ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยรามคำแหง"

พิกัด: 13°45′19″N 100°37′13″E / 13.755236°N 100.620142°E / 13.755236; 100.620142
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Btsmrt12 (คุย | ส่วนร่วม)
Btsmrt12 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 271: บรรทัด 271:
| [[คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง|คณะวิศวกรรมศาสตร์]] <small>(Faculty of Engineering)</small>
| [[คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง|คณะวิศวกรรมศาสตร์]] <small>(Faculty of Engineering)</small>
|
|
| {{color box|darkred}} [[สีแดง|สีเลือดหมู]]
| {{color box|#B22222}} [[สีแดง|สีเลือดหมู]]
| [http://www.eng.ru.ac.th/ RU-ENG]
| [http://www.eng.ru.ac.th/ RU-ENG]
|-
|-

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:17, 15 มีนาคม 2561

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชื่อย่อม.ร. / RU
คติพจน์รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนาพ.ศ. 2514
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)
อุปนายกสภาฯสงวน ตียะไพบูลย์สิน (ทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย) (7 มีนาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยรามคำแหง เลขที่ 2086 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สี   สีน้ำเงิน-สีทอง
เครือข่ายASAIHL
เว็บไซต์เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ไฟล์:Banner1.png

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Ramkhamhaeng University; ชื่อย่อ: ม.ร. - RU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน อันเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และมีชื่อเสียงในด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์อย่างมาก

ประวัติ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา[1] กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือกนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 2514 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขการขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม

การตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2512 คือ นายประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย โดยในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชื่อมหาวิทยาลัย และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยตั้งคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมีพลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งกำหนดชื่อมหาวิทยาลัยในร่างพระราชบัญญัตินั้นว่า "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ..." โดยนายแคล้ว นรประติ ส.ส.จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้เสนอให้ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

ระยะแรก คณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่แสดงสินค้านานาชาติ ที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นที่ตั้งชั่วคราวจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้อนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งถาวร และได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่นๆ ในบางรายวิชา

สัญลักษณ์ของรามคำแหง

พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

นับแต่ได้สถานที่เป็นที่ตั้งถาวรแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคาร และปรับปรุงสถานที่ให้ทันกับการเปิดสอนของแต่ละปีมาโดยลำดับ ถาวรวัตถุสิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องก่อสร้างก่อนก็คือ ที่ประดิษฐาน..'พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช'.. ซึ่งมหาวิทยาลัยได้อัญเชิญมาเป็นเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย เมื่อได้สร้างเสร็จและอัญเชิญพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมาประดิษฐานเรียบร้อย ถาวรวัตถุนี้จะเป็นสัญญลักษณ์ที่รวมพลังกาย พลังใจของคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษาให้มุ่งประกอบแต่ความดีงามอันจักเป็นคุณต่อชาติบ้านเมืองสืบไป สำหรับพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ได้จัดสร้างตามแบบของกรมศิลปากร เป็นโลหะทองเหลืองผสมทองแดงและรมดำ ความสูงจากพื้นฐานถึงยอดพระมาลา 115 เซนติเมตร พระหัตถ์ขวาทรงถือหนังสือ และประทับบนพระแทนมนังคศิลาอาสน์(พระแท่นมนังศิลาบาตร) การหล่อพระบรมรูปต้องใช้วิธีแยกเททองเป็นส่วนๆ รวมถึง 5 ส่วน กว่าจะเสร็จครบบริบูรณ์ต้องใช้เวลาถึง 8 เดือนเศษ จากนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ (ฝ้ายคำซ้อน) เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542 สุพรรณิการ์มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมืองของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ นำเข้ามาประเทศไทยกว่า 50 ปีมาแล้ว

ตราประจำมหาวิทยาลัย

เป็นพระรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) จารึกนี้พบเมื่อ พ.ศ. 2376 ณ เนินปราสาท เมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ผนวชเป็นผู้ค้นพบ เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทย มีลักษณะเป็นแท่นหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินชนวนสีเขียวมีจารึกทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

สีประจำมหาวิทยาลัย

   "สีน้ำเงิน-ทอง" ความหมาย สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์คือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ส่วนสีทอง เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัย

อุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • ปรัชญา (Philosophy) : ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
  • ปณิธาน (Ambition) : พัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหงให้เป็นแหล่งวิทยาการแบบตลาดวิชา มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม และจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
  • วิสัยทัศน์ (Vision) : มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นองค์การเรียนรู้ (Learning Organization) ที่มีสมรรถนะสูง (High Organization) มุ่งผลิตบัณฑิตในอุดมคติไทยที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • คำขวัญ 1 (Slogan) : รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
  • คำขวัญ 2 (Slogan) : เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง
  • คำขวัญ 3 (Slogan) : สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม
  • คติพจน์ (Motto): อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ  : ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • รามคำแหงเปิดเรียนครั้งแรก ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2514 วิชาที่เปิดบรรยายเป็นวิชาแรกคือ LB103 (การใช้ห้องสมุด) โดยปัจจุบัน ได้เปลี่ยน รหัสวิชาเป็น LIS1003 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป ส่วนชื่อกระบวนวิชายังคงเดิม
  • คำขวัญเดิมของรามคำแหง คือ รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ เป็นของ ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดีคนแรก และต่อมาได้มีการคิดคำขวัญเพิ่มเติมขึ้นอีก ประมาณปี 2527 ได้มีการจัดประกวดคำขวัญของรามคำแหงขึ้น สำนวนที่ชนะเลิศคือ "เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง"
  • ค่าหน่วยกิตของรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีค่าหน่วยกิตถูกที่สุด คือ 25 บาท เดิมทีเดียวใน พ.ศ. 2514 กำหนดค่าหน่วยกิตไว้ที่ 30 บาท เนื่องจากคาดว่าอาจมีนักศึกษาเข้ามาสมัครเรียนไม่มากนัก แต่ปรากฏว่ากลับมีผู้สนใจสมัครเข้าเป็นนักศึกษาในครั้งนั้นกว่า 30,000 คน ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ จึงเสนอต่อที่ประชุม ทปม. เห็นควรให้ลดค่าหน่วยกิตลงมาเหลือ 25 บาท ครั้งหนึ่งในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้มีการเรียกร้องให้ลดค่าหน่วยกิตลงมาอีก ซึ่งได้ลดลงมาจนถึงหน่วยกิตละ 18 บาท จนถึงปีพ.ศ. 2537 ได้มีการเพิ่มค่าหน่วยกิตเป็น 25 บาท จนถึงปัจจุบัน ส่วนการเรียนแบบ Pre-degree สำหรับนักเรียนม.ปลายเก็บหน่วยกิต ค่าหน่วยกิตละ 50 บาท
  • เกรดของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ กล่าวคือ ใช้ระบบ G P F แสดงระดับผลการเรียนในระดับปริญญาตรี โดย G = Good 4.00 (ระดับคะแนน 80-100) , P = Pass 2.25 (ระดับคะแนน 60-79) และ F = Failure หมายถึงสอบตก (ระดับคะแนน 59 ลงมา) ในช่วงเตรียมจัดตั้งมหาวิทยาลัยได้มีบางท่านเสนอว่าควรใช้ระบบ A B C D แต่จากข้อสรุปของที่ประชุมตกลงให้ใช้ G P F ดังเช่นในปัจจุบัน สาเหตุที่ไม่ใช้ระบบ A B C D เนื่องจากนักศึกษามีเป็นจำนวนมาก และมีรูปแบบเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา การใช้ตะแกรงถี่เกินไปอาจไม่เป็นระบบการวัดผลที่ดี แต่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นตันไป มหาวิทยาลัยได้ปรับระบบเกรด จาก G P F เป็น A B C D เพื่อให้ทัดเทียมกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 [2] และมีการพิจารณาให้ ปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 แก่นักศึกษาที่มีระดับผลการเรียน G ร้อยละ 75 ของหน่วยกิตทั้งหมดของหลักสูตรการศึกษา และปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 2 แก่นักศึกษาผู้มีระดับผลการเรียน G ร้อยละ 50 ของหน่วยกิตทั้งหมดของหลักสูตรทั้งนี้นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับหลักสูตรนั้น และต้องไม่มีการลงทะเบียนในวิชาใดวิชาหนึ่งเกิน 1 ครั้ง ซึ่งเมื่อทางมหาวิทยาลัยได้ปรับระบบเกรดเป็น "A B C D" แล้วนั้น การพิจารณาให้เกียรตินิยมจึงเป็นดังนี้ ปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ให้แก่นักศึกษาที่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ย 3.75 ขึ้นไป , ปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 ให้แก่นักศึกษาผู้มีระดับผลการเรียนเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3.75 และ "'ปริญญาเกียรตินิยมอันดับสอง'" ให้แก่นักศึกษาผู้มีระดับผลการเรียนเฉลี่ย 3.25 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3.50 ส่วนการรีเกรดสามารถทำได้เฉพาะกรณีที่มีผลการเรียน "'D,D+'" เท่านั้น และที่สำคัญเกรด '"F"' จะไม่ปรากฏอยู่ในทรานสคริปส์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนในระบบตลาดวิชาและมีการสอบซ่อมภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง (ยกเว้นภาค 2 และภาคฤดูร้อนที่จะสอบซ่อมในคราวเดียวกัน)

