ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ฮุมโบลด์ท" → "ฮุมโบลท์" ด้วยสจห.
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{Infobox university
{{Infobox university
|name = มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน
|name = มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:50, 5 ธันวาคม 2560

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน
Humboldt-Universität zu Berlin
ตรามหาวิทยาลัย
คติพจน์Universitas litterarum (Latin)
คติพจน์อังกฤษ
The Entity of Sciences
ประเภทมหาวิทยาลัยของรัฐ
สถาปนา15 ตุลาคม ค.ศ. 1811
งบประมาณ397.8 ล้านยูโร[1]
อาจารย์2,403[1]
เจ้าหน้าที่1,516[1]
ผู้ศึกษา32,553[1]
ปริญญาตรี18,712[2]
บัณฑิตศึกษา10,881[2]
2,951[2]
ที่ตั้ง,
สีน้ำเงินและขาว
                
เครือข่ายGerman Universities Excellence Initiative
UNICA
U15
Atomium Culture
EUA
เว็บไซต์www.hu-berlin.de

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน (เยอรมัน: Humboldt-Universität zu Berlin) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเบอร์ลิน เดิมทีเรียกว่า มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1810 ในชื่อ มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (เยอรมัน: Universität zu Berlin) โดย วิลเฮล์ม ฟอน ฮุมโบลท์ นักปฏิรูปการศึกษาและนักปรัชญาเสรีนิยมชาวปรัสเซีย ต่อมามหาวิทยาลัยเบอร์ลินแห่งนี้กลายเป็นแม่แบบที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในทวีปยุโรปและโลกตะวันตก มหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกาจำนวนมาก อาทิ มหาวิทยาลัยปารีส มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยมอสโกสเตท ล้วนแต่ต้องปรับตัวเมื่อมหาวิทยาลัยเบอร์ลินแห่งนี้โด่งดังขึ้นมา

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1828 มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮล์ม และต่อมาก็รู้จักกันในชื่อ Universität unter den Linden (มหาวิทยาลัยใต้ต้นลินเดิน) ต่อมาในปี ค.ศ. 1949 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินดังเช่นปัจจุบัน เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ก่อตั้ง

ในสองศตวรรษที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยดังกล่าวกลายเป็นที่พำนักของนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศเยอรมนีจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนนั้นรวมถึง ฟิชเทอ, เชลลิง และเฮเกล นักปรัชญา, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และ มักซ์ พลังค์ นักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียง, คาร์ล มาร์กซ และ ฟรีดริช เองเงิลส์ ผู้ก่อตั้งทฤษฎีมาร์กซิสต์, คาร์ล เลียบเนคท์ ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศเยอรมนี, ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ผู้รวมประเทศเยอรมนี, และ โรเบิร์ท ชูมานน์ ผู้รวมยุโรป มหาวิทยาลัยนี้เป็นที่พำนักของผู้ได้รับรางวัลโนเบล 29 คน

โครงสร้างของมหาวิทยาลัยวิจัยอย่างเข้มข้นแบบเยอรมนี อย่างเช่น ฮุมโบลท์ ได้กลายเป็นต้นแบบให้กับสถาบันอย่าง มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์

ไรช์ที่สาม

หลัง ค.ศ. 1933 เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเยอรมันอื่น ๆ มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์ถูกเปลี่ยนเป็นสถาบันการศึกษานาซี หนังสือประมาณ 20,000 เล่ม จากห้องสมุดมหาวิทยาลัย ที่เขียนโดยผู้ต่อต้านระบอบนาซีถูกนำออกมาเผา ในวันที่ 10 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ที่ลาน Opernplatz (ปัจจุบันคือ Bebelplatz) นักศึกษาและอาจารย์ชาวยิว และผู้ต่อต้านนาซีถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย และมักจะถูกเนรเทศออกนอกประเทศด้วย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Facts and Figures". Humboldt University of Berlin. สืบค้นเมื่อ 15 June 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. "Nobelpreisträger — Humboldt-Universität zu Berlin". Hu-berlin.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2016-08-28.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น