ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความทรงจำแห่งโลก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hadesadas0047 (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{แยก}}
'''ความทรงจำแห่งโลก'''<ref>[http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=125&Itemid=77 แผนงานความทรงจำแห่งโลก]</ref> ({{lang-en|Memory of the World}}, {{lang-fr| Mémoire du monde}}) คือแผนงานที่[[องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ]] หรือยูเนสโก กำหนดขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2535]] (ค.ศ. 1992) เพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ และการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของโลกที่บันทึกไว้เป็น'''ลายลักษณ์อักษร''' ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกไว้ในรูปแบบใดหรือของประเทศใดก็ตาม ถือว่าเป็นแหล่งรวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทั้งในด้านของวัฒนธรรม จากสังคมในอดีตให้แก่สังคมปัจจุบัน และเพื่อที่จะสืบสานส่งต่อให้แก่สังคมในอนาคต
'''ความทรงจำแห่งโลก'''<ref>[http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=125&Itemid=77 แผนงานความทรงจำแห่งโลก]</ref> ({{lang-en|Memory of the World}}, {{lang-fr| Mémoire du monde}}) คือแผนงานที่[[องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ]] หรือยูเนสโก กำหนดขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2535]] (ค.ศ. 1992) เพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ และการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของโลกที่บันทึกไว้เป็น'''ลายลักษณ์อักษร''' ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกไว้ในรูปแบบใดหรือของประเทศใดก็ตาม ถือว่าเป็นแหล่งรวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทั้งในด้านของวัฒนธรรม จากสังคมในอดีตให้แก่สังคมปัจจุบัน และเพื่อที่จะสืบสานส่งต่อให้แก่สังคมในอนาคต



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:55, 1 มกราคม 2561

ความทรงจำแห่งโลก[1] (อังกฤษ: Memory of the World, ฝรั่งเศส: Mémoire du monde) คือแผนงานที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก กำหนดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) เพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ และการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของโลกที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกไว้ในรูปแบบใดหรือของประเทศใดก็ตาม ถือว่าเป็นแหล่งรวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทั้งในด้านของวัฒนธรรม จากสังคมในอดีตให้แก่สังคมปัจจุบัน และเพื่อที่จะสืบสานส่งต่อให้แก่สังคมในอนาคต

วัตถุประสงค์

  1. เพื่ออำนวยความสะดวกในการอนุรักษ์โดยวิธีที่เหมาะสมที่สุด
  2. เพื่อช่วยเหลือให้มีการเผยแพร่เอกสารมรดกอย่างกว้างขวางที่สุด
  3. เพื่อเผยแพร่ความตระหนักในความสำคัญของเอกสารมรดกอย่างกว้างขวางทั่วโลก

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกสารมรดก ดังต่อไปนี้ ใช้ได้ในการคัดเลือกเอกสารมรดกที่มีคุณค่าต่อประเทศ ต่อภูมิภาค และต่อโลก [2]

  1. หลักเกณฑ์ที่ 1 ความเป็นของแท้ (Authenticity)
  2. หลักเกณฑ์ที่ 2 มีความโดดเด่นและไม่อาจทดแทนได้ (Unique and Irriplaceable)
  3. หลักเกณฑ์ที่ 3 มีความสำคัญในระดับโลก ในเรื่องเวลาและอายุ (Time) สถานที่ (Place) บุคคล (People) เนื้อหาสาระแนวคิด (Subject and Theme) และ รูปแบบและวิธีเขียน (Form and Style)
  4. หลักเกณฑ์ที่ 4 ลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ความหายาก (Rarity) ความบริบูรณ์ (Integrity) ความเสี่ยง (Threat) และโครงการบริหารจัดการ (Management plan)

สถิติ

ภูมิภาค จำนวนที่ได้รับขึ้นทะเบียน จำนวนประเทศ/องค์กร
แอฟริกา 14 9
รัฐอาหรับ 9 5
เอเชียแปซิฟิก 80 24
ยุโรปและอเมริกาเหนือ 181 39
ละตินอเมริกาและแคริบเบียน 67 25
องค์กรระหว่างประเทศ 4 4
มูลนิธิเอกชน 1 1
รวม 301 107

ประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย มีสิ่งที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นความทรงจำแห่งโลกทั้งสิ้น 5 รายการได้แก่

ลำดับ ชื่อภาษาไทย ชือภาษาอังกฤษ ปีขึ้นทะเบียน ที่ตั้ง อ้างอิง
1
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 The King Ram Khamhaeng Inscription 2546 (2003) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร,
กรุงเทพมหานคร
[3]
2
เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสยาม (พ.ศ. 2411-2453) Archival Documents of King Chulalongkorn's Transformation of Siam (1868–1910) 2552 (2009) หอสมุดแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร [4]
3
จารึกวัดโพธิ์ Epigraphic Archives of Wat Pho 2554 (2011) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร,
กรุงเทพมหานคร
[5]
4
บันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์, 100 ปีแห่งการบันทึกความร่วมมือระหว่างประเทศในการวิจัยและการเผยแพร่ความรู้ทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ The Minute Books of the Council of the Siam Society", 100 years of recording international cooperation in research and the dissemination of knowledge in the arts and sciences 2556 (2013) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร,
กรุงเทพมหานคร
[6]
5
ฟิล์มกระจกหลวงและภาพต้นฉบับ The Royal Photographic Glass Plate Negatives and Original Prints Collections 2560 (2017) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร,
กรุงเทพมหานคร
[7]