ที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงและวิทยาเขต

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ส่วนกลาง)

แรกเริ่มที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่แสดงสินค้านานาชาติที่ ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จำนวน 300 ไร่เศษ เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย ระยะแรกที่ทำการเปิดสอนได้ใช้อาคารแสดงสินค้าที่มีอยู่เดิมเป็นที่ทำการและห้องเรียนของมหาวิทยาลัย ต่อมาได้มีการก่อสร้างอาคารที่ทำการคณะ/สำนัก/สถาบัน รวมทั้งอาคารเรียนฯลฯ เพิ่มขึ้นแทนอาคารแสดงสินค้าเดิมเหล่านั้น จะเห็นว่า ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงไปมาก บริเวณของมหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยอาคารหลากหลายที่ทันสมัย บรรยากาศเป็นมหาวิทยาลัยวิชาการ อีกทั้งภูมิทัศน์สวยงาม สะอาดและสะดวกสบาย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เป็นสถานที่ตั้งที่ทำการของทุกคณะ/สำนัก/สถาบันต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางการบริหารและการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ - สุวรรณนภาศรี (รามคำแหง 2 - บางนา)

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้จัดตั้ง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ - สุวรรณนภาศรี (วิทยาเขตบางนา)ในปีพ.ศ. 2522 (และเริ่มเปิดทำการสอนปีพ.ศ. 2527) บนที่ดินที่ได้รับบริจาคจำนวน 150 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8 ถนนบางนา – ตราด เพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วิทยาเขตบางนาจึงใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนกระบวนวิชาชั้นปีที่ 1 ของระดับปริญญาตรีทุกสาขา ต่อมาได้ใช้เป็นสถานที่สอนระดับปริญญาโทบางโครงการ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย

เมื่อปี พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย ขึ้น เพื่อการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้มีการจัดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งหลักสูตรโครงการพิเศษต่าง ๆ จังหวัดสุโขทัยนั้นในอดีตคือกรุงสุโขทัยในยุคสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีมติเห็นชอบโครงการยกฐานะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย ในการนี้ ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับงบประมาณแผ่นดินเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียน ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระยะดำเนินการก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จ ก็จะเปิดสอนคณะใหม่ที่วิทยาเขตแห่งนี้

พื้นที่การศึกษา

มหาวิทยาลัยรามคำแหง แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 5 ส่วน กับ 1วิทยาเขต และ1ศูนย์การศึกษา (วิทยาเขต)

  • ส่วนที่ 1 คือส่วนของพื้นที่ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี (กองคลัง กองแผนงาน) อาคารวิทยบริการและบริหาร กองบริการการศึกษา อาคารเรียนรวม (เวียงคำ) อาคารเรียนรวม (เวียงผา) คณะรัฐศาสตร์1 อาคารบรรยายรวมและศูนย์ศึกษารัฐศาสตร์ อาคารจอดรถพิเศษ8ชั้น ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษานานาชาติ โรงกลาง (โรงอาหารกลาง) อาคารนพมาศ (บัณฑิตศึกษา) หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาคารบรรยายรวม (กงไกรลาศ) ศูนย์ฝึกซ้อมกอล์ฟในร่ม KLB 601 สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล งานแพทย์และอนามัย
  • ส่วนที่ 2 คือส่วนพื้นที่การจัดศึกษาได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ อาคารบรรยายรวมบริหารธุรกิจ อาคารท่าชัย (บัณฑิตวิทยาลัย) อาคารสุโขทัย เป็นที่ตั้งของ (คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถาบันภาษา สำนักทดสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ ) อาคารคณะเศรษฐศาสตร์1 และ2 อาคารสถาบันคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา อาคารโรงยิม1
  • ส่วนที่ 3ครอบคลุมไปยัง คณะนิติศาสตร์1 นิติศาสตร์2 สำนักหอสมุดกลาง อาคารสวรรคโลก คณะศึกษาศาสตร์1 ศึกษาศาสตร์2 สำนักกีฬา สนามกีฬาแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายประถม โรงเรียนสาธิตอนุบาล สนามเทนนิส โรงยิม2 โรงยิม3 อาคารวิทยบริการ (กองอาคารสถานที่)
  • ส่วนที่ 4เป็นที่ตั้งของ คณะมนุษยศาสตร์ 1 และ2 คณะวิทยาศาสตร์ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อาคารเรียนวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายมัธยม อาคารเรียนคณะมนุษยศาสตร์ (ส่วนขยาย) อาคารวิทยาการจัดการ ภาควิชาสถิติ
  • ส่วนที่ 5เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สระน้ำ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงกลางสระน้ำ สร้างในแบบปราสาทจตุรมุข หอนาฬิกา
  • ส่วนที่ 6เป็นที่ตั้งของ กองงานวิทยาเขตบางนา จัดการเรียนการสอนของ นักศึกษาชั้นปริญญาตรี ปีที่1 และ ปริญญาบางสาขา
  • ส่วนที่ 7อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีมติเห็นชอบโครงการยกฐานะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย ในการนี้ ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับงบประมาณแผ่นดินเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียน ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระยะดำเนินการก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จ ก็จะเปิดสอนคณะใหม่ที่วิทยาเขตแห่งนี้

