ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โพชฌงค์ 7"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Brandy Frisky (คุย | ส่วนร่วม)
ลบส่วนที่ไม่ใช่วิเกรียนพีเดีย - วิเกรียนซอร์ซมีแล้ว
Anachronism1145 (คุย | ส่วนร่วม)
เอาจุดออก
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://84000.org/tipitaka/dic/ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".]
* [http://84000.org/tipitaka/dic/ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม"]
* พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
* พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์"
* [http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3924&Z=4181 อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔]
* [http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3924&Z=4181 อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔]
{{จบอ้างอิง}}
{{จบอ้างอิง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:54, 14 กุมภาพันธ์ 2561

บทความนี้ว่าด้วยหลักธรรม สำหรับบทสวด โปรดดู โพชฌังคปริตร

โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

  1. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
  2. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
  3. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
  4. ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
  5. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
  6. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
  7. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8) ทั้งนี้ พระสูตรและปาฐะที่เกี่ยวข้องกับโพชฌงค์ 7 โดยตรง ได้แก่ มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ

โพชฌงค์คู่ปรับกับอนุสัย[1]

  1. สติเป็นคู่ปรับกับอวิชชา
  2. ธัมมวิจยะเป็นคู่ปรับกับทิฏฐิ(สักกายทิฏฐิและสีลัพพัตปรามาส)
  3. วิริยะเป็นคู่ปรับกับวิจิกิจฉา
  4. ปีติเป็นคู่ปรับกับปฏิฆะ
  5. ปัสสัทธิเป็นคู่ปรับกับกามราคะ
  6. สมาธิเป็นคู่ปรับกับภวราคะ(รูปราคะ อรูปราคะ (ภพที่สงบ)กับ อุทธัจจะกุกกุจจะ(ภพที่ไม่สงบ))
  7. อุเบกขาเป็นคู่ปรับกับมานะ
  • ธัมมวิจยะและวิริยะทำลายทิฏฐิและวิจิกิจฉาอนุสัย บรรลุเป็นพระโสดาบันและหรือพระสกทาคามี
  • ปีติและปัสสัทธิทำลายปฏิฆะและกามราคะอนุสัย บรรลุเป็นพระอนาคามี
  • สมาธิ อุเบกขาและสติทำลายรูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจกุกกุจจะ มานะ อวิชชาอนุสัย บรรลุเป็นพระอรหันต์

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

— อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔


อ้างอิง

  1. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

แหล่งข้อมูลอื่น