ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คริสต์มาส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Aekrama20 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย JBot
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
}}
}}


'''คริสต์มาส''' ({{lang-en|Christmas}}; {{lang-ang|Crīstesmæsse}}, หมายถึง "[[พิธีมิสซา]]ของ[[พระคริสต์]]") หรือ '''วันสมโภชพระ{{ไม่ตัดคำ|คริสต}}สมภพ''' ({{lang-en|Feast of the Nativity}}) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลอง[[การประสูติของพระเยซู]]<ref>[http://www.merriam-webster.com/dictionary/christmas Christmas], ''[[Merriam-Webster]]''. Retrieved 2008-10-06.<br />[http://www.webcitation.org/query?id=1257008234358079 Archived] 2009-10-31.
'''คริสต์มาส''' ({{lang-en|Christmas}}; {{lang-ang|Crīstesmæsse}}, หมายถึง "[[พิธีมิสซา]]ของ[[พระคริสต์]]" ส: คฺฤสฺตมาศ ป:คิตฺถมาส) หรือ '''วันสมโภชพระ{{ไม่ตัดคำ|คริสต}}สมภพ''' ({{lang-en|Feast of the Nativity}}) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลอง[[การประสูติของพระเยซู]]<ref>[http://www.merriam-webster.com/dictionary/christmas Christmas], ''[[Merriam-Webster]]''. Retrieved 2008-10-06.<br />[http://www.webcitation.org/query?id=1257008234358079 Archived] 2009-10-31.
</ref><ref name="CathChrit">[http://www.newadvent.org/cathen/03724b.htm "Christmas"], ''[[The Catholic Encyclopedia]]'', 1913.
</ref><ref name="CathChrit">[http://www.newadvent.org/cathen/03724b.htm "Christmas"], ''[[The Catholic Encyclopedia]]'', 1913.
</ref> เป็นวันหยุดทางศาสนาและวัฒนธรรม ประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกจัดการเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม วันดังกล่าวเน้น[[ปีพิธีกรรม]]ของคริสต์ศาสนิกชนเป็นสำคัญ วันคริสต์มาสเป็นวันปิด[[เทศกาลเตรียมการรับเสด็จ]] (Advent) และวันเริ่มต้น[[เทศกาลพระคริสตสมภพ]] (Christmastide) สิบสองวัน<ref name="CRI-Christmastide">{{cite web
</ref> เป็นวันหยุดทางศาสนาและวัฒนธรรม ประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกจัดการเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม วันดังกล่าวเน้น[[ปีพิธีกรรม]]ของคริสต์ศาสนิกชนเป็นสำคัญ วันคริสต์มาสเป็นวันปิด[[เทศกาลเตรียมการรับเสด็จ]] (Advent) และวันเริ่มต้น[[เทศกาลพระคริสตสมภพ]] (Christmastide) สิบสองวัน<ref name="CRI-Christmastide">{{cite web

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:06, 26 ธันวาคม 2560

คริสต์มาส
วันคริสต์มาส
ฉากการประสูติของพระเยซู
ชื่ออื่นนอเอล (Noël), การประสูติของพระเยซู, Xmas, ตรุษฝรั่ง
จัดขึ้นโดยคริสต์ศาสนิกชน ผู้นับถือศาสนาอื่นจำนวนมาก[1][2]
ประเภทศาสนาคริสต์, วัฒนธรรม
ความสำคัญการเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูดั้งเดิม
การถือปฏิบัติศาสนพิธีในโบสถ์, การให้ของขวัญ, การรวมตัวของครอบครัวหรือสังคมอื่น, การตกแต่งเชิงสัญลักษณ์
วันที่
ส่วนเกี่ยวข้องเทศกาลพระคริสตสมภพ, คริสต์มาสอีฟ, เทศกาลเตรียมการรับเสด็จ, แม่พระรับสาร, วันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์, การทรงรับบัพติศมาของพระคริสต์, การถือศีลอดพระคริสตสมภพ, การประสูติของพระเยซู, ตรุษฝรั่ง

คริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas; อังกฤษเก่า: Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์" ส: คฺฤสฺตมาศ ป:คิตฺถมาส) หรือ วันสมโภชพระคริสตสมภพ (อังกฤษ: Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู[6][7] เป็นวันหยุดทางศาสนาและวัฒนธรรม ประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกจัดการเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม วันดังกล่าวเน้นปีพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนเป็นสำคัญ วันคริสต์มาสเป็นวันปิดเทศกาลเตรียมการรับเสด็จ (Advent) และวันเริ่มต้นเทศกาลพระคริสตสมภพ (Christmastide) สิบสองวัน[8] คริสต์มาสเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก และมีผู้ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนิกชนหันมาเฉลิมฉลองกันมากขึ้น[1][9][10] และเป็นส่วนสำคัญในคริสต์มาสและฤดูวันหยุด

วันที่พระเยซูประสูติจริง ๆ นั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่คะเนไว้ว่าราว 2 ปีก่อน ค.ศ. และ ค.ศ. 7[11] ในช่วงต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ตะวันตกกำหนดวันคริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งต่อมาศาสนาคริสต์ตะวันออกได้รับวันดังกล่าวไปด้วย[12][13] มีทฤษฎีอธิบายว่า เหตุผลที่เลือกวันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันเฉลิมฉลองคริสตสมภพนั้นเพราะเป็นเวลาเก้าเดือนพอดีหลังคริสต์ศาสนิกชนสมัยแรกเฉลิมฉลองวันแม่พระรับสาร[14] หรือตรงกับวันเหมายันของโรมัน[15] หรือเทศกาลฤดูหนาวเพเกินโบราณเพื่อยุติการเฉลิมฉลองเหล่านี้และแทนที่ด้วยการฉลองของคริสต์ศาสนิกชน[14][16]

วันการเฉลิมฉลองในศาสนาคริสต์ตะวันออกแต่เดิม คือ วันที่ 6 มกราคม โดยเชื่อมโยงกับวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ในปัจจุบัน วันดังกล่าวยังเป็นวันเฉลิมฉลองสำหรับคริสตจักรอาร์มีเนียอะโพสโตลิกและในประเทศอาร์มีเนียซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จนถึง ค.ศ. 2011 ระหว่างปฏิทินเกรโกเรียนสมัยใหม่และปฏิทินจูเลียนที่เก่ากว่า มีวันคลาดเคลื่อนกันอยู่ 13 วัน ผู้ที่ยังใช้ปฏิทินจูเลียนหรือเทียบเท่าต่อไปจึงเฉลิมฉลองวันที่ 25 ธันวาคมและ 6 มกราคมที่ประชากรโลกส่วนใหญ่เฉลิมฉลอง ในวันที่ 7 มกราคมและ 19 มกราคมแทน ด้วยเหตุนี้ เอธิโอเปีย รัสเซีย ยูเครน มาเซโดเนียและมอลโดวาจึงเฉลิมฉลองคริสต์มาส ทั้งที่เป็นวันสมโภชของคริสต์ศาสนิกชนและที่เป็นวันหยุดราชการ ตามในปฏิทินเกรโกเรียนคือ วันที่ 7 มกราคม

