 9 ของโลก ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • ร.อ.หญิง อารีย์ วิรัฐถาวร นักกีฬายกน้ำหนักเหรียญทองแดง โอลิมปิก 2004 ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์ เอกสื่อสารมวลชน
  • เจิมมาศ จึงเลิศศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • พลตำรวจโท ดร.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • ชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล ศิษย์เก่าปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์บัณฑิตภาคพิเศษ
  • ลีนา จังจรรจา นักธุรกิจชาวไทย มีชื่อเสียงจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2547, 2551 และ 2552 ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • วิชัย รักศรีอักษร นักธุรกิจชาวไทยที่มีชื่อเสียง ปัจจุบันเป็นเจ้าของกลุ่มกิจการคิง เพาเวอร์ และประธานสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ในอังกฤษ ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์)
  • คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ ,ปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ ,ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปวีณา หงสกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ,ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ,ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล กรรมการมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานกรรมการ และเลขาธิการมูลนิธิบำรุงขวัญทหาร ตำรวจ อาสาสมัครชายแดน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประธานกรรมการมูลนิธินพรัช-รัตนโกสินทร์ กรรมการมูลนิธิศาสตราจารย์นายแพทย์หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ร้อยตำรวจเอก ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปริญญาตรีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิรินทรา ยายี (เมย์) ทายาทรุ่นที่7 ของพระนางมัสสุหรี เจ้าหญิงแห่งเกาะลังกาวี รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย,คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ

ศิษย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีชื่อเสียงด้านวงการบันเทิง

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยรามคำแหง อยู่ในอันดับที่ 3128 ของโลก และอันดับที่ 26 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[6]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′19″N 100°37′13″E / 13.755236°N 100.620142°E / 13.755236; 100.620142