นอกจากนี้ยังมีส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นหน่วยจัดการเรียนการสอนและพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัย คือ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ต่างจังหวัด22แห่งจัดการเรียนการสอน ปริญญาตรี โท บางคณะ และสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ต่างประเทศ

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัด

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เริ่มขยายการเรียนการสอนสู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่2/2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ปวงชนชาวไทยในต่างประเทศทั่วโลก เพื่อนำการอุดมศึกษาไทยสู่สากลอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาการอุดมศึกษาไทยแข่งขันในเวทีการศึกษาโลก พัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งสร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและประเทศชาติให้กว้างไกลทั่วสากล หลักสูตรที่เปิดสอนในต่างประเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และกำลังจะเปิดสอนระดับปริญญาเอก ปัจจุบัน ขยายสู่ 29 ประเทศทั่วโลก มีศูนย์สอบ 38 แห่งในประเทศต่าง ๆ และกำลังขยายเพิ่มขึ้น การจัดสอบได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการให้ความอนุเคราะห์สถานที่สอบ และการดำเนินการจัดสอบ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศต่าง ๆ ที่มีผู้สมัครเรียน ประเทศที่มีศูนย์สอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง 29 ประเทศ ดังต่อไปนี้

สถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย

  • พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นจุดเด่นของพระราชวัง ซึ่งในมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็มีพระที่นั่งจำลององค์นี้ ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวรามคำแหงภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
  • เรือสุพรรณหงส์จำลอง อยู่กลางสระน้ำภายในเรือประดิษฐานพระพุทธรูปจำลอง ซื้งมีความสวยงามโดดเด่น
  • พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านไว้กลางมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า “ลานพ่อขุน” ที่นี่ จึงเป็นจุดรวมใจของชาวรามคำแหงทั้งมวล

ชาวรามคำแหงเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทาน ปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประจำทุกปี

  • ศาลาไทยประยุกต์ อยู่หน้าอาคารสุโขทัย เป็นศาลาประยุกต์ กลางน้ำ จัดเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานร่วมสมัย
  • หอนาฬิกา จัดเป็นหอนาฬิกาขนาดใหญ่ มีความสูงเท่ากับตึก4 ชั้น หน้าปัด เป็นสถาปัตยกรรมศิลาจารึก เป็นกระจกสีฟ้า เดินเวลาแบบดิจิตอล
  • หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นอาคารแบบประยุกต์ 2 ชั้น โดยด้านหน้ามีหลังคาเป็นศิลาจารึก โดยภายในอาคารมีห้องรับรองไว้สำหรับเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาประกอบพระกรณียกิจที่มหาวิทยาลัย และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย

วิชาการ

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในปีพ.ศ. 2514 ซึ่งในครั้งแรกเปิดสอนใน 4 คณะ คือ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ โดยมีผู้สนใจสมัครเป็นนักศึกษาในครั้งแรกจำนวน 37,198 คน ต่อมาในพ.ศ. 2517 ได้เปิดเพิ่มอีกสามคณะคือ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ กระทั่งในปี 2540 ได้เปิดสอนคณะวิศวกรรม ศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก จนสถานที่เรียนที่หัวหมากเริ่มแออัด มหาวิทยาลัยจึงได้ เปิดวิทยาเขตรามคำแหง 2 หรือวิทยาเขตบางนา ขึ้นในปีพ.ศ. 2527 ที่ถนนบางนา-ตราด กม.8 แขวงวัดดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 150 ไร่เศษ โดยใช้เป็นที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่น ๆ ในบางรายวิชา

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีกระบวนวิชาที่เปิดสอน ในระดับปริญญาตรีประมาณ 1,900 กระบวนวิชา ระดับปริญญาโท 130 กระบวนวิชาจัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 256 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 111 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8 หลักสูตร ปริญญา จัดการสอนในหลักสูตรระดับอนุปริญญา 23 สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 สาขาวิชาระดับ ปริญญาโท 30 สาขาวิชา โดยมีคณะวิชาที่รับผิดชอบ 8 คณะ และหน่วยงานเทียบเท่าคณะรับผิดชอบการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาอีก 1 หน่วยงาน รวมทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรปริญญาเอก และหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ และเปิดคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะธุรกิจการบริการ คณะสาธารณสุขศาสตร์

กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

นอกจากนี้ ยังมีหลายหน่วยงานที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา อาทิ สถาบันภาษา, กองกิจการนักศึกษา เป็นต้น อีกทั้งทางมหาวิทยาลัยยังมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับสูงกว่าปริญญาตรีอีกด้วย อันได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสถาบันภาษา

กลุ่มบัณฑิตศึกษา

รายละเอียด

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะ ก่อตั้ง สีประจำคณะ หมายเหตุ
คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law) 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514   สีขาว RULA
คณะบริหารธุรกิจ (Faculty of Business Administration) 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514   สีฟ้า RUBA
คณะมนุษยศาสตร์ (Faculty of Humanities) 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514   สีส้ม RUHU
คณะศึกษาศาสตร์ (Faculty of Education) 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514   สีชมพู RUED
คณะรัฐศาสตร์ (Faculty of Science) 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516   สีแดง RUPC
คณะเศรษฐศาสตร์ (Faculty of Economics) 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516   สีม่วง RUEC
คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Science) 29 มีนาคม พ.ศ. 2517   สีเหลือง RUSC
บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School) 21 ธันวาคม พ.ศ. 2536 RUGS
คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)   สีเลือดหมู RU-ENG

หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ ยังประกอบด้วย สำนักงานสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2518 นับเป็นวันที่สำคัญยิ่งของชาวรามคำแหง เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และประทับ ณ ห้องรามคำแหงอนุสรณ์ถือเป็นความภาคภูมิใจหนึ่งของมหาวิทยาลัยและชาวรามคำแหง เพราะเป็นห้องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถประทับพักพระราชอิริยาบถ ทรงฉลองพระองค์ชุดครุย และวันเดียวกันในช่วงบ่ายมีพิธีทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางสังคมวิทยา แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จากนั้นพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ณ บริเวณหน้าสำนักหอสมุดกลางฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงจารึกวันมหามงคลนี้ กำหนดเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ

พระราชทานพระบรมราโชวาท

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานปริญญาบัตรแล้ว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บัณฑิต ความตอนหนึ่งว่า...

...มหาวิทยาลัยรามคำแหงนี้เป็นมหาวิทยาลัยในแบบที่ให้โอกาสแก่

ผู้ปรารถนาวิชาความรู้ ให้เข้ามาศึกษาค้นคว้าวิทยาการต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง และอย่างอิสระจึงอำนวยประโยชน์ได้มาก ในด้านสนับสนุนส่งเสริมบุคคลทั่วไป และโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานแล้ว ให้ได้ฟื้นฟูเพิ่มพูนความสามารถของตนทางด้านวิชาการ เพื่อนำไปปรับปรุง การงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยกฐานะหน้าที่ให้สูงขึ้น มหาวิทยาลัยมีความมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งที่จะส่งเสริม ผู้ที่เข้ามาศึกษาดังนี้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วทุกคนควรจะได้มองเห็น และควรที่จะได้น้อมนำมาเป็นคติในการดำเนินชีวิต และการงานต่อไป โดยทำความตั้งใจและความเพียรให้มั่นคง ในอันที่จะฝึกฝนและปรับปรุงตนเอง ในการทำงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และสำคัญที่สุดควรจะได้พยายาม หาทางนำความคิดวิทยาการซึ่งอุตส่าห์ฝึกฝนศึกษามาได้ด้วยยากนั้นมาใช้ ให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความ

เจริญมั่นคงของชาติบ้านเมืองของเรา...

— พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรปัจจุบัน

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

สถานที่พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก

ห้องรามคำแหงอนุสรณ์ตั้งอยู่บริเวณอาคาร 1 ชั้น 1 สำนักหอสมุดกลาง ภายในห้องรามคำแหงอนุสรณ์นั้นแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ในส่วนที่ 1 เป็นส่วนของห้องรับรองที่ทรงใช้ประทับพักพระราชอิริยาบถ และเสวยพระสุธารส พระราชอาสน์ทุกองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในส่วนนี้เป็นของเดิมทั้งหมด ที่ทางสำนักหอสมุดกลางได้ดูแล และเก็บรักษาเป็นอย่างดี และให้คงอยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด ส่วนที่ 2 และ3 เป็นห้องทรงฉลองพระองค์ครุย ทรงเปลื้องพระองค์ครุย ทรงแต่งพระวรกาย เครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่อยู่ในส่วนนี้ทุกองค์ก็ได้รับการดูแลไว้เป็นอย่างดีที่สุดเช่นกัน

ปัจจุบันทางสำนักหอสมุดกลางได้ปรับปรุงห้องรามคำแหงอนุสรณ์ให้เป็นห้องสำหรับจัดนิทรรศการ แสดงพระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่บัณฑิตรุ่นแรกในวันที่ 26 และ 27 พฤศจิกายน 2518 พระราชนิพนธ์ และสิ่งของที่จัดทำเป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสต่างๆ อาทิ เหรียญที่ระลึก เรือใบจำลอง (เรือมด) และอื่นๆ รวมทั้งใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของบัณฑิตรุ่นแรก เช่นหนังสืออนุสรณ์บัณฑิตรุ่นแรก หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหงฉบับปฐมฤกษ์ หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหงที่จัดพิมพ์เป็นพิเศษเนื่องในวันพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเป็นต้น พร้อมทั้งเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชม ศึกษาหาความรู้ และร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของทั้งสองพระองค์ ที่ทรงมีต่อผสกนิกรชาวรามคำแหง

รายนามอธิการบดีและรักษาราชการแทนอธิการบดี

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมี อธิการบดี มาแล้ว 9 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์

13 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (วาระที่ 1)
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (วาระที่ 2)
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วาระที่ 3)

[1]
[2]
[3]
2. ศาสตราจารย์ กำธร พันธุลาภ

2 กันยายน พ.ศ. 2517 - 1 กันยายน พ.ศ. 2519 (วาระที่ 1)
21 กันยายน พ.ศ. 2519 - 20 กันยายน พ.ศ. 2521 (วาระที่ 2)

[4]
[5]

3. รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรมย์ ณ นคร

3 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2525

[6]

4. รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

15 มกราคม พ.ศ. 2526 - 14 มกราคม พ.ศ. 2528 (วาระที่ 1)
15 เมษายน พ.ศ. 2528 - 14 เมษายน พ.ศ. 2530 (วาระที่ 2)

[7]
[8]
5. ศาสตราจารย์ ดร.ธรรมนูญ โสภารัตน์

13 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2532

[9]

6. รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล

6 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (วาระที่ 1)
20 กันยายน พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2537 (วาระที่ 2)

[10]
[11]

7. รองศาสตราจารย์ รังสรรค์ แสงสุข

13 มกราคม พ.ศ. 2537 - 12 มกราคม พ.ศ. 2539 (วาระที่ 1)
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (วาระที่ 2)
20 สิงหาคม พ.ศ. 2541 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 (วาระที่ 3)
16 มกราคม พ.ศ. 2546 - 16 มกราคม พ.ศ. 2550 (วาระที่ 4)

[12]
[13]
[14]
[15]

8. รองศาสตราจารย์ คิม ไชยแสนสุข

18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

[16]

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์

21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (วาระที่ 1)
3 มีนาคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

[17]
[18]

รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 5 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. จอมพล ถนอม กิตติขจร

พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2515

2. พลเอกแสวง เสนาณรงค์

18 กันยายน พ.ศ. 2515 - 18 กันยายน พ.ศ. 2517

[19]

3. ศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย

30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 - 17 กันยายน พ.ศ. 2519
18 กันยายน พ.ศ. 2519 - 17 กันยายน พ.ศ. 2521
18 กันยายน พ.ศ. 2521 - 17 กันยายน พ.ศ. 2523
18 กันยายน พ.ศ. 2523 - 17 กันยายน พ.ศ. 2525
18 กันยายน พ.ศ. 2525 - 16 กันยายน พ.ศ. 2527
17 กันยายน พ.ศ. 2527 - 16 กันยายน พ.ศ. 2529
17 กันยายน พ.ศ. 2529 - 16 กันยายน พ.ศ. 2531
17 กันยายน พ.ศ. 2531 - 16 กันยายน พ.ศ. 2533
17 กันยายน พ.ศ. 2533 - 16 กันยายน พ.ศ. 2535
17 กันยายน พ.ศ. 2535 - 16 กันยายน พ.ศ. 2537
17 กันยายน พ.ศ. 2537 - 16 กันยายน พ.ศ. 2539
17 กันยายน พ.ศ. 2539 - 16 กันยายน พ.ศ. 2541
23 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2543
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 - 16 กันยายน พ.ศ. 2546

[20]
[21]
[22]
[23]
[24]
[25]
[26]
[27]
[28]
[29]
[30]
[31]
[32]
[33]

4. นายประจวบ ไชยสาส์น

16 กันยายน พ.ศ. 2546 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (วาระที่ 1)
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (วาระที่ 2)
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (วาระที่ 3)

[34]
[35]
[36]