ประเพณีการเฉลิมฉลองอันเป็นที่นิยมที่เหมือนกันในหลายประเทศมีการผสมผสานแนวคิดและกำเนิดก่อนศาสนาคริสต์ สมัยศาสนาคริสต์ และฆราวาส[17] ประเพณีสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมในวันดังกล่าวมีการให้ของขวัญ เพลงคริสต์มาสและเพลงเทศกาล การแลกเปลี่ยนการ์ดคริสต์มาส การตกแต่งโบสถ์ มื้อพิเศษ และการจัดแสดงการประดับตกแต่งหลายอย่าง รวมทั้งต้นคริสต์มาส แสงไฟ ฉากการประสูติของพระเยซู มาลัย พวงหรีด มิสเซิลโทและฮอลลี นอกเหนือจากนั้น บุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและแทนกันได้บ่อยครั้งหลายคน เช่น ซานตาคลอส ฟาเธอร์คริสต์มาส นักบุญนิโคลัส และคริสต์คินด์ เกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญแก่เด็กในเทศกาลคริสต์มาส และต่างมีประเพณีและตำนานเป็นของตนเอง[18] เพราะการให้ของขวัญและอีกหลายส่วนของเทศกาลคริสต์มาสเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในบรรดาคริสต์ศาสนิกชนและผู้ที่มิใช่ วันคริสต์มาสจึงเป็นเหตุสำคัญและช่วงลดราคาหลักสำหรับผู้ค้าปลีกและธุรกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของคริสต์มาสเป็นปัจจัยซึ่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลายภูมิภาคทั่วโลก

ชื่อ

รากศัพท์

คำว่า '"Christmas" ในภาษาอังกฤษ เกิดขึ้นเป็นคำประสมหมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์" มาจากคำในภาษาอังกฤษสมัยกลาง Christemasse ซึ่งมาจากคำว่า Cristes mæsse ในภาษาอังกฤษเก่าอีกทอดหนึ่ง คำนี้พบครั้งแรกในเอกสารที่บันทึกใน ค.ศ. 1038[7] คำว่า Crīst (แสดงความเป็นเจ้าของ Crīstes) มาจากภาษากรีก Christos ซึ่งเป็นคำแปลของ Māšîaḥ (เมสสิยาห์) ในภาษาฮีบรู และ "mæsse" มาจากภาษาละติน missa คือ การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท รูปแบบ "Christenmas" ยังพบใช้ในอดีตเช่นกัน แต่ปัจจุบันถูกมองว่าโบราณและเฉพาะถิ่น[19] คำดังกล่าวมาจากภาษาอังกฤษกลางว่า Cristenmasse อันมีความหมายตามอักษรว่า "มิสซาคริสเตียน"[20] "Xmas" เป็นการย่อคำว่า คริสต์มาส ส่วนใหญ่พบในสื่อตีพิมพ์ มาจากอักษรตัวแรก Χ ในคำว่า Khrīstos (Χριστός) ภาษากรีก ซึ่งหมายถึง "คริสต์" แม้รูปแบบการเขียนหลายแห่งไม่สนับสนุนการใช้[21] การใช้นี้มีแบบอย่างในภาษาอังกฤษกลาง Χρ̄es masse (โดยที่ "Χρ̄" เป็นการย่อ Χριστός) [20]

ชื่ออื่น

นอกเหนือไปจาก "คริสต์มาส" แล้ว วันดังกล่าวยังรู้จักกันในชื่ออื่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พวกแองโกล-แซกซันเรียกงานสมโภชกลางฤดูหนาว (midwinter) [22][23] หรือที่พบน้อยกว่า Nātiuiteð จากภาษาละติน nātīvitās[22][24] "Nativity" หมายถึง "การเกิด" มาจากภาษาละติน nātīvitās[25] ในภาษาอังกฤษเก่า Gēola ("ตรุษฝรั่ง", Yule) หมายถึง ช่วงเวลาซึ่งสัมพันธ์กับเดือนมกราคมและธันวาคม[26] ภาษานอร์สโบราณที่มาจากกำเนิดเดียวกัน Jól ภายหลังได้ใช้เป็นชื่อของวันหยุดเพเกินสแกนดิเนเวีย ซึ่งผนวกรวมกับคริสต์มาสราว ค.ศ. 1000[22] "Noel" (หรือ "Nowell") เข้าสู่ภาษาอังกฤษในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 และมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า noël หรือ naël คำนี้มาจากภาษาละติน nātālis (diēs) หมายถึง " (วัน) แห่งการเกิด"[27]

การเฉลิมฉลอง

มี 39 ประเทศที่วันคริสต์มาสมิใช่วันหยุดราชการ (สีน้ำตาล) ส่วนประเทศไทย คริสต์มาสมิใช่วันหยุดราชการ แต่มีการเฉลิมฉลอง (observance)

วันคริสต์มาสเป็นเทศกาลหลักและวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มิใช่คริสต์ศาสนิกชน ในบางประเทศที่มิใช่คริสต์ ประเทศเหล่านี้รับคริสต์มาสเข้ามาระหว่างถูกปกครองเป็นอาณานิคม (เช่น ฮ่องกง) ส่วนในประเทศอื่น ประชากรค่อย ๆ รับเอาการเฉลิมฉลองของคริสต์ศาสนิกชนกลุ่มน้อยหรืออิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างประเทศ ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งคริสต์มาสเป็นที่นิยมแม้มีคริสตศาสนิกชนน้อย ก็ได้รับเอาคริสต์มาสส่วนที่เป็นฆราวาสหลายอย่าง เช่น การให้ของขวัญ การประดับตกแต่ง และต้นคริสต์มาส ประเทศที่คริสต์มาสไม่ใช่วันหยุดราชการ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า) ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย อัลจีเรีย ไทย เนปาล อิหร่าน ตุรกี และเกาหลีเหนือ การเฉลิมฉลองคริสต์มาสรอบโลกอาจมีรูปแบบแตกต่างกันชัดเจนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชาติ

ในกลุ่มประเทศที่มีประเพณีแบบคริสต์มั่นคง การเฉลิมฉลองคริสต์มาสอันหลากหลายได้รับการปรับปรุงกระทั่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในแต่ละถิ่นและภูมิภาค สำหรับคริสต์ศาสนิกชน การเข้าร่วมศาสนพิธีถือเป็นส่วนสำคัญในการยอมรับเทศกาลดังกล่าว คริสต์มาส ตลอดจนเทศกาลอีสเตอร์ เป็นช่วงที่มีคนเข้าโบสถ์มากที่สุดในแต่ละปี ในประเทศคาทอลิก ประชากรจัดการเดินขบวนทางศาสนาหรือขบวนแห่ก่อนคริสต์มาส ในประเทศอื่น มีการจัดการเดินขบวนฆราวาสหรือขบวนแห่ซึ่งนำเสนอซานตาคลอสและบุคคลสัญลักษณ์ของเทศกาลอื่น ๆ ที่มักจัดขึ้นบ่อยครั้ง การรวมญาติและการแลกของขวัญได้กลายมาเป็นลักษณะเด่นของเทศกาลอย่างกว้างขวาง ประเทศส่วนใหญ่มีประเพณีการให้ของขวัญ ส่วนวันอื่นที่มีการแลกของขวัญ ได้แก่ วันนักบุญนิโคลัส ที่ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม และการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ ที่ตรงกับวันที่ 6 มกราคม

