ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนเตรียมทหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Phainplang (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 143: บรรทัด 143:


{{กองทัพไทย}}
{{กองทัพไทย}}
{{แม่แบบ:โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย}}
{{โรงเรียนชายล้วน}}
{{โรงเรียนชายล้วน}}
[[หมวดหมู่:โรงเรียนชายในประเทศไทย|ต]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนชายในประเทศไทย|ต]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:33, 11 มกราคม 2561

โรงเรียนเตรียมทหาร
Armed Forces Academies Preparatory School
ไฟล์:ตราโรงเรียนเตรียมทหาร.jpg
ประเภทโรงเรียนทหาร-ตำรวจ
สถาปนา27 มกราคม พ.ศ. 2501
ผู้บัญชาการพลตรี กนกพงษ์ จันทร์นวล
ที่ตั้ง
9 หมู่ 10 ตำบลศรีกะอาง
อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
สีแดง-น้ำเงิน-ฟ้า-เลือดหมู     
เว็บไซต์http://www.afaps.ac.th/

โรงเรียนเตรียมทหาร (อังกฤษ: Armed Forces Academies Preparatory School) เป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.)

การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง หากแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นแต่ละเหล่าทัพจะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา 2 ปี

ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้ว นักเรียนนายร้อยเหล่านี้ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหาร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พร้อมทั้งเข้ารับพระราชทานกระบี่จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

บรรยากาศภายในโรงเรียนเตรียมทหาร

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้เสนอดำริต่อสภากลาโหมว่า หากจะรวมโรงเรียนที่อยู่ในระดับการศึกษาเดียวกันจากกองทัพต่างๆ เป็นสถาบันเดียวกันก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ ทั้งยังทำให้ผู้ศึกษามีโอกาสได้รู้จักคุ้นเคย มีความสนิทสนมกลมเกลียว มีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความคิดจิตใจร่วมกันแต่เยาว์วัย ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเหล่านี้สามารถประสานงานกันได้ด้วยดีและปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สภากลาโหมได้เห็นชอบในดำรินี้เป็นเอกฉันท์ ในขั้นแรกให้รวมโรงเรียนเตรียมนายร้อย โรงเรียนเตรียมนายเรือ และโรงเรียนเตรียมนายเรืออากาศ เป็นโรงเรียนเตรียมทหาร สังกัดกรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2501 จึงถือว่าวันที่ 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนเตรียมทหาร ผู้บัญชาการคนแรกคือ พลเอกปิยะ สุวรรณพิมพ์ ซึ่งถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของโรงเรียนเตรียมทหาร ในปี พ.ศ. 2506 กรมตำรวจได้ขอให้โรงเรียนเตรียมทหารรับนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยตำรวจด้วย โรงเรียนเตรียมทหารจึงเป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับนายทหาร นายตำรวจ สมบูรณ์ครบถ้วยตามอุดมการณ์ที่ว่า "ความสามัคคี กลมเกลียว เป็นพลังอันสำคัญของชาติ"

ในระยะแรกนั้นโรงเรียนเตรียมทหารยังไม่มีที่ตั้งถาวร ได้ใช้อาคารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2504 โรงเรียนเตรียมทหารได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างโรงเรียนเตรียมทหารขึ้น ณ เลขที่ 1875 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกองสัญญาณทหารเรือ มีพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา หลังจากได้สร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ย้ายมาอยู่ที่พระราม 4 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2504 ในปี พ.ศ. 2522 กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพบก และกองร้อยทหารสื่อสารซ่อมบำรุงเขตหลังกองบัญชาการกองทัพบก ได้ย้ายออกจากพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องกัน โรงเรียนเตรียมทหารจึงได้รับพื้นนที่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเพิ่มอีก 91 ไร่ 62 ตารางวา รวมเป็น 127 ไร่ 9 ตารางวา

