ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง"

พิกัด: 17°32′55″N 103°21′30″E / 17.54861°N 103.35833°E / 17.54861; 103.35833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
}}
}}


'''แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง'''<ref>http://www.udonthani.com/banchiang.htm</ref> เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่[[อำเภอหนองหาน]] [[จังหวัดอุดรธานี]] ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัย[[ก่อนประวัติศาสตร์]]ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี
'''แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง'''<ref>http://www.udonthani.com/banchiang.htm</ref> เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่[[อำเภอหนองหาน]] [[จังหวัดอุดรธานี]] ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัย[[ก่อนประวัติศาสตร์]]ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี222


ร่องรอยของมนุษย์ในสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึง[[วัฒนธรรม]]ที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีใน[[ภาคอีสาน|ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]]อีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้องค์การยูเนสโกจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดา[[มรดกโลก]]
ร่องรอยของมนุษย์ในสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึง[[วัฒนธรรม]]ที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีใน[[ภาคอีสาน|ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]]อีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้องค์การยูเนสโกจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดา[[มรดกโลก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:58, 20 ธันวาคม 2560

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
แผ่นจารึกมรดกโลกในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ประเทศราชอาณาจักรไทย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii)
อ้างอิง575
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2535 (คณะกรรมการสมัยที่ 16)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง[1] เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี222

ร่องรอยของมนุษย์ในสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้องค์การยูเนสโกจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก

เครื่องมือและอุปกรณ์ยุคโบราณ

ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา

ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ของบ้านเชียงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่

  1. ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็ก
  2. ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดง
  3. ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน

สำริด

ชาวบ้านเชียงโบราณนิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก ก่อนที่จะได้รู้จักใช้การใช้เหล็ก ชาวพอลินีเซียมีหลักฐานว่านิยมใช้สำริดเช่นกัน เช่นใช้ทำเป็นกลองมโหระทึก

มรดกโลก

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้

  • เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

การเดินทาง

การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง สามารถขับรถตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ถึงปากทางเข้าบ้านปูลูจะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร จะถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง[2]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

17°32′55″N 103°21′30″E / 17.54861°N 103.35833°E / 17.54861; 103.35833