วันที่จัดเทศกาล

นักเขียนคริสต์ศาสนิกชนยอมรับว่าคริสต์มาสเป็นวันประสูติของพระเยซูที่ถูกต้องเป็นเวลาหลายศตวรรษ นักบุญจอห์น คริสซอสตอมเทศนาในแอนติออกเมื่อประมาณ ค.ศ. 386 ซึ่งสถาปนาวันคริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมตามปฏิทินจูเลียนเพราะการตั้งครรภ์พระเยซู (ลูกา 1:26) ได้รับการประกาศระหว่างเดือนที่หกของการตั้งครรภ์ของเอลิซาเบธกับนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา (ลูกา 1:10-13) ดังที่บันทึกไว้จากพันธกิจซึ่งซาคาริยาส์กระทำในวันทดแทนบาป (Day of Atonement) ระหว่างเดือนที่เจ็ดของปฏิทินฮีบรู เอธานิมหรือตีซรี (เลวีนิติ 16:29, 1 พงษ์กษัตริย์ 8:2) ซึ่งตกอยู่ในเดือนกันยายนถึงตุลาคม[7]

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิชาการเริ่มเสนอคำอธิบายอื่นแทน ไอแซก นิวตันแย้งว่า คริสต์มาสถูกเลือกให้ตรงกับเหมายัน[15] ซึ่งชาวโรมันเรียกว่า บรูมา และเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม[28] ใน ค.ศ. 1743 คริสเตียนชาวเยอรมัน พอล แอร์นสท์ จาบลอนสกี ให้เหตุผลว่า คริสต์มาสจัดตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมเพื่อให้ตรงกับวันหยุดทางสุริยคติของโรมัน ดีเอส นาตาลิส โซลิส อินวิกติ และดังนั้นจึงเป็นการทำให้เป็นเพเกินซึ่งลดคุณค่าศาสนจักรที่แท้จริง[16] ใน ค.ศ. 1889 หลุยส์ ดือแชนเสนอว่าวันที่คริสต์มาสนั้นคำนวณมาจากเก้าเดือนหลังฉลองแม่พระรับสาร วันที่แต่เดิมถือเป็นการเริ่มตั้งครรภ์พระเยซู ซึ่งวันนั้นตั้งอยู่บนความเชื่อแต่โบราณว่าพระองค์ทรงมาตั้งครรภ์และถูกตรึงบนไม้กางเขนในวันเดียวกัน คือ วันที่ 15 เดือนนิสาน[29][14]

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ไม่ว่าวันประสูติของพระเยซูจะตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมหรือไม่นั้น ไม่ถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญในศาสนาคริสต์กระแสหลัก[30][31][32] แต่การเน้นการเฉลิมฉลองการที่พระเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์เพื่อไถ่บาปแก่มนุษยชาติถือว่าเป็นความหมายหลักของคริสต์มาส[30][31][32]

การใช้ปฏิทินจูเลียน

คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ รวมทั้งรัสเซีย จอร์เจีย ยูเครน มาเซโดเนีย มอนเตเนโกร เซอร์เบีย และเขตอัครบิดรกรีกแห่งเยรูซาเล็มกำหนดวันที่งานสมโภชโดยใช้ปฏิทินจูเลียนที่เก่ากว่า วันที่ 25 ธันวาคมตามปฏิทินจูเลียน ซึ่งปัจจุบันตรงกับวันที่ 7 มกราคมในปฏิทินเกรโกเรียนที่นานาชาติใช้กัน อย่างไรก็ดี คริสต์ศาสนิกชนออร์โธด็อกซ์อื่น เช่น ศาสนจักรกรีซ โรมาเนีย แอนติโอก อเล็กซานเดรีย อัลเบเนีย ฟินแลนด์ และศาสนจักรออร์โธด็อกซ์ในอเมริกา เช่นเดียวกับที่อื่น ๆ เริ่มใช้ปฏิทินจูเลียนที่ได้รับการปรับปรุงในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งตรงกับปฏิทินเกรโกเรียนพอดี[5]

คริสตจักรออร์ทอดอกซ์เหล่านี้เฉลิมฉลองคริสต์มาสวันเดียวกับศาสนาคริสต์ตะวันตก คริสตจักรออร์ทอดอกซ์ทางตะวันออกยังใช้ปฏิทินของตนเอง ซึ่งส่วนมากแล้วคล้ายกับปฏิทินจูเลียน คริสตจักรอะโพสโตลิกอาร์มีเนียเฉลิมฉลองการประสูติร่วมกับวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ในวันที่ 6 มกราคม โดยปกติคริสตจักรอาร์มีเนียใช้ปฏิทินเกรโกเรียน แต่บางแห่งใช้ปฏิทินจูเลียน ดังนั้นจึงเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสตรงกับวันที่ 19 มกราคม และคริสต์มาสอีฟวันที่ 18 มกราคม ตามปฏิทินเกรโกเรียน[5]

การฉลองการประสูติของพระเยซู

คริสต์ศาสนิกชนเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูผ่านทางนางมารีย์สาวพรหมจารีว่าเป็นการบรรลุคำทำนายพระเมสสิยาห์ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม[33] โดยคัมภีร์ไบเบิลได้บันทึกเรื่องราวซึ่งอธิบายเหตุการณ์การประสูติของพระเยซู แตกต่างกันเป็นสองเวอร์ชันตามมุมมองของผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน[34][35][36][37] โดยพบในพระวรสารนักบุญมัทธิว คือ มัทธิว 1:18 และพระวรสารนักบุญลูกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกา 1:26 และ 2:40 ตามบันทึกเหล่านี้ พระเยซูประสูติแต่นางมารีย์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโยเซฟ สามีของเธอ ในเมืองเบธเลเฮม

ตามความเชื่อที่ได้รับความนิยม การประสูติมีขึ้นในคอกม้า ล้อมรอบด้วยสัตว์ในไร่นา แม้ทั้งคอกม้าหรือสัตว์ต่าง ๆ จะมิได้ถูกกล่าวถึงอย่างเจาะจงในบันทึกไบเบิล อย่างไรก็ดี มีการกล่าวถึงรางหญ้าในลูกา 2:7 ซึ่งเขียนไว้ว่า มารีย์ "เอาผ้าอ้อมพันและวางไว้ในรางหญ้า เพราะว่าไม่มีที่ว่างให้เขาในโรงแรม" การแทนการประสูติของพระเยซูทางประติมาวิทยาช่วงแรกได้วางสัตว์และรางหญ้าไว้ในถ้ำ (ซึ่งตามความเชื่อตั้งอยู่ใต้คริสตจักรการประสูติในเบธเลเฮม) มากกว่าคอกม้า

คนเลี้ยงแกะในทุ่งหญ้าใกล้กับเบธเลเฮมได้รับการบอกเล่าถึงการประสูติโดยทูตสวรรค์ และเป็นคนกลุ่มแรกที่มาพบพระกุมารเยซู[38] ตามความเชื่อที่ได้รับความนิยมยังมีว่า กษัตริย์สามพระองค์หรือนักปราชญ์สามคน คือ เมลชอร์ แคสปาร์ และบัลธาซาร์ ได้เดินทางมาเยี่ยมพระกุมารเยซูในรางหญ้า แม้ความเชื่อนี้จะไม่ตรงตามคัมภีร์ไบเบิลอย่างเคร่งครัดก็ตาม แต่ในพระวรสารนักบุญมัทธิวเล่าว่า มีผู้วิเศษหรือโหราจารย์มาพบโดยไม่ระบุจำนวน หลังจากที่พระเยซูประสูติแล้ว ขณะที่ครอบครัวอาศัยอยู่ในเรือน (มัทธิว 2:11) และได้ถวายของขวัญเป็นทองคำ, กำยานและมดยอบแก่พระกุมารเยซู แขกผู้มาเยือนนั้นได้รับทราบจากดาวประหลาด ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อ ดาวแห่งเบธเลเฮม เชื่อกันว่าดาวนี้ประกาศการประสูติของกษัตริย์แห่งยิว พิธีฉลองการมาเยือนนี้ งานสมโภชการเสด็จมาของพระเยซู เฉลิมฉลองในวันที่ 6 มกราคม และเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลคริสต์มาสในบางคริสตจักร

คริสต์ศาสนิกชนเฉลิมฉลองคริสต์มาสในหลายวิธี นอกเหนือไปจากวันนี้จะเป็นหนึ่งในวันทีสำคัญที่สุดและนิยมที่สุดในการเข้าร่วมพิธีในโบสถ์, การอุทิศตนและประเพณีอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมอีก ในศาสนาคริสต์บางนิกาย เด็ก ๆ จะแสดงละครเหตุการณ์การประสูติของพระเยซูโดยมีสัตว์ร่วมแสดงด้วยเพื่อความสมจริง หรือร้องบทเพลงซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในวันนั้น คริสต์ศาสนิกชนบางคนยังสร้างฉากเหตุการณ์การประสูติในบ้านของพวกเขาด้วย โดยใช้ตุ๊กตาขนาดเล็กประดับเป็นตัวละครหลักในเหตุการณ์ ก่อนวันคริสต์มาส คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะมีการจัดเทศกาลถือศีลอดพระคริสตสมภพ (Nativity Fast) 40 วันล่วงหน้าการประสูติของพระเยซู ขณะที่ศาสนาคริสต์ตะวันตกส่วนใหญ่เฉลิมฉลองเทศกาลเตรียมการรับเสด็จสี่สัปดาห์ สำหรับการฉลองวันคริสต์มาสจะกระทำในคือนวันก่อนวันคริสต์มาส หรือที่เรียกว่าวันคริสต์มาสอีฟ

ประเพณีเกี่ยวกับศิลปะอันยาวนานได้พัฒนาขึ้นเป็นการผลิตการวาดภาพเขียนสีการประสูติในศิลปะ ฉากการประสูตินั้นแต่เดิมจัดในคอกม้าพร้อมปศุสัตว์ และมีมารีย์ โยเซฟ และพระกุมารเยซูในรางหญ้า นักปราชญ์สามคน คนเลี้ยงแกะกับแกะของพวกเขา ทูตสวรรค์และดาวแห่งเบธเลเฮม[39]

การประดับตกแต่ง

แสงไฟคริสต์มาสในเออร์แบนา รัฐอิลลินอยส์

ประเพณีการประดับตกแต่งเป็นพิเศษในวันคริสต์มาสนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีบันทึกว่าในกรุงลอนดอน การประดับตกแต่งเป็นประเพณีในวันคริสต์มาสสำหรับทุกบ้าน และทุกโบสถ์ประจำเขตแพริชต้อง "ตกแต่งด้วยโอ๊กโฮล์ม ไอวี เบย์ลอเรลและอะไรก็ตามที่ฤดูกาลนี้ในช่วงปีให้เพื่อเป็นสีเขียว"[40] ใบไอวีรูปหัวใจกล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์การเสด็จมายังโลกมนุษย์ของพระเยซู ขณะที่ฮอลลีถูกมองว่าเป็นการคุ้มครองจากพวกเพเกินและแม่มด หนามของมันและผลเบอร์รีสีแดงถือเป็นสัญลักษณ์มงกุฎหนามซึ่งพระเยซูทรงสวมที่การตรึงกางเขนและพระโลหิตที่พระองค์ทรงหลั่ง[41][42]

ฉากการสมภพเป็นที่ทราบกันจากกรุงโรมสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 10 ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีทำให้เป็นที่นิยมนับแต่ ค.ศ. 1223 และได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว[43] ของประดับตกแต่งหลายประเภทได้พัฒนาขึ้นทั่วโลกคริสต์ศาสนิกชน ขึ้นอยู่กับประเพณีท้องถิ่นและทรัพยากรที่หาได้ ของประดับที่ผลิตขึ้นเชิงพาณิชย์ครั้งแรกปรากฏในเยอรมนีในคริสต์ทศวรรษ 1860 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากโซ่กระดาษที่เด็กทำ[44] ในประเทศซึ่งการแทนฉากคริสตสมภพเป็นที่นิยมมาก ผู้คนต่างได้รับการสนับสนุนให้ประกวดและสร้างฉากที่เหมือนดั้งเดิมหรือเหมือนจริงที่สุด ในบางครอบครัว แม่พิมพ์ที่ใช้ทำฉากนั้นถูกมองว่าเป็นมรดกมีค่าประจำตระกูล

สีของคริสต์มาสแต่โบราณ คือ เขียวและแดง[45] ส่วนสีขาว เงินและทองก็ได้รับความนิยมเช่นกัน สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซู ซึ่งทรงหลั่งในการถูกตรึงบนกางเขน สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตนิรันดร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในไม้ไม่ผลัดใบ ซึ่งไม่เสียใบในฤดูหนาว[42][45]

ต้นคริสต์มาสแบบเดนมาร์ก ประดับด้วยของตกแต่งคริสต์มาสทำเอง

ต้นคริสต์มาสถูกมองว่าเป็นการทำให้ประเพณีและพิธีกรรมเพเกินรอบเหมายันเป็นคริสเตียน ซึ่งรวมถึงการใช้กิ่งไม้ไม่ผลัดใบและการดัดแปลงการบูชาต้นไม้ของเพเกิน[46] ตามข้อมูลของนักชีวประวัติสมัยคริสต์ศตวรรษที่แปด เอดดี สเตฟานัส นักบุญโบนิฟาส (ค.ศ. 634-709) ผู้เป็นมิชชันนารีในเยอรมนี หยิบขวานไปยังต้นโอ๊กที่อุทิศให้ธอร์และชี้ไปยังต้นเฟอร์ ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นวัตถุควรแก่การเคารพที่เหมาะสมกว่า เพราะมันชี้ไปยังสวรรค์และมีรูปทรงสามเหลี่ยม ซึ่งเขาว่าเป็นสัญลักษณ์ของตรีเอกภาพ[47] วลีภาษาอังกฤษ "ต้นคริสต์มาส" ได้รับบันทึกครั้งแรกใน ค.ศ. 1835[48] และแสดงให้เห็นการรับมาจากภาษาเยอรมัน ประเพณีต้นคริสต์มาสสมัยใหม่เชื่อกันว่าเริ่มต้นในเยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่ 18[46] แม้หลายคนแย้งว่า มาร์ติน ลูเธอร์เริ่มประเพณีดังกล่าวในคริสต์ศตวรรษที่ 16[49][50]

ประเพณีต้นคริสต์มาสนำเข้าสู่อังกฤษจากเยอรมนีครั้งแรกผ่านพระนางชาร์ล็อตต์ พระมเหสีในพระเจ้าจอร์จที่ 3 จากนั้น เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงนำเข้ามาอีกครั้งในรัชสมัยพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ซึ่งครั้งนี้ประสบความสำเร็จมากกว่า จนถึง ค.ศ. 1841 ต้นคริสต์มาสได้แพร่หลายในอังกฤษมากยิ่งขึ้น[51] จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1870 ผู้คนในสหรัฐอเมริกาได้รับเอาประเพณีการตกแต่งต้นคริสต์มาส[52] ต้นคริสต์มาสอาจตกแต่งด้วยแสงไฟและเครื่องตกแต่ง

นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 พอยเซตเทีย พืชท้องถิ่นจากเม็กซิโก ได้มาเกี่ยวข้องกับคริสต์มาส พืชประจำเทศกาลที่ได้รับความนิยมอื่นอีกมีฮอลลี มิสเซลโท พืชจำพวกว่าน (amaryllis) สีแดง และกระบองเพชรคริสต์มาส ร่วมกับต้นคริสต์มาส ภายในบ้านอาจประดับตกแต่งด้วยพืชเหล่านี้ เช่นเดียวกับพวงมาลัยและใบพืชไม่ผลัดใบ การแสดงหมู่บ้านคริสต์มาสได้กลายมาเป็นประเพณีในหลายบ้านช่วงเทศกาลนี้ ของนอกบ้านอาจประดับตกแต่งด้วยแสงไฟ และบางครั้งด้วยเลื่อนหิมะประดับไฟ มนุษย์หิมะและสัญลักษณ์คริสต์มาสอื่น ๆ

ของประดับตามประเพณีอย่างอื่นมีระฆัง เทียน อมยิ้มไม้เท้า ถุงเท้ายาว พวงหรีดและทูตสวรรค์ ทั้งการแสดงพวงหรีดและเทียนในหน้าต่างแต่ละบานนั้นเก่าแก่กว่าการจัดแสดงคริสต์มาสเสียอีก การจัดพวกใบที่มีศูนย์กลาง โดยมักมาจากพืชไม่ผลัดใบ ขึ้นเป็นพวงหรีดคริสต์มาสและได้รับการออกแบบเพื่อเตรียมคริสต์ศาสนิกชนสำหรับเทศกาลเตรียมการรับเสด็จ เทียนในหน้าต่างแต่ละบานตั้งใจให้แสดงข้อเท็จจริงที่ว่าคริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่า พระเยซูคริสต์เป็นแสงทั้งหมดของโลก[53]

แสงไฟและธงคริสต์มาสอาจแขวนไว้ตามท้องถนน มีดนตรีบรรเลงจากลำโพง และต้นคริสต์มาสวางไว้ตามสถานที่สำคัญ[54] ในหลายพื้นที่ของโลก ใจกลางเมืองและพื้นที่เดินซื้อของผู้บริโภคมักสนับสนุนและจัดแสดงของประดับตกแต่ง ม้วนห่อกระดาษสีสดใสพร้อมลวดลายคริตส์มาสทางฆราวาสหรือเกี่ยวข้องกับศาสนาผลิตขึ้นใช้ห่อของขวัญ ในบางประเทศ การประดับตกแต่งคริสต์มาสตามประเพณีจะถูกปลดลงในคืนที่สิบสอง ตอนเย็นของวันที่ 5 มกราคม

ดนตรีและเพลงสวด

เพลงสวดคริสต์มาสเพลงแรกปรากฏขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในกรุงโรม เริ่มเผยแพร่ไปยังอารามยุโรปเหนือในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 ต่อมา จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในฝรั่งเศส เยอรมนี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิตาลี ภายใต้อิทธิพลของนักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี มีการพัฒนาประเพณีเพลงคริสต์มาสในภาษาถิ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมั่นคง เพลงสวดคริสต์มาสในภาษาอังกฤษปรากฏครั้งแรกในผลงานของจอห์น เอาด์เลย์ (John Awdlay) เพลงเก่าแก่ที่ยังร้องกันอยู่เป็นประจำ คือ ขอเชิญท่านผู้วางใจ (ละติน: Adeste Fidelis) ปรากฏในรูปปัจจุบันตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ส่วนเนื้อร้องประพันธ์ขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13

ส่วนเพลงเทศกาลคริสต์มาสทางฆราวาสทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 "เดกเดอะฮอลส์" (Deck The Halls) สืบประวัติไปได้ถึง ค.ศ. 1784 และเพลง "จิงเกิลเบลส์" ของอเมริกัน จดลิขสิทธิ์ใน ค.ศ. 1857

อาหาร

อาหารครอบครัวคริสต์มาสมื้อพิเศษตามประเพณีเป็นส่วนสำคัญในการเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส และอาหารซึ่งรับประทานนั้นแตกต่างกันไปตามประเทศ บางภูมิภาค เช่น ซิซิลี มีอาหารมื้อพิเศษในวันคริสต์มาสอีฟ โดยรับประทานปลา 12 ชนิด ในอังกฤษและประเทศซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเพณีอังกฤษ มื้อคริสต์มาสมาตรฐานมีไก่งวงหรือห่าน เนื้อสัตว์ เกรวี มันฝรั่ง ผัก และบางครั้งมีขนมปังและไซเดอร์ นอกจากนี้ยังมีการเตรียมของหวานพิเศษเช่นกัน เช่น พุดดิงคริสต์มาส พายไส้เนื้อสัตว์และเค้กผลไม้[55][56]

การให้ของขวัญ

การแลกของขวัญเป็นหนึ่งในแง่มุมหลักของการเฉลิมฉลองคริสต์มาสสมัยใหม่ ซึ่งทำให้เทศกาลคริสต์มาสเป็นช่วงทำกำไรสูงสุดของปีสำหรับผู้ค้าปลีกและธุรกิจทั่วโลก การให้ของขวัญเป็นปกติในการเฉลิมฉลองแซเทิร์นาเลีย (Saturnalia) เทศกาลโบราณของโรมันซึ่งจัดขึ้นในปลายเดือนธันวาคมและอาจมีอิทธิพลต่อประเพณีคริสต์มาส[57] การให้ของขวัญคริสต์มาสถูกห้ามโดนคริสตจักรคาทอลิกในยุคกลางเพราะสงสัยประเพณีดังกล่าวว่ามีต้นกำเนิดมาจากเพเกิน[57] ภายหลังคริสตจักรใช้เหตุผลตัดสินบนพื้นฐานว่าเป็นการเชื่อมโยงนักบุญนิโคลัสกับคริสต์มาส และของขวัญที่เป็นทองคำ กำยานและมดยอบก็ได้มอบถวายแด่พระกุมารเยซูโดยนักปราชญ์ทั้งสาม

บุคคลให้ของขวัญตามตำนาน

มีหลายคนทั้งที่ถือกำเนิดขึ้นตามแบบคริสต์และตามตำนานเกี่ยวข้องกับคริสต์มาสและการให้ของขวัญตามเทศกาล ในบรรดาบุคคลเหล่านี้มี ซานตาคลอส, ปิแอร์ นอแอล (Père Noël) และไวนัคท์สมันน์ (Weihnachtsmann), นักบุญนิโคลัสหรือซินเทอร์กลาส (Sinterklaas), คริสต์คินด์ (Christkind), คริส ครินเกิล (Kris Kringle), จูลูปูกี (Joulupukki), บับโบ นาตาเล (Babbo Natale), นักบุญบาซิล (Saint Basil) และฟาเธอร์ฟรอสต์

บุคคลซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดและรู้จักกันแพร่หลายที่สุดในบรรดาชื่อเหล่านี้ในการเฉลิมฉลองสมัยใหม่ทั่วโลกคือ ซานตาคลอส ผู้ให้ของขวัญตามตำนาน แต่งกายชุดแดง โดยที่มานั้นมีเรื่องเล่าหลากหลาย ชื่อซานตาคลอสสามารถสืบย้อนไปยังคำภาษาดัตช์ว่า ซินเทอร์กลาส ซึ่งมีความหมายอย่างง่ายว่า นักบุญนิโคลัส นิโคลัสเป็นบิชอปแห่งไมรา ในตุรกีปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในบรรดาคุณลักษณะอย่างนักบุญอื่น ๆ เขาถูกจดจำสำหรับการดูแลเด็ก ความเอื้อเฟื้อและการให้ของขวัญ งานสมโภชเขาในวันที่ 6 ธันวาคมจึงมีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศด้วยการให้ของขวัญ[58]

นักบุญนิโคลัสตามประเพณีปรากฏในเครื่องแต่งกายของบิชอป ร่วมกับผู้ช่วยเหลือ สอบถามถึงพฤติกรรมของเด็กในช่วงปีที่ผ่านมาก่อนตัดสินใจว่าพวกเขาสมควรได้รับของขวัญหรือไม่ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 นักบุญนิโคลัสเป็นที่รู้จักกันในดีในเนเธอร์แลนด์ และการปฏิบัติให้ของขวัญในชื่อของเขาได้แพร่ขยายไปยังส่วนอื่นของยุโรปกลางและใต้ ในห้วงการปฏิรูปศาสนาในยุโรปคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ผู้นับถือโปรแตสแตนท์หลายคนเปลี่ยนผู้นำของขวัญไปเป็นคริสต์ไชล์ (Christ Child) หรือคริสต์คินล์ (Christkindl) แผลงในภาษาอังกฤษเป็นคริส ครินเกิล และวันที่ให้ของขวัญเปลี่ยนจากวันที่ 6 ธันวาคมมาเป็นวันคริสต์มาสอีฟ[58]

ภาพลักษณ์ซานตาคลอสที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ มีเคราขาว สวมชุดแดง และให้ของขวัญแก่เด็กดี

อย่างไรก็ดี ภาพลักษณ์สมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมของซานตาคลอสนี้ถูกสร้างขึ้นในสหรัฐอเมริกา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในนิวยอร์ก การเปลี่ยนรูปดังกล่าวประสบความสำเร็จด้วยความช่วยเหลือของผู้มีส่วนสำคัญ รวมทั้งนักวาดการ์ตูน โธมัส แนสต์ (ค.ศ. 1840-1902) หลังสงครามปฏิวัติอเมริกัน ผู้อยู่อาศัยบางคนในนครนิวยอร์กมองหาสัญลักษณ์ของนครในอดีตที่มิใช่อังกฤษ นิวยอร์กแต่เดิมก่อตั้งขึ้นเป็นเมืองอาณานิคมดัตช์ชื่อ นิวอัมสเตอร์ดัม และประเพณีซินเทอร์กลาสของดัตช์ได้ถูกนำเสนอใหม่เป็นนักบุญนิโคลัส[59]

ใน ค.ศ. 1809 สมาคมประวัติศาสตร์นิวยอร์กชุมนุมกันและให้ชื่อแซนค์เตคลอส (Sancte Claus) เป็นนักบุญผู้ปกปักษ์รักษานิวอัมสเตอร์ดัม ซึ่งเป็นชื่อดัตช์ของนครนิวยอร์ก อันมีผลย้อนหลัง[60] ในภาพลักษณ์อย่างอเมริกันครั้งแรกของเขาใน ค.ศ. 1810 ซานตาคลอสถูกวาดในชุดคลุมบิชอป อย่างไรก็ดี เมื่อศิลปินคนใหม่เข้ามา ซานตาคลอสได้พัฒนามาเป็นเครื่องแต่งกายทางฆราวาสมากขึ้น[61] แนสต์วาดภาพใหม่ของซานตาคลอสทุกปี เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1863 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1880 ซานตาของแนสต์ได้พัฒนาไปเป็นสวมชุดคลุม แต่งกายด้วยชุดเฟอร์ อันเป็นรูปที่คุ้นเคยกันในปัจจุบัน ซึ่งบางทีอาจนำมาจากบุคคลฟาเธอร์คริสต์มาสของอังกฤษ รูปดังกล่าวได้รับการสร้างมาตรฐานโดยนักโฆษณาในคริสต์ทศวรรษ 1920[62]

ฟาเธอร์คริสต์มาส ชายมีเคราผู้ร่าเริงที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีผู้เป็นแบบอย่างจิตวิญญาณแห่งของความชื่นชมยินดีในวันคริสต์มาส เกิดขึ้นก่อนตัวละครซานตาคลอส เขาได้รับบันทึกครั้งแรกในอังกฤษต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ยังเกี่ยวข้องกับการทำสนุกและความมึนเมาช่วงเทศกาลมากกว่าการนำของขวัญมาให้[48] ในสมัยวิกตอเรีย ภาพลักษณ์ของเขาถูกนำเสนอใหม่ให้ตรงกับของซานตา ปิแอร์ นอแอลของฝรั่งเศสได้วิวัฒนาในแนวคล้ายกัน จนสุดท้ายได้รับเอาภาพลักษณ์แบบซานตามา ในอิตาลี บับโบ นาตาเลประพฤติเฉกเช่นซานตาคลอส ขณะที่ลา เบฟานา (La Befana) เป็นผู้นำของขวัญและมาถึงมาในวันก่อนการเสด็จมาของพระเยซู กล่าวกันว่าลา เบฟานาเดินทางมาเพื่อนำของขวัญไปให้พระกุมารเยซู แต่เกิดหลงระหว่างทาง ปัจจุบัน เธอนำของขวัญมาให้แก่เด็กทุกคน ในบางวัฒนธรรม ซานตาคลอสเกี่ยวข้องกับอัศวินรูเพิร์ต (Knecht Ruprecht) หรือปีเตอร์ดำ (Black Peter) ในเวอร์ชันอื่น พวกเอลฟ์ทำของเล่น ภรรยาของเขาเรียกกันว่า คุณนายคลอส

มีฝ่ายที่คัดค้านการบรรยายการวิวัฒนาซานตาคลอสเป็นซานตายุคใหม่ของอเมริกัน ซึ่งก็มีการให้เหตุผลว่า สมาคมนักบุญนิโคลัสนั้นยังไม่ถูกจัดตั้งขึ้นกระทั่ง ค.ศ. 1835 นับเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษหลังสงครามประกาศอิสรภาพสิ้นสุดลง[63] ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษา "หนังสือเด็ก วารสารและวารสารวิชาการ" ของนิวอัมสเตอร์ดัม โดยชาลส์ โจนส์ ได้เปิดเผยว่าไม่มีการอ้างถึงนักบุญนิโคลัสหรือซินเทอร์กลาสเลย[64] อย่างไรก็ดี มิใช่นักวิชาการทั้งหมดจะเห็นด้วยกับการค้นพบของโจนส์ ซึ่งเขากล่าวซ้ำอีกครั้งในการศึกษาใน ค.ศ. 1978[65] ฮาวาร์ด จี. แฮเกมัน แห่งโรงเรียนศาสนาเทววิทยานิวบรันสวิก ยังสนับสนุนประเพณีการเฉลิมฉลองซินเทอร์กลาสในนิวยอร์กยังมีชีวิตและยังดีอยู่นับแต่การตั้งถิ่นฐานแรกเริ่มในฮัดสันวัลเลย์เป็นต้นมา[66]

ประเพณีปัจจุบันในหลายประเทศละตินอเมริกา (เช่น เวเนซุเอลาและโคลัมเบีย) ถือว่า ซานตาเป็นผู้สร้างของเล่น จากนั้นเขาถวายแด่พระกุมารเยซู ซึ่งเป็นผู้ส่งของเล่นมายังบ้านของเด็ก ๆ ที่แท้จริง ซึ่งเป็นการผสมผสานความเชื่อทางศาสนาแต่เดิมกับประติมานวิทยาของซานตาคลอสซึ่งรับมาจากสหรัฐอเมริกา

ในไทรอลใต้ (อิตาลี) ออสเตรีย สาธารณรัฐเช็ก เยอรมนีตอนใต้ ฮังการี ลิกเตนสไตน์ สโลวาเกียและสวิตเซอร์แลนด์ คริสต์คินด์เป็นผู้นำของขวัญ เด็กชาวกรีกได้รับของขวัญจากนักบุญบาซิลในวันสิ้นปี วันก่อนหน้างานสมโภชพิธีกรรมของนักบุญนั้น[67] นักบุญนิโคเลาส์ของเยอรมันไม่เหมือนกับไวนัคท์สมันน์ (ซึ่งเป็นซานตาคลอส/ฟาเธอร์คริสต์มาสเวอร์ชันเยอรมัน) นักบุญนิโคเลาส์สวมเครื่องแต่งกายบิชอปและยังนำของขวัญเล็ก ๆ มาให้ (มักเป็นลูกกวาด ถั่วและผลไม้) ในวันที่ 6 ธันวาคม และมาด้วยกันกับอัศวินรูเพิร์ตและผู้ให้ของขวัญคนอื่น บางคนปฏิเสธการปฏิบัตินี้ โดยมองว่าเป็นการสร้างความเข้าใจผิด[68]

ประวัติ

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของการเฉลิมฉลองวันที่ 25 ธันวาคมเป็นงานสมโภชการประสูติของพระเยซูตามพิธีกรรมแบบคริสต์นั้นปรากฏใน "ปฏิทินแห่ง ค.ศ. 354" (Chronography of 354 AD) ซึ่งเป็นหลักฐานในกรุงโรม ขณะที่ศาสนาคริสต์ตะวันออก การประสูติของพระเยซูนั้นมีการเฉลิมฉลองโดยเชื่อมโยงกับการเสด็จมาของพระเยซูในวันที่ 6 มกราคมแล้ว[69][70] การเฉลิมฉลองวันที่ 25 ธันวาคม ทางตะวันออกได้รับไปภายหลัง ในแอนติออก โดยจอห์น คริสซอสตอม ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4[70] อาจเป็น ค.ศ. 388 และในอเล็กซานเดรียเฉพาะในอีกศตวรรษต่อมา[71] แม้ในทางตะวันตก การเฉลิมฉลองการสมภพของพระเยซูดูเหมือนจะมีต่อไปกระทั่งหลัง ค.ศ. 380[72]

ประเพณีที่ได้รับความนิยมจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับคริสต์มาสพัฒนาขึ้นโดยแยกจากพิธีฉลองการประสูติของพระเยซู โดยบางส่วนมีกำเนิดในเทศกาลก่อนคริสเตียนรอบเทศกาลฤดูหนาวโดยประชากรเพเกินผู้ที่ภายหลังเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ ส่วนเหล่านี้ รวมทั้งเค้กขอนไม้จากตรุษฝรั่ง และการให้ของขวัญจากแซเทิร์นาเลีย[57] ได้ผสมเข้ากับคริสต์มาสในห้วงหลายศตวรรษ บรรยากาศซึ่งมีอยู่ทั่วไปของคริสต์มาสยังได้วิวัฒนาอย่างต่อเนื่องนับแต่การเริ่มต้น โดยมีหลากหลายตั้งแต่สภาพเสียงดัง มึนเมาและคล้ายงานรื่นเริงในยุคกลาง[73] มาเป็นธีมที่สงบลง โดยเน้นครอบครัวและยึดเด็กเป็นศูนย์กลางเริ่มตั้งแต่การปฏิรูปในคริสต์ศตวรรษที่ 19[74][75] ยิ่งไปกว่านั้น การเฉลิมฉลองคริสต์มาสยังเคยถูกห้ามมากกว่าหนึ่งครั้งในนิกายโปรแตสแตนท์เพราะความกังวลว่าประเพณีนั้นเป็นเพเกินหรือแย้งต่อคัมภีร์ไบเบิลมากเกินไป[76][77] [78][79][80]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Christmas as a Multi-faith Festival—BBC News. Retrieved 2008-09-30.
  2. "In the U.S., Christmas Not Just for Christians". Gallup, Inc. 2008-12-24. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16.
  3. Several traditions of Eastern Christianity that use the Julian calendar also celebrate on December 25 according to that calendar, which is now January 7 on the Gregorian calendar. Armenian Churches observed the nativity on January 6 even before the Gregorian calendar originated. Most Armenian Christians use the Gregorian calendar, still celebrating Christmas Day on January 6. Some Armenian churches use the Julian calendar, thus celebrating Christmas Day on January 19 on the Gregorian calendar, with January 18 being Christmas Eve.
  4. Ramzy, John. "The Glorious Feast of Nativity: 7 January? 29 Kiahk? 25 December?". Coptic Orthodox Church Network. สืบค้นเมื่อ 2011-01-17.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Christmas in Bethlehem".
  6. Christmas, Merriam-Webster. Retrieved 2008-10-06.
    Archived 2009-10-31.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Christmas", The Catholic Encyclopedia, 1913.
  8. "The Christmas Season". CRI / Voice, Institute. สืบค้นเมื่อ 2008-12-25.
  9. Why I celebrate Christmas, by the world's most famous atheistDailyMail. December 23, 2008. Retrieved 2010-12-20.
  10. Non-Christians focus on secular side of ChristmasSioux City Journal. Retrieved 2009-11-18.
  11. An Introduction to the New Testament. Grand Rapids, MI: Zondervan Publishing House, 1992, 54, 56
  12. The Chronography of 354 AD. Part 12: Commemorations of the MartyrsThe Tertullian Project. 2006. Retrieved November 24, 2011.
  13. Roll, Susan K., Toward the Origins of Christmas, (Peeters Publishers, 1995), p.133.
  14. 14.0 14.1 14.2 McGowan, Andrew. "How December 25 Became Christmas, Biblical Archaeology Review, Retrieved 2009-12-13". Bib-arch.org. สืบค้นเมื่อ 2011-02-24.
  15. 15.0 15.1 Newton, Isaac, Observations on the Prophecies of Daniel, and the Apocalypse of St. John (1733). Ch. XI. A sun connection is possible because Christians consider Jesus to be the "sun of righteousness" prophesied in Malachi 4:2.
  16. 16.0 16.1 "Christmas", Encarta
    Roll, Susan K. (1995). Toward the Origins of Christmas. Peeters Publishers. p. 130.
    Tighe, William J., "Calculating Christmas". Archived 2009-10-31.
  17. West's Federal Supplement. West Publishing Company. 1990. While the Washington and King birthdays are exclusively secular holidays, Christmas has both secular and religious aspects.
  18. "Poll: In a changing nation, Santa endures", Associated Press, December 22, 2006. Retrieved 2009-11-18.
  19. Christenmas, n., Oxford English Dictionary. Retrieved December 12.
  20. 20.0 20.1 "Christmas" in the Middle English Dictionary
  21. Griffiths, Emma, "Why get cross about Xmas?", BBC website, December 22, 2004. Retrieved December 12, 2011.
  22. 22.0 22.1 22.2 Hutton, Ronald, The stations of the sun: a history of the ritual year, Oxford University Press, 2001.
  23. "Midwinter" in Bosworth & Toller
  24. Serjeantson, Mary Sidney, "natiuited"&dq="natiuited"&hl=en&ei=YpnnTrqnOsi-gAf6qtCGCQ&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=2&ved=0CDcQ6AEwAQ A History of Foreign Words in English
  25. nativity, Online Etymology Dictionary
  26. yule, Online Etymology Dictionary. Retrieved December 12.
  27. noel Online Etymology Dictionary. Retrieved December 12.
  28. "Bruma", Seasonal Festivals of the Greeks and Romans
    Pliny the Elder, Natural History, 18:59
  29. Roll, pp. 88–90.
    Duchesne, Louis, Les Origines du Culte Chrétien, Paris, 1902, 262 ff.
  30. 30.0 30.1 The Liturgical Year. Thomas Nelson. 2009-11-03. ISBN 9780849901195. สืบค้นเมื่อ 2009-04-02.
  31. 31.0 31.1 "The Christmas Season". CRI / Voice, Institute. สืบค้นเมื่อ 2009-04-02.
  32. 32.0 32.1 The School Journal, Volume 49. Harvard University. 1894. สืบค้นเมื่อ 2009-04-02.
  33. Geza Vermes, The Nativity: History and Legend, London, Penguin, 2006, p22.; E. P. Sanders, The Historical Figure of Jesus, 1993, p.85.
  34. Jesus, Interrupted: Revealing The Hidden Contradictions In The Bible (And Why We Don't Know About Them), Harper Collins, 2009, Bart D. Ehrman, P. 19-60
  35. Larry W. Hurtado (2005-12-15). Lord Jesus Christ: Devotion to Jesus in Earliest Christianity. Wm B. Eerdmans Publishing Co. ISBN 9780802831675. สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
  36. JPH. "The Nativity Stories Harmonized". TEKTON. สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
  37. Richard Bruce. "Reconciling the Nativity Stories of Matthew and Luke". สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
  38. "Luke 2:1–6". Biblegateway.com. สืบค้นเมื่อ 2011-02-24.
  39. "Matthew 2:1–11". Biblegateway.com. สืบค้นเมื่อ 2011-02-24.
  40. Miles, Clement A, Christmas customs and traditions, Courier Dover Publications, 1976, ISBN 0-486-23354-5, p. 272.
  41. Heller, Ruth, Christmas: Its Carols, Customs & Legends, Alfred Publishing (1985), ISBN 0-7692-4399-1, p. 12.
  42. 42.0 42.1 Ace Collins (2010-04-01). Stories Behind the Great Traditions of Christmas. Zondervan. ISBN 9780310873884. สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
  43. Collins, Ace, Stories Behind the Great Traditions of Christmas, Zondervan, (2003), ISBN 0-310-24880-9 p.47.
  44. Collins p. 83.
  45. 45.0 45.1 Hal Siemer, Christmas Magic: The History and Traditions of the Holiday, QuestMagazine.com, 2004-12-02.
  46. 46.0 46.1 van Renterghem, Tony. When Santa was a shaman. St. Paul: Llewellyn Publications, 1995. ISBN 1-56718-765-X
  47. Fritz Allhoff, Scott C. Lowe (2010). Christmas. John Wiley & Sons.
  48. 48.0 48.1 Harper, Douglas, Christ, Online Etymology Dictionary, 2001.
  49. "The Chronological History of the Christmas Tree". The Christmas Archives. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
  50. "Christmas Tradition – The Christmas Tree Custom". Fashion Era. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
  51. Lejeune, Marie Claire. Compendium of symbolic and ritual plants in Europe, p.550. University of Michigan ISBN 90-77135-04-9
  52. Shoemaker, Alfred Lewis. (1959) Christmas in Pennsylvania: a folk-cultural study. Edition 40. pp. 52, 53. Stackpole Books 1999. ISBN 0-8117-0328-2.
  53. "Liturgical Year : Symbolic Lights and Fires of Christmas (Activity)". Catholic Culture. สืบค้นเมื่อ 2011-12-10.
  54. Murray, Brian. "Christmas lights and community building in America, " History Matters, Spring 2006.
  55. Broomfield, Andrea (2007) Food and cooking in Victorian England: a history pp.149-150. Greenwood Publishing Group, 2007
  56. Muir, Frank (1977) Christmas customs & traditions p.58. Taplinger Pub. Co., 1977
  57. 57.0 57.1 57.2 The Origin of the American Christmas Myth and CustomsBall State University. Swartz Jr., BK. Archived version retrieved 2011-10-19.
  58. 58.0 58.1 Forbes, Bruce David, Christmas: a candid history, University of California Press, 2007, ISBN 0-520-25104-0, pp. 68–79.
  59. Jona Lendering (2008-11-20). "Saint Nicholas, Sinterklaas, Santa Claus". Livius.org. สืบค้นเมื่อ 2011-02-24.
  60. John Steele Gordon, The Great Game: The Emergence of Wall Street as a World Power: 1653–2000 (Scribner) 1999.
  61. Forbes, Bruce David, Christmas: a candid history, pp. 80–81.
  62. Mikkelson, Barbara and David P., "The Claus That Refreshes", Snopes.com, 2006.
  63. "History of the Society". The Saint Nicholas Society of the City of New York. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  64. Jones, Charles W. "Knickerbocker Santa Claus". The New-York Historical Society Quarterly. Vol. XXXVIII no. 4.
  65. Charles W. Jones, Saint Nicholas of Myra, Bari, and Manhattan: Biography of a Legend (Chicago: U of Chicago P, 1978).
  66. Hageman, Howard G. (1979). "Review of Saint Nicholas of Myra, Bari, and Manhattan: Biography of a Legend". Theology Today. Vol. 36 no. 3. Princeton: Princeton Theological Seminary. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  67. St. Basil (330-379)
  68. Matera, Mariane. "Santa: The First Great Lie", Citybeat, Issue 304
  69. "epiphany+is+older"&btnG= Geoffrey Wainwright, Karen Beth Westerfield Tucker (editors), The Oxford History of Christian Worship (Oxford University Press 2005 ISBN 978-0-19-513886-3), p. 65
  70. 70.0 70.1 "older+than+Christmas"&btnG= Christian Roy, Traditional Festivals: A Multicultural Encyclopedia (ABC-CLIO 2005 ISBN 978-1-57607-089-5) p. 146
  71. "been+between+400+and+432"&btnG= James Hastings, John A. Selbie (editors), Encyclopedia of Religion and Ethics (reproduction by Kessinger Publishing Company 2003 ISBN 978-0-7661-3676-2), Part 6, pp. 603-604
  72. Hastings and Selbie, p. 605
  73. Murray, Alexander, http://www.historytoday.com/alexander-murray/medieval-christmas "Medieval Christmas"], History Today, December 1986, 36 (12), pp. 31 – 39.
  74. Les Standiford. The Man Who Invented Christmas: How Charles Dickens's A Christmas Carol Rescued His Career and Revived Our Holiday Spirits, Crown, 2008. ISBN 978-0-307-40578-4
  75. Minzesheimer, Bob (December 22, 2008). "Dickens' classic 'Christmas Carol' still sings to us". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 30, 2010.
  76. Durston, Chris, "Lords of Misrule: The Puritan War on Christmas 1642–60", History Today, December 1985, 35 (12) pp. 7 – 14. Archived at the Internet Archive
  77. "When Christmas Was Banned – The early colonies and Christmas". Apuritansmind.com. สืบค้นเมื่อ 2011-02-24.
  78. อิสยาห์ 1:14
  79. กาลาเทีย 4:9-11
  80. โคโลสี 2:16-17

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Christmas