ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภออู่ทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| province = สุพรรณบุรี
| province = สุพรรณบุรี
| area = 630.29
| area = 630.29
| population = 121,990
| population = 123,510
| population_as_of = 2559
| population_as_of = 2560
| density = 193.54
| density = 195.95
| postal_code = 72160, 72220<small>(เฉพาะตำบลสระยายโสม สระพังลาน และดอนมะเกลือ)</small>
| postal_code = 72160, 72220<small>(เฉพาะตำบลสระยายโสม สระพังลาน และดอนมะเกลือ)</small>
| geocode = 7209
| geocode = 7209

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:39, 21 กุมภาพันธ์ 2561

อำเภออู่ทอง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe U Thong
คำขวัญ: 
แหล่งรอยพระพุทธบาท เกียรติประกาศเรื่องทอผ้า
เจ้าพ่อพระยาจักร ถิ่นรักไทยทรงดำ
ถ้ำเสือพระดี มีคอกช้างดิน ถิ่นเก่าน้ำตก
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภออู่ทอง
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภออู่ทอง
พิกัด: 14°22′32″N 99°53′32″E / 14.37556°N 99.89222°E / 14.37556; 99.89222
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด630.29 ตร.กม. (243.36 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)
 • ทั้งหมด123,510 คน
 • ความหนาแน่น195.95 คน/ตร.กม. (507.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72160, 72220(เฉพาะตำบลสระยายโสม สระพังลาน และดอนมะเกลือ)
รหัสภูมิศาสตร์7209
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภออู่ทอง หมู่ที่ 6
ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี 72160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
สำหรับอู่ทองในความหมายอื่นดู​ อู่ทอง (แก้กำกวม) สำรับกษัตริย์อยุธยาดู สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1หรือสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์อยุธยา

อำเภออู่ทอง เป็นอำเภอที่อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

ประวัติศาสตร์

เมืองโบราณอู่ทองตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจรเข้สามพัน มีลักษณะเป็นรูปวงรีขนาด 1,850 x 820 เมตร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ทิศตะวันตกเป็นเขารางกะปิด เขาคำเทียม และเขาพระ ทิศตะวันออกเป็นที่ราบกักเก็บน้ำ นอกเมืองมีแนวคันดินเป็นถนนโบราณเรียกว่า "ถนนท้าวอู่ทอง" และแนวคันดินรูปเกือกม้าเรียกว่า "คอกช้างดิน" คงจะเป็นเพนียดคล้องช้างโบราณหรือสระเก็บน้ำในศาสนาพราหมณ์

เมืองโบราณแห่งนี้มีร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชนตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ตอนปลาย 2,500-2,000 ปีมาแล้ว โดยพบเครื่องมือหินขัด ภาชนะดินเผา แวปั่นด้ายดินเผา เป็นต้น ต่อมาชุมชนแห่งนี้ได้พัฒนาตนเองไปสู่สังคมเมืองสมัยประวัติศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ 5-9 ทำการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ เช่น เวียดนาม จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรป มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการค้าและเมืองท่าร่วมสมัยกับเมืองออกแก้ว (ทางภาคใต้ของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) ได้พบลูกปัดแก้ว เหรียญกษาปณ์ เหรียญโรมันสมัยจักรพรรดิวิกโตรีนุส เป็นต้น อู่ทองได้รับรูปแบบทางศาสนาและศิลปกรรมแบบอมราวดีจากอินเดีย ได้พบปฏิมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 รูปอุ้มบาตร และพระพุทธรูปปั้นนาคปรกศิลปะแบบอมราวดี เป็นต้น ศาสตราจารย์ชอง บวสลีเย เชื่อว่าเมืองอู่ทองน่าจะเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งพระสมณทูตเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 270-311 นายพอล วิตลีย์เชื่อว่า เมืองจินหลินตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทอง เป็นรัฐสุดท้ายที่พระเจ้าฟันมันแห่งอาณาจักรฟูนันปราบได้ในพุทธศตวรรษที่ 9

เมื่ออาณาจักรฟูนันสลายลงในปลายพุทธศตวรรษที่ 11 รัฐทวารวดีได้เจริญขึ้นมาแทนที่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างและรุ่งเรืองสูงสุดในราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 โดยมีบันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจังได้กล่าวถึงอาณาจักรโตโลโปตี้ (หมายถึง "ทวารวดี") และได้พบเหรียญเงินจารึกว่า "ศฺรีทฺวารวตี ศฺวรปุณฺยะ" เป็นการยืนยันการมีตัวตนของอาณาจักรทวารวดี โดยมีเมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ วัฒนธรรมทวารวดี ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นหลัก ใช้ภาษามอญ ยึดคติทางศาสนารูปแบบศิลปะคุปตะจากอินเดีย โบราณสถานโบราณวัตถุที่พบในเมืองอู่ทองเป็นศิลปกรรมในสมัยทวารวดี เช่น เศียรพระพุทธรูปทองคำ เจดีย์ พระพุทธรูปปางประทานธรรมจักร ในขณะเดียวกันศิลปะศรีวิชัยซึ่งนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานก็ได้เผยแพร่เข้ามา โดยได้พบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ

เมืองอู่ทองได้หมดความสำคัญและร้างไปในราวพุทธศตวรรษที่ 16 จึงรอดพ้นจากอิทธิพลเขมรที่เข้ามามีอำนาจมากในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของกษัตริย์ขอมนักสร้างผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยปรากฏเมืองโบราณสุพรรณบุรีเจริญขึ้นมาแทนที่