ในปี พ.ศ. 2537 พลอากาศเอกวรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเวลานั้น ได้พิจารณาว่า สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียนเตรียมทหารได้เปลี่ยนแปลงไป พื้นที่โดยรอบกลายเป็นย่านชุมชนหนาแน่น ทั้งยังมีสภาพแวดล้อมเป็นมลพิษ อีกทั้งพื้นที่ของโรงเรียนเตรียมทหารมีข้อจำกัดต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตนักเรียนเตรียมทหารและการพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารด้านต่างๆ ในอนาคต จึงได้ปรึกษากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหาร ถึงการย้ายที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยได้มอบให้บริษัท คริสเตียนนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ต่างๆ ของโครงการย้ายโรงเรียนเตรียมทหาร รวมทั้งเสนอแนะพื้นที่ตั้งโครงการ ในที่สุดได้เลือกพื้นที่ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกเจ้าของพื้นที่มอบพื้นที่ให้ดำเนินการประมาณ 2,460 ไร่ เป็นผลให้โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่เกิดขึ้น

โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2539 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพลเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2541 ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารมายังที่ตั้งแห่งใหม่ ณ เลขที่ 185 หมู่ 5 ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก กำหนดระยะเวลา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้สามารถเปิดการศึกษาได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีพิธีเคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารเข้าสู่ที่ตั้งในวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543

วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2543 พลเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียน

โรงเรียนเตรียมทหารเป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารเรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.)

การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง หากแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นแต่ละเหล่าทัพจะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา 2 ปี

ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพหรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้ว นักเรียนนายร้อยเหล่านี้จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารและนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

การแต่งกายของนักเรียนเตรียมทหาร

ตราประจำโรงเรียน

เครื่องหมายจักรดาว เป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนเตรียมทหาร ประกอบด้วย

  1. คบเพลิง หมายถึง การศึกษาและความรุ่งโรจน์
  2. ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพบกและตำรวจ
  3. จักรเวียนซ้าย หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพเรือ
  4. ดาวห้าแฉก หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพอากาศ

คติพจน์ประจำโรงเรียน

สีประจำโรงเรียน

สีแดง คือ เหล่าทหารบก

สีน้ำเงิน คือ เหล่าทหารเรือ

สีฟ้า คือ เหล่าทหารอากาศ

สีเลือดหมู คือ เหล่าตำรวจ

ดอกไม้ประจำโรงเรียน

รายนามผู้บัญชาการ

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พล.ต. ปิยะ สุวรรณพิมพ์ 27 มกราคม พ.ศ. 2501 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
2 พล.ต. ชิงชัย รัชตะนาวิน 13 มกราคม พ.ศ. 2515 - 30 กันยายน พ.ศ. 2520
3 พล.ต. ไพบูลย์ สิรยากร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 - 30 กันยายน พ.ศ. 2523
4 พล.ต. สนั่น ขยันระงับพาล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 30 กันยายน พ.ศ. 2525
5 พล.ต. โกมล เกษรสุคนธ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2527
6 พล.ต. นิยม ศันสนาคม 29 สิงหาคม พ.ศ. 2527 - 30 กันยายน พ.ศ. 2528
7 พล.ต. ธีรวัฒน์ เอมะสุวรรณ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 - 30 กันยายน พ.ศ. 2531
8 พล.ต. ชัยณรงค์ หนุนภักดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532
9 พล.ต. พนม จีนะวิจารณะ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 30 กันยายน พ.ศ. 2534
10 พล.ต. มนัส คล้ายมณี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536
11 พล.ต. ปรีชา สามลฤกษ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2538
12 พล.ต. ประพาฬ นิลวงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541
13 พล.ต. สุเทพ โพธิ์สุวรรณ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2544
14 พล.ต. ธีระศักดิ์ ฤทธิวงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547
15 พล.ต. พอพล มณีรินทร์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549
16 พล.ต. พรพิพัฒน์ เบญญศรี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552
17 พล.ต. รักบุญ มนต์สัตตา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554
18 พล.ต. สุรสิทธิ์ ถาวร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555
19 พล.ต. บุญชู เกิดโชค 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556
20 พล.ต. ชัยชนะ นาคเกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557
21 พล.ต. ชนินทร์ โตเลี้ยง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559
22 พล.ต. ศิราวุฒิ วงศ์ขันตี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560
23 พล.ต. กนกพงษ์ จันทร์นวล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน

รายนามนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียง (เรียงลำดับตามรุ่น)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง