ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดนตรีสมัยคลาสสิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
{{เริ่มอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* คมสันต์ วงค์วรรณ์. '''ดนตรีตะวันตก'''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551
* คมสันต์ วงค์วรรณ์. '''ดนตรีตะวันตก'''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551
* ณรุทธ์ สุทธจิตต์. '''สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก'''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548
* ณรุทธ์ สุทธจิตต์. '''สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก'''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548 🤗🤗
{{จบอ้างอิง}} ขี้หี Gaming
{{จบอ้างอิง}}


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:03, 26 พฤศจิกายน 2560

ยุคคลาสสิก (อังกฤษ: Classical period) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง ค.ศ.1750-1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และชัดเจนในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่นกว่าเพลงร้อง ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ เป็นดนตรีที่มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ตรงข้ามกับดนตรีในยุคโรแมนติกที่เป็นดนตรีพรรณนา (program music) คือดนตรีที่มีเรื่องราว ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลางของดนตรี

ลักษณะดนตรียุคคลาสสิก

ในยุคคลาสสิกเลิกนิยมการสอดประสานของทำนอง (Counterpoint) แต่หันมานิยมการใส่เสียงประสานแบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือการเน้นทำนองหลักเพียงแนวเดียว โดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะมากขึ้น มีแนวประสานเป็นคอร์ด หรืออาร์เพจจิโอ (arpeggio) หลายแนวที่มีจังหวะคล้ายกัน โดยเลิกใช้แนวเบสต่อเนื่อง (basso continuo) และความสำคัญของการด้นสด (Improvisation) เริ่มหมดไปในยุคนี้ เพราะดนตรีส่วนมากมีการเขียนเสียงประสานครบถ้วน คีตกวีจะระบุวิธีการบรรเลงอย่างชัดเจน

เกิดบทเพลงลักษณะใหม่ๆ ขึ้นในยุคนี้ คือ ซิมโฟนี คอนแชร์โต และโซนาตา ลักษณะการผสมวงมีกำหนดแน่นอนว่าเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ คือเป็นวงแชมเบอร์มิวสิก หรือวงออร์เคสตรา เพลงบรรเลงนิยมประพันธ์กันมากขึ้น เพลงร้องยังคงมีการประพันธ์อยู่เช่นเดิม โอเปร่า เป็นที่นิยมชมกันมาก ผู้ประพันธ์หลายคนจึงประพันธ์แต่โอเปร่าเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะของโอเปร่าในยุคนี้จะเน้นเรื่องศิลปะการแสดงมากขึ้น มิใช่เน้นเพียงการร้องเท่านั้น

เครื่องดนตรีในยุคนี้ได้รับการพัฒนามากขึ้น ในวงออร์เคสตรามีการใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท การใช้เครื่องดนตรีในยุคคลาสสิกจะพบว่าใช้เปียโนเป็นส่วนมาก ไม่ค่อยมีการใช้ฮาร์ปซิคอร์ดอีก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการใช้เครื่องคลาริเน็ต ฟลูต และบาสซูน

คีตกวีในยุคคลาสสิก

บทประพันธ์ที่สำคัญในยุคคลาสสิค

  • Orfeo and Eurydice - กลุ๊ค
  • Symphony No.104 - ไฮเดิน
  • The Creation (Oratorio) - ไฮเดิน
  • String Quartet in G Major, Op.64 No.4 - ไฮเดิน
  • Symphony No.41 in C Major "Jupiter" K.551 - โมซาร์ท
  • Piano Concerto in C Major, K.467 - โมซาร์ท
  • String Quartet in G Major, K.387 - โมซาร์ท
  • The Marriage of Figaro (Opera) - โมซาร์ท
  • Don Giovanni (Opera) - โมซาร์ท
  • Thr Magic Flute (Opera) - โมซาร์ท
  • Requiem Mass, K.626 - โมซาร์ท
  • Piano Sonata in C Major, Op.2 No.3 - เบโธเฟน
  • Symphony No.1,2 - เบโธเฟน
  • Sonata in D Major, K.119 - สกาลัตตี
  • Concerto for Harpsichord or Piano and Strings in E-flat Major, Op.7 No.5 - บาค

อ้างอิง

  • คมสันต์ วงค์วรรณ์. ดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551
  • ณรุทธ์ สุทธจิตต์. สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548 🤗🤗

ดูเพิ่ม