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งหัวเมืองต่าง ๆ ออกเป็นมณฑล เมือง อำเภอ และตำบล อำเภออู่ทองจึงเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448 โดยมีชื่อเมื่อแรกตั้งว่า อำเภอจรเข้สามพัน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า ท้องที่อำเภอจรเข้สามพันเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่เรียกว่า "เมืองท้าวอู่ทอง" จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากหมู่บ้านจรเข้สามพันมาตั้ง ณ บริเวณเมืองโบราณท้าวอู่ทอง และให้เปลี่ยนชื่ออำเภอจรเข้สามพันเป็น อำเภออู่ทอง เพื่อให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482[1]

คูเมืองโบราณอู่ทอง
เขาพระและบริเวณโดยรอบ

ภูมิประเทศ

พื้นที่ในอำเภออู่ทอง แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ

1. ภูมิประเทศแบบภูเขาและที่สูง สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดสลับกับลอนชันจนถึงเทือกเขาสูงชัน ภูเขาที่พบส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปิดให้เอกชนเข้ามาสัมปทานทำการระเบิดหินอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านโข้ง ตำบลดอนคา ตำบลหนองโอ่ง ตำบลพลับพลาไชย ตำบลอู่ทอง

2. ภูมิประเทศแบบลูกคลื่นลอนลาด ลักษณะเป็นพื้นที่ถัดจากเขตภูเขา ได้แก่ พื้นที่ในเขตตำบลบ้านโข้ง ตำบลดอนคา ตำบลหนองโอ่ง ตำบลอู่ทอง ตำบลจรเข้สามพัน

3. ภูมิประเทศแบบที่ราบลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพัน เป็นบริเวณมีความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ พื้นที่ในเขตตำบลอู่ทอง ตำบลจรเข้สามพัน ตำบลสระยายโสม ตำบลสระพังลาน ตำบลดอนมะเกลือ ตำบลยุ้งทลาย ตำบลเจดีย์

สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นภูเขาและมีพื้นที่สูงทางด้านตะวันตกขึ้นไปจนถึงทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนพื้นที่ราบอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีลำน้ำสายหลักคือ ลำน้ำจรเข้สามพัน และลำน้ำสายย่อย ปัจจุบันลำน้ำส่วนใหญ่ตื้นเขิน

ภูเขารูปหัวใจที่เกิดจากการทำเหมืองหินปูนซึ่งปัจจุบันได้เลิกสัมปทานไปแล้ว ตั้งอยู่ในบริเวณเขาทำเทียม เขตตำบลอู่ทอง

ภูมิอากาศ

ที่ว่าการอำเภออู่ทอง

สภาพภูมิอากาศมีลักษณะคล้ายกับบริเวณพื้นที่อื่นในพื้นที่ราบภาคกลาง คือ มี 3 ฤดูกาล คือ

  • ฤดูร้อน ประมาณ 3 เดือน (กุมภาพันธ์ - เมษายน)
  • ฤดูฝน ประมาณ 6 เดือน (พฤษภาคม - ตุลาคม)
  • ฤดูหนาว ประมาณ 3 เดือน (พฤศจิกายน - มกราคม)

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แสดงเขตการปกครองในอำเภออู่ทอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภออู่ทองแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 ตำบล 154 หมู่บ้าน

1. อู่ทอง (U Thong) 8. ดอนคา (Don Kha)
2. สระยายโสม (Sa Yai Som) 9. พลับพลาไชย (Phlapphla Chai)
3. จรเข้สามพัน (Chorakhe Sam Phan) 10. บ้านโข้ง (Ban Khong)
4. บ้านดอน (Ban Don) 11. เจดีย์ (Chedi)
5. ยุ้งทะลาย (Yung Thalai) 12. สระพังลาน (Sa Phang Lan)
6. ดอนมะเกลือ (Don Makluea) 13. กระจัน (Krachan)
7. หนองโอ่ง (Nong Ong)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภออู่ทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

ตัวเมืองอู่ทอง มุมมองจากวัดเขาทำเทียม

การคมนาคม

การเดินทางมายังอำเภออู่ทองนั้นสามารถมาได้หลายเส้นทาง เช่น

ถนนเข้าหมู่บ้านคณฑี ภายในเขตอำเภออู่ทอง

การศึกษา

ในเขตอำเภออู่ทองประกอบไปด้วยสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 5 แห่ง ได้แก่

ระดับประถมศึกษา ในเขตตำบลอู่ทอง 5 แห่ง ได้แก่

วิทยาลัย 1 แห่ง ได้แก่

ระดับอุดมศึกษา 2 แห่ง ได้แก่

แหล่งท่องเที่ยว

รูปปั้นพระเจ้าอู่ทอง บริเวณวัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม
จุดชมทิวทัศน์บนป่าพุหางนาค วนอุทยานแห่งชาติพุม่วง

สถาบันการเงินและการธนาคาร

ในอำเภออู่ทองมีธนาคารอยู่ 10 แห่ง ดังนี้

สถานพยาบาล

โรงพยาบาลอู่ทอง โรงพยาบาลประจำอำเภอ

เขตอำเภออู่ทองมีโรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่

  • โรงพยาบาลอู่ทอง โรงพยาบาลชุมชนขนาด 134 เตียง[2]
  • โรงพยาบาลธนบุรี-อู่ทอง โรงพยาบาลเอกชนขนาด 60 เตียง
  • โรงพยาบาลวิภาวดีปิยราษฎร์ โรงพยาบาลเอกชนขนาด 60 เตียง

อ้างอิง

  1. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). Royal Gazette (ภาษาThai). 56 (0 ก): 354–364. April 17, 1939.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. http://www.waterforthai.go.th/disaster-info-country/disaster-info-province/?pcode=SPB