ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lephill (คุย | ส่วนร่วม)
Lephill (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 95: บรรทัด 95:
}}
}}


เมื่อวันที่ [[1 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2561]] [[คริสต์ศาสนิกชน]]ในประเทศไทย มีจำนวนสมาชิกรวม 837,064 คน คิดเป็นร้อยละ 1.27 ของประชากร 65,729,098 คน และ[[โบสถ์คริสต์|คริสต์ศาสนสถาน]] 5,871 แห่ง ซึ่งสำรวจโดยองค์กรของคริสต์ศาสนาในนิกายต่าง ๆ ได้แก่
เมื่อวันที่ [[1 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2561]] [[คริสต์ศาสนิกชน]]ในประเทศไทย มีจำนวนสมาชิกรวม 837,064 คน คิดเป็นร้อยละ 1.27 ของประชากร 65,729,098 คน และ[[โบสถ์คริสต์|คริสต์ศาสนสถาน]] 5,789 แห่ง ซึ่งสำรวจโดยองค์กรของคริสต์ศาสนาในนิกายต่าง ๆ ได้แก่
* มูลนิธิอีสตาร์
* มูลนิธิอีสตาร์
* สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
* สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
บรรทัด 180: บรรทัด 180:
|-<ref>http://www.orthodox.or.th/index.php?content=parishes&lang=ru</ref>
|-<ref>http://www.orthodox.or.th/index.php?content=parishes&lang=ru</ref>
|- style="text-align:center;"
|- style="text-align:center;"
| rowspan = 1|'''[[ไฟล์:Christian flag in Thailand.png|70px|]]<br />รวม''' || '''คริสต์ศาสนิกชน<br />820,291 คน (1.25%)''' || '''คริสต์ศาสนสถาน<br />5,598 แห่ง'''
| rowspan = 1|'''[[ไฟล์:Christian flag in Thailand.png|70px|]]<br />รวม''' || '''คริสต์ศาสนิกชน<br />837,064 คน (1.27%)''' || '''คริสต์ศาสนสถาน<br />5,789 แห่ง'''
|-
|-
|}
|}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:35, 4 มีนาคม 2561

ศาสนาคริสต์ เป็นหนึ่งใน 5 ศาสนาในประเทศไทยที่กรมการศาสนารับรอง[1] โดยมิชชันนารีชาวยุโรปเป็นกลุ่มแรกที่นำเข้ามาเผยแผ่ ปัจจุบันมีจำนวนศาสนิกชนมากที่สุดเป็นอันดับสาม[2][3]

สถิติ

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีคริสต์ศาสนิกชน 617,492 คน คิดเป็น 1.1% ของประชากรทั้งหมด 56,657,790 คน (อายุ 13 ปีขึ้นไป)[4][5] แบ่งเป็นนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์เกือบเท่า ๆ กัน

ผลสำรวจโดยองค์กรของคริสต์ศาสนาในนิกายต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2558 พบว่าคริสต์ศาสนิกชนในประเทศไทย มีจำนวนทั้งหมด 814,508 คน คิดเป็น 1.2712% ของประชากร 64,076,033 คน โดยแบ่งเป็น นิกายโปรเตสแตนต์ 444,372 คน (0.6935%)[6] นิกายโรมันคาทอลิก 369,636 คน (0.5769%)[7] นอกจากนี้ยังมีนิกายมอรมอน 20,730 คน[8]

การเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย

วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา โบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทย สร้างในปี พ.ศ. 2228

ศาสนาคริสต์เข้ามาในประเทศไทยยุคเดียวกับการล่าอาณานิคมของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวโปรตุเกส ชาวสเปน และชาวดัตช์ ที่กำลังบุกเบิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนอกจากกลุ่มที่มีจุดประสงค์ทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว ยังมีบางกลุ่มที่มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแพร่ บางประเทศบางสมัยปิดกั้นการเผยแพร่ บางประเทศบางสมัยเปิดเสรีแต่ผู้คนยังไม่นิยมเข้ารีต ขณะที่บางประเทศผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ พร้อมกับการครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว เช่น ฟิลิปปินส์ มาเก๊า ฯลฯ