นอกจากนี้ ทางการไทยยังเตรียมเสนอเอกสารสำคัญอีก 5 ฉบับ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นความทรงจำแห่งโลก ดังนี้[8]

  1. กฎหมายตราสามดวง
  2. ตำนานอุรังคธาตุ
  3. เอกสารการบริหารราชการหัวเมืองตะวันออก: จันทบุรี
  4. จดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญของเจ้าคณะจังหวัดระยองและเจ้าคณะอำเภอ และ
  5. เอกสารโรงเรียนสฤษดิเดช

รายชื่อความทรงจำแห่งโลก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 กัมพูชา

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ ภาพ ปีที่ยอมรับ คำอธิบาย
เอกสารสำคัญของพิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสแลง
Tuol Sleng Genocide Museum Archives
2009

 อินโดนีเซีย

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ ภาพ ปีที่ยอมรับ คำอธิบาย
เอกสารสำคัญของบริษัทดัชท์อินเดียตะวันออก
Archives of the Dutch East India Company
2003
เอกสารสำคัญซูเร็คกาลิโก้
Sureq Galigo
2011
เอกสารสำคัญนากาเรคราตากามา
Nagarakretagama
2013
จดหมายเหตุดิโปเนโกโร่
Babad Diponegoro

2013

 มาเลเซีย

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ ภาพ ปีที่ยอมรับ คำอธิบาย
การโต้ตอบจดหมายของสุลต่านแห่งรัฐเคดะห์
Correspondence of the late Sultan of Kedah (1882–1943)
2001
วรรณคดีฮิคายัทฮังตุล
Hikayat Hang Tuah
2001
บันทึกประจำปีมลายู
Sejarah Melayu (the Malay Annals)
2001
ศิลาจารึกแห่งตรังกานู
Terengganu Inscription Stone
2009

 พม่า

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ ภาพ ปีที่ยอมรับ คำอธิบาย
จารึกแห่งวัดกุโสดอร์
Kuthodaw Inscription Shrines
2013
จารึกเมียะเซดีแห่งพุกาม
Myazedi Quadrilingual Stone Inscription
2015

 ฟิลิปปินส์

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ ภาพ ปีที่ยอมรับ คำอธิบาย
อักษรเสียงโบราณของฟิลิปปินส์
Philippine Paleographs (Hanunoo, Build, Tagbanua and Pala'wan)
1999
เทปบันทึกเสียงการออกอากาศทางวิทยุของพลังประชาชนปฏิวัติฟิลิปปินส์
Radio Broadcast of the Philippine People Power Revolution
2003
ผลงานสะสมของศาสตราจารย์โฮเซ่ มาเซดา
José Maceda Collection
ไฟล์:X8778410-22.jpg
2007
เอกสารสำคัญของประธานาธิบดีมานูเอล ลิตร เควซอน
Presidential Papers of Manuel L. Quezon
2011

 เวียดนาม

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ ภาพ ปีที่ยอมรับ คำอธิบาย
แผ่นพิมพ์ไม้ของราชวงศ์เหงียน
Woodblocks of the Nguyễn Dynasty
2009
จารึกจองหงวนแห่งวิหารวรรณกรรมวันเหมียว
Stone stele records of imperial examinations of the Lê and Mạc dynasties
2010

สถิติความทรงจำแห่งโลกในภูมิภาค ASEAN

จำนวน ประเทศ
5
 ไทย
4
 อินโดนีเซีย
 ฟิลิปปินส์
 มาเลเซีย
2
 พม่า
 เวียดนาม
1
 กัมพูชา

อ้างอิง

  1. แผนงานความทรงจำแห่งโลก
  2. http://mow.thai.net/index.php?option=com_content&task=view&id=20&Itemid=38 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกสารมรดก
  3. "The King Ram Khamhaeng Inscription". UNESCO Memory of the World Programme. สืบค้นเมื่อ 2009-09-07.
  4. "Archival Documents of King Chulalongkorn's Transformation of Siam (1868-1910)". UNESCO Memory of the World Programme. สืบค้นเมื่อ 2009-09-07.
  5. "Epigraphic Archives of Wat Pho". UNESCO Memory of the World Programme. สืบค้นเมื่อ 2011-08-01.
  6. "The Minute Books of the Council of the Siam Society", 100 years of recording international cooperation in research and the dissemination of knowledge in the arts and sciences". UNESCO Memory of the World Programme. สืบค้นเมื่อ 2014-06-26.
  7. "The Royal Photographic Glass Plate Negatives and Original Prints Collection". UNESCO Memory of the World Programme. สืบค้นเมื่อ 2017-12-11.
  8. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น