5. นายวิรัช ชินวินิจกุล

8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (วาระที่ 1)
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (วาระที่ 2)
10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2561 (วาระที่ 3) (ลาออกก่อนครบวาระ)[3][4]

[37]
[38]
[39]

-. นายสงวน ตียะไพบูลย์สิน

7 มีนาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน (อุปนายกสภามหาวิทยาลัย ทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย)[5]

[40]

กีฬาศาสตร์สัมพันธ์

กีฬาศาสตร์สัมพันธ์ หรือ ศาสตร์เกมส์ (SARD Games) เป็นกีฬาระหว่างชมรมที่ใหญ่ที่สุดในมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2557 ซึ่งมีลำดับการแข่งขัน ดังนี้

ครั้งที่ วันที่ ชมรม หมายเหตุ
1 5–7 กันยายน พ.ศ. 2557 8
2 9–11 ตุลาคม พ.ศ. 2558 9
3 14–18 กันยายน พ.ศ. 2559 9

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

การแข่งขัน ทอง เงิน ทองแดง รวม อันดับ
ไฟล์:Chiang Mai University Logo.png มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2513 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2515
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2517 40 27 27 94 1
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2518 49 32 19 100 1
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง 2519 42 41 24 107 1
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 4 แห่ง 2521 45 48 20 113 1
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง 2522 73 41 37 151 1
ไฟล์:Chiang Mai University Logo.png มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2523 42 25 30 97 1
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง 2524 66 32 36 134 1
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2525 49 32 27 108 1
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2526 65 47 43 155 1
ไฟล์:KKU Emblem.png มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2527 55 31 36 122 1
ไฟล์:มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2.png มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2528 84 40 21 145 1
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2529 38 26 27 91 1
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2530 43 26 27 96 1
ไฟล์:Chiang Mai University Logo.png มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2531 47 30 22 99 1
ไฟล์:KKU Emblem.png มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2532 24 29 25 78 3
ไฟล์:มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2.png มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2533 32 28 21 81 2
ไฟล์:Logo Mahidol.png มหาวิทยาลัยมหิดล 2534 32 28 21 81 2
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2535
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2536
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2537
ไฟล์:มหาวิทยาลัยแม่โจ้ edit.png สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ 2538
ไฟล์:มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2.png มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2539 33 25 29 87 1
ไฟล์:Logo Mahidol.png มหาวิทยาลัยมหิดล 2540
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2541
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2542
ไฟล์:WTU logo.jpg มหาวิทยาลัยณิวัฒนา 2543
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2544
ไฟล์:Logo SPU.png มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2545 11 2 11 24 5
ไฟล์:Chiang Mai University Logo.png มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2546
ไฟล์:Sut logo Thai.svg มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2547 10 2 12 24 6
ไฟล์:Logo Mahidol.png มหาวิทยาลัยมหิดล 2548 6 8 11 25 13
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2549 8 11 10 29 11
ไฟล์:ตรามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.png มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2550 6 11 14 31 12
ไฟล์:มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2.png มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2551 30 17 17 64 2
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552 13 8 21 42 9
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2553 18 18 13 49 3
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2554 15 19 18 52 8
สถาบันการพลศึกษา 2555 12 8 17 37 8
ไฟล์:KKU Emblem.png มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556 6 10 11 27 15
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2557 3 3 13 19 25
ไฟล์:Ubu logo.png มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2558 4 3 8 15 19
ไฟล์:Sut logo Thai.svg มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2559 3 5 10 18 20
ไฟล์:RMUTTLOGO.png มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2560 7 5 9 21 11
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2561 การแข่งขันในอนาคต
รวม 1,004 727 707 2,438

รายนามบุคคลที่ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ศิษย์สร้างชื่อเสียงมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ตลอดระยะเวลา 46 ปี ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีความภูมิใจในบัณฑิตและศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วกว่า 8 แสนคน ซึ่งศิษย์เก่าเหล่านี้ได้นำวิชาความรู้ไปสร้างสรรค์สังคม และประสบความสำเร็จในวิชาชีพมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างเป็นที่ประจักษ์ชัด

  • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี, อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร, อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี,อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร,ฯลฯ , ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ทวิช กลิ่นประทุม อดีตรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ทบวงมหาวิทยาลัย, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษโน, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ, ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ชัย ชิดชอบ อดีตประธานรัฐสภา, อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร, ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และกระทรวงสาธารณสุข
  • นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ชินวรณ์ บุณยเกียรติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ,อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • อ.วันชัย สอนศิริ ทนายความ, อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ดร.วราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • วิทวัส บุญญสถิตย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตสมาชิกวุฒิสภา, อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • พล.อ.ดร.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, อดีตผู้บัญชาการทหารบก ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • พล.อ.คมสัน มานวกุล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก แม่ทัพน้อยที่ 2,อดีตผู้ช่วยเสนาธิการกองทัพบก ฝ่ายกิจการพลเรือน ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง,อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,กรรมการปฏิรูปกฎหมาย,อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,อดีตกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย,ประธานคณะทำงานการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์
  • ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์
  • รศ.คิม ไชยแสนสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง,อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์
  • ชวลิต สุจริตกุล ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 9, อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา(คนแรกของรามคำแหง) ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ศิริชัย วัฒนโยธิน อดีตประธานศาลอุทธรณ์, อดีตรองประธานศาลฎีกา, อดีตอุปนายกเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา, กรรมการกฤษฎีกา, นายกเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานศาลอุทธรณ์, ประธานกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม, อุปนายกเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ชัยยุทธ ศรีจำนงค์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา, อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลชั้นฎีกา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ เลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา, กรรมการเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • สราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม, กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม, กรรมการเนติบัณฑิตยสภา, กรรมการอำนวยการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, อดีตเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ, กรรมการเนติบัณฑิตยสภา, กรรมการอำนวยการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • สรัลชา ศรีชลวัฒนา อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน สภาทนายความ, เลขาธิการสภาทนายความ ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • ว่าที่พันตรีสมบัติ วงศ์กำแหง อุปนายกฝ่ายบริหาร สภาทนายความ, ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ, กรรมการเนติบัณฑิตยสภา, ประธานคณะอนุกรรมการบริหารสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • มงคล สุระสัจจะ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง อดีตอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง อดีตรองอธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ศิษย์เก่าคณะบริหารธุรกิจ
  • วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน , อดีตรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิชย์ ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์
  • กำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • นิรันดร์ กัลยาณมิตร รองอธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนการบริหารงานแบบบูรณาการ) ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตเลขาธิการสภาทนายความ, อดีตสมาชิกวุฒิสภา, อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2550) คนที่1, อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร, อดีตสมาชิกสภาปฏิรูประเทศ, , ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา,อดีตข้าราชการ กองตรวจเงินรัฐวิสาหกิจและเงินทุน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, อดีตที่ปรึกษาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ศิษย์เก่าคณะบริหารธุรกิจ
  • นายกองเอก เจริญ สิริวัฒนภักดี นักธุรกิจชาวไทย ประธานกรรมการบริษัทไทยเบฟเวอเรจ ระดับปริญญาตรี ,ระดับปริญญาโท จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ดร.ณัฐกฤตย์ ณ ชุมพร ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์,นักบริหาร,เจ้าของกิจการไร่กาแฟ, เจ้าของผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วสดยี่ห้อ Hilly Coffee กาแฟดีติดอันดับโลกของคนไทย, ปริญญาตรี,โท,เอก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รศ.พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • ภราดร ศรีชาพันธุ์ อดีตนักเทนนิสอันดับ 9 ของโลก ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • ร.อ.หญิง อารีย์ วิรัฐถาวร นักกีฬายกน้ำหนักเหรียญทองแดง โอลิมปิก 2004 ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์ เอกสื่อสารมวลชน
  • เจิมมาศ จึงเลิศศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • พลตำรวจโท ดร.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • ชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์
  • พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล ศิษย์เก่าปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์บัณฑิตภาคพิเศษ
  • ลีนา จังจรรจา นักธุรกิจชาวไทย มีชื่อเสียงจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2547, 2551 และ 2552 ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์
  • วิชัย รักศรีอักษร นักธุรกิจชาวไทยที่มีชื่อเสียง ปัจจุบันเป็นเจ้าของกลุ่มกิจการคิง เพาเวอร์ และประธานสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ในอังกฤษ ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์)
  • คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ ,ปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ ,ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปวีณา หงสกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ,ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ,ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล กรรมการมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานกรรมการ และเลขาธิการมูลนิธิบำรุงขวัญทหาร ตำรวจ อาสาสมัครชายแดน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประธานกรรมการมูลนิธินพรัช-รัตนโกสินทร์ กรรมการมูลนิธิศาสตราจารย์นายแพทย์หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ร้อยตำรวจเอก ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปริญญาตรีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิรินทรา ยายี (เมย์) ทายาทรุ่นที่7 ของพระนางมัสสุหรี เจ้าหญิงแห่งเกาะลังกาวี รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย,คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ

ศิษย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีชื่อเสียงด้านวงการบันเทิง

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยรามคำแหง อยู่ในอันดับที่ 3128 ของโลก และอันดับที่ 26 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[6]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′19″N 100°37′13″E / 13.755236°N 100.620142°E / 13.755236; 100.620142