ต่อมาจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสเข้ามาได้เมืองขึ้นในอินโดจีน เช่น ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว โดยลักษณะเดียวกับโปรตุเกสและสเปน คือล่าเมืองขึ้นและเผยแพร่ศาสนาพร้อมกัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จนัก ทำให้อิทธิพลของศาสนาคริสต์ในกลุ่มประเทศนี้มีน้อย อาจเพราะการมุ่งผลทางการเมืองและเศรษฐกิจของผู้ปกครองจักรวรรดินิยมทั้งก่อนหน้าและขณะนั้น ทำให้จุดมุ่งหมายที่ดีงามทางศาสนาถูกผู้คนในประเทศพื้นเมืองตั้งทัศนคติว่ามีเจตนาแอบแฝงเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่ามิชชันนารีจะมีเจตนาแอบแฝงจริงหรือไม่ก็ตาม

ขณะที่ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเพราะการเปิดเสรีในการเผยแพร่ศาสนา ทำให้ลดความรุนแรงทางการเมืองลง[ต้องการอ้างอิง]

ศาสนาคริสต์ที่เผยแพร่ในไทยเป็นครั้งแรกตรงกับสมัยอาณาจักรอยุธยา ปรากฏหลักฐานว่าในปี พ.ศ. 2110 (ค.ศ. 1567) มีมิชชันนารีคณะดอมินิกัน 2 คน เข้าสอนศาสนาให้ชาวโปรตุเกสรวมทั้งชาวพื้นเมืองที่เป็นภรรยา[9] ต่อมาจึงมีมิชชันนารีคณะฟรันซิสกันและคณะเยสุอิตเข้ามาด้วย บาทหลวงส่วนมากเป็นชาวโปรตุเกส

ระยะแรกที่ยังถูกปิดกั้นทางศาสนา มิชชันนารีจึงเน้นการดูแลกลุ่มคนชาติเดียวกัน กระทั่งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประเทศไทยได้มีสัมพันธภาพอันดีกับฝรั่งเศส ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทำให้มีจำนวนบาทหลวงเข้ามาเผยแพร่ศาสนามากขึ้น และการแสดงบทบาททางสังคมมากขึ้น บ้างก็อยู่จนแก่หรือตลอดชีวิตก็มี ด้านสังคมสงเคราะห์ มีการจัดตั้งโรงพยาบาล ด้านศาสนา มีการตั้งเซมินารีคริสตัง เพื่อผลิตนักบวชพื้นเมือง และมีการโปรดศีลอนุกรมให้นักบวชไทยรุ่นแรก และจัดตั้ง คณะรักกางเขน

เมื่อสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ศาสนาคริสต์กลับไม่ได้รับความสะดวกในการเผยแพร่ศาสนาเช่นเดิม เพราะถูกจำกัดขอบเขต ถูกห้ามประกาศศาสนา ถูกห้ามเขียนหนังสือศาสนาเป็นภาษาไทย และภาษาบาลี ประกอบกับพม่าเข้ามารุกรานประเทศไทย บาทหลวงถูกย่ำยี โบสถ์ถูกทำลาย มิชชันนารีทั้งหลายรีบหนีออกนอกประเทศ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ยุติในช่วงเสียเอกราชให้พม่า[ต้องการอ้างอิง]

กระทั่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกอบกู้เอกราชสำเร็จ แม้การเผยแพร่ศาสนาคริสต์เริ่มต้นขึ้นใหม่ แต่เพราะประเทศกำลังอยู่ในภาวะสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ จึงไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์จักรีแล้ว ชาวคริสต์อพยพเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเปิดเสรีการนับถือศาสนา และทรงประกาศพระราชกฤษฎีกา รับรองเสรีภาพทางศาสนาทั่วราชอาณาจักร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศสไม่ดีนัก แต่พระองค์ก็ทรงรับรองมิสซังโรมันคาทอลิกเป็นนิติบุคคล

