ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานพิทยเสถียร"

พิกัด: 13°43′55″N 100°30′55″E / 13.731850°N 100.515183°E / 13.731850; 100.515183
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Bkkpadungkrungkasem03c.jpg|thumb|250px|สะพานพิทยเสถียร]]
[[ไฟล์:Bkkpadungkrungkasem03c.jpg|thumb|250px|สะพานพิทยเสถียร]]


'''สะพานพิทยเสถียร''' เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างข้าม[[คลองผดุงกรุงเกษม]] โดยมีประวัติและที่มาควบคู่ไปกับ[[สะพานดำรงสถิต]] หรือที่นิยมเรียกว่าสะพานเหล็ก ที่ข้าม[[คลองโอ่งอ่าง]] ใน[[เขตพระนคร]] สะพานพิทยเสถียรตั้งอยู่บน[[ถนนเจริญกรุง]]ช่วงที่มาจาก[[เขตบางรัก]] ในช่วงที่ตัดกับ[[ถนนมหาพฤฒาราม]] มุ่งหน้าไปยังจุดตัดระหว่าง[[ถนนทรงวาด]], ถนนเจริญกรุง และ[[ถนนข้าวหลาม]] ในพื้นที่แขวงตลาดน้อย [[เขตสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพมหานคร]]
'''สะพานพิทยเสถียร''' เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างข้าม[[คลองผดุงกรุงเกษม]] โดยมีประวัติและที่มาควบคู่ไปกับ[[สะพานดำรงสถิต]] หรือที่นิยมเรียกว่าสะพานเหล็ก ที่ข้าม[[คลองโอ่งอ่าง]] ใน[[เขตพระนคร]] สะพานพิทยเสถียรตั้งอยู่บน[[ถนนเจริญกรุง]]ช่วงที่มาจาก[[เขตบางรัก]] ในช่วงที่ตัดกับ[[ถนนมหาพฤฒาราม]] มุ่งหน้าไปยังจุดตัดระหว่าง[[ถนนทรงวาด]], ถนนเจริญกรุง และ[[ถนนข้าวหลาม]] ในพื้นที่[[แขวงตลาดน้อย]] [[เขตสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพมหานคร]]


ในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] เมื่อโปรดให้ประกาศบอกบุญผู้ที่มีจิตศรัทธา ให้ช่วยกันสร้างสะพานข้ามคูคลองในพระนครนั้น [[ช่วง บุนนาค|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงค์ (ช่วง บุนนาค)]] ได้สร้างเป็นสะพานโครงเหล็กคู่กับสะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กล่าง" (ในขณะที่สะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กบน") พื้นสะพานข้างล่างมีล้อ และรางเหล็กสำหรับเปิดสะพานให้แยกจากกันได้ ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] โปรดให้กรมโยธาธิการสร้างใหม่ในพุทธศักราช 2442 เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้เช่นเดียวกันกับสะพานดำรงสถิต พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา]] ซึ่งมีวังที่ประทับอยู่ในบริเวณใกล้เคียง สร้างเสร็จในพุทธศักราช 2443 ใน[[รัชกาลที่ 6]] โปรดให้ปรับปรุงสะพานนี้ใหม่ ซึ่งคือสะพานที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] เมื่อโปรดให้ประกาศบอกบุญผู้ที่มีจิตศรัทธา ให้ช่วยกันสร้างสะพานข้ามคูคลองในพระนครนั้น [[ช่วง บุนนาค|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงค์ (ช่วง บุนนาค)]] ได้สร้างเป็นสะพานโครงเหล็กคู่กับสะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กล่าง" (ในขณะที่สะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กบน") พื้นสะพานข้างล่างมีล้อ และรางเหล็กสำหรับเปิดสะพานให้แยกจากกันได้ ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] โปรดให้กรมโยธาธิการสร้างใหม่ในพุทธศักราช 2442 เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้เช่นเดียวกันกับสะพานดำรงสถิต พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา]] ซึ่งมีวังที่ประทับอยู่ในบริเวณใกล้เคียง สร้างเสร็จในพุทธศักราช 2443 ใน[[รัชกาลที่ 6]] โปรดให้ปรับปรุงสะพานนี้ใหม่ ซึ่งคือสะพานที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:09, 22 มกราคม 2561

สะพานพิทยเสถียร

สะพานพิทยเสถียร เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษม โดยมีประวัติและที่มาควบคู่ไปกับสะพานดำรงสถิต หรือที่นิยมเรียกว่าสะพานเหล็ก ที่ข้ามคลองโอ่งอ่าง ในเขตพระนคร สะพานพิทยเสถียรตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุงช่วงที่มาจากเขตบางรัก ในช่วงที่ตัดกับถนนมหาพฤฒาราม มุ่งหน้าไปยังจุดตัดระหว่างถนนทรงวาด, ถนนเจริญกรุง และถนนข้าวหลาม ในพื้นที่แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อโปรดให้ประกาศบอกบุญผู้ที่มีจิตศรัทธา ให้ช่วยกันสร้างสะพานข้ามคูคลองในพระนครนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงค์ (ช่วง บุนนาค) ได้สร้างเป็นสะพานโครงเหล็กคู่กับสะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กล่าง" (ในขณะที่สะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กบน") พื้นสะพานข้างล่างมีล้อ และรางเหล็กสำหรับเปิดสะพานให้แยกจากกันได้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้กรมโยธาธิการสร้างใหม่ในพุทธศักราช 2442 เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้เช่นเดียวกันกับสะพานดำรงสถิต พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ซึ่งมีวังที่ประทับอยู่ในบริเวณใกล้เคียง สร้างเสร็จในพุทธศักราช 2443 ในรัชกาลที่ 6 โปรดให้ปรับปรุงสะพานนี้ใหม่ ซึ่งคือสะพานที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

สภาพสะพานเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีสถาปัตยกรรมแบบเวนีเชียน มีคานล่างเป็นรูปโค้ง สะพานนี้มีลวดลายตกแต่งประณีตงดงามมาก โดยเฉพาะเสาลูกกรง เสาโคมไฟฟ้าทั้ง 8 ต้น ตลอดจนลายหัวสิงห์ที่ปลายรอดสะพาน ทั้งสะพานพิทยเสถียรและสะพานดำรงสถิต ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกรมศิลปากรตั้งแต่พุทธศักราช 2518[1] [2]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "สะพานพิทยเสถียร". ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.
  2. "รู้ยังอยู่ไหนบ้าง! ๑๗ สะพานสวยงามสร้างสมัย ร.๔ ร.๕ ร.๖ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน!!". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′55″N 100°30′55″E / 13.731850°N 100.515183°E / 13.731850; 100.515183