ด้านสังคมสงเคราะห์ในรัชสมัยนี้ พระราชทานเงินทุนในการก่อสร้างโรงเรียน เกิดโรงเรียนอัสสัมชัญ ในพ.ศ. 2420 (ค.ศ.1877) ภายหลังเกิดโรงเรียนอีกหลายแห่ง เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ และโรงเรียนพยาบาลเซนต์หลุยส์[ต้องการอ้างอิง]

การเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย

ไฟล์:สำเหร่-4.jpg
คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ โบสถ์คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์แห่งแรกในประเทศไทย สร้างในปี พ.ศ. 2392

คณะเผยแพร่ของนิกายโปรเตสแตนต์กลุ่มแรกที่เข้ามาประเทศไทยตามหลักฐานที่ปรากฏคือศิษยาภิบาล 2 ท่าน ศาสนาจารย์ คาร์ล ออกัสตัส เฟรดเดอริค กุตสลาฟ เอ็ม.ดี (Rev. Karl Fredrich Augustus Gutzlaff) ชาวเยอรมัน จาก สมาคมเนเธอร์แลนด์มิชชันนารี (Netherlands Missionary Society) และศาสนาจารย์ จาคอบทอมลิน (Rev. Jacob Tomlin) ชาวอังกฤษ จาก สมาคมลอนดอนมิชชันนารี (London Missionary Society) มาถึงประเทศไทยเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) ทั้งสองท่านช่วยกันเผยแพร่ศาสนาด้วยความเข้มแข็ง

ต่อมาจึงมีศาสนาจารย์จาก คณะอเมริกันบอร์ด (The American Board of Commissioners for Foreign Missions หรือ A. B. C. F. M) เข้ามา

ในบรรดานักเผยแพร่ศาสนานั้น ผู้เริ่มต้นสัมพันธภาพที่ดีและยาวนานที่สุดระหว่างคนไทยกับศาสนาคริสต์คือ ศาสนาจารย์แดน บีช บรัดเลย์ (Rev. Dan Beach Bradley, M. D.) หรือ หมอบรัดเลย์ (คนไทยมักเรียกว่า หมอปลัดเล) ซึ่งเป็นมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนในคณะอเมริกันบอร์ด เข้ามากรุงเทพฯ (ขณะนั้นเรียกว่า บางกอก) พร้อมภรรยา เมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835)

ตลอดเวลาที่ท่านอยู่ในประเทศไทยได้สร้างคุณประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการแพทย์และการพิมพ์ ทั้งรักษาผู้ป่วยไข้ทรพิษและอหิวาตกโรค นำการผ่าตัดเข้ามาครั้งแรก การทดลองปลูกฝีดาษในประเทศไทย ริเริ่มการสร้างโรงพิมพ์ เริ่มจากจัดพิมพ์ใบประกาศห้ามฝิ่น และจัดพิมพ์หนังสือ "บางกอกกาลันเดอร์" ซึ่งเป็นจดหมายเหตุรายวัน [10] กล่าวได้ว่า ความเชื่อมั่นของชาวไทยต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ เกิดจากคณะสมาคมอเมริกันมิชชันนารีนำความเจริญเข้ามาควบคู่ไปกับการเผยแพร่ศาสนา

มิชชันนารีที่สำคัญอีก 2 กลุ่ม ได้แก่ คณะอเมริกันแบ็พติสมิชชัน (The American Baptist Mission) เป็นผู้ก่อตั้งโบสถ์โปรเตสแตนต์แห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849)[11] ในชื่อ คริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่ 1 กรุงเทพฯ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ และจัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมทั้งออก หนังสือพิมพ์ "สยามสมัย" [12]

และคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนบอร์ด (The American Presbyterian Board) เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่นำความเจริญสู่ประเทศไทย เช่น ดร. เฮ้าส์ (Samuel R. House) นำการใช้อีเทอร์เป็นยาสลบครั้งแรกในประเทศไทย ขณะที่ศาสนาจารย์แมตตูนและภรรยา (Rev. and Mrs. Stephen Mattoon) ริเริ่มเปิดโรงเรียนแบบเช้าไปเย็นกลับ ซึ่งต่อมาได้รวมกับโรงเรียนประจำของมิชชัน และพัฒนาต่อมาเป็นโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในปัจจุบัน [13]

การเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย

อาสนวิหารแห่งนักบุญนิโคลัสฯ กรุงเทพมหานคร โบสถ์คริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์แห่งแรกในประเทศไทย สร้างในปี พ.ศ. 2546

การเริ่มก่อตั้งศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อที่จะตอบสนองแก่ข้อเรียกร้องของเหล่าชาวออร์ทอดอกซ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย สภาบาทหลวงแห่งเขตอัครบิดรกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ได้มีการประชุมหารือในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2542 มีมติขอการดำเนินการจัดตั้งศาสนจักรขึ้นในกรุงเทพฯ โดยโบสถ์ออร์ทอดอกซ์แห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "อาสนวิหารนักบุญนิโคลัส" และได้มีการแต่งตั้งบาทหลวงจากจังหวัดยาโรสลาฟว์ คุณพ่อโอเล็ก เชียรีพานิน (Oleg Cherepanin) เพื่อเป็นบาทหลวงประจำศาสนจักรแห่งใหม่นี้ ในปี พ.ศ. 2544 อัครบิดรคิริลแห่งมอสโกและรัสเซียทั้งมวล (Patriarch Kirill of Moscow and all Russia) ได้เยือนกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ ผลลัพธ์ในการเยือนครั้งนั้น โบสถ์นักบุญนิโคลัสฯ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแทนของโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ (ศาสนจักรแห่งกรุงมอสโก ประจำประเทศไทย) และบาทหลวงโอเล็ก เชียรีพานิน เป็นผู้แทนแห่งโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย เป็นผู้แนะแนวทางจิตวิญญาณแก่หมู่ประชาชนชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย ถึงในสาธารณรัฐประชาธิปไตประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นเวลายาวนานกว่า 15 ปี ของการยืนหยัดการทำงานและการสวดอธิษฐานเพื่อที่จะเปลี่ยนให้ประชาชนชาวไทยหันมายอมรับในนิกายออร์โธด็อกซ์

ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ภายหลังกว่า 7 เดือน สำนักงานของกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องได้ทำการตรวจสอบ โบสถ์ออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย และนั่นโบสถ์ออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยจึงได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นองค์เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางสังคมและศาสนาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[14]

องค์กรคริสตจักร

ปัจจุบันประเทศไทย มีองค์กรคริสตจักรที่กรมการศาสนารับรองอยู่ 5 องค์กร[1] คือ

  1. สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ปกครองคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย
  2. สภาคริสตจักรในประเทศไทย ปกครองคณะเพรสไบทีเรียน คณะคริสเตียนเชิร์ช (ดิสไซเปิลส์ออฟไครส์) คณะลูเทอแรนเชิร์ชออฟอเมริกา ในประเทศไทย เป็นต้น
  3. สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ปกครองคณะคริสเตียนแอนด์มิชชันนารีอไลแอนส์ คณะเวิร์ลด์ไวด์อีแวนเจไลเซชั่นครูเสด ในประเทศไทย เป็นต้น
  4. มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ ปกครองคริสตจักรในสังกัดสหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย
  5. มูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย ปกครองคริสตจักรเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมี

สถิติคริสต์ศาสนิกชนและคริสตจักรในประเทศไทย

คริสต์ศาสนิกชนในประเทศไทย
นิกาย
โปรเตสแตนต์
  
54.56%
โรมันคาทอลิก
  
45.44%
คริสต์ศาสนสถานในประเทศไทย
นิกาย
โปรเตสแตนต์
  
90.93%
โรมันคาทอลิก
  
8.90%
ออร์ทอดอกซ์
  
0.17%

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561 คริสต์ศาสนิกชนในประเทศไทย มีจำนวนสมาชิกรวม 837,064 คน คิดเป็นร้อยละ 1.27 ของประชากร 65,729,098 คน และคริสต์ศาสนสถาน 5,789 แห่ง ซึ่งสำรวจโดยองค์กรของคริสต์ศาสนาในนิกายต่าง ๆ ได้แก่

  • มูลนิธิอีสตาร์
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
  • มูลนิธิชาวคริสต์ศาสนิกชนดั้งเดิมออร์โธด็อกซ์ในประเทศไทย

ตารางแสดงข้อมูลคริสต์ศาสนิกชนและคริสต์ศาสนสถานในประเทศไทย

นิกาย เขต จำนวนคริสเตียน (คน)

โปรเตสแตนต์
ภาคเหนือ 248,688
ภาคกลาง 96,692
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 40,554
ภาคตะวันตก 30,583
ภาคใต้ 25,900
ภาคตะวันออก 14,237
รวม 456,690 (0.7%)[15]
คริสตจักร จำนวนโบสถ์ (แห่ง)
สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย 2,846 (54%)
สภาคริสตจักรในประเทศไทย 1,724 (33%)
คริสตจักรอิสระ 528 (10%)
สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย 166 (3%)
รวม 5,264[16]

โรมันคาทอลิก
เขต จำนวนคริสตัง (คน)
เขตมิสซังกรุงเทพฯ 119,497
เขตมิสซังเชียงใหม่ 71,694
เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง 54,714
เขตมิสซังจันทบุรี 45,831
เขตมิสซังอุบลราชธานี 24,450
เขตมิสซังอุดรธานี 18,111
เขตมิสซังนครสวรรค์ 16,463
เขตมิสซังราชบุรี 15,737
เขตมิสซังสุราษฎร์ธานี 7,110
เขตมิสซังนครราชสีมา 6,767
รวม 380,374 (0.5787%)[17]
คริสตจักร จำนวนโบสถ์ (แห่ง)
พระศาสนจักรคาทอลิก 515
รวม 515

ออร์ทอดอกซ์
เขต จำนวนคริสต์ออร์ทอดอกซ์ (คน)
รวม ยังไม่ทราบจำนวนแน่ชัด
คริสตจักร จำนวนโบสถ์ (แห่ง)
มูลนิธิชาวคริสต์ศาสนิกชนดั้งเดิมออร์โธด็อกซ์ในประเทศไทย 10
รวม 10

รวม
คริสต์ศาสนิกชน
837,064 คน (1.27%)
คริสต์ศาสนสถาน
5,789 แห่ง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 กรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 55-64
  2. [1], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  3. [2], แผนภูมิ 4.1 ร้อยละของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป จำแนกตามศาสนา และภาค พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  4. สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ , หน้า 1
  5. [3], ตารางที่ 1 จำนวนประชากร อายุ 13 ปีขึนไป จำแนกตามศาสนา เพศ กลุมอายเขตการปกครอง และภาค พ.ศ. 2557
  6. "แผนที่แสดงจำนวนคริสเตียน". มูลนิธิอีสตาร์. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2558/2015, สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, ข้อมูลวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
  8. "Thailand - LDS Statistics and Church Facts". Newsroom. 21 กุมภาพันธ์ 2555. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. Luc Colla, พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์, เรือง อาภรณ์รัตน์ และ อากาทา จิตอุทัศน์ แปล, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ, 2542, หน้า 44
  10. McFarland. 1928: 10-26
  11. [4] ประวัติสภาคริสตจักรในประเทศไทย (โดยสังเขป), สภาคริสตจักรในประเทศไทย
  12. McFarland. 1928: 27-34
  13. McFarland. 1928: 35-50
  14. http://www.orthodox.or.th/index.php?content=orthodoxy_thailand&lang=th
  15. "แผนที่แสดงจำนวนคริสเตียน". มูลนิธิอีสตาร์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "ที่อยู่คริสตจักร". มูลนิธิอีสตาร์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2560/2017, สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, ข้อมูลวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561
  18. http://www.orthodox.or.th/index.php?content=parishes&lang=ru